MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ(Radio Frequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนการตัดร่างกายออกเป็นแผ่นๆ ทำให้แพทย์สามารถมองจุดที่ผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆต่อผู้รับการตรวจ
ข้อบ่งชี้และข้อดีในการใช้ MRI 1. MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ในทุกๆระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 2. ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะ สมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย ( CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า ) 3. ใช้ได้ดีกับ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ 4. สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยางเพื่อฉีดสี ซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูงและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยังสะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลังการตรวจ คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ 5. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี ระบบ หรือ อวัยวะควรได้รับการตรวจ ด้วย MRI 1.MRI of Nervous System ใช้ได้ดีในการตรวจสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาทในร่างกาย สามารถมองเห็นรอยโรคได้อย่างชัดเจน เช่น ภาวะสมองขาดเลือดโดยเฉพาะในช่วงแรก และความผิดปกติบริเวณก้านสมอง (สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ดีกว่าการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์) โรคเนื้องอกของสมอง และโรคลมชัก 2.MRI of Musculoskeleton Systemใช้ได้ดีในการตรวจกระดูกสันหลังและระบบกล้ามเนื้อและข้อ ช่วยในการวินิจฉัยรอยโรคต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นบริเวณข้อต่างๆ ปัจจุบันได้มีการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคของกระดูกและข้อเป็นจำนวนมาก การตรวจ MRI จะเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในโพรงกระดูก หรือไขกระดูกได้อย่างชัดเจน เช่น เนื้องอกภายในกระดูก MRI จะสามารถบอกขอบเขตของโรคได้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษา โรคของกระดูกบางอย่างเช่น การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวของกระดูกต้นขา MRI เป็นการตรวจที่ไวที่สุด สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ แม้ภาพเอ็กซ์เรย์ธรรมดายังปกติอยู่ ข้อที่มีการตรวจ MRI มากที่สุด คือ ข้อเข่า รองลงมา คือ ข้อไหล่ เมื่อสงสัยว่าจะมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนภายในข้อ การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ธรรมดา อาจเห็นเพียงเงาของน้ำในข้อ แต่ MRI จะเห็นส่วนประกอบต่างๆภายในข้อได้อย่างชัดเจน และบอกได้อย่างแม่นยำว่ามีการบาดเจ็บต่อส่วนประกอบเหล่านั ้นอย่างไรบ้าง 3MRI of Blood Vessels สามารถตรวจหลอดเลือดของอวัยวะต่างๆได้ดี (Magnetic Resonance Angiography,MRA) เช่น ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองหรือ การตีบตันของหลอดเลือดไต โดยไม่ต้องเจาะใส่สายสวนเพื่อฉีดสี มีความปลอดภัยสูงสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลังการตรวจ และสามารถกลับบ้านได้ทันที 4.MRI of Abdomen สามารถตรวจช่องท้อง ท่อทางเดินน้ำดี และถุงน้ำดี (Magnetic Resonance Cholangiopancreatography,MRCP) ซึ่งให้ภาพที่ชัดเจนและเหมาะสำหรับการตรวจหาโรค เช่น นิ่วในทางเดินน้ำดี เนื้องอก หรือมะเร็งในท่อน้ำดีและบริเวณโดยรอบซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน ตลอดจนสามารถแยกแยะเนื้องอกในช่องท้องได้ดี ข้อพึงระวังก่อนเข้ารับการตรวจ MRI นับตั้งแต่ที่มีการใช้ MRI ไม่พบ รายงานถึงผลข้างเคียง แต่การใช้ MRI ก็มีข้อควรระวัง ดังนี้ ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่กลัวที่จะอยู่ในที่แคบๆ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic) เพราะ MRI มีลักษณะเป็นโพรง ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น ผู้ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips ) (คลิปรุ่นใหม่มักเป็นรุ่น MRI compatible สามารถตรวจ MRIได้) metal plates ในคนที่ดามกระดูก คนที่เปลี่ยนข้อเทียม