ค่ารักษาพยาบาล ราชการ ครั้งที่ 1/2558

ค่ารักษาพยาบาล ราชการ ครั้งที่ 1/2558

1. อัตราค่าห้องสําหรับการเข้ารักษาพยาบาลมีการ เปลี่ยนแปลงหรือไม่

มีการเปลี่ยนแปลง ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/พิเศษ ว 2 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2556 ในอัตราค่าห้องและค่าอาหาร สําหรับเตียงสามัญ ไม่เกิน 400 บาทต่อ วัน และสําหรับ ห้องพิเศษ ไม่เ กิน 1,000 บาทต่อวัน

2. การเบิกค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลของ เอกชน กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ในส่วนของ ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ หมายความว่าอย่างไร

ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่กค 0422.2/ว 95 ลงวันที่ 25 เมษายน 2557 กรณีผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่รุนแรงและแพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้เป็นผู้ป่วยใน ให้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล โดยค่าห้องและค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบําบัดรักษาโรค ให้เบิกได้ในอัตราเดียวกับการเข้ารับการรักษาพยาบาลใน สถานพยาบาลของทางราชการ สําหรับค่ารักษาพยาบาล ประเภทอื่น ๆ ให้หมายความถึงค่ายา ค่าบริการทาง การแพทย์ค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียมฯ ให้สามารถเบิกได้ครึ่งหนึ่งของ จํานวนเงินทั้งหมดที่ไดจ้่ายไปจริง แต่ไม่เกินแปดพันบาท

3. กรณีแพทย์สั่งให้ทํา MRI กับบริษัทเอกชนใน สถานพยาบาลของทางราชการ จะต้องมีหลักฐาน ใดบ้างประกอบการเบิกจ่าย คําว่า MRI LT, คําว่า MRI RT ซึ่งมีรหัสเดียวกัน (45701) เป็น 2 รายการ ใน 1 วัน จะเบิกได้ทั้ง 2 รายการหรือไม่

สําหรับกรณีทํา MRI LT ทํา MRI RT เป็น 2 รายการที่มี รหัสเดียวกัน (45701) สามารถเบิกได้ทั้ง 2 รายการ และ ไม่เกิน 8000 บาท ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 177 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 อัตราค่าบริการสาธารณสุข (หมวดที่ 8) หลักฐาน ประกอบการเบิก จ่าย คือ หนังสือ รับรองจาก แพทย์ผู้ทําการรักษา แจ้งถึงเหตุจําเป็นที่ต้องเข้ารับ การตรวจ MRI ใบเสร็จรับเงินที่ได้จากบริษัทเอกชน ซึ่งจะต้องมีการใส่รหัสรายการไว้ด้วย โดยในการเบิกให้ใส่ชื่อ สถานพยาบาลของทางราชการที่ทําการรักษาในแบบ 7131 (แบบใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล)

4. การเบิกค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าส่วนราชการ ผู้อนุมัติคือใคร

ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 หมวดที่ 2 ข้อ 9(๒) การเบิกค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้าส่วนราชการ (ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นผู้อนุมัติการเบิก ค่ารักษาพยาบาลของหัวหน้า ส่วนราชการ ทั้ง นี้ การมอบหมายต้องมิใช่หัวหน้าส่วนราชการ ๒

5. กรณีผู้ป่วยในของสถานพยาบาลของทางราชการ ซึ่งตรวจสอบฐานข้อมูลโรงพยาบาลจากโรงพยาบาล แล้วไม่สมบูรณ์จึงได้จ่ายเงินสดไปก่อน แล้วจึงนํา ใบเสร็จรับเงินมาเบิกสามารถเบิกได้หรือไม่

ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ข้อ 20 การขอเบิกเงินคาร่ ักษาพยาบาลของทางราชการ ผู้มีสิทธิอาจ ยื่นคําขอหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาล หรืออาจให้สถานพยาบาลขอเสนออนุมัติผ่านระบบหรือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับหน่วยงานที่กรมบัญชีกลาง มอบหมาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงิน ค่ารักษาพยาบาลก็ได้และข้อ 30 กรณีที่ส่วนราชการหรือ สถานพยาบาลของทางราชการไม่สามารถปฏิบัติตาม ห ลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ให้ขอทําความตกลงกับ กระทรวงการคลัง ซึ่งกรณีที่ถามมา เนื่องจากเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งต้องจ่ายตรง ดังนั้น จึงต้องขอตกลงกับกระทรวงการคลัง ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น

6. ค่าฟันเทียม (รหัส 9204) เบิกได้หรือไม่

ตามหนังสือกรมบัญชีกลางด่วนที่สุด ที่กค 0422.2/ว 236 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ประกาศประเภทและ อัตราค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค เกี่ยวกับฟันเทียมได้กําหนดรหัสอุปกรณ์ 9204 ค่าฟันเทียม สามารถเบิกได้ 1,300.- บาทต่อชิ้น

