#ตามทฤษฏี หากเราเป็นฝ่ายถูก (และความจริงก็เป็นอย่างนั้น) การตกลงใด (กับคู่กรณี หรือ บริษัทประกันของเรา )ก็แล้วแต่ ให้เรา . 1.ตรวจสอบบันทึกประจำวัน ให้แน่ใจว่า ไม่ได้ลงว่า เราเป็นฝ่ายผิด . 2.ตรวจสอบใบเคลม ให้แน่ใจว่า ไม่ได้ระบุว่าเป็นฝ่ายผิด . (หรือเต็มที่ก็คือ "ประมาทร่วม" จ่ายค่าปรับ 400บาท ซึ่งก็แล้วแต่ลูกค้าจะยอมหรือไม่ นี่คือเรื่องถึงตำรวจแล้ว . ถ้าเรื่องไม่ถึงตำรวจ ต่างฝ่ายตกลงยอมรับประมาทร่วมก็ไม่ต้องจ่าย) . เพราะถ้าระบุเป็นฝ่ายผิด คู่กรณีจะไม่ยอม ลูกค้าต้องจ่าย 500 บาท ตรวจสภาพรถ ต่อสู้ เข้าสู่กระบวนการกฏหมาย ต่อไป ซึ่งผลที่ออกมา เลวร้ายที่สุดก็ คือ "ประมาทร่วม" . อะไรที่ตกลงกันนอกรอบ ต้องตรงกับเอกสาร เพราะบริษัทประกันมีเจ้าหน้าที่หลายคนหลายแผนก ลูกค้าเป็นหมื่นเป็นแสนราย ไม่มีใครจดจำอะไรได้ เขาจะใช้ "หลักฐาน" ในการอ้างอิง ซึ่งหลักฐานนั้นจะปรากฏในระบบของบริษัท . #เรื่องราวจริงที่เกิดขั้น ลูกค้าถูกมอไซต์ถอยมาชน ด้านข้างรถเป็นรอย "มอไซต์ยอมรับผิด" ลูกค้าโทรหาประกัน ประกันให้ลูกค้ารอ . ลูกค้าโทรปรึกษาตัวแทน/นายหน้า รอยเล็กนิดเดียว จำเป็นต้องรอไหม ทำไง? . ตัวแทน/นายหน้า ตอบ ว่ากันตามหลักปฏิบัติ คือ ให้เซ็นต์ใบชนแล้วแยก ใบนั้นจะระบุว่าใครผิด แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ค่อยมีคนยอมเซ็นต์ หรือ มีใบนั้นพกติดตัว . ถ้าไม่รอประกัน ก็สามารถทำได้ เพราะระบุคู่กรณีได้ (โดยจดจำทะเบียน หรือ ถ่ายรูปไว้ ) แต่อาจต้องแจ้งความ เพื่อประโยชน์ในการเคลมประกัน ซึ่งปกติจะใช้กับ คู่กรณีที่ชนแล้วหนี เคสนี้ถ้าจะทำอย่างนั้น จะเป็นการ #เคลมสด จึงแนะนำให้รอ เพื่อจะได้เคลียร์ได้ว่า ใครผิดถูก คือถ้าแยกย้ายไปอาจจะมีปัญหาได้ ถ้าเราถูกก็อาจเสียเปรียบ
---- เวลาผ่านไป .. ลูกค้าโทรเข้ามา บอกว่า ใช่จริงๆด้วย ตอนนี้เขา บอกว่าตัวเอง ไม่ใช่ฝ่ายผิดแล้ว
ตัวแทน/นายหน้า ถามไปว่า ทำไมเป็นอย่างนั้น? ลูกค้าบอกว่า #เมีย เขามา
นั่นเป็นตัวแปรที่เพิ่มเข้ามา ยากจะควบคุม --- #ปฏิบัติจะเป็นแบบนี้ จึงเรียกตำรวจมา ตัดสิน และ ไปคุยกันที่ โรงพัก ลูกค้าให้เงินมัดจำไว้ 500 ค่าตรวจรถ ..ช่วงนั้น ประกันเองก็บอกว่า ถ้ายอมรับผิดก็ทำได้วันหลังค่อยไปแจ้งเคลม ลักษณะเหมือนต้องเมคเรื่องขึ้นมา หรือ เคลมพร้อมแผลใหม่อะไรอย่างน้้น (แล้วประกันไม่คิดจะรับไปบ้างเหรอ? โดยให้ลูกค้ารับอยู่คนเดียว นั่นมันใช่ เรื่องไหม?) . ซึ่งการเคลม กรณีเป็นฝ่ายผิด จะเสียประวัติ เบี้ยปีต่อไปเพิ่ม 10%+ เบี้ย 18,000 จะเป็น 20,000+ ถ้าย้ายบริษัทก็ต้องทำเรื่องใหม่ อาจจะได้เบี้ยเท่าเดิม หรือ เเพงกว่าก็ได้ แต่ถ้าประวัติดี ได้ส่วนลดปีละ 10% เห็นๆ --- คู่กรณี ได้มาขอคุย ขอเป็นการประมาทร่วม และรับผิดชอบคนละครึ่ง นั่นคือ ถ้า ความเสียหายทั้งหมดครั้งนี้ 8,000 บาท ประกันจะตามเก็บจากคู่กรณี 4,000 แต่ลูกค้าเลือกที่จะ ตกลงประมาทร่วมก็ได้ แต่ให้คู่กรณีจ่ายค่าปรับแทน ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ --- ถ้าจะใช้หลักนิติศาสตร์อย่างเดียว ก็ว่ากันตามกฏหมาย ไม่ยอมก็ฟ้องร้องกันไปตามกระบวนการ ถ้าใช้หลักเศรษฐศาสตร์ อย่างเดียว ก็คิดเรื่องของผลประโยชน์ เวลาและตัวเงิน