คนที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve) ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ ผู้ที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใดๆ ควรหลีกเลี่ยงในคนที่ เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝัง เครื่องมือทางการแพทย์ไว้ (medical devices) ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟันออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ ผู้ที่ รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจจะทำให้ สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้ จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าไม่จำเป็นจริงๆไม่ควรตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ห้องตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา มีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่น เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ ดึงดูดวัตถุที่เป็นโลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น เหล็กโลหะอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของเหล็ก ลบข้อมูลจากเทปแม่เหล็ก การ์ดที่ใช้แถบแม่เหล็ก เช่น ATM , บัตรเครดิต , นาฬิกา , thumbdrive หรือ พวกเครื่อง Pocket PC ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ MRI 1. หลังจากเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดเพื่อที่พร้อมสำหรับการตรวจ ผู้รับการตรวจจะได้รับการพาเข้าสู่ห้องตรวจ 2. ผู้รับการตรวจจะนอนบนเตียงตรวจ และมีการทำเครื่องจับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมาวางบนร่างกาย โดยน้ำหนักโดยรวมของเครื่องจับสัญญาณนี้ประมาณ 1 กิโลกรัม 3. ผู้รับการตรวจนอนสบายๆ นิ่งๆ บนเตียงตรวจ และทำตามเสียงที่บอก เช่น ให้หายใจเข้าแล้วกลั้นใจ หรือว่าอย่ากลืนน้ำลาย 4. ตัวเราจะเคลื่อนไปยังศูนย์กลางของสนามแม่เหล็ก เราอาจจะรู้สึกสั่นสะเทือนและไถลเล็กน้อยระหว่างที่มีการถ่ายภาพ
MRI Scan (เอ็มอาร์ไอ) เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงในการถ่ายภาพเนื้อเยื่อ อวัยวะ และโครงสร้างอื่น ๆ ภายในร่างกาย เพื่อช่วยในการวินิจฉัย วางแผนการรักษา และติดตามผลในการรักษา
MRI Scan สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย เช่น สมองและไขสันหลัง หน้าอก กระดูกและข้อต่อ หัวใจและหลอดเลือด ตับ มดลูก ต่อมลูกหมาก หรืออวัยวะภายในอื่น ๆ โดยภาพที่ถ่ายได้จะมีความคมชัดสูง ทำให้การถ่ายภาพอวัยวะบางส่วนได้ข้อมูลในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำกว่าวิธีอื่น เช่น เอกซเรย์ (X-ray) อัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือซีที สแกน (Computed Tomography: CT Scan)
ค่าใช้จ่ายประมาณ 8,000 บาท+ ฉีดสี 3,000+
การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) คืออะไร?
การตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับอวัยวะภายในร่างกายได้มากขึ้น
การทำเอกซเรย์คลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กนั้นเป็นการใช้คลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กและคลื่นวิทยุมาใช้สร้างภาพของอวัยวะภายในร่างกาย การตรวจนี้จะช่วยให้สามารถมองเห็นอันตรายหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ การตรวจนี้ไม่ใช่หัตถการที่อันตรายและไม่ได้มีการใช้รังสีเอกซ์แต่อย่างใด
จะต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนการมาตรวจ MRI
ในการเตรียมตัวก่อนมาตรวจ MRI นั้น
ส่วนใหญ๋แล้วห้อง MRI มักจะหนาวเพื่อให้เครื่องกำเนิดแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ระหว่างการทำ MRI คุณจะต้องนอนนิ่งๆ อยู่บนโต๊ะแคบๆ ภายในอุโมงค์ขนาดใหญ่ คุณจะนอนอยู่คนเดียว ในขณะที่เจ้าหน้าที่เทคนิคจะทำการเดินเครื่อง MRI จากห้องที่อยู่ใกล้เคียง แต่คุณสามารถพูดคุยกับพวกเขาได้ผ่านทางไมโครโฟน คุณอาจจะได้รับที่อุดหูเพื่อช่วยลดเสียงการทำงานของเครื่องที่ค่อนข้างดัง การตรวจนี้มักใช้เวลาระหว่าง 45-90 นาที
