เพิ่มคุณค่าให้ชีวิตอีกสักนิดประกันชีวิตให้ถูกทาง

เพิ่มคุณค่าให้ชีวิตอีกสักนิดประกันชีวิตให้ถูกทาง

เพิ่มคุณค่าให้ชีวิตอีกสักนิดประกันชีวิตให้ถูกทาง

How to choose Insurance policy that suits your needs

วิธีการเลือกกรมธรรม์การประกันภัยที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ



ปัจจุบันครอบครัวของคนไทย มีการทำประกันชีวิตกันเพียงแค่ 10% กว่าๆ (ประมาณ 17% ณ ปี 2010) ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่ายัง น้อยอยู่มาก ทั้งๆ ที่เราจะเห็นว่ามีตัวแทนประกันกระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหง จนแทบจะเดินชนกัน

ประเทศที่เจริญเเล้ว (ประเทศที่พัฒนาเเล้ว) เช่น ญี่ปุ่น มีการทำประกันชีวิตประมาณ 300%- 400%
แม้ตัวเเทนในประเทศไทย อาจจะดูเหมือนมีเยอะ เเต่ตัวเเทนคุณภาพ มีจำนวนจำกัด ตัวแทนหลายๆคนทำงานประกันชีวิต แบบPart-Time เท่านั้น

และที่สำคัญ ส่วนมากจะกระจุกตัวขายอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร

ทำไมคนไทยไม่ชอลทำประกันชีวิต
เหตุผลที่พอจะอธิบายได้ว่าทำไมคนไทยไม่ชอบทำประกันชีวิต อาจเป็นเพราะความเชื่อเก่าก่อนที่ว่าหากใครทำประกัน ก็เท่ากับแช่งตัวเองให้เป็นอะไรไป หรืออาจจะเป็นเพราะบางครั้งเราก็จะได้รับทราบเรื่องราวปัญหาการไม่จ่ายเงิน ทดแทนของบริษัทประกันโดยอาศัยการเล่นแง่ตามกฎหมาย จนบางคนเกิด อาการเข็ดขยาดแล้วปักใจเชื่อว่าบริษัทประกันทุกแห่งเป็นพวก เขี้ยวลากดิน

แต่ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะแก้ไขได้ไม่ยากเท่าไรเลยสำหรับ ผู้บริโภคอย่าง เราๆ ท่านๆ ก็คือความไม่เข้าใจในพื้นฐานของการทำประกันชีวิต จนทำให้บางครั้งต้องถูกตัวแทนประกันที่พูดเก่งชักแม่น้ำทั้งห้าให้ซื้อ ประกันในแบบที่อาจจะไม่เหมาะหรือตรงต่อความต้องการที่แท้จริงของผู้ที่ต้อง การทำประกันนัก

นอกจากนั้นแล้วสภาพตลาดที่ดอกเบี้ยลดต่ำลงมาก ทำให้ตัวแทนประกันเริ่ม หันมาขายประกันที่มีลักษณะเหมือนกับการฝากเงินควบคู่ไปกับการคุ้มครองผู้ทำ ประกันมากขึ้น เพราะรูปร่างหน้าตาของประกันชีวิตประเภทนี้ล่อตาล่อใจผู้ซื้อ มากกว่าการที่จะต้องเสียเงินเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงเพียงอย่างเดียว จนบางครั้ง ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อประกันเองก็เริ่มสับสน กลายเป็นซื้อประกันโดยหวังผล ตอบแทนมากกว่าการซื้อประกันเพื่อการคุ้มครองความเสี่ยง ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ พื้นฐานของการทำประกัน

เพราะฉะนั้นวันนี้ M&W มีความรู้พื้นฐานทางด้านการทำประกันชีวิตมา บอกคุณ เผื่อจะช่วยทำให้คุณเข้าใจการประกันชีวิตได้ดีมากขึ้น

ประกันชีวิต มีกี่ประเภท

โดยทั่วไปประกันชีวิตแบ่งแยกตามหลักการออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ก็คือประกันที่กำหนดระยะเวลาการรับประกัน, ประกันตลอดชีวิต และประกันที่กำหนดระยะเวลาในการจ่ายเงินคืนให้ผู้ถือประกันหลังจากที่ถึง ระยะเวลาที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีบริษัทประกันหลายบริษัทพยายามผลักดัน ประกันประเภทอื่นๆ ออกมาบ้าง เช่น ประกันประเภทที่เรียกว่า Investment Unit Linked หรือประกันที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในหน่วยลงทุน หรือประกันที่มีการจ่าย ผลประโยชน์รายปี เป็นต้น

