Fire
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย+option
อัคคีภัยสถานประกอบการ
อัคคีภัยสถานประกอบการ+option
อัคคีภัย บริษัทอื่นๆ
อัคคีภัยธุรกิจ
ประกันภัยธุรกิจ
เสี่ยงภัยทุกชนิด (เสี่ยงภัยทรัพย์สิน)
สั่งซื้อประกันอัคคีภัย
ขอใบเสนอประกันอัคคีภัย
Liability
วิชาชีพแพทย์ (Doctor)
บุคคลภายนอก (Third-party)
ผลิตภัณฑ์ (Product)
วิชาชีพบัญชี (Accountant)
ผู้ตรวจสอบอาคาร
ความรับผิดผู้ขนส่ง
ประกันภัยไซเบอร์ Cyber insurance
Life
แบบประกันชีวิต ▶️
ตลอดชีพ
สะสมทรัพย์
บำนาญ
จ่ายสั้น
เน้นคุ้มครองชีวิต
เน้นเก็บเงิน
อนุสัญญา
ประกันการศึกษาเด็ก
ประกันเกษียณ
ประกันเด็ก
กลุ่ม
Health
ประกันสุขภาพ
ประกันชดเชยรายได้
ประกันมะเร็ง
PA TA
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ+มะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ+ชดเชยรายได้
ประกันเดินทาง
ประกันเรียนต่อต่างประเทศ
Motor
ประกันภัยรถยนต์
พรบ รถยนต์
ประกันมอเตอร์ไซค์
พรบ มอเตอร์ไซค์
ประกันอื่น
ประกันวิศวกรรม
ประกันก่อสร้าง
ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
ประกันธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
ประกันอีเวนท์ (Event)
ประกันความซื่อสัตย์
ประกันสินเชื่อหรือเครดิตการค้า
ประกันหมาแมว (Cat&Dog)
สนับสนุน
customer login
ซื้อ+ชำระเงิน
ความรู้ประกัน
แบบฟอร์ม
อู่รถยนต์คู่สัญญาประกัน
โรงพยาบาลคู่สัญญา
เรทค่าห้อง
เกี่ยวกับเรา
เว็บบอร์ด
สมัครขายประกัน
BMI
TAX-insurance
ติดต่อ
FB
Inbox
Question
Email
(เบอร์โทรปรากฏตามเวลา)
admin LineOA
LineOA
Life Agent app(BLA)
Life Agent login(BLA)
Broker login(MTI)
Broker login(BKI)
Broker login(Aetna)
🔻
cymiz.com
MENU
ประกันอัคคีภัย ▶️
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย+option
อัคคีภัยสถานประกอบการ
อัคคีภัยสถานประกอบการ+option
อัคคีภัย บริษัทอื่นๆ
ประกันภัยธุรกิจ
เสี่ยงภัยทุกชนิด(เสี่ยงภัยทรัพย์สิน)
ประกันอัคคีภัยสำหรับธุรกิจ
สั่งซื้อประกันอัคคีภัย
ขอใบเสนอประกันอัคคีภัย
สุขภาพ | อุบัติเหตุ | เดินทาง ▶️
ประกันสุขภาพ
ประกันชดเชยรายได้
ประกันมะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ+มะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ+ชดเชยรายได้
ประกันเดินทาง
ประกันเรียนต่อต่างประเทศ
ประกันความรับผิดทางกฏหมาย ▶️
วิชาชีพแพทย์ (Doctor)
บุคคลภายนอก (Third-party)
ผลิตภัณฑ์ (Product)
วิชาชีพบัญชี (Accountant)
ผู้ตรวจสอบอาคาร
ความรับผิดผู้ขนส่ง
ประกันภัยไซเบอร์ Cyber insurance
วิศวกรรม | รับเหมา | ก่อสร้าง ▶️
ประกันวิศวกรรม
ประกันก่อสร้าง
ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
รถยนต์ | มอไซค์ | พรบ ▶️
ประกันรถยนต์
พรบ รถยนต์
ประกันมอเตอร์ไซค์
พรบ มอเตอร์ไซค์
ประกันภัยอื่นๆ ▶️
ประกันธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
ประกันอีเวนท์ (Event)
ประกันความซื่อสัตย์
ประกันสินเชื่อหรือเครดิตการค้า
ประกันหมาแมว (Cat&Dog)
ประกันกลุ่ม
ประกันชีวิต
เช็คเบี้ยรถยนต์
Big C
Big C
Big C แจ้งเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นเบอร์ลียุคเกอร์ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีถือ 58.5 %
Big C Supercenter แจ้งตลาดหุ้นบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์เข้าถือหุ้นใหญ่ 58.5 % เป็นที่เรียบร้อย เผยสายสัมพันธ์บิ๊กซี-เบอร์ลียุคเกอร์-ทีทีซี โฮลดิ้งเป็นของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่รู้จักกันดีในนามเจ้าของเบียร์ช้างและอีกหลายธุรกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยบริษัทได้รับแจ้งจากกลุ่มคาสิโนว่า Géant International B.V. ได้ดำเนินการขายหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัทฯรวมทั้งสิ้นจำนวน 483,077,600 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 58.555 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทให้แก่ บริษัท บีเจซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท สัมพันธ์เสมอ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่งผลให้บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ โดยทางอ้อม จากการถือหุ้นในบริษัท โดยผ่านบริษัทย่อยทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว
บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ( BIG C SUPERCENTER PUBLIC COMPANY LIMITED :BIGC) เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ในรูปแบบร้านไฮเปอร์มาร์ท ขนาดใหญ่ชื่อ บิ๊กซี (Big C) มีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทยและประเทศในเอเชีย เช่น เวียดนาม ข้อมูลในปี 2554 หลังจากควบรวมกิจการของคาร์ฟูร์ในประเทศไทย (บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด) เข้ามา ทำให้บิ๊กซี มีสาขาทั้งหมด 122 สาขาในประเทศไทย โดยแบ่งแยกเป็นบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้าจำนวน 15 สาขา, บิ๊กซี จัมโบ้ 2 สาขาและ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 105 สาขา
บิ๊กซีให้ความหมายของคำว่า Big C
Big หมายถึง พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ พร้อมด้วยบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับลูกค้า และยังครอบคลุมไปถึงความหลากหลายของสินค้าที่บิ๊กซีคัดสรรมาจำหน่าย โดยบิ๊กซีมีสินค้ามากกว่า 100,000 รายการ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า
C หมายถึงลูกค้า ( Customer ) ที่ให้การสนับสนุนบิ๊กซีตลอดมา
ตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตถือว่าบี๊ก ซี เป็นอันดับ 2 รองจากกลุ่มเทสโก้ โลตัส
ประวัติบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ (BJC)
บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (BERLI JUCKER PUBLIC COMPANY LIMITED :BJC) บริษัทดำเนินกิจการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคโดยมีกิจการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ธุรกิจผลิตสินค้าทั้งของกินและของใช้หลากหลายชนิด เช่น ธุรกิจสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์ กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค และกลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิค
บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2425 จุดเริ่มต้นมาจากตระกูลเบอร์ลี่และตระกูลยุคเกอร์ คือนายอัลเบิร์ต ยุคเกอร์ และนายเฮนรี่ ซิกก์ ชาวสวิส ได้ร่วมกันก่อตั้ง ห้างยุคเกอร์ แอนด์ ซิกก์ แอนด์โก ในระยะแรกของการดำเนินธุรกิจ ได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโรงสีข้าว เหมืองแร่ ไม้สัก การเดินเรือ และการนำเข้า ในปี พ.ศ. 2467 บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น ห้างเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ แอนด์โก ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานแบบหุ้นส่วนภายในครอบครัวเป็นรูปบริษัท ภายใต้ชื่อ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด ในปี พ.ศ. 2508
ในปีพ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้ง (พระครุฑพ่าห์) ให้แก่บริษัท และใน พ.ศ. 2518 บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งด้วยการเป็นหนึ่งในเจ็ดบริษัทแรกที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทได้แปรสภาพเป็น บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2536
การประกอบธุรกิจ
บริษัทประกอบกิจการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีฐานการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยบริษัทได้มีการร่วมทุนและการเข้าซื้อกิจการทั้งในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เช่น เวียดนาม พม่า และมาเลเซีย กลุ่มธุรกิจของบริษัทสามารถแบ่งได้ดังนี้
กลุ่มสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์
กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค
กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิค
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ
โครงสร้างรายได้บริษัท
โครงสร้างรายได้ จำนวน(ปี 2557) เปอร์เซ็นต์
กลุ่มสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์ 18,074 ล้านบาท 41.62
กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค 16,285 ล้านบาท 37.50
กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิค7,750 ล้านบาท 17.85
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ 1,314 ล้านบาท 3.03
รวม 43,423 ล้านบาท 100%
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ข้อมูล ณ วันที่ 27 มีนาคม 2558
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ทีซีซี โฮลดิ้ง จำกัด 1,173,284,220 73.69%
2 DBS BANK LTD 81,979,400 5.15%
3 กองทุนเปิด บัวหลวงหุ้นระยะยาว 41,593,700 2.61%
4 กองทุนเปิด บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 33,374,800 2.10%
5 กองทุนเปิด บัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ 16,277,800 1.02%
ID=3365,MSG=4629
Re: Big C
Re: Big C
การเข้าซื้อธุรกิจบิ๊กซีในประเทศไทย ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ด้วยการส่งบริษัท ทีซีซี คอร์เปอเรชั่น จำกัด เข้าซื้อหุ้นของ คาสิโน กรุ๊ป ที่ถือหุ้นผ่านทาง Géant International BV ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 58.56% ถือเป็น “ซูเปอร์ดีล” ครั้งประวัติศาสตร์เพราะมีมูลค่ารวมประมาณ 3,460 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น เงินไทยไม่น้อยกว่า 1.22 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
ทั้งนี้ แม้มูลค่าเม็ดเงินที่ใช้จะน้อยกว่าเมื่อช่วงปี 2556 ที่ ซีพีกรุ๊ป ของเสี่ยธนินท์ เจียรวนนท์ ส่งซีพีออลล์ เข้าซื้อแม็คโครในประเทศไทย ด้วยมูลค่ากว่า 1.88 ล้านล้านบาท ก็ตาม แต่ก็เป็นเกมความเคลื่อนไหวที่สำคัญของ เจริญ อย่างมาก และสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการประสบความสำเร็จเบื้องต้นของ “เจริญ” ที่สามารถขยายอาณาจักรค้าปลีกในไทยแบบเรียนลัด ได้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกเสียที หลังจากที่มีความพยายามมานานหลายปีและหลายดีลแล้ว นับตั้งแต่ ดีลคาร์ฟูร์ที่ขายกิจการ ในไทยซึ่งสุดท้ายทางคาสิโนกรุ๊ปผู้ถือหุ้นใหญ่ในบิ๊กซี คว้าไปด้วยมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท และดีลแม็คโครที่สุดท้ายก็ตกไป อยู่ในมือของกลุ่มซีพีด้วยมูลค่า 1.8 แสนล้านบาท โดยที่เจริญได้แต่เสียดาย และรอวันแก้มือ
อีกทั้งเกมนี้จะเป็นปรากฏการณ์ที่พลิกโฉมหน้าวงการค้าปลีกในไทยอีกครั้ง เป็นการสร้างอำนาจการต่อรองของธุรกิจในเครือของเจริญได้มากขึ้น รวมทั้ง ความเคลื่อนไหวนี้ยังเป็นการรุกคืบสร้าง ภาวะผูกขาดในธุรกิจค้าปลีก ของผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่กี่รายชนิดที่ปฏิเสธไม่ได้
รวมทั้งยังเป็นประหนึ่งภาพสะท้อนเค้าลางของการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ครั้งใหญ่ ทั้งในระบบธุรกิจไทยและธุรกิจนานาชาติ โดยเฉพาะในห้วงยามที่อาเซียนกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ AEC ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากจังหวะก้าวภายใต้ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ว่าด้วย C-ASEAN และ Vision 2020 ที่เป็นประหนึ่งธงนำในการขยายอาณาจักรธุรกิจของบริษัทในเครือทีซีซี และไทยเบฟเวอเรจ แล้วการได้ครอบครอง Big C ถือเป็นประหนึ่งข้อต่อชิ้นสำคัญ ที่ทำให้ภาพจิ๊กซอว์ขนาดมหึมาเกินจินตนาการของอาณาจักรแห่งนี้สมบูรณ์และพรั่งพร้อมที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าตามเข็มมุ่งที่วางไว้อย่างลงตัว
ก่อนหน้านี้ เจริญได้ตั้งบริษัทลูกคือ ทีซีซี โลจิสติกส์ แอนด์ แวร์เฮ้าส์ จำกัด ขี้นมาเพื่อให้บริการร้านค้าปลีกและค้าส่ง แบรนด์ เอ็มเอ็มเมก้ามาร์เกต ไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้สร้างความน่ากลัวแต่อย่างใด เพราะเพิ่งเริ่ม โดยเปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าอัศวรรณ ชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ จังหวัดหนองคาย และมีแผนจะขยายเพิ่มอีกรวม 15สาขาภายใน5 ปีนี้ ซึ่งรูปแบบธุรกิจของเอ็มเอ็ม เมก้า มาร์เกต คือการผสมผสานรูปแบบค้าปลีกชำระเงินสดกับการบริการตัวเองเข้าด้วยกัน
หรืออีกแบรนด์หนึ่งคือ โอเกงกิ เป็นร้านสเปเชียลตี้สโตร์ แบบขายสินค้าสุขภาพและความงาม ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทดลองทำมาได้ 2-3 ปีแล้ว แต่ทั้งหมดนี้ ก็ยังไม่ใช่เครือข่ายที่เจริญต้องการอย่างเช่นบิ๊กซี
เมื่อบิ๊กซีเข้ามาอยู่ในเงื้อมมือของเจริญ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเทกโอเวอร์ซื้อ ทุกอย่างที่ขวางหน้าที่เขาต้องการ ย่อมเป็นการต่อยอดและต่อจิ๊กซอว์ให้ ธุรกิจของเขาแข็งแกร่งและครบวงจรมากขึ้น ที่เรียกกันว่า ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
เพราะมีทั้งธุรกิจผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้า มีสินค้าของตัวเองมาก
แต่เชื่อได้ว่า งานใหญ่ชิ้นนี้ ยังคงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไร ที่รวดเร็วและใหญ่โตแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือในระยะสั้นนี้แน่นอน เพราะต้องใช้บุคคลากรที่เชี่ยวชาญค้าปลีกโดยเฉพาะ ซึ่งต้องยอมรับว่า ค่ายเจริญยังไม่ใช่ระดับเซียนในเซ็กเมนต์นี้
