‘แข่งลดต้นทุน’เทรนด์วินาศภัยปีขาล

‘แข่งลดต้นทุน’เทรนด์วินาศภัยปีขาล

‘แข่งลดต้นทุน’เทรนด์วินาศภัยปีขาล

กูรูชี้เทรนด์วินาศภัยมุ่งแข่งลดต้นทุน เพิ่มความได้เปรียบอยู่รอดระยะยาว โดยเฉพาะรถยนต์ แห่ใช้ EMCS e Claim คุมสินไหมอยู่หมัด ไทยเศรษฐกิจฯ ย้ำหลังใช้อีเคลม สินไหมค้างจ่าย ลดลงเยอะ อู่ซ่อมเร็ว รับเงินทันที ลูกค้ารับรถเร็ว บุกหนักรายย่อยเสี่ยง ต่ำทั้งพีเอสุขภาพไมโคร อินชัวรันส์ รถยนต์ยืดอายุรถซ่อมห้างไม่เกิน 3 ปี เล่น พ.ร.บ.

นายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าในปี 2553 การควบคุมต้นทุนในองค์กรจะเป็นสาระสำคัญของการแข่งขันในธุรกิจประกันภัยหรือ Costs Leaderchip บริษัทประ กันภัยใดก็ตามสามารถลดต้นทุนลง ได้มากที่สุดจะยิ่งได้เปรียบ อย่างต้น ทุนด้านสินไหมทดแทนโดยเฉพาะประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นประกันภัยที่มีเบี้ยมาก ที่สุดในอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ไทยเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับการควบคุมต้นทุนสิน ไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์มากเช่นกันโดยใช้บริการเคลมออนไลน์ หรือ EMCS e Claim ของบริษัท อีเอ็มซีเอสไทย จำกัด ผู้นำบริการด้านนี้ โดยระบบนี้อนุมัติการซ่อมรถยนต์ผ่านอิเล็ก ทรอนิกส์ สามารถควบคุมราคาค่าซ่อม ค่าอะไหล่ได้อย่างมีประ สิทธิภาพทำให้ต้นทุนลดลงมาก อีกทั้งการซ่อม

มีมาตรฐานเพราะ EMCS e Claim มีคู่ค้าเป็นอู่ซ่อมรถยนต์จำนวนมากครอบ คลุมทั่วประเทศส่วนใหญ่เป็นอู่ขนาดใหญ่ รวมถึงร้านอะไหล่ ร้านกระจก ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทวินาศภัยใช้ EMCS e Claim ประมาณ 28 บริษัท

“เราเริ่มใช้บริการเคลม EMCS e Claim เมื่อ 2 ปีก่อน เคล็ดลับของระบบนี้ อยู่ที่ความรวดเร็วทั้งรถไปถึงอู่ซ่อมเร็ว อนุมัติการซ่อมทันทีทำให้ลูกค้าได้รถเร็ว อีกทั้งควบคุมความเสียหายของบาดแผล ได้เพราะจะส่งรูปความเสียหายของตัวรถ ผ่านออนไลน์ทำให้เห็นความเสียหาย ประเมินค่าซ่อมที่ถูกต้องได้ทันทีวงเงินเคลมเท่าไหร่ ขณะที่พนักงานเคลมไม่ต้อง มาเสียเวลาเขียนเคลม”

นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า EMCS e Claim ดีกับทุกฝ่าย อู่ซ่อมเสร็จเร็วได้รับเงินเร็วสามารถซ่อมรถได้ปริมาณมากขึ้น ลูกค้าได้รับรถเร็ว ขณะที่บริษัทเองไม่มีการ ร้องเรียนเรื่องจากการซ่อมจากลูก ค้า สามารถควบคุมสินไหมทดแทนได้ เพราะระบบนี้จะช่วยสกรีนอู่ซ่อมไปในตัว ทำให้บริษัทไม่มีสินไหมค้างจ่ายอยู่ในระบบยาวเกินไปเพราะหากมีสินไหมค้าง จ่ายนานเกินไปไม่ดีกับฐานะการเงินเพราะถือเป็นหนี้สินของบริษัท

สำหรับในปี 2553 นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ตั้งเป้าหมายเบี้ยรับรวมประมาณ 900-1,000 ล้านบาทจะเน้นขยายลูกค้ารายย่อยทั้งประกันสุขภาพ ประกันอุบัติ เหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ประกันภัยระดับฐาน ราก (ไมโคร อินชัวรันส์) รวมถึงประกันภัยรถยนต์มากขึ้น โดยจะรักษาเบี้ยระดับ 1,000 ล้านบาทไประยะหนึ่งจนกว่ากฎเกณฑ์ใหม่ๆ ทั้งการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Capital : RBC) การตั้งสำรองด้วยระบบเชนแลด เดอร์จะเข้าที่เข้าทางและจนกว่าบริษัทประกันภัยทุกแห่งจะแปรสภาพเป็นบริษัท มหาชน (บมจ.)

