ประกันภัยสำหรับผู้บริหาร

ประกันภัยสำหรับผู้บริหาร

ประกันภัยสำหรับผู้บริหาร

การประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ (Professional Liability Insurance) เป็นการประกันภัยที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพแทบทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะถูกเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดี ให้รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น ๆ อันเป็นผลมาจากการประกอบวิชาชีพของบุคคลนั้น ๆ

          ในอดีต การประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพให้ความคุ้มครองจำกัดอยู่เพียงอาชีพที่ยอม รับกันว่าเป็นวิชาชีพเท่านั้น เช่น นักกฎหมาย แพทย์ วิศวกร สถาปนิก และนักบัญชี เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้มีการขยายความคุ้มครองออกไปยังอาชีพอื่น ๆ ด้วย โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นวิชาชีพเฉพาะเท่าที่เคยยอมรับกันมา เช่น การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ของบริษัท ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปนี้

การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ของบริษัท ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปนี้

          การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ (Directors and Officers Liability Insurance) เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองกรรมการ (Directors) และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร (Executive Officers) ของบริษัท สำหรับความสูญเสียหรือค่าเสียหายทางการเงิน อันเนื่องมากจาก "การละเมิดหรือการกระทำผิด (wrongful acts)" ที่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย นอกจากนี้ การประกันภัยดังกล่าว ยังให้ความคุ้มครองตัวบริษัทในกรณีที่บริษัทได้รับอนุญาตหรือผูกพันที่จะ ต้องชดใช้ให้กับกรรมการและ/หรือเจ้าหน้าที่สำหรับการกระทำผิดที่กรรมการหรือ เจ้าหน้าที่นั้นต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งหากมองในมุมของการประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ อาจกล่าวได้ว่าความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ก็คือ ความรับผิดทางอาชีพการบริหารจัดการ (Managerial professional liability) นั่นเอง

ข้อกำหนดสัญญาสำคัญในกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่

          ในสหรัฐอเมริกา กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ของบริษัท (ซึ่งต่อไปจะเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์ D&O) ไม่มีแบบและข้อความที่กำหนดเป็นมาตรฐานแบบใดแบบหนึ่ง เพื่อใช้กับกรรมการและเจ้าหน้าที่ในบริษัททุกประเภท นอกจากนี้ กรมธรรม์ D&O ยังเป็นกรมธรรม์ที่มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และลักษณะความเสี่ยงที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

          ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จึงเป็นข้อกำหนดสำคัญ ๆ ทั่วไปที่ปรากฎในกรมธรรม์ D&O ส่วนมากที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกา

ข้อตกลงคุ้มครอง (The Coverage)

          สัญญาประกันภัยของกรมธรรม์ D&O มีอยู่ 2 สัญญา ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ (คือ ไม่สามารถเลือกเอาสัญญาประกันภัยใดสัญญาประกันภัยหนึ่งได้ ต้องรับทั้งสองส่วน) ได้แก่ Coverage A และ Coverage B

          Coverage A หรือสัญญาประกันภัยส่วนแรก ให้ความคุ้มครองกรรมการและเจ้าหน้าที่แต่ละคน บางครั้งอาจเรียกว่า "ความคุ้มครองรับผิดรายบุคคล (Individual Liability Coverage)" หรือ "ความคุ้มครองโดยตรง (Direct Coverage)" หรือ "ความคุ้มครองแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่ (Directors and Officers Coverage)"

          ตัวอย่างข้อความคุ้มครองใน Coverage A:


          Coverage B หรือสัญญาประกันภัยส่วนที่สอง ให้ความคุ้มครองจำนวนเงินในส่วนที่บริษัทที่กรรมการและเจ้าหน้าที่ทำงานให้ ได้รับอนุญาตตามกฎหมายหรือผูกพันที่จะต้องชดใช้ในการต่อสู้ข้อเรียกร้องหรือ ตกลงยอมความสำหรับการเรียกร้องค่าเสียหายที่กระทำต่อกรรมการและเจ้าหน้าที่ นั้น สัญญาประกันภัยส่วนนี้ บางครั้งมีชื่อเรียกว่า "ความคุ้มครองการชดใช้คืนให้กับบริษัท (Coperate Reimbursement Coverage)" หรือ "ความคุ้มครองการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Indemnification Coverage)"

          ตัวอย่างข้อความคุ้มครองใน Coverage B


          จากตัวอย่างข้อความคุ้มครองในสัญญาประกันภัยทั้งสองส่วนข้างต้น จะสังเกตได้ว่า


          1) มีการระบุไว้ชัดเจนในสัญญาประกันภัยส่วนแรก หรือ Individual Liability Coverage ว่าจะให้ความคุ้มครอง เฉพาะในส่วนที่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทเท่านั้น การระบุไว้เช่นนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้สัญญาประกันภัยทั้งสองมีความคุ้มครองซ้อนกัน