มองดูกรณีของ บิ๊กซีที่เข้าซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในไทยในอดีต ก็ยังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 - 3 ปีเลยทีเดียว ในการจัดการและแก้ไข และปรับเปลี่ยนคาร์ฟูร์มาเป็นบิ๊กซีได้ชนิดสมบูรณ์แบบ
กลุ่มธุรกิจของเจริญหลักๆคือ
1.อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งแอลกอฮอล์ นอนแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มน้ำอัดลม เสริมสุข เอฟแอนด์เอ็น ไทยเบฟ โออิชิ เป็นต้น และแต่ละบริษัทในเครือ ก็มีระบบโลจิสติกส์ ที่แข็งแกร่งทั้งสิ้น
2.กลุ่มอุตสาหกรรมและการค้า อย่างเช่น บีเจซี หรือเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ซึ่งมีสินค้าอุปโภคและบริโภคมากมายหลายแบรนด์ ทั้งที่เป็นสินค้าของตัวเองและที่นับจัดจำหน่าย
3.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก ที่มีทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน พลาซ่า เป็นต้น 4 .กลุ่มธุรกิจประกันภัยทั้งชีวิต วินาศภัย
และอื่นๆ 5.กลุ่มธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรม
แต่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่แบบนี้โดยเฉพาะ ไฮเปอร์มาร์เกตที่ทีซีซีเองอาจจะยังไม่ค่อยเชี่ยวชาญในไทย ในเบื้องต้นคงจำเป็นต้องใช้บุคลากรและทีมงานเดิมบริหารต่อไปก่อนแน่นอนเพราะธุรกิจค้าปลีกเดิมที่มีอยู่ จะเป็นคนละแนวกับบิ๊กซี ไม่ว่าจะเป็น เอเชียธีค ริเวอร์ฟร้อนท์ , เกตเวย์, เซ็นเตอร์พอยท์ออฟสยามสแควร์, ศูนย์การค้าไอทีชื่อพันธ์ทิพย์พลซ่า บ๊อกซ์สเปซ เดอะสตรีทรัชดาภิเษก
ทั้งนี้ แผนการพัฒนาแบรนด์เหล่านี้ ภายในช่วงปี 2558 - 2562 มีประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งยังน้อยมากเทียบกับมูลค่าการซื้อบิ๊กซี
ทั้งหมดนี้เป็นแนวพลาซ่ากับศูนย์การค้าที่เน้นขายและเช่าพื้นที่ แต่บิ๊กซีคือค้าปลีกแนวไฮเปอร์มาร์เกตที่ขายสินค้า
ดังนั้น บิ๊กซีคือตัวที่จะมาต่อยอดธุรกิจค้าปลีกให้ครบวงจรนั่นเอง ซึ่งจะถือเป็นช่องทางจำหน่ายหรือเรียกว่า มาร์เกตติ้งอาร์ม ( marketing arm) ที่ทรงพลังของเจริญ ที่สร้างความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ ไม่แพ้ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกกลุ่มเซ็นทรัลที่มีครบวงจรเช่นกัน ทั้ง ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล โรบินสัน คอนวีเนียนสโตร์แฟมิลี่มาร์ท บีทูเอส เพาเวอร์บาย ซูเปอร์สปอร์ตและอีกสารพัดแบรนด์ค้าปลีก
เฉกเช่นเดียวกับค่ายซีพี ที่ปูพรมไปทุกหย่อมหญ้าเลยทีเดียว ในกลุ่มค้าปลีก เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น ซีพีเฟรชมาร์ท ทรูคอฟฟี่ แม็คโคร เทสโก้โลตัส เป็นต้น เพราะมีทั้งสินค้าของตัวเอง โลจิสติกส์ตัวเอง และช่องทางการขายของตัวเองครบหมด
สิ่งเหล่านี้สามารถจัดการบริหารสร้างอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์ได้อย่างดีแท้
เจริญจึงใช้ บิ๊กซีนี้เป็นตัวต่อยอดสร้างอำนาจต่อรองได้ดี เพราะใครก็ต้องการนำสินค้าของตัวเองเข้ามาขายผ่านทางบิ๊กซี ไม่แพ้เทสโก้โลตัส แม็คโคร หรือเซเว่นอีเลฟเว่น
ด้วยความได้เปรียบและมีอำนาจต่อรองมากขนาดนี้ จากการที่บิ๊กซีมีสาขาทุกโมเดลรวมกันในไทยไม่ต่ำกว่า 700-800 แห่ง แล้วคือ บิ๊กซีมีจำนวนไฮเปอร์มาร์เกต 125 สาขา (บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้าและบิ๊กซี จัมโบ้) บิ๊กซี มาร์เกต 55 สาขา มินิบิ๊กซี 394 สาขา และร้านขายยาเพรียว 146 สาขา กระจายอยู่ทั่วประเทศ อาจจะ เป็นรองก็แค่เซเว่นอีเลฟเว่น กับคู่แข่งทางตรงอย่างเทสโก้โลตัส
สินค้าย่อมต้องเข้าถึงมือผู้บริโภคเป้าหมายได้มากขึ้น ผลดีต่อยอดขายก็ตามมา
นั่นหมายความว่า บิ๊กซี ย่อมมีอำนาจเหนือซัพพลายเออร์เจ้าของ สินค้าที่ต้องการเข้ามาค้าขายในบิ๊กซีแน่นอน ซึ่งจากนี้ไป เงื่อนไขการค้าขาย รวมทั้ง การเก็บค่าจีพี หรือการเก็บค่าเช่า คงต้องมีการปรับเปลี่ยน หรือไม่อย่างไร
ยังส่งผลสะเทือนต่อซัพพลายเออร์ในอีกมุมหนึ่ง เพราะสินค้าเฮาส์ แบรนด์ของบิ๊กซีและของค่ายเจริญจะเกิดขึ้นมามากขึ้น เพราะในเมื่อมีแขนขาช่องทางของตัวเองแล้ว จะต้องไปกังวลเรื่องใด
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า มูลค่าการซื้อขายบิ๊กซีครั้งนี้ค่อนข้างที่จะแพง เมื่อเทียบเท่า P/E Foward ปี 2528 ที่ 29 เท่า ซึ่งยังแพงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 26 เท่า และกลยุทธ์ที่ทางกลุ่มจะได้รับก็อยู่ที่บริษัทลูกในเครือที่เป็นผู้ผลิตสินค้าอย่างเบอร์ลี่ยุคเกอร์เพราะจะมีอำนาจต่อรองขายสินค้าได้มากขึ้น
ข้อมูลยังระบุด้วยว่า กรณีที่มีการอิงรายได้ส่วนเพิ่มจากการขาย ของให้บิ๊กซี เพิ่มทุก 1% ของต้นทุนการขายแต่ละปีของบิ๊กซี คาดเกิดกำไรส่วนเพิ่มต่อเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ประมาณ 20 ล้านบาท ( คิดเป็น EPS 0.01 บาทต่อหุ้น) หรือคิดเป็นราคาเป้าส่วนเพิ่มประมาณ 003 บาทต่อหุ้น จากปัจจุบันที่ 44.5 บาท
อีกมุมมองหนึ่งจาก นางสาวสุรีย์พร ทีวะสุเวทย์ นักวิเคราะห์ จาก บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส ที่ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า การซื้อบิ๊กซี เป็นประโยชน์โดยตรงกับทาง “ทีซีซี กรุ๊ป” ที่ต้องการมีหน้าร้านค้าปลีก และมีการแสวงหามาตลอด แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งมาได้ “บิ๊กซี” เข้ามาช่วยตอบโจทย์ในเรื่องช่องทางจำหน่ายให้กับธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าทั้งอุปโภคบริโภคอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งเอฟแอนด์เอ็น เสริมสุข โออิชิ รวมทั้งธุรกิจแอลกอฮอล์ และนอนแอลกอฮอล์ ซึ่งทีซีซีมีระบบ โลจิสติกส์ที่แข็งแรงมากในการกระจายสินค้า จะขาดก็แต่ช่องทางค้า ปลีกที่จะกระจายไปถึงผู้บริโภคโดยตรงเท่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะก่อให้เกิดการ Synergy กับ “บีเจซี” บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภค และต้องพึ่งพิงร้านค้าปลีก เมื่อได้บิ๊กซี จะทำให้บีเจซีลดต้นทุนในการวางจำหน่ายสินค้า เช่น ค่าธรรมเนียมใน การวางจำหน่ายสินค้าน่าจะถูกลง และสร้างอำนาจต่อรองในการขาย สินค้ามากขึ้นอีกประเด็นที่น่าติดตามก็คือโอกาสของสินค้าในเครือ ของเจริญเอง ก็จะมีมากขึ้นและง่ายขึ้นในการที่จะเข้าไปจำหน่าย ในบิ๊กซีนี้
โดยเฉพาะสินค้าบริโภคอุปโภคที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับสินค้าในกลุ่มของเจริญทั้งหมด คงออกอาการผวากันเป็นแถว
หลายคนพุ่งเป้ามองไปที่เบียร์ค่ายสิงห์ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ เบียร์ช้าง ของเจริญ มาตลอด
