บริษัทประกันที่คุณสามารถเชื่อถือได้

บริษัทประกันที่คุณสามารถเชื่อถือได้

บริษัทประกันที่คุณสามารถเชื่อถือได้

การทำประกันชีวิตถือเป็นข้อผูกพันระยะ ยาว โดยทั่วไปมักอยู่ในช่วง 10 ปีหรือมากกว่า ขณะที่กรมธรรม์แบบตลอดชีพนั้นผู้ทำประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันไปจนถึงอายุ 90 ปี ดังนั้นเมื่อซื้อประกันชีวิต เราก็ควรจะเลือกบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือและให้ความมั่นใจในระยะยาว กับเราได้ แต่กรณีที่พบได้บ่อยคือการที่เราจะต้องซื้อประกันชีวิตจากคนขายประกันที่ เป็นญาติ เป็นเพื่อน หรือไม่ก็เพื่อนร่วมงานเนื่องจากไม่สามารถที่จะเอ่ยปากปฎิเสธได้หรือไม่ก็ ซื้อแบบเสียไม่ได้เพราะทนความตื้อและการสรรหาเทคนิคการขายที่กล่อมจนหลงของ ตัวแทนขายประกันบางคนไม่ไหว ทำให้คนจำนวนไม่น้อยจบลงด้วยการซื้อประกันผิดประเภท หรือไม่ก็ซื้อประกันทั้งๆที่ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลทางการเงินของบริษัทประกัน ที่ตนเลือกให้ดีเสียก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียว เพราะผลสุดท้ายหากเกิดเหตุอะไรขึ้นมา ก็ไม่แน่ว่าบริษัทพวกนั้นจะยังอยู่ต่อไปอีก 20-30 ปีได้หรือไม่

ในกรณีของประเทศไทย แม้ว่าบริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ทุกแห่งสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ Asian Crisis มาได้ แต่เนื่องจากอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกนับตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 ที่อเมริกา และยุโรป ไปจนถึงการระบาดของโรคซารส์ (SARS) ในเอเซีย ทำให้บริษัทใหญ่บางแห่งในแวดวงประกันภัยต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเงิน ครั้งยิ่งใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเราต้องมีข้อผูกพันในระยะยาวอย่างการทำประกันชีวิตกับบริษัทไหน สักแห่ง เราจึงควรมองการณ์ไกลโดยเลือกบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงินมากที่สุดที่ จะสามารถช่วยเหลือเราได้ในยามที่เราต้องการ

เคยกล่าวไปหลายครั้งแล้วว่าเรา ควรแยกแยะการทำประกันชีวิตและการลงทุนออกจากกัน ประกันชีวิตนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ส่วนการลงทุนนั้นเกี่ยวกับเรื่องการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งสองอย่างต้องใช้ความเชี่ยวชาญคนละด้าน แต่สำหรับครั้งนี้เราจะเน้นในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งความเสี่ยงส่วนบุคคล และวิธีรับมือกับมันโดยการทำประกันภัย

“ ความเสี่ยง ” เป็นคำสั้นๆ ที่ทำให้หลายคนกลัว ซึ่งอาจเนื่องมาจากความหมายในแง่ลบของมัน เมื่อพูดถึงความเสี่ยง บางคนนึกถึงความสูญเสีย ขณะที่บางคนอาจนึกถึงความไม่แน่นอน การเข้าใจแนวทางในการบริหารความเสี่ยงนั้นสำคัญต่อการวางแผนทางการเงิน และเมื่อเข้าใจพร้อมทั้งนำไปปฎิบัติตามแล้ว ความเสี่ยงก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป

ความเสี่ยงส่วนบุคคล (Personal risk)

สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. การเสียชีวิต (Death)

2. ความพิการ (Disabillity)

3. การเจ็บไข้ได้ป่วย (Medical illnesses)

การเสียชีวิต (Death)

ความตายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ถึงแม้มันจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากกล่าวถึงในชีวิตประจำวัน แต่การเสียชีวิตนับเป็นความเสี่ยงครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตที่คนเราจะต้องเจอ ถึงคนเราจะมีอายุยืนยาวขึ้นเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ แต่เราก็ไม่สามารถหนีความตายได้พ้น เรามักจะพูดกันว่าเป็นความตั้งใจของพระเจ้าที่กำหนดให้คนเรามีชีวิตอยู่ อย่างน้อย 60 ปี ดังนั้นหากมีการดูแลตัวเองบ้างพอสมควร เช่น ออกกำลังการบ้าง ถ้าจะสูบบุหรีหรือดื่มเหล้า ก็เอาแต่พอประมาณ คนเราน่าจะมีอายุเกิน 60 ปีได้ ซึ่งหากอยู่ได้ถึงตอนนั้นจริงๆ เราก็คงไม่ต้องทำประกันชีวิตเนื่องจากไม่มีบริษัทประกันไหนที่รับประกันผู้ ที่มีอายุเกิน 60 ปีอยู่แล้ว

แต่อย่างไรก็ตามการเสียชีวิต ก่อนเวลาอันควร (Premature death) อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุและส่งผลให้เกิดความสูญเสีย 2 รูปแบบ คือ ความสูญเสียทางด้านจิตใจและการเงิน ความสูญเสียทางด้านจิตใจมักเกิดขึ้นกับบุคคลที่เรารักเป็นอันดับแรก ซึ่งก็จะตามมาด้วยความสูญเสียทางด้านการเงินที่จะนำความเจ็บปวดมาให้เมื่อ ความโศกเศร้าเริ่มลดลง โดยความสูญเสียด้านการเงินก็คือการสูญเสียรายได้ในอนาคตที่คู่ชีวิตรวมทั้ง ลูกหลานของเรายังจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิตหลังจากนั้นต่อไป

เมื่อทราบเช่นนี้แล้วก่อนที่เรา จะทำประกันชีวิต เราจึงจำเป็นต้องคำนวณหาความต้องการทางการเงินของเราเสียก่อนโดยความต้องการ ดังกล่าวแบ่งออกได้เป็น “ ความต้องการพื้นฐาน ” (Capital need) โดยเราต้องคำนวณหาค่าใช้จ่ายประจำเดือนของทั้งครอบครัวและจำนวนปีที่ครอบ ครัวของเรายังต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต ขั้นต่อไปคือการคำนวณหาความต้องการทางการเงินของเราเสียก่อนโดยความต้องการ ดังกล่าวแบ่งออกได้เป็น “ ความต้องการพื้นฐาน ” (Capital need) โดยเราต้องคำนวณหาค่าใช้จ่ายประจำเดือนของทั้งครอบครัวและจำนวนปีที่ครอบ ครัวของเรายังต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต ขั้นต่อไปคือการคำนวณหา “ ความต้องการในทันที ” (immediate need) ซึ่งจะเกิดขึ้นในทันทีหลังจากที่เกิดเหตุกับเรา เช่นค่ารักษาพยาบาล เงินเบิกเกินบัญชี ภาษี ( ไม่ผิดคนตายก็ยังต้องจ่ายภาษี ) รวมทั้งหนี้สินที่ค้างชำระต่างๆ และเมื่อคำนวณเงินก้อนนี้

ได้แล้วก็นำไปหักลบกับทรัพย์สิน ที่มีอยู่ ก็จะได้ทรัพย์สินส่วนที่เหลือ และถ้าหากความต้องการทางการเงิน (ทั้งความต้องการพื้นฐานและความต้องการในทันที ) มีมากกว่าทรัพย์สินที่มีอยู่ ก็เท่ากับว่าเกิดความไม่เพียงพอในการเตรียมเงินทุนให้กับสมาชิกในครอบครัว ของเราหากเราต้องเสียชีวิตไปก่อนเวลาอันสมควร นั่นคือเราไม่สามารถที่จะวางแผนให้ครอบครัวของเรารับมือกับความเสี่ยงชนิด นี้ได้นั่นเอง

