|
|
การยกเลิกป้ายสติ๊กเกอร์ พรบ.
ยกเลิกป้ายสติ๊กเกอร์ พรบ ดังนั้นจะไม่มีสติ๊กเกอร์ให้ติดหน้ารถยนต์เเล้ว ซึ่งรัฐสามารถการทำ การทำ พรบ รถยนต์ได้ ตอนที่ไปต่อทะเบียนรถยนต์ในแต่ละปี โดยผู้ที่ประสงค์จะต่อทะเบียนรถยนต์ ต้องนำเอกสารส่วนท้าย(ส่วนล่าง)มาแสดงด้วย
ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องมีสติ๊กเกอร์ติดรถยนต์ให้ยุ่งยากเปลืองงบอีกต่อไป
สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์โดยใช้ส่วนท้ายของ พรบ
- การต่อภาษีป้ายรถยนต์ต้องใช้ส่วนท้ายของกรมธรรม์ พรบ (หาง พรบ) คือ
ส่วนล่างของกระดาษเอกสารนั้น โดยฉีกตามรอยยประ หรือ รอยปรุ
- เอกสาร พรบ ดังกล่าวสามารถใช้ได้ ตราบเท่าที่ยังมีผลบังคับอยู่
ตัวอย่าง สมมติว่า พรบ ยังมีผลบังคับอีก3เดือนจึงจะหมดอายุลง
แต่เนื่องจากรอบของการต่อทะเบียนรถยนต์ ถึงกำหนดก่อน(รอบไม่ตรองกัน)
เราก็สามารถนำเอกสาร พรบ นั้นไปใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ได้ ไม่จำเป็นต้องไปทำใหม่
ซื้อใหม่
เพราะ พรบ ยังมีผลบังคับใช้ได้อยู่นั่นเอง
หลายๆที่ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว รวมทั้ง
เจ้าหน้าที่บางคนยังแนะนำผิดๆ ทำให้ประชาชน ต้องซื้อ พรบ ใหม่ ซ้ำซาก
เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
|
การยกเลิกป้ายสติ๊กเกอร์ พรบ.
ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.
2535แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ(ฉบับที่4) พ.ศ.2550
ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550
และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2550 เป็นต้นไปนั้นได้มีสาระสำคัญ
เกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงว่ามีการรับประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ
ดังนี้
1. ให้ยกเลิกเครื่องหมายที่แสดงว่ารถดังกล่าวได้จัดให้มีการประกันภัย
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
และยกเลิกภาระของนายทะเบียนในการจัดทำเครื่องหมายและส่งมอบให้กับบริษัทเพื่อส่งมอบเครื่องหมายให้เจ้าของรถที่จัดให้มีการประกันภัย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้เจ้าของรถที่ได้จัดทำประกันภัยที่ความคุ้มครองเริ่มตั้งแต่
วันที่ 6 เมษายน 2550 เป็นต้นมา
จะไม่ได้รับเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยรถจากบริษัทประกันภัย
2 พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
บัญญัติให้กรมการขนส่งทางบกได้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบรถทุกคันก่อนการจดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปี
ว่าได้มีการจัดทำประกันภัยแล้วหรือไม่ซึ่งหากไม่ได้มีการจัดทำประกันภัยแล้วกรมการขนส่งทางบกก็จะไม่ดำเนินการจดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีให้แก่รถคันดังกล่าว
ดังนั้นหากจะต้องนำรถไปจดทะเบียนหรือรถคันใดถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระภาษีประจำปีเจ้าของรถควรจัดให้มีการทำประกันภัยก่อนและนำเอกสารหลักฐานการจัดทำประกันภัยประกอบคำร้องขอการจดทะเบียนหรือชำระภาษประจำปีนั้นด้วยโดยป้ายวงกลมที่ได้รับหลังจากการชำระภาษีประจำปีจะเป็นข้อสันนิฐานเบื้องต้นว่ารถคันนั้นได้มีการจัดทำประกันภัยแล้วและเพื่อให้ความเชื่อใจเกิดแก่ประชาชนกรมการประกันภัยได้มีการประสานงานกับกรมการขนส่งทางบกและพร้อมที่จะนำระบบส่งข้อมูล
การรับประกันภัยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการตรวจสอบการจัดทำประกันภัย
|
|
หน้าแรก |
ประกันวินาศภัย |
ประกันชีวิต |
การสั่งซื้อ |
การชำระเงิน |
สนับสนุน |
สาระน่ารู้ |
ผังเว็บไซต์ |
ติดต่อเรา |
Copyright © 2006 Cymiz.com., All rights reserved. Power by
Cymiz.com |