"แบบประกันชีวิต และ ประเภทของประกันชีวิต"
แบบของประกันชีวิต
1.แบบภายในกำหนดเวลา หรือแบบชั่วระยะเวลา = คุ้มครองล้วนๆ
ไม่มีเงินคืนเมื่อครบ เบี้ยที่จ่ายเพื่อการคุ้มครองจริง
ทุนประกันคุ้มครองจึงได้สูงในจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายเท่ากันเมื่อไปซื้อแบบอื่น
-เบี้ยประกันภัยต่ำ
-คุ้มครอง มีระยะเวลา1 ปี,5 ปี,10ปี
-ไม่มีเงินคืนเมื่อครบสัญญา
แบบนี้ไม่ค่อยมีคนอยากซื้อ และตัวแทนก็ไม่ค่อยนิยมขาย
ถ้ามีโอกาสตัวแทนอยากเลือกแบบอื่นมากกว่า แต่แบบนี้กลับเป็นที่นิยมในประเทศที่
ธุรกิจประกันชีวิตเจริญ เช่น สหรัฐอเมริกา คนไทยมักจะบอกว่าซื้อไปทำไม
ตายแล้วไม่ได้ใช้เงิน เอาแบบที่มีเงินคืนดีกว่า แต่ขาวอเมริกามองว่า
ซื้อเฉพาะคุ้มครอง ส่วนของการออมทรัพย์สู้ไปลงทุนดีกว่า
เช่นถ้าแบบชั่วระยะเวลาเบี้ยประกัน 2,000 บาท/ปี ต่อทุนประกันภัย 100,000 บาท
ขณะที่แบบสะสมทรัพย์ทุนประกัน 100,000 บาท เบี้ยประกันภัย 10,000 บาท/ปี
เอาส่วนต่าง 8,000 บาท ไปลงทุน จะได้ผลตอบแทนมากกว่าฝากประกันชีวิต
2.แบบสะสมทรัพย์ = คุ้มครอง และ ออมทรัพย์พอๆกัน,
เบี้ยประกันที่จ่ายจะมาจากส่วนของความคุ้มครองเเละส่วนของออมทรัพย์
-คุ้มครอง และออมทรัพย์ใกล้เคียงกัน
-เบี้ยประกันภัยสูง
-มี ระยะเวลา ครบสัญญาได้เงินทุนประกัน
-หากเกิดโรคภัยจะได้รับการคุ้มครอง
3.แบบตลอดชีพ = คุ้มครองมาก ออมทรัพย์น้อย, เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายค่อนข้างน้อย
เมื่อเทียบกับการคุ้มครองที่ได้รับ
-เบี้ยประกันภัยกลางๆ ต่ำกว่า แบบสะสมทรัพย์แต่สูงกว่าแบบชั่วระยะเวลา
-เป็นการจัดให้กองมรดก คนฝากไม่ได้รับจะตกอยู่กับหลาน
-ระยะยาว ความคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี หรือ 90 ปี
4.แบบเงินได้ประจำ = คุ้มครองน้อย ออมทรัพย์มาก, เน้นที่เงินคืน เงินปันผล ตอนครบปี
ครบสัญญา ไม่เน้นคุ้มครอง
-ไม่มีการจ่ายทุนประกันภัยเมื่อครบสัญญาส่งเบี้ยประกันภัยแล้ว
-เป็นการจ่ายเงิน เป็นงวดๆ หลังครบสัญญาให้เป็นระยะๆ แบบเงินบำนาญ
บางทีจึงเรียกแบบบำนาญ
-จะให้จนกว่าจะเสียชีวิต หรือตามระยะเวลาที่กำหนดหลังครบสัญญาส่งเบี้ยประกันภัยแล้ว
บริษัทประกันชีวิต สามารถนำแบบประกันพื้นฐานเหล่านี้ มายำ รวมกัน ปนกัน
ทำให้แต่ละบริษัทมีแบบประกันชีวิตมากมาย หลายสิบแบบหลายร้อยแบบ
ประเภทของประกันชีวิต 3 ประเภท
1. ประเภทสามัญ หรือ รายงวด
โดยมีลักษณะเด่นอยู่อย่างหนึ่งคือ ลูกค้าต้องชำระเบี้ยประกันเป็นรายปี
หากชำระเป็นราย 6 เดือน หรือ 3 เดือน ผู้เอาประกัน ต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยเล็กน้อย
