ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด (Industrial All Risk)

ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ,ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน คืออะไร?

การประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด (Industrial All Risk)

การประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด (Industrial All Risk)คือ กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ เช่น อัคคีภัย การโจรกรรม การตกหล่น ตกน้ำ และอุบัติเหตุอื่นๆ คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากอุบัติเหตุใดๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัย

ประกันภัยเสี่ยงภัยทุกชนิด
ให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประกอบกิจการต่าง ๆ (ไม่รวมฐานราก)
เช่น อาคาร โกดัง หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติคตั้งตรึงตรา อุปกรณ์สำนักงาน ของใช้ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ สต็อกสินค้า เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในอาคารนั้น สำหรับความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันไว้จากอุบัติเหตุซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่มิได้ระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์

ภัยที่ได้รับความคุ้มครอง
1. ไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด
2. ภัยพิเศษ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว การจลาจลนัดหยุดงาน การกระทำโดยเจตนาร้าย ภัยจากอากาศยาน ภัยลมพายุ ภัยเปียกน้ำ ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากลูกเห็บ ภัยจากควัน
3. การโจรกรรม
4. อุบัติภัยใดๆ ที่ไม่ได้ระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์
ภัยเพิ่มเติมที่สามารถขยายความคุ้มครองได้
5. ความเสียหายต่อกระจก (Plate Glass)
6. ความประกันภัยเครื่องจักรหยุดชะงัก (Machinery Breakdown)
7. การประกันภัยสำหรับเงิน (Money Insurance)
8. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public Liability)
ข้อยกเว้น (อย่างย่อ)
1. ความผิดพลาด หรือความบกพร่องจากการออกแบบ การใช้วัสดุหรือฝีมือแรงงาน
2. การเสื่อมสภาพหรือ โดยสภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยนั้นเอง
3. การพังทลายหรือการแตกร้าวของอาคาร
4. การสูญหายโดยมิทราบสาเหตุ
5. การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือผู้กระทำการแทน
6. สงคราม การรุกราน การกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ หรือการปฏิบัติการเยี่ยงสงคราม สงครามกลางเมือง
7. การสูญเสียการครอบครองไม่ว่าถาวรหรือชั่วคราว เนื่องจากการถูกยึดทรัพย์ และโอนทรัพย์สินเป็นของรัฐ การเวนคืน
8. การทำลายทรัพย์สิน โดยคำสั่งเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย
9. การแผ่กัมมันตภาพรังสี จากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ สภาวะเป็นพิษ
10.เงินตรา เช็ค บัตรเครดิต ทอง หรืออัญมณีมีค่า เว้นแต่จะได้ระบุไว้เป็นการเฉพาะว่าได้เอาประกันไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้
11.ทรัพย์สินในการดูแลของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รักษาทรัพย์ เช่น เอกสารต้นฉบับ ระบบคอมพิวเตอร์
12.ยานพาหนะที่จดทะเบียนสำหรับใช้บนถนน ยานพาหนะทางน้ำ และ ทางอากาศ
13.ทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างขนส่ง
14.ทรัพย์สินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในระหว่างการรื้อถอน การก่อสร้างหรือการติดตั้งรวมทั้งวัตถุหรือวัสดุที่เกี่ยวกับการนั้น
15.ปศุสัตว์ พืชไร่ หรือต้นไม้
16.ทรัพย์สินที่ได้รับจัดทำประกันภัยไว้เป็นการเฉพาะแล้ว เช่น ประกันภัยรถยนต์
17.“ความเสียหาย” ต่อทรัพย์สินนั้นสามารถเรียกร้องค่าเสียหาย หรือได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากกรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ เช่น กรมธรรม์ขนส่ง กรมธรรม์รถยนต์ เป็นต้น

ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR)

ประกัน IAR (Industrial All Risks) อาจเรียกว่า ...
ประกันสรรพภัย, ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ,ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด
คุ้มครองความเสียหายจากอุบัติภัยทุกอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อยกเว้น
ผู้เอาประกันสามารถเลือกคุ้มครองทรัพย์สิน และ ปรับความคุ้มครองตามความต้องการได้ เช่น เพิ่มความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (PL), การโจรกรรม-ลักทรัพย์, น้ำท่วม ฯลฯ

เหมาะสำหรับ
ธุรกิจที่มีทรัพย์สินมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป เช่น โรงงาน อาคาร โรงแรม โรงพยาบาล นิติบุคคลคอนโด, ร้านค้า ฯลฯ
ธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้น 10 ล้านบาทขึ้นไป
คุ้มครองอาคารสิ่งปลูกสร้าง, เฟอร์นิเจอร์, ส่วนติดตั้งตรึงตรา, เครื่องจักร, สต็อกสินค้า ฯลฯ

สำหรับสถานประกอบการที่มีการผลิต และการเก็บสต็อกสินค้า นอกเหนือไปจากการจำหน่ายสินค้า อาจต้องการความคุ้มครองที่มากกว่าอัคคีภัย คุ้มครองรวมถึงภัยอื่นๆ และอุบัติเหตุต่างๆ