ประกันที่กำหนดระยะเวลา

ประกันประเภทนี้นับว่าเป็นประกันที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถวางแผน การคุ้มครอง ได้ตามช่วงเวลาที่ต้องการ โดยผู้ซื้อประกันจะต้องตัดสินใจเลือกว่า จะต้องการให้ ได้รับความคุ้มครองเป็นระยะเวลากี่ปี เช่น 5 ปี 10 ปี หรือ 15 ปี เป็นต้น ซึ่ง ข้อดีของประกันประเภทนี้ก็คือ ค่าเบี้ยประกันในช่วงแรกจะไม่สูงนัก แล้วก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการต่อสัญญาในช่วงต่อไป อย่างไรก็ตาม ค่าเบี้ยประกันที่ว่า ก็ต้องขึ้นอยู่กับอายุของผู้ที่ต้องการทำประกันด้วย ยิ่งอายุมากขึ้นค่าเบี้ยประกัน ก็จะสูงขึ้น เป็นเงาตามตัว

ประกันตลอดชีวิต

ชื่อของสัญญาก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการทำประกันตลอดชีวิต ซึ่งก็หมายความว่า ผู้ซื้อประกันจะได้รับความคุ้มครองไปตลอดชีวิต ตราบใดที่ยังจ่ายค่าเบี้ยประกัน อย่างสม่ำเสมอ แต่หากผู้ซื้อประกันต้องการบอกเลิกสัญญากลางคัน บริษัทประกันก็ยินดีจะจ่ายคืนให้ แต่ก็ต้องน้อยกว่าจำนวนเงินเบี้ยประกันที่จ่ายออกไป หรือหากผู้ซื้อประกันเกิดปัญหาขัดสนเรื่องเงิน ผู้ซื้อประกันก็สามารถที่จะทำเรื่อง เพื่อขอยืมเงินจากสัญญาการประกันของตนเองได้เช่นกัน ข้อดีของการทำประกัน ชนิดนี้ก็คือค่าเบี้ยประกันจะเท่ากันตลอด ทำให้ผู้ซื้อประกันสามารถวางแผนการ จ่ายเงินได้ค่อนข้างดี ซึ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับการทำประกันประเภทที่กำหนด ระยะเวลา ค่าเบี้ยประกันประเภทตลอดชีวิตจะเป็นเหมือนกราฟเส้นขนานไม่มีสูง ต่ำ แต่ค่าเบี้ยประกันของการประกันที่กำหนดระยะเวลา จะเป็นเส้นกราฟที่เป็น เหมือนขั้นบันได ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงต้นซึ่งจะต่ำกว่าค่าเบี้ยประกันประเภท ตลอดชีวิต แต่ในช่วงหลังๆ ก็จะสูงกว่าสลับกัน

ประกันประเภทที่จ่ายเงินทดแทนให้เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด

ทุกวันนี้เราจะเห็นว่าตัวแทนประกัน หันมาขายประกันประเภทนี้กันมากขึ้น เพราะลักษณะของประกันจะเป็นเหมือนการฝากเงินที่มีการรับประกันติดมาด้วย มากกว่าจะเป็นการทำประกันที่เน้นการคุ้มครองผู้ซื้อประกัน ซึ่งในช่วงที่ดอกเบี้ย เงินฝากต่ำติดดิน ทำให้ประกันประเภทนี้ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะผลตอบแทนที่บริษัทประกันเสนอให้จะสูงกว่าการฝากเงินกับธนาคารอย่างแน่ นอนลักษณะของการขายประกันประเภทนี้ ตัวแทนจะมีแผนตารางการจ่ายคืน เงินก้อนหรือไม่ก็ผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี แล้วแต่จะปรับกันไป ซึ่งทำให้ผู้ซื้อมองเห็นว่า ถ้าจ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว จะได้เงินคืนเท่าไร และก็เมื่อไรแต่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันประเภทนี้ เราอยากจะขอให้ท่านลองคำนึงถึง ข้อเท็จจริงบางอย่างสำหรับประกันประเภทนี้โดยเฉพาะ

         o บริษัทประกันจะกำหนดอัตราผลตอบแทนให้กับผู้ซื้อตายตัว ในช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน เช่น 3.5 เปอร์เซ็นต์ตลอดอายุสัญญา 15 ปี ซึ่งหากตั้งคำถามกับท่านว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะยืนอยู่ที่ 1 เปอร์เซ็นต์ไปอีกนานแค่ไหน ไม่มีใครทราบ
         o อัตราผลตอบแทนที่ให้ ถึงแม้จะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ก็จะต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดการลงทุนชนิดอื่นๆ เช่น อัตราผล ตอบแทนของการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
         o วงเงินการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล หรือไม่ก็วงเงินการจ่ายค่าสินไหม ทดแทนหากเกิดเหตุกับผู้ทำประกัน จะต่ำกว่าประกันสองประเภทแรก ในระดับค่าเบี้ยประกันที่เท่ากัน