          2) กรมธรรม์ D&O เป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองเมื่อมีการเรียกร้อง (Claims-made Trigger) กล่าวคือ ความเสียหายที่จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ D&O ต้องเป็นความเสียหายที่เป็นผลมาจากการเรียกร้องซึ่งกระทำต่อผู้เอาประกันภัย เป็นครั้งแรกในระหว่างที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับหรือระหว่างระยะเวลา ความคุ้มครองที่ขยายออกไป (หากมี) และได้แจ้งให้แก่ผู้รับประกันภัยทราบภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวหรือภาย ใน 60 วันหลังจากวันสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว ส่วนที่ว่าระยะเวลาคุ้มครองจะขยายออกไปได้อีกเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย แต่โดยทั่วไป จะขยายออกไปอีกไม่เกิน 1 ปี หลังจากที่สิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครอง

              กรมธรรม์ D&O บางฉบับกำหนดว่า "การละเมิดหรือการกระทำผิด" ที่จะได้รับความคุ้มครองนั้นต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาเอาประกันภัยหรือหลัง วันที่กรมธรรม์ระบุให้การคุ้มครองมีผลย้อนหลัง (Restrospective Date) แต่จะมีกรมธรรม์ D&O บางฉบับไม่จำกัดเวลาที่เกิดการละเมิดหรือการกระทำผิด เพียงการเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระหว่างที่การประกันภัยมีผล บังคับก็จะได้รับความคุ้มครองแล้ว ซึ่งในกรณีหลังนี้ ขณะที่ขอเอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยก็มักจะให้ผู้เอาประกันภัยจัดทำหนังสือรับรองว่า กรรมการและเจ้าหน้าที่ของบริษัทไม่เคยระแคะระคายถึงการละเมิดหรือการกระทำ ผิดใด ๆ ที่อาจส่งผลให้มีการเรียกร้องในภายหลัง

              นอกจากนี้ กรมธรรม์ D&O บางฉบับอาจปรากฎข้อกำหนดที่ว่าด้วยการทราบถึงการละเมิดหรือการกระทำผิด ซึ่งเรียกว่า Discovery Provision หรือ Discovery Clause โดยสาระสำคัญของข้อกำหนดนี้ก็คือ หากผู้เอาประกันภัยได้ทราบว่ามีการละเมิดหรือการกระทำผิดที่อาจนำไปสู่การ เรียกร้องได้ในภายหลัง ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงเหตุ เช่นว่านั้น และถ้าผู้รับประกันภัยได้รับทราบถึงเหตุดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าการเรียกร้องใด ๆ อันเป็นผลจากการละเมิดหรือการกระทำผิดข้างต้นย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้ ระยะเวลาเอาประกันภัยนั้นด้วย

              สิ่งที่ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งแก่ผู้รับประกันภัย ซึ่งกำหนดไว้ใน Discovery Clause ได้แก่

1.
ลักษณะของการละเมิดหรือการกระทำผิด
2.
วันที่กระทำผิดหรือละเมิดนั้น
3.
ความสูญเสียหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำผิดหรือการละเมิดนั้น
4.
ชื่อและข้อมูลของกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่อาจจะถูกเรียกร้อง
5.
ชื่อและข้อมูลของบุคคลหรือนิติบุคคลที่อาจจะเป็นผู้เรียกร้อง
6.
สถานที่ (ประเทศ/รัฐ) ที่การเรียกร้องนั้นอาจเกิดขึ้น
7.
สิ่งบอกเหตุหรือลักษณะการณ์ที่ทำให้ผู้เอาประกันภัยเริ่มตระหนักว่าอาจมีโอกาสถูกเรียกร้องได้


          3) การละเมิดหรือการกระทำผิด (Wrongful Act) ของกรรมการและเจ้าหน้าที่ ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ D&O ไม่มีการจำกัดไว้ว่าต้องมีลักษณะอย่างใดบ้าง แต่โดยทั่ว ๆ ไปหมายรวมถึง (แต่ไม่จำกัดเพียง) การผิดพลาด (error) การแถลงข้อความผิดพลาด (missitatement) การแถลงข้อความที่ทำให้เข้าใจผิด (misleading statement) การกระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำหรือการละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่ควรทำ (act or omission) การประมาทเลินเล่อ (neglect) การกระทำผิดหน้าที่ (breach of duty) ทั้งที่ได้กระทำแล้วหรือพยายามกระทำหรือที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำหรือพยายาม กระทำ ของกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เอาประกันภัย โดยทั้งนี้ทั้งปวง ต้องเป็นการกระทำที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่มีต่อ บริษัท (in the insured s capacity as a director or officer for the corporation) เท่านั้น ดังนั้น การกระทำหรือการละเว้นไม่กระทำที่จะได้รับความคุ้มครองจึงพิจารณาจากอำนาจ หน้าที่ของบุคคลผู้เอาประกันภัยก่อนเป็นสำคัญ

          นอกจากนี้ เป็นที่สังเกตุว่า สัญญาประกันภัยทั้งสองส่วนมิได้มีการให้ความคุ้มครองในกรณีที่บริษัท (ในฐานะนิติบุคคล) เองถูกเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดีให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น หากบริษัทต้องการได้รับความคุ้มครองในกรณีนี้ บริษัทจะต้องซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมที่เรียกว่า "ความคุ้มครองตัวบริษัท (Entity Coverage)" ซึ่งจะอธิบายในภายหลัง