ระหว่างการตรวจนั้น สนามแม่เหล็กของเครื่อง MRI จะผลักให้อนุภาคโปรตอนภายในไฮโดรเจนภายในร่างกายของคุณมาเรียงตัวกัน ก่อนที่จะปล่อยคลื่นวิทยุออกมาทำให้โปรตอนเหล่านั้นหลุดออกจากแถว และเมื่อปิดคลื่นวิทยุลงนั้น โปรตอนก็จะกลับมาเรียงแถวเหมือนเดิมพร้อมกับส่งสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุออกมา คลื่นเหล่านี้จะถูกส่งไปยังตัวรับ ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะการสร้างภาพของเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ภาพที่เกิดจาก MRI นี้อาจจะเป็นทั้งภาพตัดขวางเป็นส่วนๆ หรือเป็นภาพ 3 มิติก็ได้
แพทย์จะเป็นผู้ส่งตรวจ MRI เพื่อมองหาภาวะดังต่อไปนี้
รังสีแพทย์จะเป็นผู้อ่านผลการตรวจ MRI และรายงานผลไปให้แพทย์ของคุณทราบ แพทย์จะนัดตรวจติดตามเพื่อพูดคุยว่าการรักษาขั้นต่อไปจะเป็นอย่างไร
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ MRI Scan
MRI Scan เป็นวิธีในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะเกือบทั่วร่างกายที่ค่อนข้างแม่นยำ และมักจะใช้ยืนยันผลวินิจฉัยหลังจากการทดสอบอื่น ๆ ให้ข้อมูลได้ไม่เพียงพอ โดยการตรวจ MRI Scan ในแต่ละส่วนในร่างกายอาจมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น
ข้อห้ามหรือข้อจำกัดในการตรวจ MRI Scan
การตรวจ MRI Scan ต้องใช้คลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงในการทำงาน อุปกรณ์ที่เป็นโลหะอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและข้อจำกัดบางประการที่ส่งผลต่อการตรวจที่ผิดพลาดขึ้น จึงทำให้ผู้เข้ารับการตรวจบางกลุ่มควรแจ้งข้อมูลส่วนตัวให้แพทย์ทราบก่อน เช่น
กรณีหญิงตั้งครรภ์ สามารถเข้ารับการตรวจ MRI Scan ได้เป็นปกติ เนื่องจากไม่มีรังสีที่เป็นอันตราย แต่มีข้อควรระวัง คือ การฉีดสารหรือสีเข้าหลอดเลือดดำร่วมกับการตรวจ MRI Scan ที่อาจส่งผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ MRI Scan
การตรวจ MRI Scan ไม่ต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษ แพทย์อาจมีคำแนะนำพิเศษเฉพาะบุคคล โดยปกติไม่ต้องอดน้ำ อดอาหาร หรือยาใด ๆ ยกเว้นในบางรายที่อาจต้องอดอาหารและน้ำก่อนการสแกนล่วงหน้าประมาณ 4-6 ชั่วโมง
ผู้ที่มีการใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบในร่างกาย ดวงตา หรืออยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ควรมีการแจ้งข้อมูลให้กับทางแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำการฉายรังสีให้ทราบ รวมไปถึงไม่ควรสวมใส่อุปกรณ์หรือเสื้อผ้าที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ เช่น ต่างหู กิ๊บ เสื้อที่มีซิป
ขั้นตอนในการตรวจ MRI Scan
การตรวจ MRI Scan เป็นขั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด โดยใช้เวลาในการตรวจประมาณ 15-90 นาที ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ต้องการสแกนและจำนวนภาพที่ต้องการถ่าย ทางโรงพยาบาลจะแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจในเบื้องต้นและคำแนะนำในการปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการตรวจ
ในขั้นแรก ผู้เข้ารับการตรวจจำเป็นต้องถอดอุปกรณ์ทุกชิ้นที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบออกทั้งหมด เช่น อุปกรณ์ช่วยฟัง ฟันปลอม นาฬิกา ต่างหู กิ๊บติดผม เนื่องจากภายในห้องมีคลื่นแม่เหล็กแรงสูงที่อาจส่งผลต่ออุปกรณ์เหล่านี้ จากนั้นจึงจะเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ แต่ในบางรายอาจไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนเสื้อผ้า ซึ่งจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เข้ารับการตรวจ ทั้งนี้ควรสำรวจสิ่งของตามกระเป๋าเสื้อ กางเกง หรือกระโปรงออกให้หมดหากต้องเข้ารับการตรวจโดยไม่ต้องถอดและเปลี่ยนชุด เช่น บัตรเครดิต เหรียญ บัตรเอทีเอ็ม เพราะในห้องสแกนมีคลื่นแม่เหล็กแรงสูงซึ่งอาจลบข้อมูลในบัตรต่าง ๆ ได้
การตรวจอาจเกิดเสียงดังขึ้นเป็นระยะ ทางเจ้าหน้าที่แนะนำให้ใช้ฟองน้ำอุดหู เพื่อช่วยลดเสียงที่เกิดขึ้น บางรายอาจต้องได้รับยาที่ช่วยให้สงบอารมณ์ หรือมีการฉีดสีเข้าร่างกาย เพื่อการตรวจเฉพาะส่วน
เมื่อเข้าไปอยู่ในห้องตรวจ ผู้เข้ารับการตรวจจะนอนลงบนเครื่องที่มีลักษณะเป็นถาดขนาดยาวตรงกลางของเครื่อง MRI โดยเจ้าหน้าที่จะช่วยจัดท่าทางของศีรษะ ลำตัว และแขนให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จากนั้นจะมีการนำเครื่องจับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมาวางบนร่างกาย ก่อนที่ถาดจะค่อย ๆ เลื่อนเข้าไปในตัวเครื่องที่มีลักษณะคล้ายอุโมงค์
