Fire
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย+option
อัคคีภัยสถานประกอบการ
อัคคีภัยสถานประกอบการ+option
อัคคีภัย บริษัทอื่นๆ
อัคคีภัยธุรกิจ
ประกันภัยธุรกิจ
เสี่ยงภัยทุกชนิด (เสี่ยงภัยทรัพย์สิน)
สั่งซื้อประกันอัคคีภัย
ขอใบเสนอประกันอัคคีภัย
Liability
วิชาชีพแพทย์ (Doctor)
บุคคลภายนอก (Third-party)
ผลิตภัณฑ์ (Product)
วิชาชีพบัญชี (Accountant)
ผู้ตรวจสอบอาคาร
ความรับผิดผู้ขนส่ง
ประกันภัยไซเบอร์ Cyber insurance
Life
แบบประกันชีวิต ▶️
ตลอดชีพ
สะสมทรัพย์
บำนาญ
จ่ายสั้น
เน้นคุ้มครองชีวิต
เน้นเก็บเงิน
อนุสัญญา
ประกันการศึกษาเด็ก
ประกันเกษียณ
ประกันเด็ก
กลุ่ม
Health
ประกันสุขภาพ
ประกันชดเชยรายได้
ประกันมะเร็ง
PA TA
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ+มะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ+ชดเชยรายได้
ประกันเดินทาง
ประกันเรียนต่อต่างประเทศ
Motor
ประกันภัยรถยนต์
พรบ รถยนต์
ประกันมอเตอร์ไซค์
พรบ มอเตอร์ไซค์
ประกันอื่น
ประกันวิศวกรรม
ประกันก่อสร้าง
ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
ประกันธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
ประกันอีเวนท์ (Event)
ประกันความซื่อสัตย์
ประกันสินเชื่อหรือเครดิตการค้า
ประกันหมาแมว (Cat&Dog)
สนับสนุน
customer login
ซื้อ+ชำระเงิน
ความรู้ประกัน
แบบฟอร์ม
อู่รถยนต์คู่สัญญาประกัน
โรงพยาบาลคู่สัญญา
เรทค่าห้อง
เกี่ยวกับเรา
เว็บบอร์ด
สมัครขายประกัน
BMI
TAX-insurance
ติดต่อ
FB
Inbox
Question
Email
(เบอร์โทรปรากฏตามเวลา)
admin LineOA
LineOA
Life Agent app(BLA)
Life Agent login(BLA)
Broker login(MTI)
Broker login(BKI)
Broker login(Aetna)
🔻
cymiz.com
MENU
ประกันอัคคีภัย ▶️
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย+option
อัคคีภัยสถานประกอบการ
อัคคีภัยสถานประกอบการ+option
อัคคีภัย บริษัทอื่นๆ
ประกันภัยธุรกิจ
เสี่ยงภัยทุกชนิด(เสี่ยงภัยทรัพย์สิน)
ประกันอัคคีภัยสำหรับธุรกิจ
สั่งซื้อประกันอัคคีภัย
ขอใบเสนอประกันอัคคีภัย
สุขภาพ | อุบัติเหตุ | เดินทาง ▶️
ประกันสุขภาพ
ประกันชดเชยรายได้
ประกันมะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ+มะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ+ชดเชยรายได้
ประกันเดินทาง
ประกันเรียนต่อต่างประเทศ
ประกันความรับผิดทางกฏหมาย ▶️
วิชาชีพแพทย์ (Doctor)
บุคคลภายนอก (Third-party)
ผลิตภัณฑ์ (Product)
วิชาชีพบัญชี (Accountant)
ผู้ตรวจสอบอาคาร
ความรับผิดผู้ขนส่ง
ประกันภัยไซเบอร์ Cyber insurance
วิศวกรรม | รับเหมา | ก่อสร้าง ▶️
ประกันวิศวกรรม
ประกันก่อสร้าง
ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
รถยนต์ | มอไซค์ | พรบ ▶️
ประกันรถยนต์
พรบ รถยนต์
ประกันมอเตอร์ไซค์
พรบ มอเตอร์ไซค์
ประกันภัยอื่นๆ ▶️
ประกันธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
ประกันอีเวนท์ (Event)
ประกันความซื่อสัตย์
ประกันสินเชื่อหรือเครดิตการค้า
ประกันหมาแมว (Cat&Dog)
ประกันกลุ่ม
ประกันชีวิต
เช็คเบี้ยรถยนต์
ประกันความรับผิดแพทย์
ประกันความรับผิดแพทย์
ประกันความรับผิดวิชาชีพแพทย์
ประกันภัยสำหรับหมอ
การประกันวิชาชีพแพทย์
http://www.insurancethai.net/medical-liability/
http://insurancethai.net/การประกันวิชาชีพแพทย์/
ประกันความรับผิดแพทย์
http://www.insurancethai.net/medical-liability-insurance/
ประกันภัยเป็นสิ่งที่ต้องมี แต่ไม่ควรจะได้ใช้ อาชีพแพย์มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดมาก เช่น ศัลยแพทย์รายหนึ่งลืมเครื่องมือผ่าตัดเอาไว้ในร่างกายของคนไข้ เพราะฉะนั้นหากท่านเป็นแพทย์ และจะต้องจ่ายค่าประกันภัยในการประกอบอาชีพ 50-100 บาทต่อวัน หรือ 5-10 บาทต่อคนไข้หนึ่งรายที่คุณรักษา ก็นับว่าถูกมาก หากสิ่งนี้จะช่วยคุ้มครองคุณได้ในเวลาที่เกิดเรื่องเลวร้ายขึ้น