เพราะเมื่อถึงตอนนั้นจะเห็นภาพในธุรกิจประกันภัยมีผู้เล่นเหลืออยู่กี่ราย ใคร อยู่ไม่ได้ต้องควบรวมกิจการกับบริษัทอื่น ใครเป็นผู้เล่นหลัก ผู้เล่นรอง ตลาดประกัน ใดที่ชำนาญจะรุกตลาดนั้น โดยคาดว่าจะเห็นภาพนี้ในอีก 4 ปีข้างหน้า

“การขยายรายย่อยเราไม่ได้จัดงบโฆษณาแบรนด์ไว้ก็จริง แต่เรามุ่งให้ความ สำคัญกับตัวแทนมากขึ้นใช้ความสัมพันธ์ เข้าถึงโดยตรงเราใช้กำลังคนมากกว่าการโฆษณา รวมถึงใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางการตลาดสื่อสารกับตัวแทนในภูมิภาค”

ในปี 2552 ไทยเศรษฐกิจคาดว่าจะมีเบี้ยรวมประมาณ 750 ล้านบาท ลดลงจากปี 2551 ที่ทำได้ 856 ล้านบาท เพราะบริษัทปรับฐานลูกค้าเริ่มทยอยลด สัดส่วนการรับประกันภัยลูกค้ารายใหญ่เพราะมีความเสี่ยงสูงทำให้เบี้ยหายไป เนื่องจากเตรียมรับ RBC และกฎเกณฑ์ใหม่อื่นๆ อีกทั้งยังเน้นรักษาฐานลูกค้ามากกว่า โดย 70% ของเบี้ยข้างต้นมาจากประกันไม่ใช่รถยนต์ (นอน มอเตอร์)

นายสถาพร เปาทอง ผู้จัดการฝ่าย รับประกันภัย กล่าวเสริมว่า การขยายรายย่อยโดยมุ่งไปที่ประกันพีเอ สุขภาพ อัคคีภัยรวมถึงไมโคร อินชัวรันส์เพราะเบี้ยไม่แพงมาก อย่างอัคคีภัยจะโปรโมต ประกันที่อยู่อาศัยราคาประหยัดเบี้ย 600 บาทมากขึ้นเพราะขายง่าย ขณะเดียวกันจะรุกตลาดสินค้าใหม่ประกันภัยโจรกรรม คุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้านที่เพิ่งนำออกตลาด เป็นกรมธรรม์แยกต่างหากจากอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ทุนประกัน 100,000 บาทเบี้ยประมาณ 1,000 บาท หากบ้านมีระบบรักษาความปลอดภัยดีจะได้ลดเบี้ยอีก 20%

สาเหตุที่เรารุกสินค้าตัวนี้เพราะผู้เล่นในตลาดยังมีมามาก ความเสี่ยงไม่สูง หลังเริ่มทดลองทำตลาดมีลูกค้าพอสมควร แผนรุกตลาดจะดิวตรงเข้าไปที่นิติบุคคลที่ดูแลหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ เหมา เป็นโครงการ”

ส่วนประกันภัยรถยนต์จะบุกมากขึ้นทั้งประกันรถยนต์และประกันภัยรถตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ประกันภัยภาคบังคับ) เนื่องจากความ เสี่ยงไม่สูงหากควบคุมต้นทุนด้านค่าสินไหนทดแทนได้ โดยตลาด พ.ร.บ. หลังจากเริ่มความคุ้มครองใหม่ในวันที่ 1 มกราคม 2553 จะรอดูทิศทางการแข่งขันในตลาด หากการจ่ายผลตอบแทนให้กับตัวแทน นายหน้าไม่รุนแรงเหมือนปัจจุบันจะเข้าไปเล่นหลังจากปี 2552 ไม่ได้บุกตลาดนี้เพราะสู้การจ่ายผลตอบ แทนไม่ไหว โดยประกันพ.ร.บ.จะขายพ่วง กับประกันภาคสมัครใจ

สำหรับประกันภาคสมัครใจหากเป็นประกันภัยชั้น 1 จะขยายอายุรถที่สามารถใช้บริการซ่อมห้างได้ออกไปอีกเป็นอายุไม่เกิน 3 ปีจากเดิมจะให้เฉพาะรถป้ายแดง โดยครอบคลุมถึงรถที่ย้ายประกันมาจากบริษัทอื่นด้วย ขณะเดียว กันจะขยายตลาดประกันประเภท 3 พลัสเนื่องจากแนวโน้มดี

“รถยนต์เราเริ่มเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะรายมากขึ้น เริ่มรับเป็นฟีตใหญ่ๆ ดิวตรงกับบริษัทลูกค้า อย่างมนตรีทราน สปอร์ตที่รับส่งนักเรียนก็เป็นลูกค้าเราครึ่งหนึ่ง ถือว่ามีความปลอดภัยที่มีมาตร ฐานสูงมากคนขับใช้มาตรฐานเดียวกับนักบิน”
 
ที่มา : สยามธุรกิจ


ID=753,MSG=845


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Thursday เวลา 07:10:15pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com