ประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Credit Insurance) หรือ Trade Credit insurance

ประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Credit Insurance) หรือ Trade Credit insurance

ประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Credit Insurance)

การรับประกันเครดิตเป็นประโยชน์กับท่านอย่างมาก เมื่อท่านขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าแล้วไม่ได้รับชำระเงิน เนื่องจากลูกค้าล้มละลาย หรือไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด

การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า
 
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า

   การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า เป็นการประกันภัยซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจค้าขายไม่ว่า จะเป็นการค้าขายภายในประเทศ หรือค้าขายระหว่างประเทศ การทำประกันนี้ จะทำให้ผู้ขายสินค้า
มีความมั่นใจในการทำธุรกิจมากขึ้น และเป็นการโอนความเสี่ยงของการเกิดหนี้สูญไปให้บริษัทประกันภัยรับภาระความเสี่ยงไว้แทนอย่างไรก็ตาม เนื่องจากการประกันภัยสินเชื่อทางการค้านี้ ไม่มีการกำหนดแบบไว้เป็นมาตรฐาน
ดังนั้น เงื่อนไขความคุ้มครองต่าง ๆ อาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยระหว่างบริษัทประกันวินาศภัยแต่ละบริษัทผู้เอาประกันภัยจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงความคุ้มครองที่จะได้รับก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

ความคุ้มครอง
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขายหรือผู้ส่งออก (ผู้เอาประกัน)
ในกรณีที่ส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้วไม่ได้รับชำระค่าสินค้าของตนจากผู้ซื้ออันเนื่องมาจากความเสี่ยงทางการค้า เช่น ผู้ซื้อล้มละลาย ผู้ซื้อปฏิเสธการชำระเงิน เป็นต้น หรือ ความเสี่ยงทางการเมือง เช่น
การควบคุม การโอนเงิน การห้ามนำเข้าสินค้า เป็นต้น

ซึ่งบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับ ค่าสินค้าที่ไม่ได้รับชำระนั้นให้แก่ผู้เอาประกันภัย

การพิจารณารับประกันภัยและวงเงินจำกัดความคุ้มครอง
โดยปกติแล้ว ผู้ขอเอาประกันภัยจะต้องแจ้งรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการค้าของตน เช่น

ประเภทธุรกิจ ประเภทสินค้าที่ขาย ประเทศที่ขายสินค้าไปให้ รายชื่อผู้ซื้อสินค้าทุกๆ ราย ฯลฯ

เพื่อผู้รับประกันภัยจะได้นำข้อมูลทั้งหมดไปประมวลและเสนอเงื่อนไขความคุ้มครอง วงเงินจำกัดความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมแก่ผู้ขอเอาประกันภัยได้
ผู้รับประกันภัยจะพิจารณาส่วนและปริมาณการขายสินค้า โดยเฉพาะพิจารณากลุ่มลูกค้าของผู้เอาประกันภัย หากพบว่า ผู้เอาประกันภัยมีการขายสินค้าส่วนใหญ่ให้กับผู้ซื้อที่มีความน่าเชื่อถือสูง และมีระบบการพิจารณาวงเงินสินเชื่อที่ดีแล้ว จะมีผลให้อัตราเบี้ยประกันภัยที่บริษัทประกันภัยเสนอต่ำลงได้

นอกจากนี้แล้ว ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ในการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ซื้อทุกๆ รายให้ผู้รับประกันภัยทราบล่วงหน้า เพื่อที่ผู้รับประกันภัยจะได้ตรวจสอบความสามารถในการชำระเงินของผู้ซื้อ แต่ละรายและพิจารณาวงเงินจำกัดความคุ้มครองที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งสินค้าเที่ยวนั้นๆหรือการขนส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อรายนั้นๆ ได้ วงเงินจำกัดความคุ้มครองซึ่งผู้รับประกันภัยเสนอให้นั้นจะสะท้อนความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อแต่ละรายได้เป็นอย่างดี นั่นคือ หากผู้ซื้อมีความน่าเชื่อถือสูงก็จะได้รับวงเงินจำกัดความคุ้มครองสูง ในขณะที่ หากผู้ซื้อมีความน่าเชื่อถือต่ำ ก็จะได้รับวงเงินจำกัด ความคุ้มครองต่ำ โดยที่ผู้รับประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนสูงสุดไม่เกินวงเงินจำกัดความคุ้มที่กำหนดไว้สำหรับ การขายสินค้าแต่ละครั้ง

