ความรับผิดทางละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ความรับผิดทางละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

คุณเคยสงสัยไหม?
หากเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เป็นเหตุให้ชาวบ้านต้องได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เจ้าหน้าที่ของรัฐที่
กระทำการนั้นต้องรับผิดต่อผู้เสียหายหรือไม่ หรือหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดอยู่จะต้องรับผิดแทน หรือ หากหน่วยงานของรัฐจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายไปก่อนแล้ว จะสามารถไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ของตนโดยเรียกค่าเสียหายที่หน่วยงานจ่ายไปแล้วคืนจากเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่?

คำตอบของคำถามเหล่านี้ คือ “การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”
ซึ่งเป็นภารกิจงานที่สำคัญงานหนึ่งของส่วนวินัย กองบริหารงานบุคคล (สวน.กงบ.)โดยการจะตอบคำถามข้างต้น ประการแรกอยากให้ทราบ
เสียก่อนว่า “ละเมิดคืออะไร”

การพิจารณาว่า.....การกระทำใดเป็นการกระทำละเมิดนั้นเป็นไปตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี
เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นกระทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” กล่าวคือ เมื่อมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ โดยผิดกฎหมายทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำละเมิดแยกอธิบายได้ดังนี้

1. มีการกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกในการเคลื่อนไหวนั้น และอยู่ในบังคับของจิตใจผู้กระทำและรวมถึงการงดเว้นการกระทำอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย คือ มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำแต่ได้งดเว้นเสียจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย

2. โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ การกระทำจะเป็นละเมิดนั้น ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยจงใจ ซึ่งหมายถึง เป็นการกระทำโดยผู้กระทำตั้งใจที่จะทำให้เกิดความเสียหายจากการกระทำของตน ส่วนการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้นเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจำต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ แต่ไม่ใช้อย่างเพียงพอจนเกิดความเสียหายขึ้น

3. โดยผิดกฎหมาย เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิหรือทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (Unlawfully) และรวมความถึง การใช้อำนาจที่มีอยู่เกินส่วนหรือใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น

4. เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ความเสียหายนั้นจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัยเสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด และต้องเป็นความเสียหายที่แน่นอน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตก็จะต้องเป็นความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่าง
แน่นอน ซึ่งความเสียหายจะต้องเกิดจากผลโดยตรงของผู้กระทำผิดด้วย และผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้กระทำโดยตรงหรือมีส่วนร่วมในการกระทำนั้นดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการใดๆ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลภายนอก หน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดอยู่ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามหลักกฎหมายถือว่า เจ้าหน้าที่ผู้นั้นกระทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหาย โดยแต่เดิมนั้น เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดหรือผู้ก่อให้เกิดความเสียหายต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเต็มตามจำนวนที่เสียหายโดยรับผิดเป็นการเฉพาะตัว โดยหน่วยงานอาจจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายไปก่อน จากนั้นสามารถไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ได้เต็มจำนวน เช่น นาย ก เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งพนักงานขับรถของหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ขับรถพาเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานไปปฏิบัติงาน
ต่างจังหวัด ระหว่างทางรถยนต์ของทางราชการที่นาย ก ขับมาไม่สามารถบังคับได้และเบรกไม่อยู่ ทำให้แล่นล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถด้านขวา จึงเฉี่ยวชนกับรถบรรทุกที่แล่นสวนทางมาทำให้รถบรรทุกของเอกชนได้รับความเสียหาย รวมมูลค่าความเสียหายเป็นเงิน 100,000 บาท กรณีนี้จะเห็นได้ว่า นาย ก ไม่ได้จงใจให้เกิดความเสียหาย แต่ความเสียหายอาจเกิดจากสภาพรถของทางราชการเสียเองก็เป็นได้ แต่ถ้านำหลักกฎหมายแพ่งมา
ใช้บังคับ นาย ก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลอื่น ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเจ้าของรถบรรทุกเต็มจำนวนความเสียหาย คือ 100,000 บาท ดังกล่าว โดยรับผิดเป็นการเฉพาะตัว หน่วยงานของรัฐที่นาย ก สังกัดอยู่อาจจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายไปก่อน จากนั้นสามารถเรียกคืนจาก
นาย ก ได้เต็มจำนวน นอกจากนี้ หากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดมีหลายคน เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม คือเจ้าหน้าที่ทุกคนที่กระทำละเมิดต้องรับผิดเท่ากันทุกคน โดยไม่พิจารณาว่า เจ้าหน้าที่ผู้ใดก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าคนอื่นหรือไม่ และถ้าเจ้าหน้าที่คนใดหนีหายไป เจ้าหน้าที่ที่เหลืออยู่ต้องรับผิดแทนเจ้าหน้าที่ผู้นั้นด้วยตามที่กล่าวมา...คุณคิดว่าเป็นธรรมหรือไม่!!!