งานนี้สิงห์จะโดนกดดันหรือไม่ สินค้าสิงห์จะถูกเรียกเก็บค่า ธรรมเนียมสูงขึ้นหรือไม่ สินค้าค่ายสิงห์จะถูกสินค้าคู่แข่งเบียดบัง ด้วยทำเลดีบนเชลฟ์หรือไม่ สินค้าของค่ายสิงห์จะถูกจำกัดวงจำหน่าย หรือไม่ และอื่นๆอีกสารพัดที่คิดกันไปต่างๆ นานา
แต่ประเด็นนี้ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำกัน และเจริญซึ่งมีความเก๋าเกมในแง่ธุรกิจ ก็รู้ดีอยู่แล้วว่า ทำเช่นนั้นสุ่มเสี่ยงต่อภาพลักษณ์และการต่อต้านด้วยการที่เสี่ยเจริญกระโดดเข้าสู่ค้าปลีกเซกเมนต์ไฮเปอร์มาร์เกตนี้ ในไทย ก็เพราะว่า ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งประเทศ และในตลาดนี้ มีเพียง 2 รายเท่านั้นเองในประเทศไทย คือ เทสโกโลตัสกับบิ๊กซี ซึ่งง่ายในการแข่งขัน ส่วนแม็คโครนั้นถือเป็นอีกเซ็กเมนต์หนึ่งคือ แคชแอนด์แคร์รี่ แต่ก็แข่งขันกันในทางอ้อม
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าปลีกไฮเปอร์มาร์เกตในไทย แม้ว่าที่ผ่านมาจะเติบโตแบบก้าวกระโดดทั้งยอดขาย จำนวนพื้นที่ขาย จำนวนสาขา แต่ว่าในช่วงหลังอยู่ในภาวะที่ทรงตัว โดยทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2556 ไฮเปอร์มาร์เกต เติบโต3.5% แต่พอปี2557เติบโต 2.6% มาถึงปี 2558 เติบโตเพียง 1.85% เท่านั้น และในปี2559 นี้คาดการณ์ว่าจะเติบโต 1.5-2%
เนื่องจากไฮเปอร์มาร์เกตนี้จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงล่างกำลังซื้อของ กลุ่มนี้ได้รับผลกระทบในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากปัจจัยลบต่างๆ ทั้งภาวะหนี้ครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัญหาภัยแล้ง รวมถึงราคาพืชผลทางการเกษตร ยังตกต่ำ
อีกทั้งไฮเปอร์มาร์เกต ยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากคู่แข่งด้วยกันเอง และทางอ้อมจากค้าปลีกที่ข้ามเซกเมนต์มาชนกันอย่าง คอนวีเนียนสโตร์ และซูเปอร์มาร์เกต เป็นต้น
แต่ เจริญไม่สนใจเพราะวัฎจักรของธุรกิจย่อมมีขึ้นมีลงอยู่แล้ว และเขาเองก็มองไปไกลกว่านั้น
กล่าวในแง่ของตลาดรวม บรรดาคู่แข่งโดยตรง หรือแม้แต่ใน วงการค้าปลีก ซัปพลายเออร์ ต่างคงต้องปรับกลยุทธ์ ปรับตัว ปรับเกม ในการรับมือกับเการเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนมือของบิ๊กซีครั้งนี้
ถึงแม้ว่า บิ๊กซี จะไม่ใช่ผู้นำตลาดหรือรายใหญ่สุดในค้าปลีกไทย แต่ด้วยกลเม็ดและฝีมือพร้อมเงินทุนของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” รวมไปถึงเครือข่ายสินค้า ช่องทางจำหน่าย และธุรกิจต่างๆของ เจริญ แล้ว มีศักยภาพที่น่ากลัวมาก
นี่คือฉากต่อไปในไทยหลังจากเจริญฮุบบิ๊กซีได้แล้ว
ขณะที่อีกด้านหนึ่งคือ บิ๊กซีในเวียดนาม ก็เป็นเค้กอีกชิ้นท่ามกลางคนใจมาก และเป็นประเทศที่มีศักยภาพประเทศหนึ่งในกลุ่มเออีซี และเจริญเองก็จ้องตาเป็นมันเหมือนกัน โดยก่อนหน้านี้เจริญให้บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีเจซี” ที่อยู่ภายใต้การบริหารของอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ลูกเขยอีกคนของเจริญ ปักหมุดค้าปลีกในเวียดนาม ด้วยการซื้อกิจการร้านสะดวกซื้อ “แฟมิลี่มาร์ท” ในเวียดนามและเปลี่ยนแบรนด์เป็น บี'สมาร์ท (B'smart) รวมทั้งวางแผนเข้าซื้อกิจการต่อเนื่องในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม)
ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า การคว้าชัยในดีล Big C ของเจริญ สิริวัฒนภักดีในครั้งนี้ เป็นการคว้าชัยที่มีนัยความหมายมากกว่าที่จะเป็นเพียงการได้มาซึ่งเครือข่ายค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้เท่านั้น หากยังเป็นการสกัดกั้นคู่แข่งขันรายสำคัญอีกรายอย่างเซ็นทรัลกรุ๊ป ไม่ให้สามารถขยายตัวตามยุทธศาสตร์ธุรกิจที่กำลังสัประยุทธ์โรมรันกันอยู่นี้ได้ในคราวเดียวกันด้วย
ขณะเดียวกันจังหวะก้าวของเจริญ สิริวัฒนภักดี ภายใต้ยุทธศาสตร์ภาพใหญ่ในครั้งนี้ ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ค่ายมหาอาณาจักรธุรกิจยักษ์ใหญ่อีกแห่งอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ของตระกูล เจียรวนนท์ กำลังเผชิญกับภาวะเสื่อมถอยด้านความน่าเชื่อถือและขาดธรรมาภิบาลจากกรณีผู้บริหารระดับสูงพัวพันกับเรื่องอื้อฉาวในวงการตลาดทุนว่าด้วยดีล CP ALL และ แม็คโคร ในช่วงก่อนหน้านี้
ยังไม่นับรวมกรณีของ True อีกหนึ่งบริษัทในมหาอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งแม้จะเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จากผลของยอดการประมูลเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล แต่ก็ยังไม่มีความแน่นอนกับอนาคตทางธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมที่คาดว่าจะเต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างหนักหน่วงที่รอคอยอยู่เบื้องหน้า
การจบดีล Big C โดยเครือข่ายของเจริญ สิริวัฒนภักดี ในครั้งนี้ จึงเป็นประหนึ่งการต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญและเป็นสัญญาณเริ่มต้นการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกครั้งใหม่ของเครือข่ายธุรกิจไทยที่ถูกครอบงำโดย 3 ตระกูลหลักนี้
บิ๊กซีจะรุกตลาดแบบไหน เกมช่วงชิงเค้กค้าปลีกของเจริญ จะเป็นอย่างไร จะมีผลต่อวงการค้าปลีก มากน้อยเพียงใด ศึกครั้งนี้ต้องจับตาดูชนิดกะพริบตาไม่ได้
เมื่อ Big C เป็นของ Big “C”haroen
ค้าปลีกไทยก็คงสะเทือนถึงดวงดาว
ล้อมกรอบ
ผ่าอาณาจักรอสังหาฯในมือเจ้าสัว “เจริญ”
กลุ่ม บริษัททีซีซีแลนด์ กรุ๊ป บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้ร่มเงาของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” เจ้าของธุรกิจน้ำเมา ได้แผ่ขยายออกมาอย่างก้าว กระโดดในห้วงเวลาเพียงไม่กี่ปี ด้วยการซื้อกิจการหรือเทกโอเวอร์บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่การซื้อหุ้นเพียงบางส่วน
ธุรกิจอสังหาฯของเจ้าสัวเจริญ เริ่มจากการลงทุนในที่ดินเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา จนกลายมาเป็น 6 สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้ “ทีซีซีแลนด์ กรุ๊ป” ที่ครบวงจร และกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มทีซีซีแลนด์ กรุ๊ป ได้เดินหน้าขยายอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ อย่างจริงจังเมื่อปี 2550 ด้วยการที่บริษัท อเดลฟอส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ในกลุ่มทีซีซีแลนด์ กรุ๊ป เข้าซื้อกิจการของบริษัทยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบัน ยูนิเวนเจอร์ ได้ขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครอบคลุมการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยเพื่อขาย ภายใต้บริษัทแกรนด์ ยูนิตี้ ดีเวลล๊อปเม้นต์ จำกัด และโครงการอาคารสำนักงานปาร์คเวนเจอร์ อีโคเพล็กซ์ และโรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ และต่อมาในปี 2555 ยูนิเวนเจอร์ ได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด (มหาชน)