ข้อยกเว้น
เนื่องจากการประกันภัยแบบนี้ ไม่ได้มีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ดังนั้น ข้อยกเว้นในกรมธรรม์
ประกันภัยแต่ละแบบจึงอาจแตกต่างกันไป ตัวอย่างข้อยกเว้น เช่น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เงินตรา
ค่าสินค้าค้างชำระโดยผู้ซื้อซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ การผิดนัดชำระหนี้เนื่องจากสงคราม การกบฏ
หรือการปฏิวัติ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการผิดนัดชำระหนี้ การที่ผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่ตกลงไว้กับผู้ซื้อเป็นต้น

อัตราเบี้ยประกันภัย

อัตราเบี้ยประกันภัยต่อปีอยู่ระหว่าง 0.1% - 2.5% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
เบี้ยประกันภัยต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1 ล้านบาท อยู่ระหว่าง 1,000 – 25,000 บาท

ประโยชน์ของการทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้า

   * ถ่ายโอนความเสี่ยงในการเกิดหนี้สูญจากการขายสินค้าของผู้เอาประกันภัยไปยังผู้รับประกันภัย
   * เพิ่มศักยภาพในการขยายตลาดในประเทศหรือภูมิภาคใหม่ที่ผู้ส่งออกไม่เคยดำเนินธุรกิจมาก่อน
   * ขยายตลาดในประเทศที่มีการค้าขายอยู่แล้วให้มีปริมาณมากขึ้น
   * เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกในระดับประเทศ
   * ผู้ส่งออกจะได้รับบริการข้อมูลเครดิตของผู้ซื้อรายต่างๆ จากระบบฐานข้อมูลของบริษัทประกันภัย
   * ช่วยบริหารสภาพคล่อง และลดอัตราการเกิดหนี้สูญ


ID=881,MSG=998
ประโยชน์ของการประกันภัยสินเชื่อทางการค้า

ประโยชน์ของการประกันภัยสินเชื่อทางการค้า

ประโยชน์ของการประกันภัยสินเชื่อทางการค้า

ในยุคโลกาภิวัฒน์เช่นปัจจุบันนี้ การค้าขายระหว่างประเทศมีความสำคัญและมีการเติบโตมากขึ้นทุกวัน การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งผลให้ธุรกิจส่งออกมียอดขายเติบโตขึ้นอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่ตามมาก็คือ ยอดหนี้สูญที่อาจจะเกิดขึ้นในการขาย ผู้ส่งออกจำนวนมากจึงเริ่มตระหนักถึงความเสี่ยงของหนี้สูญที่มีมากขึ้น เรื่อย ๆ และมองหาเครื่องมือที่สามารถป้องกันและบริหารความเสี่ยงนี้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาหนี้สูญได้ และยังสามารถสนับสนุนให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย การประกันภัยนี้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขายหรือผู้ส่งออก (ผู้เอาประกันภัย) ในกรณีที่ส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้วไม่ได้รับชำระค่าสินค้าของตนจากผู้ซื้อ อันเนื่องมาจากความเสี่ยงทางการค้า เช่น ผู้ซื้อล้มละลาย ผู้ซื้อปฏิเสธการชำระเงิน เป็นต้น หรือความเสี่ยทางการเมือง เช่น การควบคุมการโอนเงิน การห้ามนำเข้าสินค้า เป็นต้น ซึ่งบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าสินไหมที่ไม่ได้ รับชำระนั้นให้แก่ผู้เอาประกันภัย

          การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าถือได้ว่าเป็นการประกันภัยใหม่ประเภทหนึ่ง สำหรับประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงแล้วกาประกันภัยประเภทนี้เป็นที่แพร่หลายอย่างมากในกลุ่ม ประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะในยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจในประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ตระหนักถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจจากการมีหนี้สูญจำนวนมาก และมีความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของการประกันภัยประเภทนี้เป็นอย่างดี นอกจากการถ่ายโอนความเสี่ยงในการเกิดหนี้สูญจากผู้เอาประกันภัยไปยังผู้ รับประกันภัยแล้ว ประโยชน์การประกันภัยสินเชื่อทางการค้ายังมีอีกมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจของผู้ส่งออก

