บริษัท ทรู ฟิตเนสฯ กับ บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) [2555]

บริษัท ทรู ฟิตเนสฯ กับ บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) [2555]

ควันหลงจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปลายปี 2552 ได้ส่งผลกระทบการค้าย่านราชประสงค์  เหตุการณ์บานปลายถึงขั้นเผา เซ็นทรัลเวิลด์ ทำให้บริษัทห้างร้านที่เปิดให้บริการในสาขาดังกล่าวได้รับความเสียหายและหนึ่งในนั้น คือบริษัท ทรู ฟิตเนส จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารเซน แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น10 และ11 ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟไหม้เสียหายมูลค่ากว่า 240 ล้านบาท       

ทำให้บริษัท ทรู ฟิตเนสฯ ต้องสูญเสียโอกาสในการประกอบธุรกิจ และต้องใช้งบลงทุนฟื้นฟูตกแต่ง ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ไม่นับรวมทรัพย์สินส่วนบุคคลของพนักงาน และลูกค้าสมาชิกที่มาใช้บริการอีกจำนวนมาก ความเสียหายดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อสมาชิกที่มาใช้บริการทรู ฟิตเนส ซึ่งในขณะนั้นมีจำนวนกว่า 1 หมื่นคน และผู้ได้รับผลกระทบต่อทรัพย์สินที่ร้องเรียนเข้ามามากกว่า 500 คน

ทรู ฟิตเนส ได้ทำประกันภัยไว้กับบริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้เอาประกันจึงขอให้ผู้รับประกันรับผิดชอบ โดยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่บริษัท ฟอลคอนฯ กลับออกมาปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่าการทำประกันภัยไม่ได้ครอบคลุมเหตุการณ์ก่อการร้าย ซึ่งได้ระบุไว้ในกรมธรรม์อย่างชัดเจนแล้ว

จึงเป็นเหตุให้ทรู ฟิตเนส ฟ้องร้องต่อศาลแพ่งในเวลาต่อมา  โดยนายฐนกฤตย์  สุรกิจบวร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู ฟิตเนส จำกัด ผู้ให้บริการศูนย์ออกกำลังกาย "ทรู ฟิตเนส" กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 บริษัท ได้ยื่นฟ้องล้มละลายบริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) ต่อศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขดำที่ ล. 5600/2555 ต่อบริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) ลูกหนี้ ซึ่งบริษัท ทรู ฟิตเนสฯ ได้ทำสัญญาประกันความเสี่ยงภัยในทรัพย์สินเป็นกรมธรรม์สำเร็จรูปแบบสรรพภัย  โดยสถานที่เอาประกันคือ อาคารเอ็กเซนทาวเวอร์  และอาคารเซน แอน เซ็นทรัลเวิลด์ ในวงเงินประกันภัย 410,823,670 บาท

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้พิพากษา คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ผบ.426/2555 คดีหมายเลขแดงที่ ผบ.544/2555 ระหว่างบริษัท ทรู ฟิตเนส จำกัด โจทก์ บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำเลย ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 210,896,523 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ พร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่ศาลได้นำคำบังคับไปปิดยังภูมิลำเนาลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ครั้งแรกในวันที่ 29 สิงหาคม 2555 และวันที่ 2 ตุลาคม 2555 แต่ลูกหนี้ก็ยังเพิกเฉยและไม่นำเงินมาชำระให้แก่เจ้าหนี้ ทำให้นำไปสู่การฟ้องต่อศาลล้มละลายกลาง ในเวลาต่อมา

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา บริษัท ทรู ฟิตเนสฯ  พยายามดิ้นรนเพื่อรักษาธุรกิจตัวเองให้อยู่รอด  และทำให้บริษัทมีสถานภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งดูแลพนักงานและสมาชิกให้ได้ ซึ่งทรู ฟิตเนส นอกจากประสบปัญหาไฟไหม้แล้ว ยังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมด้วย ทำให้ธุรกิจอยู่ในช่วงถดถอย  และยังรอคอยให้ฟอลคอนออกมาแสดงความรับผิดชอบและชำระค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งในขั้นตอนต่อไปจะรอนัดหมายจากศาลล้มละลายกลางที่จะมีขึ้นในเดือนมกราคม 2556 อีกครั้ง