กระทั่งในปี 2556 การเจรจาซื้อหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่ เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (F&N) มูลค่า 3.4 แสนล้านบาท ของบริษัท ไทย เบฟเวอเรจ (ไทยเบฟ) และบริษัท ทีซีซี แอสเซท ของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นผลสำเร็จ ยังผลให้กลุ่มของเจ้าสัวเจริญ กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทกรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) หรือ เคแลนด์โดยปริยาย ซึ่งเคแลนด์ เป็นบริษัทพัฒนาคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์ ถือหุ้นรวม 79.78%
ทั้งนี้ การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของเจ้าสัวเจริญ เริ่มเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา จนกลายมาเป็น 6 สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้ “ทีซีซีแลนด์ กรุ๊ป” ที่ครบวงจร และกำลังขยายตัวอย่าง แผ่กิ่งก้านสาขาอย่างเติบโตและมั่นคง โดยกลุ่ม ทีซีซี เริ่มเข้าสู่กิจการโรงแรมเต็มตัวเมื่อลงทุนในกิจการโรงแรมเครืออิมพีเรียล และจัดตั้งบริษัท ทีซีซี โฮเทลส์ กรุ๊ป เพื่อพัฒนาธุรกิจและขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ
ทำให้ปัจจุบันมีโรงแรมและรีสอร์ทที่อยู่ภายใต้การบริหารถึง 51 แห่งใน 11 ประเทศ มีจำนวนห้องพักรวมทั้งสิ้นกว่า 10,000 ห้อง ทีซีซี โฮเทลส์ กรุ๊ปยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรกับกลุ่มผู้บริหารโรงแรม ระดับโลกที่มีเครือข่ายการตลาดและแบรนด์ที่เข้มแข็ง ให้ดำเนินการบริหารโรงแรมเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของแต่ละกลุ่มลูกค้าในทำเลที่ต่างกัน
นอกจากนี้ กลุ่มทีซีซี แลนด์ยังดำเนินธุรกิจด้านอาคารสำนักงานของผู้บริหารพื้นที่สำนักงานให้เช่าบนใจกลางย่านธุรกิจ (CBD) ของกรุงเทพมหานครมีพื้นที่รวมกว่า 1 ล้าน 5 แสน ตารางเมตร โดยมุ่งที่จะพัฒนาให้ทุกอาคารมีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล อีกทั้ง มุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้เป็นโครงการชั้นนำในแต่ละกลุ่มลูกค้า ควบคู่ไปกับคุณภาพและทำเลที่ดีที่สุดเพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน
ส่วนบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจการบริหารศูนย์การประชุมแห่งแรกของประเทศไทย ได้แก่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เมื่อปลายปีที่ผ่านมาเจ้าสัวเจริญ ได้มีนโยบายให้บริษัทในเครือนำที่ดินที่มีอยู่รวมกันกว่า 3 แสนไร่ไปพัฒนาหรือบริหารจัดการ เพื่อก่อให้เกิดรายได้ให้บริษัทและส่งเสริมให้ชุมชนมีความก้าวหน้า ทั้งในภาคธุรกิจการเกษตร อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่งผลให้ผู้บริหารในแต่ละกลุ่มธุรกิจต่างศึกษาและเตรียมนำเสนอแผนการพัฒนาและลงทุนธุรกิจในระยะยาว
สำหรับแผนลงทุนในระยะ 5 ปี (ปี 2558-2562) จากเดิมที่จะใช้งบลงทุน 5 พันล้านบาท มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 1 หมื่นล้านบาท เพื่อการขยายสาขาเพิ่มใน 3 แบรนด์ ได้แก่ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ 3 - 3.5 พันล้านบาท สำหรับขยายเอเชียทีค เจริญกรุง เฟส 2 และการขยายสาขาใหม่ที่เชียงใหม่ พัทยา หัวหิน ภูเก็ต และสมุย , เกตเวย์ 5 พันล้านบาท สำหรับการขยายสาขาเพิ่มอีก 3 แห่งในเขตกรุงเทพฯ และบ๊อกซ์ สเปซ 1.5 พันล้านบาท สำหรับการขยายสาขาในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดอีก 3-4 แห่ง
ขณะเดียวกันบริษัทยังต้องศึกษาและพัฒนารูปแบบค้าปลีกใหม่ๆ ตลอดเวลาเพื่อรองรับการลงทุนเพิ่ม ขณะที่การรีโนเวตเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ และพันธุ์ทิพย์อีก 4 แห่งจะใช้งบแยกต่างหาก
เมื่อ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” เจ้าพ่อน้ำเมาและธุรกิจหลากหลายในไทย ประสบความสำเร็จในเบื้องต้น เข้าซื้อกิจการ “บิ๊กซี” ในไทย ด้วยการเจรจาเป็นที่เรียบร้อยในการซื้อหุ้นจาก “กลุ่มคาสิโน” ที่ถือหุ้นใหญ่ใน “บิ๊กซี” โดย “ทีซีซีซี คอร์ปอเรชั่น” ในเครือของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ที่เข้าซื้อและขายหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมใน “บิ๊กซี” จาก “กลุ่มคาสิโน” รวมทั้งสิ้นจำนวน 483,077,600 หุ้น คิดเป็นจำนวนหุ้น 58.56% ของหุ้นที่ออกแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ในราคาต่อหุ้นเท่ากับ 252.88 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจจากนี้คือ 1. “บิ๊กซี” จะเดินหน้าอย่างไร? ปรับเปลี่ยนอย่างไร? ซึ่งต้องมีแน่นอน ภายใต้อุ้งมือของ “เสี่ยเจริญ” ที่ต้องการสร้างอาณาจักรค้าปลีกในไทยและในเอเชียให้ได้ ซึ่งกว่าจะประสบความสำเร็จก็แทบกระอักเลือด เพราะต้องผิดหวังมาก่อนหน้านี้หลายดีล ตั้งแต่การแย่งซื้อ “คาร์ฟูร์” การแย่งซื้อ “แม็คโคร” จนถึงกับต้องข้ามน้ำข้ามฟ้าไปเทกโอเวอร์ค้าปลีก “กลุ่มเมโทร” ที่ประเทศเวียดนามแทน
การเข้าซื้อ “บิ๊กซี” ได้สำเร็จในครั้งนื้จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มสัดส่วนการครอบครองตลาดค้าปลีกในไทยที่มีอยู่ในมือและในเครือของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ได้เป็นอย่างดีและมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของบริษัทสินค้าผู้บริโภครายใหญ่อย่าง “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์” อยู่แล้ว ขณะที่ก่อนหน้านี้ บริษัท ทีซีซี กรุ๊ป ก็ได้บรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อกิจการของ “เมโทรกรุ๊ป แคช แอนด์ แคร์รี” บริษัทธุรกิจค้าส่งในเวียดนามด้วยมูลค่า 655 ล้านยูโร หรือประมาณ 25,656 ล้านบาท
เมื่อ “Big C” เป็นของ “Big Charoen” จับตา “จิราธิวัฒน์” ไปทางไหน?
“เจริญ สิริวัฒนภักดี”
อีกประเด็นคือ แล้ว “กลุ่มจิราธิวัฒน์” เจ้าของ “กลุ่มเซ็นทรัล” ในกลุ่มค้าปลีกภายใต้การนำของ “ทศ จิราธิวัฒน์” จะทำอย่างไรต่อไป? เมื่อกลายเป็นผู้ถือหุ้นรอง ทั้งๆ ที่ตัวเองก็มีศักดิ์ศรีความใหญ่ไม่แพ้กัน
เพราะถ้าหากรุก ก็ต้องรุกแบบเป็นรอง!
แต่ถ้าหาก “จิราธิวัฒน์” ถอย ด้วยการค่อยๆ เฟดเอาต์ หรือทยอยขายหุ้นออกไปในอนาคตก็ต้องคิดหนัก เพราะ “เซ็นทรัล” จะไม่มีธุรกิจไฮเปอร์มาร์เกตอยู่ในมืออีกแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ “คาร์ฟูร์” ก็ตกไปอยู่ในมือของ “บิ๊กซี” แล้ว สถานภาพเช่นนี้ย่อมกลืนไม่เข้าคายไม่ออกแน่ จึงน่าจับตาเกมรับของ “จิราธิวัฒน์” ครั้งนี้ว่าจะเป็นอย่างไร?