เพื่อมิให้ผู้ที่ชำระเบี้ยเป็นรายปีเสียเปรียบ
ปัจจุบันนี้บางบริษัทให้ชำระเบี้ยเป็นรายเดือนได้ ด้วย จุดเด่นของประเภท
สามัญมีอีกอย่างหนึ่งคือ
บริษัทเปิดโอกาสให้ลูกค้าเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมในสัญญาหลักได้ เช่น
สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครอง อุบัติเหตุ ฆาตกรรม จลาจล สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ
สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้าย
2. ประเภทอุตสาหกรรม หรือบางแห่งก็เรียกประเภทมวลชน หรือ รายเดือน
ประเภทนี้เรียกตามภาพลูกค้าและการขาย คือตัวแทน
จะขายส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรมขายจำนวนลูกค้ามากๆ
จะให้คุ้มกับการลงทุนไปบริการแต่ละครั้ง ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง เกษตรกร
จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นมวลชน ประเภทนี้ไม่มีการตรวจสุขภาพของผู้เอาประกัน
เหมือนประเภทสามัญ แต่ใช้ วิธีป้องกันตนเอง
จึงมีระยะปลอดความคุ้มครองหรือระยะเวลารอคอย
บริษัทจะไม่ให้ความคุ้มครองทันทีที่ออกกรมธรรม์ จนกว่าจะครบ 6 เดือน
แล้วจึงจะเริ่มคุ้มครอง หากลูกค้าเป็นอะไรในช่วงระยะรอคอย
ก็ให้ญาติมารับเบี้ยประกันคืนไปอย่างเดียว การคุ้มครองอุบัติเหตุ
ไม่มีสัญญาเพิ่มเติม แต่
เป็นรูปแบบสำหรับตัวเดียวรวมกับเบี้ยประกันชีวิตไว้เรียบร้อย
จึงไม่มีการซื้อขายสัญญาเพิ่มเติม
ปัจจุบันนี้บริษัทที่ยังยืนหยัดนโยบายของธุรกิจโดย ใช้ประเภทอุตสาหกรรมเป็น
หลักใหญ่คือ บริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต เพราะตรงกับตลาดคนไทย
กลุ่มฐานลูกค้ามีมากมายมหาศาลคนซื้อก็ตัดสิน ใจง่าย
เพราะเบี้ยประกันเริ่มต้นเดือนละไม่กี่ร้อยบาทก็ทำได้แล้ว ด้วยเหตุนี้ กระมัง
ทำให้บางบริษัท ขยายวิธีการเก็บเบี้ยประกันประเภทสามัญเป็นรายเดือนได้
3. ประเภทกลุ่ม
สหกรณ์เกือบทุกแห่ง จะทำประกันประเภทกลุ่มให้แก่สมาชิก ตามกฎหมายกำหนดไว้ตั้งแต่ 10
คน ก็ถือเป็นกลุ่มได้แล้ว
แต่ต้องเป็นลักษณะกิจการไม่ใช่ไปรวมตัวกันเองแล้วมาเสนอขอซื้อประกันกลุ่ม
บริษัทประกันชีวิต จะออกกรมธรรม์เพียงฉบับเดียว ไม่ว่าจะคุ้มครอง คนกี่คน
ลูกค้าแต่ละคนจะได้ใบรับรองหรือบัตรซึ่งบรรจุรายละเอียด
ความคุ้มครองแล้วต้องส่งเบี้ยให้ครบปี ยกเว้นจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นภายหลัง
ในเรื่องความคุ้มครอง
ก็จะเป็นเรื่องการเสียชีวิตเป็นหลักแต่ทุกวันนี้เริ่มมีการเพิ่มเติมค่า
รักษาพยาบาลรายวัน หรือสุขภาพ อื่นๆ |