แพทย์กับความรับผิดทางการแพทย์ (Doctor V.S. Medical liability)
Medical Liability คำ ๆ นี้เป็นการสนธิคำระหว่าง “Medical” + “Liability” ซึ่งมีความหมายดังนี้
1) ความรับผิดชอบตามกฎหมาย
2) อันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำทางการแพทย์ โดยโจทก์จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็น(Burden of proof) ถึงประเด็นดังต่อไปนี้
1) แพทย์หรือจำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำ
2) แพทย์ล้มเหลวในการกระทำหน้าที่ดังกล่าว
3) ผลจากความล้มเหลวดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย
http://www.insurancethai.net/wp-content/uploads/medical-liability-insurance.jpg
http://www.insurancethai.net/wp-content/uploads/bangkokinsurance-doctor.png
ติดเราที่
http://www.cymiz.com/contact/index.php
รายละเอียดประกันความรับผิดแพทย์
http://www.cymiz.com/liability-insurance/liability-medical-bki.php
จุดชนวนความคิด..คนไข้ฟ้องหมอ(ตอน1)
https://www.youtube.com/v/OZuqUMf0ZxQ
จุดชนวนความคิด ตอนพรบ.คนไข้(ตอน2)
https://www.youtube.com/v/WWqCEHkdheo
สกู๊ป...ผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์
https://www.youtube.com/v/64fF3hIhtbE
ผู้ได้รับผลกระทบทางการแพทย์
https://www.youtube.com/v/d7LmL3wpSi4
ทวงสิทธิ์ผู้เสียหายทางการแพทย์
https://www.youtube.com/v/qqczsy4s1A4
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข - Springnews
https://www.youtube.com/v/gmmXiFnKMVU
http://www.insurancethai.net/wp-content/uploads/doctor-arrest.jpg
ทางออกแพทย์ กับ ความรับผิดทางอาญา
http://www.insurancethai.net/medical-solution-to-criminal-liability/
พ.ร.บ.คุ้มครองฯ การฟ้องแพทย์ และวิกฤติการแพทย์ไทย
http://www.insurancethai.net/indictment-medicine-and-medical-crisis-thailand/
ID=2590,MSG=3078
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
ประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพ
ทางการแพทย์ : ศึกษากรณีการประกันภัยภาคสมัครใจ
MEDICAL INDEMNITY INSURANCE : A STUDY ON VOLUNTARY INSURANCE
ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์และปัญหาความไม่เพียงพอในการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ ทำให้การประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ภาคสมัครใจในประเทศไทยมีความส าคัญมากขึ้น เนื่องจากการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์จะช่วย
เยียวยาความเสียหายตามความเป็นจริงให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการเข้ารับบริการทางการแพทย์ แต่อย่างไรก็ตามการประกันภัยความรับผิดประเภทนี้ยังมีปัญหาบางประการ กล่าวคือ แพทย์ในประเทศไทยยังไม่นิยมท าประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์และปัญหากฎหมายที่น ามาปรับใช้กับการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ เนื่องจากการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์นี้มีรายละเอียดบางประการที่ค่อนข้างแตกต่างจากการประกันภัยความรับผิดประเภทอื่น นอกจากนั้นยังมีปัญหาด้านรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์
และลักษณะการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์รวมถึงปัญหาเรื่องการประกันภัยต่อ
จากการศึกษาวิจัยพบว่าแพทย์ในประเทศไทยยังมีการท าประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์น้อยท าให้ไม่เป็นไปตามกฎแห่งจ านวนมาก ส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันภัยสูงและส่งผลถึงค่ารักษาพยาบาลที่สูงตามไปด้วย นอกจากนั้นประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายประกันภัยความรับผิดใน
วิชาชีพทางการแพทย์โดยเฉพาะ แต่ได้น ากฎหมายประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 20 มาปรับใช้กับเรื่องดังกล่าว ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ แต่ยังขาดรายละเอียดบางประการที่สำคัญ นอกจากนั้นรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ก็ยังมีน้อย และลักษณะของการประกันภัยความรับผิดก็มีเพียงการท าประกันภัยกับบริษัทประกันภัยเอกชน แต่ไม่มีลักษณะการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมเหมือนเช่นในต่างประเทศที่ได้มีการพัฒนาในเรื่องดังกล่าวด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเห็นว่าประเทศไทยควรมีการบัญญัติกฎหมายประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ขึ้นมาโดยเฉพาะเหมือนเช่นในต่างประเทศ และควรมีการส่งเสริมให้มีการออกกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ที่หลากหลายเพื่อจูงใจให้แพทย์ทำประกันภัยความรับผิดมากขึ้นและแพทย์ควรมีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมทางการแพทย์เพื่อส่งเสริมให้แพทย์ที่มี
ความเสี่ยงในลักษณะเดียวกันร่วมกันเฉลี่ยความเสียหายในกรณีเกิดความเสียหายจากความผิดพลาดในการรักษาซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวแพทย์เองและผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทางการแพทย์
In Thailand, problems on lawsuits against practitioners and insufficient compensations
for patients make voluntarily medical indemnity insurance more important. Medical indemnity
insurances will compensate patients suffering from medical services. However, some problems
related to this insurance remain. In Thailand, practitioners rarely take out medical indemnity
insurances. There are problems on laws applicable to medical indemnity insurances since some
of their details are quite different from those of other liability insurances. In addition, there are
some problems on policy patterns, policy characteristics and insurance renewal.
It was found from the study that, in Thailand, practitioners rarely take out medical
indemnity insurances therefore the Law of Large Number is not applicable. As a result, premium
and medical treatment costs are high. In addition, Thailand has not established a specific law on
medical indemnity but the insurance law under Book 3 Section 20 of the Civil and Commercial
Code is applied in such cases. It can handle the matter but lacks important details. Few
patterns of indemnity insurance policies are available. Indemnity insurance policies have been
taken out from private insurance companies on individual basis only. The association of medical
practitioners missing from the scene unlike foreign countries where the matter is well
established.
From the reasons mentioned earlier, the researcher believes that Thailand should issue
a specific law on medical indemnity like those of certain foreign countries. Thailand should
enhance the issuance of various types of indemnity insurance policies to persuade practitioners
to take out policies as well. Practitioners should establish a medical association to take part in
this indemnity insurance scene. This is to allow practitioners with similar risks to share their
risks which shall be beneficial to both practitioners and patients.