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “กลุ่มเซ็นทรัล” มีธุรกิจค้าปลีกที่หลากหลายทั้งในไทยและในต่างประเทศ ยังคงเร็วไปที่จะวิเคราะห์ หรือมองว่า “กลุ่มเซ็นทรัล” จะทิ้งหรือไม่ทิ้งหุ้นใน “บิ๊กซี” หรือไม่ในอนาคต เพราะการถอนตัวออกไปนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะจะมีผลกระทบตามมาเช่นกัน เพราะธุรกิจเซกเมนต์ไฮเปอร์มาร์เกตนี้ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ทำเงินได้ดี และเจาะกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย หากไม่มีเซกเมนต์นี้ “เซ็นทรัล” คงคิดหนัก และที่สำคัญเป็นแบรนด์และธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเองกับมือก่อนที่จะตกอยู่ในมือต่างชาติอย่าง “คาสิโนกรุ๊ป” สามารถสร้างให้แข็งแกร่งถึงขนาดเหลือเพียง 1 ใน 2 แบรนด์ในเซกเมนต์นี้แล้วในไทยอีกรายคือ “เทสโก้ โลตัส” ด้วยเหตุนี้โอกาสที่ “เซ็นทรัล” จะสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาเทียบชั้นอีกคงยากแล้วในสถานการณ์เช่นนี้
อย่างไรก็ตาม มีมุมมองคนในวงการอย่าง “สมชาย พรรัตนเจริญ” นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย ให้ความเห็นถึงกรณีนี้ว่า กรณีที่ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่ของประเทศไทยซื้อหุ้นใน “คาสิโนกรุ๊ป” ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ในนาม บริษัท ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ “ทีซีซี กรุ๊ป” ว่า อาจไม่มีผลต่อการยกระดับวงการธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งไทยให้สูงขึ้นนัก เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกไทยในปัจจุบันเริ่มอยู่ในภาวะทรงตัวอันเนื่องมาจากการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว
การซื้อกิจการ “บิ๊กซี” ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการขยายอัตราส่วนช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ในเครือ “ไทยเบฟ” ให้กระจายสู่ผู้บริโภคมากขึ้น โดยคาดว่า “กลุ่มเซ็นทรัล” ซึ่งจะยังคงเหลือถือหุ้นบางส่วนใน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) จะยังคงรักษาการครอบครองหุ้นไว้เช่นเดิม เนื่องจากเป็นการเอื้อผลประโยชน์ในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งที่ “กลุ่มเซ็นทรัล” ยังคงต้องการรักษาความเป็นผู้นำในตลาดค้าปลีกเอาไว้ให้ได้
“รูปแบบการดำเนินธุรกิจของบิ๊กซีในอนาคต คาดว่าจะมีการขยายสาขาต่อเนื่องจากปัจจุบันที่มีประมาณ 700 สาขา เพื่อให้มีจำนวนใกล้เคียงกับ เทสโก้ โลตัส ซึ่งมีกว่า 1.8 พันสาขาในทุกรูปแบบ ทั้งยังอาจมีการต่อยอดไปยังธุรกิจใหม่ๆ ที่เทสโก้ โลตัส มีการดำเนินการจนประสบความสำเร็จ เช่น ประกันภัย รวมถึงบัตรเครดิต และอื่นๆ โดยคาดว่าผู้ผลิตสินค้า หรือซัปพลายเออร์ อาจต้องมีการปรับตัวเรื่องตัวเลขด้านยอดขายเพิ่มมากขึ้น” นายสมชายกล่าว
และแน่นอนที่สุดว่า เรื่องค่าจีพี หรือเงื่อนไขในการทำธุรกิจคงต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจาก บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีก “เทสโก้ โลตัส” กล่าวเพียงว่า บริษัทฯ ยังไม่มีความเห็นใดต่อกรณีนี้ เนื่องจากเพิ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและยังไม่ทราบความชัดเจนด้านนโยบายในอนาคตของ “บิ๊กซี” แต่ “เทสโก้ โลตัส” จะยังคงดำเนินกิจกรรมการตลาด พร้อมทั้งแคมเปญและโปรโมชันต่างๆ เพื่อมอบผลประโยชน์สูงสุดให้ลูกค้า ในฐานะที่เป็นผู้ค้าปลีกอันดับ 1 นอกเหนือจากบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษ
เมื่อ “Big C” เป็นของ “Big Charoen” จับตา “จิราธิวัฒน์” ไปทางไหน?
“ทศ จิราธิวัฒน์”
ก่อนหน้านี้เว็บไซต์ของ “วอลล์สตรีท เจอร์นัล” ได้รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า บริษัท ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ “ทีซีซี กรุ๊ป” ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จะเข้าซื้อหุ้น 58.6% ที่ “คาสิโน กรุ๊ป” ถือใน “บิ๊กซี” ด้วยราคา 252.88 บาทต่อหุ้น (7.10 เหรียญสหรัฐ) หรือประมาณ 3,460 ล้านเหรีญสหรัฐ หรือประมาณ 119,024 ล้านบาท และคาดว่าจะมีการประกาศข้อตกลงนี้ก่อนตลาดหุ้นเอเชียเปิดซื้อขายรอบเช้าวันจันทร์ (8 ก.พ. 59)
การขายหุ้นของ “คาสิโน กรุ๊ป” ครั้งนี้นับเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญในการพยายามลดภาระหนี้สินของตน โดยยักษ์ใหญ่ค้าปลีกฝรั่งเศสรายนี้เพิ่งประกาศแผนลดหนี้ให้ได้ 4,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 156,680 ล้านบาทในปีนี้ รวมถึงการขายหุ้นใน “บิ๊กซี” และสินทรัพย์ค้าปลีกในเวียดนามด้วย
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ล่าสุดนี้ “กลุ่มเซ็นทรัล” ก็ยังคงเดินหน้ากับแผนงานเดิมที่วางไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดย นางสาวรำภา คำหอมรื่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน และรองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจาก “กลุ่มคาสิโน” ประกาศขายกิจการของ “บิ๊กซี” เวียดนามเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา และเริ่มได้ทราบถึงความสนใจระดับหนึ่งในการเข้ามาครอบครองหุ้นของ “บิ๊กซี” ประเทศไทย ล่าสุดบริษัทฯ ได้รับแจ้งจาก “กลุ่มคาสิโน” ว่า Géant International BV ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาขายหุ้นกับ บริษัท ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อและขายหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัทรวมทั้งสิ้นจำนวน 483,077,600 หุ้น คิดเป็นหุ้นจำนวน 58.56% ของหุ้นที่ออกแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ในราคาต่อหุ้นเท่ากับ 252.88 บาท ซึ
ID=3365,MSG=4630
Re: Big C
Re: Big C
บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน) (บมจ.)(BIGC) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ว่า บริษัทได้รับแจ้งจากกลุ่ม "คาสิโน" ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่บิ๊กซีว่าได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นกับบริษัท ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด(ธุรกิจในเครือของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี) ซึ่งเป็นการซื้อและขายหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัทรวมทั้งสิ้นจำนวน 483,077,600 หุ้น ซึ่งคิดเป็นหุ้นจำนวน 58.56% ของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ในราคาหุ้นละ 252.88 บาท(อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน 39.77 บาทต่อ 1 ยูโร)มูลค่าการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1.22 แสนล้านบาท
ขณะที่การขายหุ้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมนี้ ภายหลังการเสร็จสิ้นธุร
กรรมทีซีซี จะต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ ออฟเฟอร์)ทั้งหมดของกิจการต่อไป
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้ทำการวิเคราะห์ทิศทางของบิ๊กซี หลังการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ มาเป็นกลุ่มของนายเจริญ โดยระบุว่าแม้ยังไม่เห็นผลประโยชน์ระยะสั้น แต่ช่วยเพิ่มโอกาสต่อยอดไปต่างประเทศ และต้องตามดูนโยบายกลุ่มทีซีซีจะให้บิ๊กซี เป็นแกนหลักในธุรกิจค้าปลีกแทนบมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ( BJC) หรือไม่