7. ส่วนเกินค่าห้องจากสิทธิประกันสังคมของบุคคล ในครอบครัว สามารถเบิกได้หรือไม่อย่างไร

ตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 การเบิก ส่วนเกินสิทธิประกันสังคมที่สามารถนํามาเบิกจาก ทางราชการได้เช่น ค่าคลอดบุตร ค่าฟอกไต และค่าทําฟัน ซึ่งกรณีที่สอบถาม ผู้มีสิทธิต้องใช้สิทธิของตนเองก่อน ส่วนขาดสิทธิจึงจะนํามาเบิกจากทางราชการได้สําหรับ ค่าห้องนั้น การเบิกจ่ายของสิทธิข้าราชการเป็นไปตามอัตรา ที่กระทรวงการคลังกําหนดส่วนประกันสังคมเป็นแบบเหมาจ่าย จึงไม่มีส่วนขาดสิทธิมาเบิกจากทางราชการได้

8. ผู้รับบํานาญมีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และมีสิทธิประกันสังคมด้วย จะสามารถใช้สิทธิจาก หน่วยงานใดเวลาเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ของทางราชการ

ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ กําหนดเรื่องสิทธิซ้ําซ้อน สําหรับกรณีที่ผู้มีสิทธิมีสิทธิหลักมากกว่า ๑ สิทธิสามารถ เลือกได้ว่าจะใช้สิทธิใด ทั้งนี้ เมื่อเลือกสิทธิอื่นแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ในปีนั้น ๆ ได้อีก และหากมีส่วนเกินสิทธิประกันสังคม หรือ ส่วนที่ประกันสังคมไม่ครอบคลุม ก็ไม่สามารถนําส่วนเกิน ดังกล่าวมาเบิกจากทางราชการได้อีก (รายละเอียดตาม หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๒๒.๒/ว ๓๗๗ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓) ๓

9. ข้าราชการตํารวจถูกพักราชการ หรือให้ออกจาก ราชการไว้ก่อนเนื่องจากถูกตั้งกรรมการสอบสวน ความผิดวินัยร้ายแรงและไม่ได้รับเงินเดือน หากตนเอง หรือบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วยต้องเข้ารับการ รักษาพยาบาล จะสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ หรือไม่

กรณีดังกล่าว หากผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วย ระหว่างที่ผู้มีสิทธิถูกสั่งให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการ ไว้ก่อน และอยู่ระหว่างตั้งกรรมการสอบสวนความผิดวินัย ร้ายแรงและไม่ได้รับเงินเดือน ก็ให้ทดรองจ่ายเงิน ค่ารักษาพยาบาลไปก่อนทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และ จะต้องรอจนกว่าคําสั่งคดีจะถึงที่สุดว่าไม่ผิดและได้รับ เงินเดือนย้อนหลัง จึงจะสามารถนําใบเสร็จรับเงินที่ได้ ทดรองจ่ายไปขอเบิกเงินได้ทั้งนี้ใบเสร็จฯ มีระยะเวลา ๑ ปี นับ ถัดจากวัน ที่มีคํา สั่งคดีถึง ที่สุด ( ห ลักเกณฑ์ กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๑๕)

10. ค่ายาแผนไทย สามารถนํามาเบิกกับทางราชการ ได้หรือไม่

ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๔๒๒.๒/ว ๓๓ ลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๔ กําหนดให้ค่ายาแผนไทย สามารถเบิกกับทางราชการได้โดยให้เบิกได้เฉพาะค่ายาที่ใช้ ในการบําบัดรักษาโรคโดยตรงเท่านั้น ส่วนยาแผนไทยที่ใช้ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และ/หรือเพื่อการนวด บรรเทาอาการ เช่น น้ํามันไพล เจลพริก เป็นต้น สําหรับ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทเครื่องสําอาง หรือมีลักษณะ เป็นอาหาร ห้ามเบิกจ่ายจากทางราชการ โดยการเบิกจ่าย ต้องเป็นไปตามรายการยาและเงื่อนไขการใช้ยาที่กําหนด ตามหนังสือเวียนดังกล่าวข้างต้น

11. ลูกจ้างประจําในสังกัดป่วยหนัก ต้องการเบิกเงิน ค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่สามารถลงลายมือชื่อในใบเบิก เงินค่ารักษาพยาบาลได้จะต้องดําเนินการอย่างไร

ตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ หมวดที่ ๓ ข้อ ๑๕ (๒) กําหนดว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิ มีสติสัมปชัญญะ แต่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ให้พิมพ์ ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งให้มีพยาน ๒ คน ลงลายมือชื่อรับรอง และให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้ยื่น ใบเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล


ID=4015,MSG=4721
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 04:41:00pm... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com