          การประกันภัยสินเชื่อทางการค้ามีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ส่งออกในการ เพิ่มศักยภาพในการขยายตลาดในประเทศหรือภูมิภาคใหม่ ๆ ที่ผู้ส่งออกยังไม่เคยดำเนินธุรกิจด้วยกันมาก่อน นอกจากนี้ผู้ส่งออกยังสามารถขยายตลาดในประเทศที่มีการค้าอยู่แล้วให้มี ปริมาณมากขึ้นได้อีกด้วย เนื่องจากบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้จัดหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยผู้ส่ง ออกกำหนดวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสมในการค้าขายกับผู้ซื้อแต่ละราย ผู้ส่งออกอาจเปลี่ยนรูปแบบการรับชำระเงินจากผู้ซื้อให้มีความยืนหยุ่นและจูง ใจ เช่น การปรับเปลี่ยนจากระบบ L/C (Letter ofCredit) ซึ่งผู้ซื้อในต่างประเทศต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงมาเป็นการค้าขายภายใต้ เงื่อนไขการชำระเงิน (CreditTerm) แบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น D/P (Documents Against Payment) D/A (Documents Against Acceptance)หรือ O/A (Open Account) ซึ่งวิธีเหล่านี้จะลดค่าใช้จ่ายในส่วนของผู้ซื้อปลายทางได้ หรือการกำหนดระยะเวลาในการชำระค่าสินค้าที่นานขึ้น หรือการเพิ่มวงเงินสินเชื่อสำหรับผู้ซื้อให้มากขึ้น เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้ส่งออกสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศ ได้เป็นอย่างดี โดยทำให้การซื้อขายมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและมีปริมาณสูงขึ้นในที่สุด

          ประโยชน์อีกประการที่มีความสำคัญต่อผู้เอาประกันภัยคือ ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ไม่มีระบบจัดเก็บข้อมูลเครดิตของผู้ซื้อรายต่าง ๆ บริษัทประกันภัยจะให้บริการนี้แก่ผู้ส่งออกโดยการให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกค้าผ่านระบบฐานข้อมูลของบริษัทประกันภัยเพื่อนำมาใช้ในการขยาย ตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ รวมทั้งการให้ข้อมูลที่เป็นสัญญาณเตือนถึงหนี้สูญอันอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ระบบข้อมูลดังกล่าวนี้เหมาะสมและมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ดำเนินธุรกิจข้าม ชาติ (Multi National Company)

          นอกจากประโยชน์ทางด้านการตลาดและการแข่งขันแล้ว การประกันภัยสินเชื่อทางการค้ายังมีประโยชน์ต่อผู้ส่งออกในด้านการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวช่วยบริหารสภาพคล่องของกระแสเงินสดของบริษัทผู้เอา ประกันภัย และช่วยลดอัตราการเกิดหนี้สูญ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลกำไรของธุรกิจ เมื่อมีประกันภัยสินเชื่อทางการค้าแล้ว ผู้เอาประกันภัยสามารถลดภาระในการติดตามหนี้ทั้งในด้านเวลาและทรัพยากรบุคคล ทำให้สามารถนำเวลาและบุคลากรไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การลดลงของหนี้สูญอันเกิดจากการประกันภัยสินเชื่อทางการค้านั้น ยังส่งผลทำให้บริษัทผู้เอาประกันภัยมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการลงทุน ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตของบริษัทเพิ่มมากขึ้น

          ประโยชน์ทางด้านการเงินที่สำคัญอีกประการคือ การที่ผู้ส่งออกหรือผู้เอาประกันภัยจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินจาก ผู้ให้กู้ได้ เนื่องจากสถานบันการเงินต่าง ๆ มองเห็นถึงความเสี่ยงที่ลดลงจากที่ผู้กู้ยืมมีการทำประกันภัยสินเชื่อทางการ ค้าไว้ การที่รัฐบาลให้การสนับสนุนการส่งออก ส่งผลให้มีผู้ส่งออกเพิ่มมากขึ้นทั้งรายเล็กและรายใหญ่ นับเป็นโอกาสที่ดีที่การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าจะเริ่มเป็นที่สนใจใน ประเทศไทย และจากประโยชน์ดังได้กล่าวมาข้างต้น การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าจะสามารถสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่าง ราบรื่นยิ่งขึ้น


ID=881,MSG=999
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าTCI

การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าTCI

การประกันภัยสินเชื่อทางการค้าTCI หรือTradeCreditInsurance เป็นเครื่องมือคุ้มครองความเสี่ยงที่จะรับผิดชอบจ่ายสินไหมทดแทนให้กับ ผู้เอาประกัน ในกรณีที่คู่ค้าไม่สามารถจ่ายค่าสินค้าให้ได้ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ซึ่งความเสี่ยงที่อยู่ในเงื่อนไขของการรับประกันจะแบ่งออก ได้เป็น ความเสี่ยงทางการค้า (Commercial Risks) และ ความเสี่ยงทาง การเมือง (Political Risks)