ความสูญเสียหรือค่าเสียหาย (Loss)
          ความสูญเสียหรือค่าเสียหาย (Loss) ที่จะได้รับการชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้น ในกรมธรรม์ D&O จะให้คำนิยามของคำว่า "ความสูญเสีย" หรือ "ค่าเสียหาย" ไว้ ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องอ่านโดยรอบคอบ เนื่องจากกรมธรรม์ D&O แต่ละฉบับอาจยกเว้นการชดใช้ความสูญเสียหรือค่าเสียหายบางชนิดแตกต่างกันเล็ก น้อย แต่โดยทั่วไป ความสูญเสียหรือค่าเสียหายที่ผู้รับประกันภัยจะจ่ายให้กับผู้เอาประกันภัย ตามกรมธรรม์ D&O จะได้แก่ จำนวนเงินทั้งหมดที่ผู้เอาประกันภัยมีความรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องชำระให้ แก่ผู้เรียกร้อง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องหรือต่อสู้คดี ทั้งนี้ ไม่รวมถึง ค่าภาษีอากร ค่าปรับทางแพ่งหรือทางอาญาหรือเบี้ยปรับตามกฎหมาย ค่าปรับเพื่อลงโทษ (puntive damages) หรือค่าปรับเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง (exemplary damages) และความสูญเสียหรือค่าเสียหายอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ไม่สามารถเอาประกันภัยได้

          ตัวอย่างการให้ความหมายของคำว่า "Loss" ในกรมธรรม์ D&O


          เนื่องจากความสูญเสียหรือค่า เสียหายตามกรมธรรม์ D&O รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องหรือต่อสู้คดีด้วย ในการกำหนดจำนวนเงินจำกัดความรับผิด ผู้เอาประกันภัยจึงต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ด้วย มิใช่แต่เพียงความรับผิดตามกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว

ผู้เอาประกันภัย (Person Insured)

          ผู้เอาประกันภัยในกรมธรรม์ D&O มี 2 ประเภท คือ บุคคลที่เอาประกันภัย (Individual Insureds) และบริษัทที่เอาประกันภัย (Company Insured) โดยใน Coverage A ผู้เอาประกันภัย คือ บุคคลที่เอาประกันภัย (Individual Insureds) ซึ่งหมายถึง กรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร / ระดับสูงของบริษัทที่เอาประกันภัย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นอกจากนี้ กรมธรรม์ D&O ส่วนมากยังให้ความคุ้มครองไปถึง ผู้พิทักษ์ทรัพย์ ทายาท หรือผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายของกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ข้างต้นด้วยในกรณีที่ กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวถึงแก่ความตาย ล้มละลาย หรือกลางเป็นผู้ไร้ความสามารถ (แต่เฉพาะเพียงในส่วนความรับผิดตามกฎหมายที่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่นั้น ๆ มีเท่านั้น)

          ภายใต้ Coverage B ผู้เอาประกันภัยคือ บริษัทที่เอาประกันภัย (Company Insured) ซึ่งหมายถึง บริษัทที่ถูกระบุชื่อในหน้าตารางกรมธรรม์ (Name Company Insured) ซึ่งจะมีบริษัทเดียวหรือหลายบริษัทก็ได้ กรมธรรม์ D&O บางฉบับยังขยายความคุ้มครองไปถึงบริษัทอื่น ๆ ที่มิได้ระบุชื่อแต่เป็นบริษัทในเครือของบริษัทที่เอาประกันภัย (unnamed subsidiaries) ด้วย และหากมีการควบหรือรวมกิจการเกิดขึ้น กรมธรรม์ D&O บางฉบับก็ระบุให้ต้องแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อผู้รับประกันภัยด้วย และอย่าลืมว่าความคุ้มครองในสัญญาประกันภัยส่วนที่สองนี้ จะนำมาใช้เฉพาะเพียงในส่วนที่บริษัทเอาประกันภัย มีภาระผูกพันที่จะต้องชดใช้ให้แก่กรรมการและเจ้าหน้าที่ของบริษัทเท่านั้น มิได้คุ้มครองความรับผิดอื่น ๆ อันเป็นผลมาจากการเรียกร้องที่กระทำต่อตัวบริษัทที่เอาประกันภัยนั้น

ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องและการตกลงยอมความ (Claim Expenses and Settlements)

          ข้อกำหนดในการต่อสู้ข้อเรียก ร้องในกรมธรรม์ D&O แตกต่างจากกรมธรรม์ความรับผิดอื่น ๆ กล่าวคือ หน้าที่ในการต่อสู้เรียกร้องตกเป็นของผู้เอาประกันภัย

          ยิ่งกว่านั้น ในกรมธรรม์ D&O ทุกฉบับยังระบุอีกว่า ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อ เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัยแล้วเท่านั้น

          ตัวอย่างข้อความในข้อกำหนดว่าด้วย Claim Expenses :

"It shall be the duty of the Individual Insureds and not the duty of the Insurer to defend Claims made against the Individual Insureds, provided that no claim expenses shall be incurred without the Insurer s consent."