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันประเภทนี้ ขอให้ลองคิดทบทวนดูวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของเราในการซื้อประกันเพื่อคุ้ม ครองความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหรือต้องการซื้อความคุ้มครองให้กับอนาคตของลูก หลาน ไม่ต้องไขว้เขวไปกับการนำเสนอของตัวแทนที่พยายามจะเน้นในเรื่องของผลตอบแทน มาก จนเกินไป

วงเงินเท่าไรถึงจะพอ

ชีวิตเรามีค่าเท่าไร หลายๆ คนคงต้องขมวดคิ้ว แต่สำหรับการทำประกันชีวิต คำตอบคงไม่ได้อยู่ที่ตัวเรา แต่จะอยู่ที่ผู้ได้รับผลประโยชน์มากกว่า เพราะเงินประกันจะถูกจ่ายให้กับผู้ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้รับผลประโยชน์เมื่อ ผู้ทำประกัน เสียชีวิต

เพราะฉะนั้น หากเราอยากจะรู้ว่าควรจะทำประกันที่วงเงินคุ้มครองเท่าไรถึงจะพอ เราคงจะต้องลองคำนวณดูว่า หากไม่มีเราแล้ว ผู้ที่รับผลประโยชน์จะดำรงชีวิต มีกินมีใช้ด้วยเงินจำนวนเท่าไร สมมติว่า พ่ออยากจะซื้อประกันชีวิตโดยยกผลประโยชน์ให้ลูกอายุ 14 ปี เราก็ต้องลองคิดดูว่า ค่ากินอยู่ค่าเล่าเรียนของลูกคนนี้ นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงเวลาที่เขาพอจะหากินเองได้ เป็นจำนวนเงินเท่าไร เสร็จแล้วคุณก็ลองนำเอาสินทรัพย์ทั้งหมดที่คุณมี หักกลบลบกับหนี้สินทั้งหมดที่ คุณสร้างมา ถ้ายังเหลืออยู่ก็เอาไปลบออกจากจำนวนเงินที่คุณคาดว่าลูกคุณต้อง ใช้ แต่ถ้าหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินคุณก็เอาไปบวกเข้าไป นั่นแหละคือคำตอบที่คุณ ต้องการว่าวงเงินที่คุณควรจะทำประกันเป็นเท่าไร

เราควรจะซื้อประกันแบบไหนจึงจะเหมาะ

ไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัว คงต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความ ต้องการที่แท้จริงในการทำประกันของแต่ละบุคคล ว่าต้องการที่จะเน้นการทำประกัน หรือต้องการที่จะได้ประกันน้อยหน่อย แต่ได้รับผลตอบแทนมาบ้างเหมือน การฝากเงินซึ่งหากคุณเป็นผู้ที่มีความสันทัดในการลงทุน คุณอาจจะเลือกซื้อประกันที่ให้ความคุ้มครองอย่างเต็มที่ แล้วนำเงินค่าเบี้ยประกันที่จ่ายน้อยลงไป ลงทุนในสินทรัพย์ที่คุณคาดว่าน่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนที่ บริษัทประกันนำเสนอมาก็เป็นได้

ส่วนในเรื่องของการเลือกระยะเวลาที่คุณต้องการที่จะได้รับความ คุ้มครอง คุณ ก็คงต้องพิจารณาดูปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างพ่อที่ต้องการซื้อประกันให้ลูกอายุ 14 ปี กันอีกครั้ง ซึ่งพ่อคนนี้มองว่า เมื่อลูกอายุ 24 ปี ลูกคนนี้คงจะมีงาน มีการทำแล้ว เพราะฉะนั้นการทำประกันที่กำหนดระยะเวลาเอาไว้ 10 ปี ก็น่าจะเพียงพอ

แต่อย่างไรก็ตาม ประกันชีวิตไม่ได้มีเอาไว้สำหรับคนที่ต้องการจะคุ้มครองคน ที่อยู่ข้างหลังเท่านั้น ยังมีอีกหลายเหตุผลในการซื้อประกัน


ID=891,MSG=1011
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 10:44:59am... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com