ในความเป็นจริงการรับประกันประเภทนี้ นับว่ามีมานานมากแล้ว แต่ที่ ไม่เป็นที่นิยมนัก เพราะผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักจะมีเงื่อนไขให้ผู้ซื้อต้องออก L/C หรือ Letter of Credit ให้กับตน ซึ่งเจ้าตัวL/Cนี้เป็นเสมือนตัวค้ำประกันให้กับผู้ส่งออกได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นหนังสือรับรองการจ่ายชำระเงินของคู่ค้า ที่ถูกออกโดยธนาคารที่เชื่อถือได้โดยตรง แต่ในปัจจุบันหลังจากที่จีนและอินเดีย ได้เข้าเป็นสมาชิกของ WTO และก็เริ่มส่งออก สินค้าเข้าไปตีตลาดสู้กับสินค้าของไทย โดยอาศัยราคาและเงื่อนไขของการ ไม่ต้องขอ L/C จากคู่ค้ามาเป็นแรงจูงใจทางการตลาด หรือที่เรียกกันว่า เป็นการค้าแบบ Open Account หรือ O/A ทำให้ผู้ส่งออกของไทยเกิด อาการหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามๆ กัน เพราะฉะนั้น ผู้ส่งออกของไทยจึงอาจจะต้องหันมาพึ่งการทำประกันภัยชนิดนี้แทนเพื่อเป็นการ คุ้มครองความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากการทำการค้ากับคู่ค้าที่ไม่น่าไว้ใจ

ประเภทของความเสี่ยง
การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า ครอบคลุม ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น จากสองสาเหตุ

ความเสี่ยงทางการค้า Commercial Risks ซึ่งเกิดจาก
1 ผู้ซื้อล้มละลาย Insolvency
2 ผู้ซื้อหน่วงเหนี่ยว ปฏิเสธการชำระเงิน Protracted Default

ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ใครจะไปเชื่อว่า โซโก้ หรือ เคมาร์ท ห้างสรรพสินค้าระดับยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินการมานานหลายสิบปีจะต้องประสบกับ ปัญหาการล้มละลาย แต่เหตุที่เกิดขึ้น ก็ได้ทำให้เหล่าบรรดา ผู้ส่งออกของไทยหลายรายรู้ซึ้งถึงความเสี่ยงนี้กันเป็นอย่างดี และก็เป็น บทเรียนที่ทำให้เราตระหนักถึงความจริงในข้อที่ว่า ไม่ใช่เฉพาะบริษัทคู่ค้า ที่ตั้งอยู่ในประเทศโลกที่สามหรือประเทศที่กำลังพัฒนาเท่านั้นที่อาจจะ เบี้ยวหนี้เราได้ แต่ยังรวมไปถึงบริษัทคู่ค้าที่ตั้งอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างญี่ปุ่นหรืออเมริกา ได้เช่นกัน

นอกจากกรณีที่คู่ค้าเกิดการล้มละลาย จนไม่สามารถจ่ายค่าสินค้าได้ บางครั้งอาจจะเกิดกรณีที่พยายามหน่วงเหนี่ยว หรือปฏิเสธการจ่ายชำระตามกำหนดได้เช่นกัน ซึ่งผู้ส่งออกของไทยหลายรายใส่ใจกับเรื่องนี้กันมาก หากต้องทำการค้ากับกลุ่มประเทศทางตะวันออกกลางหรือไม่ก็อินเดีย

ความเสี่ยงทางการเมือง Political Risks
1 การพักชำระหนี้ Government Moratorium
2 การห้ามโอนเงินออกนอกประเทศ Non Transfer Risk
3 การห้ามนำเข้าหรือยกเลิกสิทธิ์ที่ผู้ซื้อได้รับในการนำเข้า Cancellation of Export License
4 สงคราม จลาจล หรือการปฏิวัติ รัฐประหาร Occurrence of war or revolution

ความเสี่ยงทางการเมือง นับเป็นความเสี่ยงที่ยากจะคาดเดาได้ และมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น กรณีเมื่อครั้งที่รัสเซีย และอาร์เจนตินาปฏิเสธการจ่ายหนี้ต่างประเทศอย่างปัจจุบันทันด่วน เพราะปัญหาภายใน ก็เล่นเอาบรรดาแบงค์เจ้าหนี้ต้องกุมขมับทำอะไรไม่ถูก ไปตามๆ กัน หรือแม้แต่ตอนที่มาเลเซียห้ามนำเงินริงกิตออกนอกประเทศ ในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ในเอเชีย ช่วงปี 1997 ก็ทำให้บรรดาประเทศอื่นๆ ต้องปรับแผนกันยกใหญ่