สิ่งที่รับประกันภัย

ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันภัยได้ เช่น ตัวอาคาร เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้สำนักงาน สต็อกสินค้า ตลอดจนเครื่องจักรต่างๆ ใช้กับการประกันภัยทรัพย์สินประเภทโรงงานอุตสาหกรรม และการค้าขนาดใหญ่

ความคุ้มครองมาตรฐาน

คุ้มครองความเสียหายทางกายภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากอุบัติเหตุใดๆ ที่มิได้มีการระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์สำหรับอุบัติเหตุดังกล่าว ประกอบไปด้วย
1.ภัยธรรมชาติ ได้แก่ ลมพายุ ลูกเห็บ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟป่า
2.ภัยอื่นๆ ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ควัน ระเบิด ภัยเนื่องจากน้ำ การถูกชนโดยยานพาหนะหรืออากาศยาน รวมถึงวัตถุที่ตกจากอากาศยาน
3.การจลาจล นัดหยุดงาน การกระทำป่าเถื่อน เจตนาร้าย
4.อุบัติเหตุอื่นๆ ที่มิได้การระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์

อัตราเบี้ยประกันภัย

ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากฝ่ายรับประกันภัย

ข้อยกเว้นที่สำคัญ

1.ความเสียหายจากการชำรุด เสียหาย ขัดข้อง ของระบบกลไก หรือระบบไฟฟ้าของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์
2.ความเสียหายจากการสึกหรอ เสื่อมสภาพ ถูกสัตว์ทำลาย หรือจากกรรมวิธีในการทำความสะอาด
3.ปฏิกิริยาของแสงหรือสภาพดินฟ้าอากาศ (นอกจากฟ้าผ่า)
4.การแตกหักของกระจก แก้ว หรือวัตถุที่เปราะแตกหักง่ายซึ่งมิได้เกิดจากอัคคีภัย หรือการลักทรัพย์
5.สงคราม การรุกราน การกระทำของศัตรูต่างชาติ การกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ หรือการปฏิบัติการ เยี่ยงสงคราม (ไม่ว่าจะมีประกาศหรือไม่ก็ตาม) สงครามกลางเมือง
6.การก่อความไม่สงบของประชาชนถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล การกบฎ การปฏิวัติ การยึดอำนาจ การปกครองโดยทหาร
7.การก่อการร้ายโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้ายที่ใช้กำลังรุนแรง เพื่อผลทางการเมืองและรวมถึงการใช้กำลังอย่างรุนแรงเพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่สาธารณชน ข้อยกเว้นนี้ไม่ใช้บังคับกรณีความเสียหายอันเกิดจากอัคคีภัย
8.อาวุธนิวเคลียร์
8.ปฏิกิริยานิวเคลียร์ กัมมันตภาพรังสี หรือการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสี การแตกตัวของประจุ การแผ่รังสีของกัมมันตภาพรังสี

  • กรุงเทพประกันภัย

  • เมืองไทยประกันภัย

ขอข้อเสนอใหม่ / ข้อเสนอสำหรับปีต่ออายุ


1. กรอกแบบฟอร์มสำรวจภัย Survey Form
2. ภาพถ่ายสถานประกอบการ
3. ตารางกรมธรรม์เดิม ( กรณีมีกรมธรรม์แล้ว)
4. รายงานเคลมย้อนหลัง 3 ปี (ประวัติความสูญเสียหรือความเสียหายที่เคยเกิดขึ้น)
5. นัดสำรวจภัย
6.รายละเอียดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและทุนประกันภัย กรณีที่มีการผลิต ขอข้อมูลกระบวนการผลิตด้วย
7.ธุรกิจของผู้เอาประกันภัย
8.ลักษณะการป้องกันการเกิดอัคคีภัย เช่น ระบบดับเพลิง ระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ

ขอข้อเสนอใหม่ / ข้อเสนอสำหรับปีต่ออายุ

1. สถานที่ตั้ง
2. จำนวนเงินเอาประกันภัย (30 ล้านบาทขึ้นไป)
3. ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง (ลักษณะของฝาผนังด้านนอก พื้นชั้นบน โครงหลังคา จำนวนคูหา หรือหลัง)
4. พื้นที่ภายในอาคาร (ความกว้าง ความยาว และจำนวนชั้น)
5. ลักษณะการใช้ ระบุว่าทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร เช่น เป็นร้านค้า โรงงานฯลฯ
6. รายละเอียดทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
- สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมรากฐาน)
- เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตราและเครื่องใช้
- สต๊อกสินค้า (กรุณาระบุประเภทด้วย) เช่น เสื้อผ้า วัตถุดิบต่างๆ ฯลฯ
- เครื่องจักร
7. ชื่อบริษัท
8. ชื่อผู้ติดต่อ / ผู้ขอเอาประกันภัย
9. เบอร์ติดต่อ และ อีเมล



ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 07:28:37pm... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com