เพิ่มโอกาสต่อยอดไปต่างประเทศ
ความเห็นของ "อนุวัฒน์ ศรีขจรรัตน์กุล" นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเซีย พลัสฯ กล่าวว่าการซื้อครั้งนี้จะทำให้ทีซีซี มีธุรกิจครบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำในเมืองไทย (ผลิตสินค้า - จัดจำหน่าย) และกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในกลุ่มค้าปลีกครอบคลุมทั้งไทยและเวียดนาม (มีร้าน METRO รูปแบบค้าส่งคล้ายแม็คโคร และบริษัทในเครือคือ BJC มีร้าน B’ smart)
ขณะที่ฝั่งบิ๊กซี คาดหวังกำลังผนึก (Synergy) ระยะสั้นลำบาก เนื่องจากทีซีซีไม่มีประสบการณ์ทำค้าปลีกมาก่อน ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมในกลุ่มที่แข็งขันสูงและห้างเทสโก้ โลตัส อาจใช้ช่วงที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร รีบทำแคมเปญ แย่งส่วนแบ่งตลาด
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บล.เอเซีย พลัสฯ มองว่า บิ๊กซี อาจได้ประโยชน์ในด้านของโอกาสขยายธุรกิจในต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของกลุ่มทีซีซี และมีสายป่านยาว โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางจัดจำหน่ายทั้งแบบดั้งเดิม (ตัวแทนจำหน่าย) และโมเดิร์น เทรด (ค้าส่ง + ร้านสะดวกซื้อ) ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มทีซีซีจะเข้าประมูลบิ๊กซีที่เวียดนาม ที่มีนโยบายจะขายเช่นกัน (คาดมูลค่ากิจการราว 3 หมื่นล้านบาท) และต้องติดตามต่อไป
ใครจะเป็นหัวหอกธุรกิจค้าปลีกของกลุ่ม BIGC หรือ BJC
อีกประเด็นที่ต้องติดตามนักวิเคราะห์ระบุว่า คือนโยบายการถือหุ้นในกลุ่มค้าปลีกของกลุ่มเสี่ยเจริญ ซึ่งปัจจุบันให้บีเจซี เป็นหัวหอกหลัก แต่ภายหลังการได้บิ๊กซีมา ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ฐานะการเงินดี (Net gearing 0.43 เท่า) สามารถซื้อธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้มากกว่าบีเจซี ซึ่งรวมถึงโอกาสเข้าซื้อ METRO เวียดนาม คืนจากกลุ่ม (เดิมจะให้บีเจซี ซื้อแต่ติดปัญหาด้านเงื่อนไขการจ่ายเงิน) หรือบิ๊กซีเวียดนาม ซึ่งต้องติดตามต่อไป แต่ถือเป็นจิตวิทยาเชิงลบต่อหุ้นบีเจซี ซึ่งราคาหุ้นมักจะผูกติดกับกระแสการซื้อและควบรวมกิจการ หรือทำ M&A
นักวิเคราะห์มอง BJC ได้ประโยชน์มากสุด
ขณะที่บล.โนมูระ พัฒนสินฯ ระบุว่า ราคาเสนอซื้อบิ๊กซี ครั้งนี้ ค่อนข้างแพง โดยเทียบเท่าอัตราราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น(พีอี เรโช) ปี 2558 ที่ 29 เท่า ซึ่งแพงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 26 เท่า และประเมินว่า Synergy ที่กลุ่มจะได้รับอยู่ที่บริษัทลูกในเครือที่เป็นผู้ผลิตสินค้า เช่น บีเจซี เป็นต้น เพราะจะมีอำนาจต่อรองในการขายสินค้ามากขึ้น
โดยกรณีอิงรายได้ส่วนเพิ่มจากการขายของให้บิ๊กซี เพิ่มทุก 1% ของต้นทุนขายแต่ละปีของบิ๊กซี คาดว่าเกิดกำไรส่วนเพิ่มต่อบีเจซี ราว 20 ล้านบาท (คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.01 บาท/ หุ้น) หรือคิดเป็นราคาเป้าหมายส่วนเพิ่มราว 0.3 บาท/หุ้น จากปัจจุบันที่ 44.5 บาท ดังนั้นจึงแนะนำ "NEUTRAL" หรือให้น้ำหนักลงทุน "เท่ากับตลาด" สำหรับหุ้นบิ๊กซี ด้วยราคาเป้าหมาย 200 บาท
"หากราคาหุ้นบิ๊กซี ปรับตัวเข้าใกล้ราคา 253 บาท เป็นจังหวะขายทำกำไร ส่วนบีเจซี แนะนำ "ซื้อลงทุน" ประเมินเกิดผลบวกระยะยาวด้านอำนาจต่อรองขายสินค้า ให้ราคาเป้าหมาย 44.5 บาท" บทวิเคราะห์โมมูระ พัฒนสิน ระบุ สำหรับคำแนะนำการลงทุนในหุ้น 2 บริษัท
หุ้น "บิ๊กซี" วิ่งเกินพื้นฐาน แนะ "ขาย"
ขณะที่บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)ฯ วิเคราะห์ว่า ราคาหุ้นบิ๊กซี ที่เคลื่อนไหวขณะนี้สูงกว่าราคาพื้นฐาน 220 บาทมากแล้ว ดังนั้นจึงแนะนำหาจังหวะขาย โดยดีลการเทกโอเวอร์ครั้งนี้ ทีซีซี ที่เป็นแม่จะได้ประโยชน์ที่สุด เนื่องจากการซื้อบิ๊กซีทำให้ธุรกิจในกลุ่มครบวงจรมากขึ้น หรืออาจจะเกิดการ Synergy ระหว่างบิ๊กซี กับบีเจซี ในรูปแบบเช่น จากแต่เดิมบีเจซี เสียอำนาจต่อรองให้ห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ แต่เมื่อมีบิ๊กซี อยู่ในเครือเดียวกันก็อาจจะเสียส่วนลดการค้าน้อยผลักภาระให้บิ๊กซีได้
บทวิเคราะห์บล.กรุงศรีฯ ระบุว่า แม้ตลาดอาจคาดว่ากลุ่ม ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จะเข้ามาขยายสาขาเพิ่มและเปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มนายเจริญมากขึ้นก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าผลประกอบการบิ๊กซียังคงอ่อนแอตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาเทกโอเวอร์ ซื้อขายกันด้วยพี/อี สูงถึง 27 เท่า และหลังจากดีลนี้สำเร็จราคาหุ้นจะ Overhang ตามราคาเทนเดอร์ฯ จนกว่าจะเห็นแผนธุรกิจที่ชัดเจน ดังนั้นจึงแนะนำ "ขาย" หุ้นบิ๊กซี เพื่อทำกำไรระยะสั้นไปก่อน
สอดคล้องกับนักวิเคราะห์บล.กสิกรไทยฯ มองว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อกิจการอื่นๆ ราคาซื้อขายที่หุ้นละ 252.88 บาท คิดเป็น 1.61 เท่าของ EV to Sales ในปี 2558 ซึ่งต่ำกว่ารายการของแม็คโคร เล็กน้อยที่ 1.64 เท่าของ EV to Sales ในปี 2556 และราคาซื้อขายนี้ยังคิดเป็น 30 เท่าของกำไรต่อหุ้น ในปี 2558 และ 26 เท่าของ กำไรสุทธิต่อหุ้น ในปี 2559 เทียบกับค่าเฉลี่ยพี/อี ของบิ๊กซีที่ 24.6 เท่า ซึ่งปัจจุบันมีราคาเป้าหมายอยู่ที่ 214 บาท ต่อหุ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงแนะนำผู้ถือหุ้นรายย่อยของบิ๊กซี ขายทำกำไรโดยการยอมรับการเทนเดอร์ฯที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,130 วันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ID=3365,MSG=4631
Re: Big C
Re: Big C
เรื่อง BIGC ออกจากตลาด ก็ BJC เข้าซื้อ BIGC ไปแล้ว ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องให้ BIGC อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ การเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์มีข้อเสียอย่างมาก ในการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ให้คู่แข่งทราบ การโปร่งใสคือข้อเสียอย่างหนึ่งของธุรกิจและก็เป็ฯข้อดีเช่นกัน
การอยู่ในตลาดต้องเปิดเผยหลายๆอย่าง ซึ่งบางอย่างเป็นความลับทางการค้า อยู่ข่างนอก เพื่อจะได้คล่องตัวมากขึ้นในการทำตลาด แล้วคู่แข่งโดยตรงอย่าง เทสโก้โลตัส ก็ไม่ได้อยู่ในตลาด การอยู่นอกตลาดเหมือนๆกัน ทำให้ฟาดฟันกันได้เต็มที่มากขึ้น
ทำไมหุ้นดีๆ อย่าง BigC ถึงถอนตัวออกจากตลาดฯ
อยู่ในตลาดก็ไม่เห็นจะได้ประโยชน์อะไร เพราะ BJC ก็อยู่ในตลาดอยู่แล้ว ระดมทุนผ่านตลาดทุนก็ได้ ถ้าอยากลงทุนก็ลงผ่าน BJC ได้
เพราะมันดีเกินไปขอรับ
ที่แน่ๆ คือ BJC อยากเอา BigC ออกจากตลาดครับ และทำไปแล้ว
ส่วนทำไม BJC ถึงอยากเอา BigC ออกจากตลาด เขาก็ชี้แจงว่า "เพราะสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เป็นไปตามกฎ ซึ่งจะทำให้เสียค่าธรรมเนียม"
เหตุผลนี้ น่าจะจริง แต่จะมีเหตุผลอื่นด้วยหรือไม่ เขาไม่ได้แจ้งไว้
หุ้นดี เจ้าของก็คงอยากเก็บไว้เอง ไม่จำเป็นต้องแบ่งรายย่อย ตั้งแต่ซื้อหุ้นมาก็เพิ่งเคยเจอครั้งแรกเลยไปเข้าประชุมด้วย เพิ่งออกจากห้องประชุมเมื่อชม.ก่อน ลุกออกมาก่อนจบเพราะฟังแล้วไม่สามารถทำไรได้ 1.คัดค้านไม่เป็นผลเพราะผู้ถือหุ้นรายย่อยมีไม่ถึง10% 2.ราคารับซื้อที่ถูกกำหนดไว้แล้วเราก็ทำไรไม่ได้อีก ถ้าไม่ขายเราจะลำบากเองตอนหุ้นถูกถอนจากตลาดแล้ว ก็จำยอมกันไป