          อย่างไรก็ตาม ผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ที่จะทำการต่อสู้เรียกร้องแทนผู้เอาประกันภัยได้ ถ้าผู้รับประกันภัยเลือกที่จะกระทำเช่นนั้น อย่างไรก็ดี หน้าที่ในการต่อสู้ข้อเรียกร้องของผู้รับประกันภัยจะสิ้นสุดลงเพียงเมื่อ จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่มีอยู่หมดลงเท่านั้น

          ประเด็นต่อมาคือ เงื่อนเวลาในการจ่ายค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้อง กรมธรรม์ D&O บางฉบับระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องให้ล่วงหน้า (advance payment) หรือให้ทันทีเมื่อมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ในขณะที่บางฉบับระบุว่า ผู้รับประกันภัยไม่ผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องจน กว่าการเรียกร้องนั้นจะได้รับการวินิจฉัยเป็นที่สิ้นสุด และบางฉบับก็ไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้เลย

          เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องนี้อาจมีจำนวนที่สูง มาก การที่ต้องทดรองจ่ายก่อนอาจเป็นภาระทางการเงินที่สำคัญสำหรับบริษัทขนาดเล็ก ผู้เอาประกันภัยจึงควรให้ความสนใจในข้อกำหนดเรื่องนี้ด้วย

          ในกรณีของการตกลงยอมความ (Settlements) กรมธรรม์ D&O ระบุว่า ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิ์เจรจาตกลงยอมความกับผู้เรียกร้องเองโดยปราศจาก ความยินยอมของผู้เอาประกันภัย แต่ผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ที่จะแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยทำการตกลงยอมความ ได้ และหากผู้เอาประกันภัยยืนยันจะต่อสู้ข้อเรียกร้องโดยไม่เจรจาประนีประนอมยอม ความ ความรับผิดชอบของผู้รับประกันภัยจะจำกัดอยู่เพียงแค่จำนวนเงินชดใช้ค่าเสีย หายที่ต้องจ่ายหากมีการตกลงยอมความกันได้เท่านั้น

          ในขณะเดียวกัน ผู้เอาประกันภัยก็ไม่สามารถประนีประนอมยอมความกับผู้เรียกร้องได้โดยปราศจาก ความยินยอมของผู้รับประกันภัย นอกเสียจากว่า จำนวนเงินความสูญเสียหรือค่าเสียหายที่ต้องจ่ายนั้นอยู่ภายในวงเงินความรับ ผิดส่วนแรกที่มี (Applicable deductible) ของผู้เอาประกันภัย


ID=880,MSG=996
ข้อยกเว้น (Exclusions) ประกันภัยสำหรับผู้บริหาร

ข้อยกเว้น (Exclusions) ประกันภัยสำหรับผู้บริหาร

ข้อยกเว้น (Exclusions) ประกันภัยสำหรับผู้บริหาร

          เนื่องจากข้อยกเว้นในกรมธรรม์ D&O อาจแตกต่างกันไปในแต่ละฉบับ ตัวอย่างข้อยกเว้นที่นำมากล่าวในที่นี้ จึงเป็นข้อยกเว้นหลัก ๆ ที่พบได้ทั่วไป

          1) การประกันภัยอื่น (Other Insurance)
              ความสูญเสียหรือเสียหายที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ ประกันภัยประเภทอื่นจะไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ D&O ตัวอย่างเช่น การบาดเจ็บทางร่างกาย ความเสียหายของทรัพย์สิน มลภาวะ หรือความเสียหายที่กำหนดไว้และจะเรียกร้องได้ตามกฎหมายเฉพาะ เป็นต้น รวมถึงการเรียกร้องที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ D&O ฉบับก่อนหน้า

          2) ความเสี่ยงภัยที่พิจารณายากหรือไม่สามารถรับประกันภัยได้ (Difficult-to-insure or Uninsurable Exposures)
              ความเสียหายบางชนิดที่ยากแก่การพิจารณารับประกันภัยหรือมี ความเสี่ยงภัยสูงมากก็จะถูกระบุยกเว้นในกรมธรรม์ D&O เช่น ความเสียหายจากการฉ้อฉลหรือทุจริตของกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ ความเสียหายที่เกิดจากการประสงค์ในผลประโยชน์ส่วนตัว หรือความรับผิดเนื่องจากการฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น การซื้อ-ขายหุ้นของบริษัทที่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่กระทำโดยอาศัยข้อมูลภาย ใน เป็นต้น

          3) การเรียกร้องระหว่างผู้เอาประกันภัยด้วยกัน (Insured Versus Insured)
              กรมธรรม์ D&O มักไม่ให้ความคุ้มครองการเรียกร้องที่ผู้เอาประกันภัยกระทำต่อผู้เอาประกัน ภัยที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน อย่างไรก็ดี ข้อยกเว้นนี้ก็มักมีการยกเว้น (Exclusion s exceptions) ด้วย กล่าวคือ กรมธรรม์ D&O ยังคงให้ความคุ้มครองการเรียกร้องบางประเภทที่ผู้เอาประกันภัยกระทำต่อผู้ เอาประกันภัย เช่น

