ไมโครอินชัวรันส์ ตลาดที่เข้าไม่ถึง

ไมโครอินชัวรันส์ ตลาดที่เข้าไม่ถึง

ไมโครอินชัวรันส์ ตลาดที่เข้าไม่ถึง

ตลาดรากหญ้า เป็นตลาดที่ค่ายประกันต่างจ้องปักธงชิงฐานลูกค้ากันอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระทั่ง ปีที่แล้วทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ก็หมายมั่นปั้นมือจะผลักดันให้สินค้าประกันภัยเข้าไปถึงยังคนกลุ่มนี้ เพื่อเป้าหมายใหญ่กว่านั้น คือ การที่ระบบประกันภัย เข้าถึง ประชาชนไทยทุกระดับ อันเป็นที่มาของโครงการ ไมโครอินชัวรันส์

พร้อมกับได้กำหนดแบบประกันมาตรฐานสำหรับการขายในตลาดนี้ขึ้นโดยเฉพาะและกำหนดคุณสมบัติของ ผู้ขายในเบื้องต้นที่ต้องมีใบอนุญาต หรือไลเซ่นส์เฉพาะสำหรับการขายสินค้านี้ เพื่อเป็นการ ปลุกกระแส ให้คนในพื้นที่ หรือในชุมชนนั้นๆ เป็นผู้ขายสินค้านี้ในชุมชน เอง เพราะย่อมสร้างความน่าเชื่อถือ และเข้าถึงตลาดได้ดีกว่าคนนอกชุมชน

แต่การผลักดันของภาครัฐ กลับไม่ได้ทำให้ไมโครอินชัวรันส์ แรง ขึ้นอย่างที่คิด ตรงกันข้ามกลับ เงียบเสียง จนน่าใจหาย ซึ่งจากการสอบถามบริษัทประกันชีวิตที่เปิดตลาดไมโครอินชัวรันส์อย่างหนัก ให้ความเห็นว่า ไมโครอินชัวรันส์ไม่ได้เงียบเสียงอย่างที่คิด เพียงแต่เมื่อเข้าไปลงตลาดจริงๆ กลับพบว่า กลายเป็น ตลาดที่เข้าไม่ถึง ไปในทันที

สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะ กลุ่มคนที่คิดว่าเป็นคนในระดับไมโครอินชัวรันส์นั้น แท้จริงแล้ว อัตราเบี้ย ไม่ใช่ตัวกำหนดความต้องการของคนกลุ่มนี้ แต่ขึ้นกับหลายปัจจัย ทั้งในเรื่องของ รายได้ ซึ่งขึ้นกับ ราคาพืชผล ที่ขายได้ในปีนั้นๆ ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ตายตัว ดังนั้น ตัวสินค้าที่กำหนดเป็นมาตรฐานไว้นั้น จึงไม่ใช่สินค้าที่กลุ่มคน เหล่านี้ต้องการอย่างแท้จริง

กลายเป็นว่า คำจำกัดความ ของกลุ่มไมโครอินชัวรันส์ไม่ได้ยึดติดกับสินค้าที่ คปภ. กำหนดไว้ ค่ายประกันจึงต้องมาจัดหาคำจำกัดความ และ จัดกลุ่ม ไมโครอินชัวรันส์กันใหม่ ซึ่งยอมรับว่า ค่อนข้าง ยาก ที่จะระบุได้ว่า กลุ่มไหนควรเรียกเป็นกลุ่มไมโครอินชัวรันส์อย่างแท้จริง

ดังนั้น จึงทำให้ระบุยอดขายไมโครอินชัวรันส์ได้ยาก เพราะหากยึดตามตลาดทุกวันนี้ คนกลุ่มนี้สามารถซื้อสินค้าได้หลายประเภทนอกเหนือจากสินค้าไมโครอินชัวรันส์ มาตรฐานของ คปภ.

แต่ก็ยังยืนยันว่า สินค้าไมโครอินชัวรันส์มาตรฐานที่คปภ.กำหนดไว้นั้น ก็ยังคงใช้ได้ เพราะถือเป็น สินค้าพื้นฐาน มากกว่า ฟังอย่างนี้แล้ว ก็ได้แต่เห็นใจทั้งฝั่งบริษัทประกัน และคปภ.ที่อาจต้องมา ปรับจูน ตลาดนี้กันใหม่ ซึ่งเท่าที่เห็นก็เริ่มจะมีการปรับแผนกันบ้างแล้ว เห็นได้จากโครงการ ประกันภัยสู่ประชาชน ของ คปภ. ที่ร่วมมือกับภาคธุรกิจประกันภัย และหน่วยงานต่างๆ ใน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา ในลักษณะของการไปร่วมในงานใหญ่ประจำปีของจังหวัด เหล่านี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประกันภัยเข้าถึงประชาชนได้ ทุกระดับ ทั่วประเทศ ส่งเสริมความรู้ด้านการทำประกันภัย รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อวงการธุรกิจประกันภัยอีกด้วย

งานนี้ก็น่าจะทำให้ไมโครอินชัวรันส์ จุดประกาย ขึ้นมาอีกครั้ง เพราะเชื่อว่าแต่ละค่ายต้องขนสินค้าไปขาย ในงานอย่างคับคั่งแน่ๆ แต่จะให้ดี ควรต้องคุยกันก่อนหรือไม่ว่าไมโคร อินชัวรันส์จะไปในทิศทางใด เพื่อให้เป็นตลาดที่เข้าถึงได้เสียที เพราะโครงการดีๆ อย่างนี้ต้องช่วยกันเชียร์ให้เกิดผล ไม่ควรปล่อยให้เงียบหายไปอย่างน่าเสียดาย


ID=929,MSG=1057
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Sunday เวลา 12:56:16pm... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com