บอร์ดบิ๊กซี ไฟเขียวเพิกถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ 'กลุ่ม เบอร์ลี่ ยุคเกอร์' ของ 'เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี' ผู้ถือหุ้นใหญ่ เสนอซื้อหุ้นละ 225 บาท แก้ปัญหาและลดค่าธรรมเนียมกระจายการถือหุ้นไม่ตามเกณฑ์ หลังเข้าซื้อกิจการ 'บิ๊กซี 'ครบปี
นางสาวรำภา คำหอมรื่น กรรมการ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BIGC แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2560 เห็นชอบให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอจากกลุ่มบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่โดยถือหุ้นผ่านบริษัทบีเจซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัทเสาวนีย์โฮลดิ้งส์ จำกัด ในสัดส่วนรวม 97.94% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด มีความประสงค์จะเพิกถอนหลักทรัพย์ BIGC เพื่อแก้ไขปัญหาและลดภาระค่าธรรมเนียมที่จะเกิดขึ้นจากการกระจายการถือหุ้นไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การดำรงสถานะของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัท
การดำเนินการดังกล่าวกลุ่มบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ได้เริ่มดำเนินการภายหลังจากที่พ้นกำหนดช่วงระยะเวลา 12 เดือนถัดจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในครั้งก่อน
ทั้งนี้ BJC ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เข้าซื้อหุ้น BIGC จากกลุ่มคาสิโน สัญชาติฝรั่งเศส มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท และเสนอซื้อหุ้นจากนักลงทุนที่เหลือ โดยทำคำเสนอซื้อหุ้นสิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค.59 ในราคาหุ้นละ 252.88 บาท ใช้เงิน 8.22 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มูลค่าเงินลงทุนครั้งนี้รวม 2 แสนล้านบาท
นางสาวรำภา กล่าวว่า หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์และการเพิกถอนได้รับอนุมัติและหรือผ่อนผันจากตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง(ถ้ามี) กลุ่มบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จะดำเนินการให้ผู้มีทำคำเสนอซื้อเพิกถอนหลักทรัพย์ในราคาเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ราคา 225 บาทต่อหุ้น โดยจะดำเนินการหลังจากบริษัทจ่ายเงินปันผลประจำปี 2559 ตามมติผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2560 แล้ว
สำหรับราคาเสนอซื้อดังกล่าวเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณได้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขวิธีการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ โดยบริษัทกำหนดประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 16 มิ.ย.2560โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิร่วมประชุมในวันที่ 26 พ.ค.2560 และปิดสมุดทะเบียนวันที่ 29 พ.ค.2560
ด้านผลดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2560 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,571.77 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 1.91 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 1,506.70 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 1.83 บาท
สำหรับราคาหุ้น BIGC ล่าสุดวันที่ 12 พ.ค.ปิดที่ 233 บาท บวก 3 บาท หรือ1.30%
ทั้งนี้ นอกจากกลุ่มนายเจริญเตรียมเพิกถอนหุ้น BIGC ออกจากตลาดหลักทรัพย์แล้ว ยังมีแผนเพิกถอนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 3 กองทุนในกลุ่มของตนเองออกจากตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน โดยเสนอซื้อสินทรัพย์ของกองทุน ได้แก่ โรงแรม ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานให้เช่า มูลค่ารวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมาทรัพย์ 3 กองทุน เพื่ออนุมัติการขายสินทรัพย์ ในวันที่ 17-18 พ.ค.นี้
ID=3365,MSG=4632
Re: Big C
Re: Big C
http://www.setmonitor.com/company/BIGC
http://www.panphol.com/data/page/stockprice/BIGC
ราคาก่อนปิดตลาดสุดท้าย 198
http://upic.me/i/6q/559000001461401.jpeg
http://upic.me/i/w3/559000001636303.jpeg
http://upic.me/i/w3/559000001636304.jpeg
ID=3365,MSG=4633
Re: Big C
Re: Big C
16/7/2017
*TRUE ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น ไตรมาส3ขาดทุนเหลือ 691 ล.
16/2/2018
*ADVANC ลั่นรายได้โต8% อัดงบเสริมทัพโครงข่าย
23/2/2018
*TRUE จ่อบันทึก กำไร 5.4 พันลบ. เป้าราคา 8.25 บ.
09-FEB-2018
*DTAC ปี 61 ทุ่มงบ 500 ล้าน อัดแคมเปญดีแทค รีวอร์ด วางเป้าใช้สิทธิ์เพิ่ม 20%
ID=3365,MSG=4640
Re: Big C
Re: Big C
17/8/2560
SAMART รุกธุรกิจดิจิทัล
กลุ่มสามารถแจ้งไตรมาส 2 ขาดทุน 188 ล้าน ผลกระทบธุรกิจมือถือซบ เดินหน้าปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลหวังพลิกกำไรครึ่งปีหลัง ประเดิมเปลื่อนชื่อสามารถ ไอ-โมบายเป็นสามารถดิจิตอลปีนี้ จ่อตั้งบ.ลูกเพิ่ม ดันเข้าตลาดปีหน้า
20/11/2560
ลุ้น DIF เพิ่มทุนฉลุยทรูได้เงิน 4 หมื่นล้าน
โบรกชี้หากกองทุน DIF เพิ่มทุนสำเร็จ พลิกชะตาทรู ได้เงินเสริมฐานทุน เติมสภาพคล่อง
บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การเพิ่มทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัล (DIF) ซึ่งบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ได้ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรอบใหม่ คาดว่าได้รับเงินสดราว 4 หมื่นล้านบาท ภายในครึ่งปีแรกของปี 2561
20/1/2018
DTAC บวกกว่า 5% ทำนิวไฮรอบ 2 เดือน ล่าสุด กสทช.ส่อยกเลิกประมูลคลื่น 900 MHz หลังพบปัญหาทางเทคนิค
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -19 ม.ค. 61 14:55 น.
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC บวก 5.10% ทำราคาเพิ่มขึ้น 2.50 บาท มาอยู่ที่้ 51.50 บาท โดยวันนี้ทำราคาสูงสุดที่ 52.25 บาท นิวไฮรอบเกือบ 2 เดือน มูลค่าการซื้อขาย 916 ล้านบาท
ตลาดหุ้น 19/2/2561
ซอยคลื่น1800 เข้าทาง'ดีแทค'(DTAC)
วงในชี้กสทช.ซอยคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็นใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 9 ใบ เอื้อประโยชน์ "ดีแทค" เหตุมีผู้ใช้บริการ 5 แสนเลขหมายในระบบสัมป ทานของแคท จับตาหากมีการเปลี่ยนแปลง "เอไอเอส-ทรู" ออกมาเรียกร้องสิทธิ์เพราะคลื่นที่ 15 เมกะเฮิรตซ์ที่ได้มาก่อน ราคาแพงเว่อร์
ID=3365,MSG=4641
ติดต่อเรา
สนใจ
Chat
Line OA
Question
Email
OFF Line
😃 ซื้อผ่านเรา .. เราดูแลคุณ |
เมูนูลัด
⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)
ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ
กดดูที่ลิงค์นี้
"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"
โปรดรอ
display:inline-block; position:relative;
FB
Chat
LineOA
Question
Email
OFF Line
Search
เช็คเบี้ยรถ
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Wednesday เวลา 12:18:37am
...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.
นโยบาย,ข้อตกลง
×
Cymiz.com Insurance Consult Broker
กดถูกใจ ติดตามได้ที่เพจ FACEBOOK ของเรา
cymiz.com insurance