              - การเรียกร้องในนามของบริษัทที่เอาประกันภัย (โดยบุคคลที่ไม่ใช่บุคคลผู้เอาประกันภัย) ซึ่งกระทำต่อกรรมการและ/หรือเจ้าหน้าที่ และ

              - การเรียกร้องที่กระทำโดยบุคคลที่เอาประกันภัยรายหนึ่งหรือหลายรายต่อบุคคล ที่เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งหรือหลายราย อันเนื่องมากจากการเลิกจ้างโดยมิชอบ (wrongful termination) เป็นต้น

          4) การจัดหาการประกันภัย (Maintenance of Insurance)
              กรมธรรม์ D&O ไม่ให้ความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายอันเป็นผลมาจากการไม่จัดหาการประกัน ภัยให้เพียงพอแก่ความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท XYZ ซึ่งทำกิจการผลิตของเล่นสำหรับเด็ก ไม่ได้จัดหากรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดต่อตัวผลิตภัณฑ์ (Product Liability Insurance) ที่มีวงเงินเอาประกันภัยสูงเพียงพอ ต่อมาบริษัท XYZ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เนื่องจากของเล่นที่ผลิตออกมานั้นมีสารพิษซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายแก่ร่างกาย ของเด็กที่เล่นของเล่น บริษัท XYZ ถูกตัดสินให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากกรมธรรม์ความรับผิดต่อตัวผลิตภัณฑ์ที่บริษัท XYZ จัดหาไว้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำเกินไป บริษัท XYZ จึงต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนที่เหลือจากยอดกำไรของบริษัท ทำให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงในปีนั้น ผู้ถือหุ้นของบริษัท XYZ จึงเรียกร้องให้กรรมการของบริษัท XYZ ชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ถือหุ้น ในกรณีนี้ กรมธรรม์ D&O จะไม่ให้ความคุ้มครองความรับผิดของกรรมการหรือเจ้าหน้าที่เนื่องจากการ บริหารงานโดยประมาท ไม่จัดหาการประกันภัยให้เหมาะสมและเพียงพอ

              อย่างไรก็ดี ข้อยกเว้นข้อนี้มักถูกดึงออก หลังจากที่ผู้รับประกันภัยได้ตรวจสอบโครงสร้างการเอาประกันภัยของบริษัทแล้ว และพบว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

          5) การเป็นกรรมการในองค์กรภายนอก (Outside Directorships)
              โดยทั่วไป กรมธรรม์ D&O ไม่ให้ความคุ้มครองการละเมิดหรือการกระทำผิดของกรรมการ หากการละเมิดหรือการกระทำผิดนั้นเป็นการกระทำไปในฐานะที่เป็นกรรมการของ องค์กรภายนอกที่มิได้เกี่ยวข้องหรือมิได้เป็นหนึ่งในบริษัทที่เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยต้องการความคุ้มครองเพิ่มในส่วนนี้ ต้องมีการเพิ่มเอกสารแนบท้ายที่ขยายความคุ้มครองออกไปและชำระเบี้ยประกันภัย เพิ่มเติม หรือซื้อความคุ้มครองในกรมธรรม์ D&O อีกฉบับที่แยกต่างหากก็ได้

จำนวนเงินจำกัดความรับผิด (Limit of Liability)

          กรมธรรม์ D&O มีการกำหนดจำนวนเงินจำกัดความรับผิด 2 จำนวน คือ จำนวนเงินจำกัดความรับผิดต่อครั้ง (Each loss limit) และจำนวนเงินจำกัดความรับผิดทั้งหมดต่อระยะเวลาเอาประกันภัย (Aggregate limit)

          จำนวนเงินจำกัดความรับผิดต่อครั้ง (Each loss limit) หมายถึง จำนวนเงินสูงสุดที่ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ให้กับผู้เอาประกันภัยสำหรับการ เรียกร้องหนึ่งครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องภายใต้ความคุ้มครองของ Coverage A หรือ Coverage B ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งสองส่วน

          ในกรณีที่มีจำนวนผู้เรียกร้องมากกว่า 1 คน หรือจำนวนการเรียกร้องมากกว่า 1 ครั้งอันเนื่องมาจากการละเมิดหรือการกระทำผิดเดียวกัน ให้ถือว่าการเรียกร้องทั้งหมดนั้นเป็นการเรียกร้องเพียงครั้งเดียว และจำนวนเงินจำกัดความรับผิดต่อครั้งนั้นเป็นจำนวนเงินจำกัดความรับผิดจำนวน เดียวสำหรับการเรียกร้องทั้งหมด

          จำนวนเงินจำกัดความรับผิดทั้งหมดต่อระยะเวลาเอาประกันภัย (Aggregate limit) หมายถึง จำนวนเงินสูงสุดที่ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ให้กับผู้เอาประกันภัยสำหรับการ เรียกร้องทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัยนั้น ๆ

