ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์

ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์

ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์

เป็นประกันภัย ที่ จะคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ที่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีส่วนรับผิดชอบในกรณีทีเกิดจากความผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ ที่ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อร่างกาย และทรัพย์สิน ต่อผู้บริโภค
  ความผิดพลาดทางผลิตภัณฑ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และที่จะได้รับการคุ้มครองจากกรมธรรม์ประเภทนี้ คือ
  1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผิดพลาด ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ วัตถุดิบที่จะใช้
2. ความผิดพลาดในขั้นตอนการผลิต เช่นการผสมส่วนผสมที่ผิดพลาด
3. การให้ข้อมูลที่ผิดพลาด ของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าาย ผู้นำเเข้า และผู้ส่งออก ที่ผิดพลาดในเรืองของฉลากวิธีการใช้ หรือคำเตือน ข้อควรระวังจากการใช้ผลิตภัณฑ์

การกำหนดเบี้ยของผลิตภัณฑ์
1. ประเภทและชนิดของผลิตภัณฑ์
2. ระยะเวลาของการคุ้มครอง
3. จำนวนเงินเอาประกันสูงสุดสำหรับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และจำนวนเงินความรับผิดชอบส่วนแรกซึ่งผู้เอาประกันรับผิดชอบเอง
4. เงื่อนไข และข้อยกเว้นต่างๆ
5. ยอดขายหรือจำนวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่อปี
6. สัดส่วนของการส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศ และจำนวนจำหน่ายของแต่ละประเทศเหล่านั้น
7. ประวัติความเสียหายในอดีตท่ผ่านมา

ประกันภัยความคุ้มครองความรับผิดในการบริหารจัดการของผู้เอาประกันภัยและบริษัทของผู้เอาประกันภัย(D&O)  :
กรมธรรม์ประกันความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ บริษัท (Directors’ and Officers’ Liability Insurance = D&O) คือ กรมธรรม์ที่บริษัทประกันภัยจะชดใช้ความสูญเสีย (Loss) เช่น ความสูญเสีย หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่ศาลสั่ง หรือตามที่ได้ตกลงกับผู้เสียหาย โดยบริษัทรับประกันตกลงและเห็นชอบ ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี
ซึ่งสาเหตุเกิดขึ้นจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (Claim) ต่อผู้ทำประกันภัย อันมีสาเหตุมาจากการกระทำผิด (Wrongful Act) ของผู้เอาประกันภัยในฐานะที่ผู้เอาประกันภัยเป็น กรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริษัท (Directors and Officers)”


ID=853,MSG=960
Re: ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์

Re: ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์

ประกันภัย ความรับผิดผลิตภัณฑ์

ประกันภัย ความรับผิดผลิตภัณฑ์ product liability insurance

หมายถึง การประกันภัยความรับผิดต่อผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิต หรือ ผู้ประกอบการ และ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า จะต้องรับผิด ตามกฎหมาย ของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย ได้ออกกฎหมาย พ.ร.บ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551  มีผลบังคับใช้ 20 กุมภาพันธ์ 2552

ผู้ที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย

1.ผู้ผลิตหรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต
2.ผู้นำเข้า
3.ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้
4.ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายข้อความ หรือแสดงด้วยวิธีการใดๆอันมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า

ความรับผิดของผู้ประกอบการ

1.ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิด ต่อผู้เสียหายใน ความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และสินค้านั้นได้ มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ ประกอบการ หรือไม่ก็ตาม

2.เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องรับผิด ผู้เสียหาย หรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนต้องพิสูจน์ว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจาก สินค้าของผู้ประกอบการ และการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติธรรมดา แต่ไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้ประกอบการหรือผู้ ใด

การฟ้องคดี

1.ให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมและมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองตามกฎหมายว่า ด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายได้โดยนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการ ฟ้องและดำเนินคดีแทนตามกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม

2.การฟ้องและดำเนินคดีแทนผู้เสียหายตาม วรรคหนึ่ง ให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นสูงสุด

อายุความ

สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัยตามพระราชบัญญัตินี้เป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการต้องรับผิด หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น

ความคุ้มครอง กรมธรรม์ความรับผิดผลิตภัณฑ์

บริษัทผู้รับประกันภัยจะชดใช้ในนามผู้เอาประกันภัยสำหรับจำนวนเงินซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายซึ่งทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์

1.เสียชีวิต บาดเจ็บต่อร่างกาย หรือเจ็บป่วย
2.สูญเสีย หรือได้รับความเสียหายทางกายภาพต่อทรัพย์สิน
3.ค่าใช้จ่ายทางด้านกฎหมาย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ(โดยความยินยอมของผู้เอาประกัน)

ข้อมูล ที่ใช้สำหรับทำประกันภัย

1.ชื่อผู้เอาประกันภัย (รวมทั้งบริษัทในเครือ)
2.ที่อยู่ผู้เอาประกันภัย และ เว็บไซต์ (ถ้ามี)
3.ประเภทของการประกอบธุรกิจของท่าน
4.ปีที่เริ่มก่อตั้งดำเนินธุรกิจของท่าน
5.ธุรกิจของท่านเป็น (เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้แทนจำหน่าย)
6.ผู้เอาประกันภัย มีสาขา กิจการร่วม สำนักงานตัวแทน อยู่ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา/แคนนาดา หรือไม่

อัตราค่าเบี้ยประกันภัย
ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัย เช่น. ประเภทสินค้า ยอดขาย ขอบเขตอำนาจศาล อาณาเขตที่คุ้มครอง


ID=853,MSG=961
Re: ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์

Re: ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์

ประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากผลิตภัณฑ์
ให้ความคุ้มครองความรับผิดที่ผู้เอาประกันภันภัยมีต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ หากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายหรือเกิดความสูญเสียหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินอันเนื่องมาจากตัวผลิตภัณฑ์นั้น


ID=853,MSG=3687


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Thursday เวลา 07:04:05pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com