โดยพื้นฐานแล้วการรับมือกับความ เสี่ยงมี 3 วิธี คือ การคงไว้ (retain) การลด (reduce) และการโยกย้ายความเสี่ยงให้ผู้อื่น (transfer) บางคนเลือกที่คงความเสี่ยงไว้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่น่าใส่ใจ ส่วนบางคนพยายามที่จะลดความเสี่ยงโดยการดูแลตัวเองหรือพยายามจัดระเบียบการ ใช้ชีวิตให้ดี แต่เนื่องจากความตายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงออกไปจากชีวิตได้อย่างแท้จริงและหนทางที่ดี และน่าสนใจที่สุดก็คือการโยกย้ายความเสี่ยงโดยเลือกทำประกันชีวิตที่เหมาะสม กับตัวของเราเอง

ความพิการ (Disability)

ความพิการแตกต่างจากการเสีย ชีวิตแต่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเกิดและวิธีการรับมือนั้นมีความคล้ายคลึง กัน คำจำกัดความของความพิการมีหลากหลายขึ้นอยู่กับขอบเขตของความเสี่ยงที่ทำให้ มันเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วความพิการแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ความพิการทางอาชีพการงาน (occupational disability) ประเภทแรกคือการไร้ความสามารถในการประกอบอาชีพหรือการทำงานตามที่บุคคลเหล่า นั้นได้รับการศึกษา ฝึกฝน และได้สั่งสมประสบการณ์มาส่วนความพิการแบบถาวรนั้นหมายถึง การที่บุคคลนั้นไม่สามารถประกอบอาชีพใดๆได้เลย เนื่องจากสูญเสียความสามารถในการมองเห็น หรือสูญเสียแขนและขา เช่นเดียวกับการเสียชีวิต ความพิการก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ในอนาคต คนพิการที่ยังมีคนในครอบครัวที่ต้องดูแลมักประสบปัญหาการเงินขั้นรุนแรง เพราะนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวแล้วเขายังต้องใช้จ่ายเงินเพื่อ รักษาตัวเองอีกต่างหาก มีข้อมูลที่น่าสนใจอ้างอิงว่าที่อเมริกามีคนพิการถึง 35 ล้านคนและมีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่พิการมาแต่กำเนิด ดังนั้นความเสี่ยงในเรื่องของความพิการนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริงและ ไม่ควรถูกมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ควรมองข้ามไปอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุก เวลา

ก็เหมือนกับการซื้อลอตเตอรี่ที่ย่อมต้องมีผู้โชคดีและโชคร้ายและบ่อยครั้งที่ความพิการขั้นรุนแรงนั้นเลวร้ายกว่าการเสียชีวิตเสียอีก

ขั้นตอนแรกในการเตรียมการรับมือ กับความเสี่ยงของความพิการก็คือ การหาคำจำกัดความของคำว่าความพิการ ว่าเป็นในแบบอาชีพการงานหรือแบบถาวร เพื่อที่เราจะได้คำนวณหาความต้องการทางการเงินได้อย่างถูกต้อง หลักจากนั้นจึงคำนวณหารายจ่ายที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตต่อไป แล้วจึงนำไปหักกลบลบหนี้กับยอดเงินรวมของรายได้ที่จะได้รับ ( ถ้ามีในกรณีที่เป็นความพิการด้านอาชีพการงาน นั่นก็คือการเปลี่ยนอาชีพหากทำได้ ) และทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมด แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นการจัดการกับการขาดรายได้อันเนื่องมาจากความพิการอาจ ทำได้แตกต่างกันไป บางคนอาจพยายาม ‘ ลด ” ความเสี่ยงในการเกิดความพิการโดยการเลี่ยงกิจกรรมที่มีอันตราย หรือบางคนอาจเลือกที่จะโยกย้ายมันด้วยการทำประกันชีวิตเช่นกัน

การเจ็บไข้ได้ป่วย (Medical illnesses)