          จำนวนเงินจำกัดความรับผิดทั้งหมดต่อระยะเวลาเอาประกันภัยนี้จะลด ลงเมื่อมีการชดใช้ตามความคุ้มครองในกรมธรรม์ และเมื่อจำนวนเงินความรับผิดจำนวนนี้หมดลง ความคุ้มครองของกรมธรรม์ฉบับนั้นก็จะสิ้นสุดลงด้วยแม้จะยังไม่สิ้นสุดระยะ เวลาเอาประกันภัยก็ตาม

ความรับผิดส่วนแรก (Deductibles)

          กรมธรรม์ D&O มักมีการกำหนดความรับผิดส่วนแรกของผู้เอาประกันภัยไว้ค่อนข้างสูง ซึ่งโดยทั่วไป จะกำหนดเป็นจำนวนความรับผิดส่วนแรกต่อการเรียกร้องหนึ่งครั้ง (Each-claim deductible) และสามารถมีได้หลายรูปแบบ เช่น กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยมีความรับผิดส่วนแรกเฉพาะค่าเสียหายที่ได้รับความ คุ้มครองตาม Coverage B หรือกำหนดความรับผิดส่วนแรกทั้งใน Coverage A และ Coverage B แต่จำนวนความรับผิดส่วนแรกไม่เท่ากัน หรืออื่น ๆ แล้วแต่จะกำหนด

          นอกจากนี้ ในกรมธรรม์ D&O บางฉบับ ยังมีการกำหนดความรับผิดส่วนแรกต่อการเรียกร้องหนึ่งครั้งต่อกรรมการหรือ เจ้าหน้าที่หนึ่งคน (Each Claim-Each Director or Officer deductible) และในกรณีที่กรรมการและ/หรือเจ้าหน้าที่หลายคนถูกเรียกร้องจากการละเมิดหรือ การกระทำผิดเดียวกัน ความรับผิดส่วนแรกของกรรมการและ/หรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกเรียกร้องทั้งหมดจะ ไม่เกินจำนวนความรับผิดส่วนแรกรวม (Aggregate Each Claim all Directors and Officers)

          ตัวอย่างเช่น ความรับผิดส่วนแรกของกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ต่อครั้งต่อคนเท่ากับ 100,000 บาท แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ จะไม่เกิน 500,000 บาทต่อครั้งต่อกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่ถูกเรียกร้องทั้งหมด ดังนั้น ถ้ามีกรรมการและ/หรือเจ้าหน้าที่ถูกเรียกร้องจากการละเมิดหรือการกระทำผิด เดียวกัน 3 คน ความรับผิดส่วนแรกจะเท่ากับ 300,000 บาท ถ้าถูกเรียกร้องรวม 7 คน ความรับผิดส่วนแรกจะเท่ากับ 500,000 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ จำนวนความรับผิดส่วนแรกให้รวมถึงค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องดวย

          กรมธรรม์ D&O บางฉบับไม่ได้กำหนดจำนวนความรับผิดส่วนแรกเป็นจำนวนเงินตายตัว แต่กำหนดเป็นร้อยละของความสูญเสียหรือค่าเสียหายแต่ละครั้ง เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเป็นสัดส่วนกับมูลค่าความสูญเสียหรือค่า เสียหายที่แท้จริง อย่างไรก็ดี ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นว่า การกำหนดความรับผิดส่วนแรกนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว จึงอาจพบรูปแบบการกำหนดความรับผิดส่วนแรกที่แตกต่างจากนี้ได้

เขตความคุ้มครอง (Territory Coverage)

          กรมธรรม์ D&O ให้ความคุ้มครองการละเมิดหรือการกระทำผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในโลก
อย่างไรก็ดี มักมีข้อแม้ว่า การเรียกร้องที่จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ D&O นั้นต้องกระทำภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง (แล้วแต่จะกำหนด) ทั้งนี้เนื่องจากการเรียกร้องอันเดียวกันอาจถูกตัดสินให้มีมูลค่าความสูญ เสียหายแตกต่างกันมากในแต่ละประเทศนั่นเอง

การแบ่งส่วนความรับผิด (Loss Allocation)

          เป็นที่ทราบกันชัดเจนดีแล้วว่า กรมธรรม์ D&O จะให้ความคุ้มครองบริษัทก็เฉพาะในส่วนที่บริษัทมีภาระผูกพันต้องชดใช้ให้แก่ ตัวกรรมการและ/หรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทเท่านั้น ในกรณีที่การเรียกร้องนั้นเป็นการเรียกร้องที่ระบุให้กรรมการและ/หรือเจ้า หน้าที่และตัวบริษัท (ในฐานะนิติบุคคล) เป็นผู้ถูกเรียกร้องร่วมกัน มักมีปัญหาว่าจะแบ่งส่วนความรับผิดได้อย่างไร

          เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังว่าจะแบ่งส่วน ความรับผิดระหว่างของกรรมการและ/หรือเจ้าหน้าที่และของบริษัท (ในฐานะนิติบุคคล) กันอย่างไร หรือกรณีที่การเรียกร้องนั้นมีทั้งส่วนที่ได้รับความคุ้มครองและส่วนที่ไม่ ได้รับความคุ้มครอง จะแบ่งส่วนความรับผิดที่ได้รับความคุ้มครองและที่ไม่ได้รับความคุ้ม ครองอย่างไร กรมธรรม์ D&O จึงมักมีข้อกำหนดในการจัดสรรเรื่องดังกล่าวไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจกระทำได้ ดังต่อไปนี้

1) การจัดสรรด้วยความพยายามอย่างดีที่สุด (Best Efforts Allocation)
ข้อกำหนดชนิดนี้กล่าวไว้สั้น ๆ ว่า ผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัยจะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการจัดสรร มูลค่าความสูญเสียหรือค่าเสียหาย ระหว่างส่วนที่ได้รับความคุ้มครอง
วิธีนี้ยังแก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้ไม่ดีนัก
2) การจัดสรรด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการหรือการระงับข้อพิพาทวิธีอื่น (Arbitration/Alternative Dispute Resolution Allocation)
ข้อกำหนดวิธีนี้ กล่าวว่า การแบ่งส่วนความรับผิดจะใช้วิธีอนุญาโตตุลาการหรือวิธีการระงับข้อพิพาทอื่น ๆ (หากมี) และผู้รับประกันภัยจะทดรองค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องไปก่อนในสัด ส่วนที่ผู้รับประกันภัยเห็นว่าเหมาะสมจนกว่าการจัดสรรจะเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจึงจะปรับส่วนที่ได้ทดรองไปแล้วกับส่วนที่ได้รับการจัดสรรในภาย หลัง
3) ใช้ ในกรณีที่กรรมการและ/หรือเจ้าหน้าที่ และตัวบริษัท (ในฐานะนิติบุคคล) ตกเป็นผู้ถูกเรียกร้องร่วมกัน โดยผู้รับประกันภัยกับบริษัทจะตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้ข้อเรียกร้องในสัดส่วนเท่าใด เช่น ผู้รับประกันภัยรับผิดชอบ 80% และบริษัทรับผิดชอบ 20% เป็นต้น
แม้การจัดสรรโดยกำหนดไว้ล่วงหน้านี้ ไม่นิยมนำมาใช้กับการแบ่งส่วนความสูญเสียหรือค่าเสียหาย แต่ก็มิได้หมายความว่าจะนำมาใช้มิได้เลย ในบางกรณี ผู้รับประกันภัยอาจยินยอมที่จะใช้วิธีการจัดสรรนี้กับการแบ่งส่วนความสูญ เสียหรือค่าเสียหายด้วย โดยผู้เอาประกันภัยต้องชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม
4) การให้ความคุ้มครองตัวบริษัท (Entity Coverage)
เพื่อตัดปัญหาการแบ่งส่วนความรับผิดอันยุ่งยากและคลุมเครือ ผู้รับประกันภัยบางรายจึงได้เพิ่มความคุ้มครองให้แก่ตัวบริษัท (ในฐานะนิติบุคคล) เสียด้วย ซึ่งเรียกความคุ้มครองส่วนนี้ว่า Entity Coverage โดยคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมจากกรมธรรม์ D&O ธรรมดา
ในอดีต ตัวบริษัทจะได้ความคุ้มครองในส่วนนี้เฉพาะการเรียกร้องบางประเภทเท่านั้น อย่างไรก็ดี กรมธรรม์ D&O ที่ให้ความคุ้มครองตัวบริษัทกว้างขึ้นก็เริ่มเป็นที่ปรากฎมากขึ้นในตลาด

การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ : โอกาสและความเป็นไปได้ในประเทศไทย

          การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระแสโลกาภิวัฒน์ รวมทั้งการเปิดเสรีในธุรกิจหลายสาขาของประเทศไทย ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการและบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างชาติ และที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย ตื่นตัวเกี่ยวกับการประกันภัยความรับผิดประเภทต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เมื่อประกอบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินของประเทศที่เริ่มต้นในปี 2540 อันเนื่องมาจากการล้มละลายของสถาบันการเงินบางแห่งเกิดจากการบริหารงานที่ ผิดพลาด การประมาทเลินเล่อ หรือการปกปิดข้อความจริง หรือการแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจที่ไม่ ถูกต้อง ของผู้บริหารของสถาบันการเงินเหล่านั้น จึงได้นำมาซึ่งคำถามว่า ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อความสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้น

          เมื่อมีแนวโน้มว่า ผู้บริหาร (ซึ่งรวมถึงกรรมการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ) อาจมีสิทธิ์ถูกเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดหรือการกระทำผิดของ ตนที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสีย หรือเสียหายทางการเงินแก่บุคคลอื่น ๆ ความต้องการกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อความรับผิดของกรรมการและ เจ้าหน้าที่ของบริษัทจึงเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด สังเกตได้จากจำนวนบริษัทประกันภัยที่ยื่น (หรือมีความประสงค์จะยื่น) ขอรับความเห็นชอบในกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ และจำนวนบุคคลภายนอกอื่น ๆ ที่โทรมาสอบถามถึงการประกันภัยดังกล่าว ที่เพิ่มขึ้นจนสังเกตได้