คำตอบที่อยู่ในใจของเราท่านคงจะเหมือนกันว่าไม่เป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวแต่เพื่อประโยชน์ของทางราชการ กล่าวคือ การนำหลักกฎหมายแพ่งที่ใช้บังคับระหว่างเอกชนกับเอกชนที่กระทำละเมิดกัน มาใช้กับการกระทำละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดย
กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดในผลละเมิดเสมอไปนั้นก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพราะการงานที่ทำมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หากแต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของรัฐ แต่ในระบบกลับให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวเสมอ โดยรัฐไม่มีส่วนรับผิดใดๆ เลยเว้นแต่เป็นการรับผิดแทนไปก่อนแล้วเรียกคืนเอาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ในภายหลัง อันมีผลเสียต่อระบบการดำเนินงานของราชการอยู่มาก คือ เจ้าหน้าที่ที่สุจริตและมีความขยันหมั่นเพียรก็ยังอาจตัดสินใจผิดโดยสุจริตหรือประมาทเลินเล่อเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายและต้องรับผิดโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ และความรับผิดดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียหายมากตามขนาดการบริหารและความรับผิดชอบของรัฐซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่สูงมาก โดยเงินเดือนที่เจ้าหน้าที่ได้รับอยู่ไม่อาจทำให้เป็นสัดส่วนกับความรับผิดได้เพราะการกำหนดเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นเป็นไปตามความเหมาะสม แต่การงานของรัฐมีขอบข่ายกว้างขวางและอาจก่อให้เกิดความเสียหายจำนวนสูงมากได้ซึ่งจะมีผลทำให้เจ้าหน้าที่ตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ อย่างเต็มที่ได้ยาก และอาจมีแนวโน้มไปในทางที่ไม่ยอมตัดสินใจหรือใช้เวลาสร้างแนวทางเอาตัวรอดเพื่อป้องกันความรับผิดชอบซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินการของทางราชการต้องล่าช้าออกไปและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรนอกจากนี้ การกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายคนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต้องรับผิดร่วมกันในฐานะลูกหนี้ร่วมตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาจเกิด
ปัญหาความรับผิดสูงเกินกว่าการกระทำได้ เพราะหากหน่วยงานของรัฐไม่สามารถบังคับให้เจ้าหน้าที่ของรัฐคนอื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แล้ว ภาระการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็จะตกอยู่แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐคนที่เหลืออยู่ ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐคนนั้นไม่สามารถรับภาระชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นได้ หากหน่วยงานของรัฐดำเนินการบังคับคดีเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายได้ไม่เพียงพอ ก็ต้องฟ้องคดีเจ้าหน้าที่ของรัฐคนนั้นให้เป็นบุคคลล้มละลายและต้องออกจากราชการไปในที่สุด ซึ่งจะรุนแรงยิ่งกว่าการดำเนินการทางวินัยเสียอีกเหล่านี้ จึงเป็นเหตุผล ความจำเป็น และความเป็นมาของการตรากฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยแยกหลักเกณฑ์ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ต่อเอกชนและต่อหน่วยงานของรัฐ ออกจากหลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดของ
ผู้กระทำละเมิดตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจำแนกเป็นความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ กับการกระทำละเมิดที่มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมีหลักสำคัญว่า “ความเสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่นั้น หน่วยงานของรัฐจะรับภาระชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ได้รับความเสียหายไปก่อน ส่วนเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อหน่วยงานของรัฐหรือไม่ เพียงใดนั้นยึดหลักว่าจะเรียกร้องเอาแก่เจ้าหน้าที่ได้เฉพาะกรณีความเสียหายได้เกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น”

ยกตัวอย่าง กรณีของ นาย ก ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหากปรากฏพฤติการณ์ว่า ก่อนออกเดินทาง นาย ก ได้ตรวจเช็คความเรียบร้อยของรถยนต์โดยได้ตรวจดูน้ำมันเครื่อง ลมยางและอุปกรณ์ต่างๆ ของรถแล้ว ซึ่งรถมีสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้แต่ด้วยรถยนต์ของทางราชการเองที่มีอายุการใช้งานมานานอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถยนต์เกิดการชำรุดได้ อีกทั้งเพลาและเบรคเป็นอุปกรณ์ภายในที่นาย ก ไม่อาจตรวจสอบได้ กรณีนี้จึงถือได้ว่า นาย ก ได้ใช้ความระมัดระวังในการใช้รถยนต์ของราชการตามสมควรแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของนาย ก แต่อาจเป็นการกระทำจากการประมาทเลินเล่อเพียงเล็กน้อยที่ไม่นำรถเข้าตรวจสอบก่อนออกเดินทางทั้งที่เป็นการเดินทางไกล หากเป็นไปตามกฎหมายแพ่ง นาย ก ต้องรับผิดเต็มจำนวนความเสียหายตามที่กล่าวมา แต่หากเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่กำหนดว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในความเสียหายที่ตนได้ก่อขึ้นเฉพาะกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น เมื่อนาย ก กระทำการโดยประมาทเลินเล่อเพียงเล็กน้อย นาย ก จึงมิต้องรับผิด โดยหน่วยงานของรัฐที่นาย ก สังกัดอยู่จะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายแทน

จะเห็นได้ว่า กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญซึ่งให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้ทราบว่า กรณีใดบ้างหรือใครบ้างจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ ตลอดจนต้องดำเนินการ
เช่นใดจึงจะได้รับความคุ้มครอง แต่เนื่องจากเนื้อหาของกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มีมากมายหลายประการ อาทิ ความหมายของคำว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การเรียกร้องให้รับผิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ การกำหนดจำนวนความรับผิด การรับผิดกรณีร่วมกันกระทำละเมิด และอายุความในการเรียกร้องให้รับผิด


ID=2682,MSG=3326


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Wednesday เวลา 12:11:36am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com