ฉีกใบสั่งจราจรทิ้ง!!!

ฉีกใบสั่งจราจรทิ้ง!!!

ฉีก ใบสั่งจราจร ทิ้งไม่ได้อีกแล้ว
ม.44 สามารถบังคับ ขั้นตอนการต่อภาษีรถประจำปี ของรถที่ทำผิดกฎจราจร แม้ไม่ถึงขั้นอายัดการต่อทะเบียน แต่ก็จะเกิดปัญหาข้อติดขัดยุ่งยาก

การ “เบี้ยวค่าปรับ” หรือไม่ยอมเสียค่าปรับตอนเจอใบสั่ง หลังจากทำผิดกฎจราจรแล้วนั้น เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกมาเกือบ 40 ปีแล้ว นับตั้งแต่เริ่มมี พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากกฎหมายมีรูรั่ว และไม่มีการติดตามลงโทษ หรือมีผลในทางปฏิบัติอื่นใด อีกทั้งอายุความ 1 ปี ทำเฉยไม่จ่ายค่าปรับ แกล้งลืมเดี๋ยวก็หมดอายุความ สามารถไปเสียภาษีประจำปี และขับขี่รถบนถนนได้ตามปกติแล้ว

การอายัดการต่อทะเบียนรถ หรือจ่ายภาษีประจำปี ไม่สามารถบังคับต่อผู้ที่ “เบี้ยวค่าปรับ” ได้ จากเหตุผลที่ว่า...
“การชำระภาษีประจำปีอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก”
เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายหลังจากมี พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งได้มีการระบุภารกิจว่า มีหน้าที่รับชำระภาษี ซึ่งหมายความว่าจะ "ไม่สามารถงดรับการต่อภาษีรถ” ได้ จึงทำให้การออกใบสั่งของตำรวจไม่มีผล

เมื่อทางตำรวจได้นำเทคโนโลยีการจับด้วยกล้องมาใช้ แล้วส่งใบสั่งไปทางไปรษณีย์จึงไร้ผล เนื่องจากไม่มีอะไรไปบีบบังคับให้ผู้กระทำผิดมาเสียค่าปรับ ต่างกับกรณีที่ผู้ทำผิดกฎจราจรแล้วถูกยึดใบขับขี่ไป จะเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถ จึงจำยอมต้องไปเสียค่าปรับ เพื่อให้ได้ใบขับขี่คืนมา ด้วยเหตุนี้ผู้ขับขี่ที่ถูกจับด้วยกล้องจึงไม่เกรงกลัวในการทำผิดกฎจราจร

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นว่า ...
ลงทุนติดตั้งกล้องไปเยอะ แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจะเป็น จึงเสนอให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ ม.44 ออกกฎหมายเรื่องมาตรการเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ ตามคำสั่งที่ 14/2560 ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 21 มีนาคม 2560 ซึ่งมีผลแล้ว สามารถบังคับไปถึงขั้นตอนการต่อภาษีรถประจำปีของรถที่ทำผิดกฎจราจร แม้จะไม่ถึงขั้นอายัดการต่อทะเบียน แต่ก็จะเกิดปัญหาข้อติดขัดยุ่งยาก

หากได้รับใบสั่งอิเล็คทรอนิคส์ หรือใบสั่งทางไปรษณีย์ แล้วไม่จ่ายค่าปรับ ตำรวจจะส่งข้อมูลค่าปรับที่ค้างชำระพร้อมหลักฐาน ไปยังกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้ชำระค่าปรับที่ค้างจ่าย จึงจะได้รับหลักฐานการชำระภาษีประจำปีตัวจริง แต่ก็จะถูกปรับฐานจ่ายช้าอีกไม่เกิน 1,000 บาท

ถ้ายังขัดข้องไม่ยอมจ่ายค่าปรับอีก ก็สามารถต่อทะเบียนได้ แต่เป็นเพียงเอกสารให้ใช้ชั่วคราว 30 วัน จนกระทั่งยอมจ่ายค่าปรับตามข้อหา พร้อมทั้งค่าปรับฐานล่าช้าอีก 1,000 บาท จึงจะได้รับป้ายทะเบียนต่อภาษีตัวจริง

บางคนที่ใจกล้าใช้รถให้ครบ 1 ปี เพื่อรอให้หมดอายุความก็กระทำได้ แต่ต้องระวังตำรวจตรวจพบว่า ไม่มีป้ายต่อภาษีตัวจริง คราวนี้จะมีอัตราโทษปรับอีกไม่เกิน 2,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2506
คำว่า เอกสาร ที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ตามมาตรา 369 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายถึงเอกสารที่ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะทำนองประกาศหรือภาพโฆษณา หาได้หมายถึงคำสั่งหรือใบสั่งถึงบุคคลเฉพาะตัวเช่นใบสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจราจรที่ให้ไปรายงานตัวไม่ฉะนั้น เมื่อจำเลยได้รับใบสั่งดังกล่าวก็ถือว่าหนังสือนั้นได้ใช้สมประโยชน์ตามนั้นแล้ว ถึงจำเลยจะฉีกทำลายเสียก็หามีความผิดตามมาตรานี้ไม่

โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจราจรให้ไปรายงานตัวภายใน 24 ชั่วโมง ในข้อหาว่านำรถยนต์สาธารณะไปจอดที่รถยนต์ส่วนบุคคล จำเลยเห็นคำสั่งนั้นแล้ว ได้ฉีกทำลายเสียในวันเวลาที่เห็นนั้นเอง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 369


จำเลยให้การรับสารภาพ


ศาลแขวงพระนครใต้ว่า ใบสั่งของเจ้าพนักงานจราจรที่ออกให้จำเลยไปรายงานตัวนั้น จำเลยเห็นแล้วจะทำอย่างไรแก่ใบสั่งนั้นก็ย่อมทำได้เพราะไม่ใช่ใบสั่งที่บังคับให้จำเลยจำต้องถือไปแสดงต่อเจ้าพนักงานจึงพิพากษายกฟ้อง ปล่อยตัวจำเลยไป

โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า ใบสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจราจรในกรณีนี้เป็นแต่เพียงหนังสือจากบุคคลหนึ่งถึงบุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อสั่งให้บุคคลนั้นกระทำการ คือ ให้ไปรายงานตัว เมื่อจำเลยได้รับใบสั่งนั้นแล้วก็ถือได้ว่าหนังสือนั้นได้ใช้สมประโยชน์ตามนั้นแล้วประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 369 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ประกาศภาพโฆษณา หรือเอกสารใด ที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ หรือสั่งให้ปิดหรือแสดงไว้หลุด ฉีก หรือไร้ประโยชน์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท" เห็นว่า คำว่าเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ตามมาตรานี้นั้น มีความหมายถึงเอกสารที่ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะทำนองประกาศหรือภาพโฆษณานั่นเอง หาได้หมายถึงหนังสือคำสั่งหรือใบสั่งถึงบุคคลเฉพาะตัวเช่นในกรณีนี้ไม่ ฎีกาโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ให้ยกฎีกาโจทก์


ID=3351,MSG=4611


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Thursday เวลา 10:47:30pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com