ควรนอนนิ่ง ๆ ขณะตรวจ ไม่ขยับไปมา ในบางกรณีอาจขอให้มีการกลั้นหายใจชั่วครู่ในขณะถ่ายภาพ เมื่อการตรวจเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้ตามปกติ หลังจากนั้นแพทย์รายงานในเบื้องต้นพร้อมนัดกับผู้รับการตรวจให้มาฟังผลอีกครั้ง
หลังการตรวจและการติดตามผลของ MRI Scan
หลังการตรวจเสร็จสิ้นลง ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลับบ้าน ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามปกติ แต่ในบางรายที่มีการใช้ยาที่ช่วยให้สงบอารมณ์ลงอาจต้องมีเพื่อน ญาติ ผู้ใกล้ชิดดูแลขณะกลับบ้านหรืออยู่ด้วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจเป็นอันตรายได้
ผลการตรวจ MRI Scan จะถูกวิเคราะห์และแปลผลโดยรังสีแพทย์ ก่อนจะส่งผลการตรวจที่เป็นแผ่นฟิล์มไปยังแพทย์ผู้ทำการรักษาคนไข้ที่เป็นผู้สั่งตรวจโดยตรง จากนั้นแพทย์จะเป็นผู้ที่นัดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับผลการตรวจที่ได้ว่าเป็นปกติหรือเกิดความผิดปกติใดขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลารอผลประมาณ 1-2 สัปดาห์
ผลข้างเคียงของการตรวจ MRI Scan
การตรวจ MRI Scan โดยปกติไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่คลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงที่ใช้ในการตรวจจะมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ทางแพทย์ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ แขนขาเทียม ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายของผู้เข้ารับการตรวจได้
ผู้เข้ารับการตรวจบางรายที่ได้รับการฉีดสีอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น มีความรู้สึกร้อนหรือเย็น ผู้ที่อุดฟันอาจรู้สึกเสียวฟัน ผู้ที่มีรอยสักตามร่างกายที่ใช้ผงสีชนิดเหล็กออกไซด์อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง หรือผู้ที่มีการใส่อุปกรณ์ทางแพทย์สำหรับดวงตาที่ทำจากโลหะ อาจสร้างความเสียหายให้กับกระจกตาได้
https://www.youtube.com/watch?v=GlzcWsORAk8 https://www.youtube.com/watch?v=2IB9q-I3a9k
BY RACHVIPA MRI IN บทความสำหรับประชาชน
การถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ Magnetic resonance imaging (MRI) นั้นมีบทบาทมากขึ้นอย่างมากในปัจจุบันทั้งในด้านการวินิจฉัยโรคการติดตามการรักษาโรคและการศึกษาวิจัย Magnetic resonance imaging (MRI) ใช้หลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการจัดเรียงตัวของไฮโดรเจนอะตอมในเนื้อเยื่อต่างๆในการแสดงภาพ
Magnetic resonance imaging (MRI) มีข้อดีคือไม่มี ionizing radiation หรือรังสีที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งซึ่งต่างจากการใช้รังสี X-ray ในการทำ CT scan (computedtomography scanning) ที่หากได้รับมากเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกและมะเร็งได้
นอกจากนี้ Magnetic resonance imaging (MRI) ยังมีความสามารถในการแสดงรายละเอียดของเนื้อเยื่อและอวัยวะหลายชนิดได้ดีกว่าเช่นเนื้อสมองไขสันหลังไตตับเป็นต้นการถ่ายภาพ Magnetic resonance imaging (MRI) สามารถแสดงผลได้หลายรูปแบบเช่นภาพตัดตามแนวขวางภาพตัดตามแนวยาวภาพตัดครึ่งซีกทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายด้วยเทคนิคต่างๆที่ใช้หลักการของ Magnetic resonance imaging (MRI) เพื่อช่วยในการบ่งบอกรอยโรคอย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็น MRA DWI หรือ ADC เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม Magnetic resonance imaging (MRI) ก็มีข้อเสียคือไม่สามารถทำในคนที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจได้เพราะจะทำให้เครื่องกระตุ้นหัวใจทำงานผิดปกติส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้นอกจากนี้ Magnetic resonance imaging (MRI) ยังไม่สามารถทำได้ในผู้ที่มีวัตถุที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กหรือ ferromagnetic อยู่ในตัวเพราะแรงของสนามแม่เหล็กจาก MRI อาจดึงให้วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของอวัยวะต่างๆได้ทั้งวัตถุเหล่านั้นทำให้ภาพถ่ายทาง MRI ที่ได้บิดเบือนไปอ่านผลไม่ได้อีกด้วยและสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวที่แคบก็อาจจะประสบปัญหาในการทำ MRI ได้เช่นกัน
โปรดรอ
cymiz.com insurance