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยง ต่างๆ เหล่านี้ มักจะมากมาย มหาศาลเกินกว่าจะประมาณการได้ ดูจากกรณีปัญหาไก่ของไทยที่เราจั่วหัวมาตั้งแต่ต้น ที่ส่งผลทำให้ราคาหุ้น GFPT และ CPF ได้รับผลกระทบ อย่างแรง รวมทั้งดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ตกลงกว่า 100 จุด จากช่วงเคยขึ้น สูงที่สุด เพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่วัน

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว อยากจะขอฝากไปถึงผู้ที่ต้องการจะส่งออกสินค้าไปยังอิรักเพื่อการฟื้นฟู ประเทศ ที่เพิ่งมีการประกาศว่าสงครามยุติแล้วนั้น แต่อย่างที่ทราบกันว่า สถานการณ์ภายในนั้นยังคงไม่น่าไว้ใจเลย เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะตกลงส่งสินค้าไป ขอให้ลองพิจารณาถึงการทำประกันภัย สินเชื่อการค้าเอาไว้หน่อยก็ท่าจะดีการจ่ายสินไหมทดแทน
ในกรณีที่คู่ค้าล้มละลายและไม่สามารถจ่ายชำระค่าสินค้าได้ บริษัทประกันจะทำเรื่องจ่ายให้กับผู้เอาประกันภายในหนึ่งเดือน แต่หากค่า สินไหมทดแทนที่ต้องจ่ายน้อยกว่า 100,000 บาท จะใช้เวลาประมาณสอง เดือน แต่ถ้าเป็นกรณีการปฏิเสธการจ่ายชำระเงิน อาจจะกินเวลาประมาณห้าเดือน

ค่าเบี้ยประกัน
บริษัทประกันที่มุ่งเน้นในการทำตลาดการทำประกันภัยประเภทนี้ มีอยู่ด้วยกันสามบริษัท คือ สามัคคีประกันภัย ภัทร
ประกันภัย และแอ็กซ่า แต่สถาบันที่ออกกรมธรรม์ประกันภัยประเภทนี้มากที่สุด กลับเป็นธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า คือ EXIM Bank ซึ่งสามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยประเภทนี้ได้ และมีเงื่อนไขที่น่าสนใจตรงที่ ผู้ส่งออกสามารถเลือกที่จะทำประกัน สินค้าล็อตไหนก็ได้ ผิดกับบริษัทประกันที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้

ค่าเบี้ยประกัน สำหรับการทำประกัน จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 0.1 - 2.5 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการส่งออก ซึ่งค่าเบี้ยประกัน จะรวมไปถึงการทำวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และค่าทาง กฎหมายและสิ่งต่างๆ ที่จะตามมาด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจต้องการจะศึกษาราย ละเอียดหรือข้อมูลเกี่ยวกับการ ทำประกันภัยประเภทนี้ สามารถติดต่อได้โดยตรงที่คุณทัตเทพ 0-2955-0100 ถึง 29 หรือที่ อี-เมล์ tathep@samaggi.co.th หรือจะลองเข้า ไปเยี่ยมชมที่ www.samaggi.co.th ซึ่งมีข้อมูลการทำประกันภัยประเภท อื่นอยู่ด้วยเช่นกัน

นอกจากจะเป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกโดย ทั่วไปแล้ว TCI ยังคุ้มครอง ความเสี่ยงของผู้ทำการค้าขายภายในประเทศ ในเรื่องของการซื้อลดเช็ค และการเช่าซื้อเครื่องจักรทั่วไปด้วยเช่นกัน และในทุกวันนี้การอนุมัติสินเชื่อ ของธนาคารหลายแห่งก็ได้สอดแทรกเงื่อนไขของการที่ผู้ประกอบการ ต้องมีประกันภัยประเภทนี้อยู่ในมือด้วยเช่นกัน

สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าไปติดต่อ อย่างจริงจังอย่าลืมที่จะเตรียม รายงานประจำปีของบริษัท งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี รายละเอียดของธุรกิจ ประเทศที่เป็นคู่ค้าและประวัติการผิดนัดชำระหนี้ของคู่ค้าด้วย


ID=881,MSG=1000


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 03:13:52pm ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com