แต่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง อาจต้องใช้ศาสตร์หลายแขนง และสรรพศาสตร์ ในโลก ณ ปัจจุบันนี้ มีเพียง 2 ศาสตร์เท่านั้น คือ วิทยาศาสตร์ กับ ศิลปศาสตร์ (ไม่นับรวมไสยศาตร์) เมื่อนั้น The Best Solution จะปรากฏออกมาให้ได้เห็น -- เคสนี้ #การเจรจาต่อรอง จึงเกิดขึ้น โดยอาศัย ข้อมูลที่ได้รับ สภาพจิตใจ ภาษาพูด ภาษากาย อารมณ์ การแสดงออก action ต่างๆ
ประเมินสถานการณ์ สถานการณ์ได้ว่า.. คู่กรณี รู้อยู่แก่ใจว่าตัวเองผิด ทุกคนก็เห็นตรงกันทั้งตำรวจ survey ประกันภัย แต่หากคู่กรณีไม่ยอมรับซะอย่าง ก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการระบบกฏหมาย
ผลที่ตามมาคือ เสียเวลาและค่าใช้จ่ายทั้งคู่ เผลอๆคู่กรณีอาจจะต้องจ่ายมากกว่า ค่าเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุครั้งนี้ และ เมื่อคดีไปถึงที่สุด คู่กรณี อาจจะต้องจ่ายค่าเสียหาย หากเป็นฝ่ายผิด รวมทั้งค่าทนายความ เรื่องราวเลยเถิดบานปลายไปถึงขั้นนั้น ยอมรับกันได้ไหม?
หลังจากลูกค้าได้ข้อมูลเพิ่มจากตัวแทน/นายหน้า แล้ว จึงเลือกวิธีดังนี้... คู่กรณีรับผิดชอบค่าปรับทั้งหมด และ เบี้ยปรับจากการเสียประวัติรถยนต์ แลกกับการช่วยเหลือ โดยให้เป็นประมาทร่วม คู่กรณีรีบจ่ายโดยพลัน เพราะไม่งั้นอาจจะต้องจ่าย ค่าเสียหายอีกเยอะ และเรื่องราวบานปลาย
อ่านถึงตอนนี้ บางคนอาจจะนึกสงสาร แต่ที่ต้องจบแบบนี้เพราะอะไร? --- ถ้าคู่กรณี ไม่กลับคำ (ยังคงยอมรับผิดเหมือนเดิม) ประกันมาถึง คู่กรณีจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย จึงร้องขอความเห็นใจ ฝ่่ายถูก เกิดความสงสาร ช่วยได้ก็ต้องยอมรับ "ประมาทร่วม" ต่างฝ่ายต่างจ่ายซ่อมเอง เรื่องไม่ถึงตำรวจ ไม่เสียค่าปรับและอาจไม่ต้องจ่ายค่าเสียประวัติ เพราะความเห็นใจ ล้วนๆ ซึ่งน่าจบอย่างนั้นได้
#สัจจะ และ #คำมั่นสัญญา นั่นมีค่าเสมอ อย่า #ตระบัดสัตย์
ต้องแยกกัน2 ปรเด็น 1. ใครผิด ใครถูก 2. การเจรจา หลังจากข้อ1 A ถ้าเขายอมรับว่าผิด เราก็จะช่วยเขาอย่างไรก็ว่าไป B ถ้าเขาไม่ยอมรับว่าผิด เคสนี้เบื้องต้น จะจบที่ประมาทร่วม หรือ ทำเหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น (ไม่ระบุ ถูกผิด) แต่รถที่เสียหายจะเสียประวัติ เว้นแต่จะทำอย่างที่ว่า .. ก็ขึ้นกับว่าเราจะทำไหม
--
เคสนี้ ถือว่า คู่กรณีโชคดีแล้ว ที่ ฝ่ายถูกไม่เรียกเก็บค่าเสียประวัติ เป็น 2000 เพราะที่ถูกจะต้องคิดอย่างนั้น 10%+ * 18,000 => 2000 ถ้าประวัติดี ปีต่อไป เบี้ยอาจจะเป็น 16,000 ถ้าประวัติเสีย ปีต่อไป เบี้ยอาจจะเป็น 20,000 ที่ถูกต้องคือ ต้องเก็บ ที่ 2,000 บาท (คนละครึ่ง) (20,000-16,000) = 4,000 จึงถือว่าเคสนี้ ดีแล้วที่คู่กรณีรีบจ่ายไป ไม่งั้นตัวเลขอาจจะเปลียน
โปรดรอ
cymiz.com insurance