อาการเจ็บป่วยของคนเรามักเพิ่ม ความหลากหลายและรุนแรงยิ่งขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นเสมอ แต่สิ่งที่ทำร้ายเงินในกระเป๋าของเรามากที่สุดเห็นจะเป็นค่ารักษาพยาบาลที่ เพิ่มมากขึ้นด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแค่การผ่าตัดธรรมดาก็ต้องเสียเงินเป็นจำนวนหกหลัก เข้าไปแล้ว ไม่ต้องพูดถึงการผ่าตัดใหญ่ๆ อย่างการผ่าตัดหัวใจที่มีค่ารักษาพยาบาลถึงเจ็ดหลักกันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงเรื่องการเงินสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการเจ็บไข้ได้ ป่วย รวมทั้งวิธีการรับมือกับมันมีส่วนคล้ายกับความพิการเช่นกัน ที่เห็นได้ทั่วไปคือค่ารักษาพยาบาลที่สูงลิ่ว แนวโน้มที่จะไม่สามารถประกอบอาชีพซึ่งจำทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ ความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังหนี้สินที่เพิ่มขึ้น การใส่ใจดูแลตัวเองให้ดี จึงน่าจะเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ได้

อย่างไรก็ตามจากสถิติที่ผ่านมา พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของคนเราทั้งชีวิต 80% มักจะเกิดขึ้นในช่วง 2 ปีสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น เพราะฉะนั้นการทำประกันสุขภาพจึงดูน่าจะจำเป็นมากกว่าการทำประกันในเรื่อง ของความพิการหรือการเสียชีวิตเสียอีก แต่ข้อจำกัดของการทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมไปจนถึงแค่อายุ 60 ปี หรือบางบริษัทอาจจะยืดไปถึง 70 ปี แต่ก็มีข้อยกเว้นต่างๆมากมาย ทำให้ความต้องการในเรื่องของสิ่งที่จะมารองรับความเสี่ยงตรงนี้ขาดหายไป จึงจำเป็นอยู่เองที่เราต้องหาเงินออมจากด้านอื่นๆมาทดแทน

คำแนะนำในการเลือกบริษัทประกัน

วิธีการรับมือกับความเสี่ยงมี หลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทและความสูยเสียที่เกิดขึ้นการโยกย้ายความเสี่ยง บางประเภทไปให้บริษัทประกันนับเป็นทางเลือกที่ดีของหลายคน เพราะวิธีการนำเอาความเสี่ยงของคนกลุ่มใหญ่ๆ มารวมกันเอาไว้ของบริษัทประกัน จะทำให้บริษัทประกันเองสามารถบริการความเสี่ยงเหล่านั้นได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามบริษัทประกันแต่ละแห่งจะสามารถรับมือกับความเสี่ยงทุกประเภทไม่ เท่ากัน บางบริษัทอาจบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่าบริษัทอื่น ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะทราบได้อย่างไรว่าบริษัทประกันบริษัทไหนที่จะอยู่กับ เราไปตลอดในช่วงระยะยาว ซึ่งวิธีการเลือกที่เราสามารถทำได้ ก็โดยการดูจากสถานะการเงินของบริษัทนั้นๆ เป็นหลัก ซึ่งข้อมูลทางการเงินข้างล่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนแบ่งการตลาด (market share) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) สินทรัพย์รวม (total asset) เงินทุนสำรอง (capital reserve) และหนี้สินต่างๆ (liabilities) น่าจะพอบอกได้ว่าใครควรจะเป็นที่น่าไว้ใจกว่ากัน

ดังนั้นในการเลือกทำประกันชีวิต ครั้งต่อไปโปรดใช้เวลาสักนิดในการวิเคราะห์บริษัทประกันที่จะมารักบผิดชอบ คุณเพราะการทำประกันจะหมดความหมายลงในทันที หากบริษัทประกันไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่คุณได้ในยามที่คุณต้องการ

http://www.finansa-asset.com/images/scan32en.gif http://www.finansa-asset.com/images/scan33en.gif

ที่มา finansa-asset.com


ID=893,MSG=1013


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 09:14:11pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com