ขณะที่นางโสภา กาญจนรินทร์ ประธานบริหาร บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า จากกรณีที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ทรู ฟิตเนส ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ฟิตเนส สาขาเซน แอท เซ็นทรัลเวิลด์นั้น บริษัทอยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอีกครั้ง ขณะเดียวกันบริษัทได้นำทรัพย์สินค้า คือพันธบัตรวงเงิน 250 ล้านบาท ไปวางประกันต่อศาล เพื่อขอให้ทุเลาคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งการจ่ายสินไหมทดแทน และการฟ้องล้มละลาย อายัดทรัพย์สินของบริษัท โดยวงเงินดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่ามูลหนี้ที่บริษัทจะต้องชดใช้ให้กับทรู ฟิตเนส

ทั้งนี้ บริษัทยังคงดำเนินการในเรื่องนี้ไปตามขั้นตอนและกระบวนการทางกฎหมายตั้งแต่การอุทธรณ์ต่อศาล ไปจนถึงชั้นศาลฎีกาต่อไป หากท้ายที่สุดศาลฎีกามีคำสั่งตัดสินให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมให้กับทรู ฟิตเนสก็จะต้องดำเนินการตาม แต่ขณะนี้ทุกอย่างยังอยู่ในกระบวนการชั้นศาล ยังไม่มีที่สิ้นสุด และยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ล้มละลาย และมีสินทรัพย์มูลค่าราว 5 พันล้านบาท มีกระแสเงินสดในการดำเนินธุรกิจอีกหลักร้อยล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยจะคุ้มครองครอบคลุมเฉพาะเหตุการณ์ภัยพิบัติเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ซึ่งจะไม่ครอบคลุมถึงการก่อการร้ายและการลุกฮือต่อต้านรัฐบาล หากมีการซื้อกรมธรรม์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวจะแยกออกไปต่างหากเป็นการซื้อเพิ่มเติม และมีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่ทำการซื้อกรมธรรม์นี้ ขณะที่ปัจจุบันกรมธรรม์ดังกล่าวได้รับความสนใจมากขึ้นและทำให้เบี้ยประกันพุ่งสูงตามไปด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,801 วันที่  16-19  ธันวาคม พ.ศ. 2555

trueฟิตเน็ต ทำประกัน all risk กับ ฟอลคอน
เกิดเหตุการณ์ปี 2553 กรณีการเผาห้าง zen ศาลชั้นต้นแจ้งไม่เป็นการก่อการร้าย (แจ้งเป็นแค่จราจล)
ทางฟอลค่อนยังติดใจ ยื่นอุทร โดยใช้พันธบัตร วงเงินมากกว่าความเสียหาย ค้ำประกัน

สรุป น่าจะสู้กันในศาลถึงฎีกา
คดีการเผายังไม่สรุปผล ชัดแจ้ง การเงินของฟอลค่อนยังดีอยู่ สามารถหาหลักทรัพย์ค้ำประกัน 250ล้านได้ในเวลาอันรวดเร็ว


บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในปี 2550 โดยการร่วมทุนระหว่างบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ Falcon Insurance Company (Hong Kong) Limited ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม Fairfax Financial Holdings Limited ผู้ให้บริการด้านการเงินที่มั่นคงรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่โตรอนโต ภายใต้ชื่อ “FFH” มีสินทรัพย์มากกว่า 41,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท) และมีเงินทุนมากกว่า 8,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท) มีพนักงานทั่วโลกมากกว่า 10,000 คน ประกอบกิจการอยู่ในแถบอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา นิวซีแลนด์ และเอเชีย ในเอเชีย Fairfax Financial Holdings Limited ดำเนินธุรกิจประกันวินาศภัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง อินเดีย ไทย จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา และเวียดนาม กลุ่มบริษัท Fairfax มีความชำนาญในด้านประกันวินาศภัยทุกประเภท อาทิ ประกันภัยทรัพย์สิน ประกันภัยเบ็ดเตล็ด การรับประกันภัยต่อ การบริหารการลงทุน และการบริหารการจัดการสินไหมทดแทน
       
        ปัจจุบันฟอลคอนประกันภัย เป็นบริษัทประกันวินาศภัยที่มีทุนกว่า 500 ล้านบาท ให้บริการรับประกันภัยสำหรับกลุ่มธุรกิจองค์กร และกลุ่มลูกค้ารายย่อย ภายใต้ประเภทการประกันภัยที่หลากหลาย ได้แก่ ประกันภัยทรัพย์สิน ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยเบ็ดเตล็ด ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันภัยวิศวกรรม และประกันภัยขนส่งทางทะเล


ID=3215,MSG=4509


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 05:09:37am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com