          ดังนั้น โอกาสในการขยายตัวของตลาดการประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ใน ประเทศไทยจึงยังมีสูงมาก อีกทั้ง กรมธรรม์ D&O เป็นกรมธรรม์ที่ไม่มีรูปแบบและข้อความที่เป็นมาตรฐานตายตัว แต่สามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายได้ บริษัทประกันภัยจึงอาจนำแบบและข้อความของกรมธรรม์ชนิดนี้มาจากในต่างประเทศ ก่อน แล้วนำมาปรับหรือแก้ไขให้ตรงกับลักษณะความเสี่ยงภัยในบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของความรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับกฎหมายในประเทศไทยเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน ก็ต้องพึงระลึกด้วยว่า กรมธรรม์ชนิดนี้ มักให้ความคุ้มครองสำหรับการละเมิดหรือการกระทำผิดไม่วาจะเกิดขึ้นที่ใดใน โลก ซึ่งก็หมายความว่า การประเมินความเสี่ยงภัย (ในขั้นตอนของการพิจารณารับประกันภัย) ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งนี้ทั้งนั้น ความคุ้มครองของกรมธรรม์ D&O จะกว้างหรือแคบก็สุดแล้วแต่ความต้องการในการให้ความคุ้มครอง แต่อัตราเบี้ยประกันภัยจะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับระดับของความคุ้มครองนั้น ด้วย

          คำแนะนำในการเลือกกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กรมธรรม์ D&O นี้เป็นกรมธรรม์ที่บริษัทเป็นผู้ซื้อเพื่อให้ความคุ้มครองแก่กรรมการและเจ้า หน้าที่ของบริษัท ไม่ใช่กรมธรรม์ที่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่แต่ละคนจะต้องซื้อเองเป็นการส่วน ตัว

          สำหรับบริษัทที่ต้องการซื้อความคุ้มครอง ในระยะต้น อาจจะหาบริษัทประกันภัยที่พร้อมจะรับประกันภัยประเภทนี้ยากอยู่สักนิด เนื่องจากหลายบริษัทยังไม่มีกรมธรรม์ D&O เป็นของตนเอง แต่เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ จะต้องมีรูปแบบและข้อความของกรมธรรม์ D&O ออกมาเสนอตลาดมากยิ่งขึ้น

          ในการเลือกสรรหากรมธรรม์ D&O นั้น ก่อนอื่น ท่านจะต้องทราบว่า กรรมการและเจ้าหน้าที่ของบริษัทของท่านนั้นมีความเสี่ยงต่อความรับผิดตาม กฎหมายในเรื่องใดบ้าง หรือมีกฎหมายเฉพาะอะไรที่บริษัทของท่านต้องใช้เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ เป็นพิเศษ ในกรณีของบริษัทขนาดใหญ่ ฝ่ายกฎหมายของบริษัทจะช่วยได้มากในจุดนี้ ส่วนบริษัทขนาดเล็กที่ไม่มีฝ่ายกฎหมาย ก็ควรปรึกษากับบริษัทภายนอกที่ให้บริการด้านกฎหมาย การทราบถึงลักษณะความเสี่ยงภัยของบริษัทจะทำให้การติดต่อสอบถามรายละเอียด ที่เกี่ยวกับการประกันภัย D&O เป็นไปอย่างตรงประเด็นมากขึ้น

          ขั้นตอนต่อมา จะเป็นการดีกว่า หากท่านทำการติดต่อสอบถามเกี่ยวกับเงื่อนไขและรายละเอียดของการประกันภัยกับ บริษัทประกันภัยหลายบริษัท เพื่อดูว่าบริษัทประกันภัยใดจะมีความชำนาญในการรับประกันภัยประเภทนี้และให้ ข้อเสนอดีกว่ากัน นอกจากนี้ ท่านยังอาจต่อรองในรายละเอียดของเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่ได้ให้เป็นแนวทางไว้ข้างต้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว การพิจารณาเงื่อนไขและรายละเอียดของการประกันภัยถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการ เลือกซื้อความคุ้มครองทุกประเภท

หลังจากได้รายละเอียดต่าง ๆ แล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการเปรียบเทียบและเลือกบริษัทประกันภัยที่ให้ข้อเสนอที่ดี ที่สุด ซึ่งในการเลือกนั้น ท่านควรพิจารณาถึงขอบเขตความคุ้มครอง ข้อยกเว้น และเงื่อนไขต่าง ๆ เปรียบเทียบกับอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์แต่ละฉบับ และจงจำไว้ว่าอัตราเบี้ยประกันภัยที่ต่ำที่สุดไม่ได้หมายความว่าเป็นทาง เลือกที่ดีที่สุด ประสิทธิภาพและคุณภาพการบริการ ตลอดจนชื่อเสียง และความมั่นคงของบริษัทประกันภัยที่ท่านจะทำสัญญาด้วยก็เป็นปัจจัยที่มีความ สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน


ID=880,MSG=997


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 08:19:58pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com