ID=2590,MSG=4070
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
ิชาชีพทางการแพทย์เป็นวิชาชีพสาขาหนึ่งที่มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยอาจเกิดจากความผิดพลาด บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งก่อให้เกิดความรับผิดตามกฎหมายอันน าไปสู่ปัญหาการร้องเรียนและการฟ้องร้องผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ประกอบกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันและกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองผู้ป่วยมากขึ้น ท าให้แนวโน้มที่จะมีการฟ้องร้องแพทย์สูงขึ้น จากข้อมูลของส านักงานเลขาธิการแพทยสภา พบว่าปัญหาการร้องเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 53.5) เป็นเรื่องการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนการฟ้องร้องแพทย์นั้นส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการใช้บริการทั้งที่เป็นเหตุสุดวิสัยและเป็นกรณีที่ป้องกันได้
ความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ประกอบไปด้วยความรับผิดตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพ, ความรับผิดในทางสัญญา, ความรับผิดในทางละเมิดไม่ว่าจะเป็นความรับผิดในทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์นั้นปฏิบัติงาน
อยู่ในหน่วยงานเอกชนหรือความรับผิดในทางละเมิดตาม พรบ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์นั้นปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานภาครัฐ และความรับผิดตามกฎหมายอาญาเมื่อแพทย์ปฏิบัติงานผิดพลาดหรือบกพร่องอันก่อให้เกิดความรับผิด และส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความเสียหาย ผู้ป่วยสามารถเยียวยาความเสียหายได้โดยวิธีการต่างๆ เช่น การร้องเรียนต่อแพทยสภา
ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อศาล วิธีทางอนุญาโตตุลาการและการร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2545 เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการเยียวยาความเสียหายด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวยังมีปัญหาในเรื่องความเป็นธรรมและรวดเร็ว ท าให้การประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ภาคสมัครใจมีความส าคัญมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากการประกันภัยชนิดนี้จะช่วยเยียวยาความเสียหายตามความเป็นจริงให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ หากแพทย์หรือโรงพยาบาลปฏิบัติงานผิดพลาด บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อได้ท าประกันภัยไว้ อันก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อตัวแพทย์เองและผู้ป่วย
ID=2590,MSG=4071
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
การประกันภัยความรับผิดในทางการแพทย์ในประเทศไทย
ในประเทศไทยการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ยังไม่แพร่หลายมากนัก
รูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดประเภทนี้ยังมีน้อย อีกทั้งลักษณะการประกันภัยความ
รับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ยังมีลักษณะเดียวคือ การประกันภัยกับบริษัทประกันภัยเอกชน
ต่างจากในต่างประเทศที่มีทั้งการประกันภัยกับบริษัทประกันภัยเอกชน และการที่แพทย์รวมตัวกันเป็น
สมาคมเพื่อประกันภัยตนเองซึ่งจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือกันในระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพทางการ
แพทย์ที่มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน
นอกจากนั้นในปัจจุบันประเทศไทยก็ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องการประกันภัยความรับผิดใน
วิชาชีพทางการแพทย์ แตกต่างจากในต่างประเทศที่การประกันภัยชนิดนี้เป็นการประกันภัยที่มีความสำคัญอย่างมาก
และมีการพัฒนากฎหมายกฎหมายประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์โดยเฉพาะขึ้นมา
ไม่ว่าจะเป็นประเทศออสเตรเลีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศสและประเทศ สวีเดน เป็นต้น
แต่ในประเทศไทยได้นำกฎหมายประกันภัยค้ำจุนไปปรับใช้กับเรื่องดังกล่าว ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้แต่ยังขาดรายละเอียดบางประการที่สำคัญก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนและเกิดปัญหาในการตีความ
ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพทางการแพทย์
ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ประกอบวิชาชีพด้วยความมั่นใจและพร้อมที่จะให้
การรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ในขณะที่ผู้ป่วยเองก็จะได้รับประโยชน์จากการที่ผู้ประกอบวิชาชีพ
ทางการแพทย์ทำการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่นั้น รวมทั้งหากเกิดปัญหาก็จะได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม
ID=2590,MSG=4072
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
หลักการสำคัญของการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ ได้แก่
- หลักส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้(Principle of Insurable Interest)
- หลักสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of Utmost Good Faith)
- หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริง (Principle of Indemnities)
- หลักการเฉลี่ยความเสียหาย ( Principle of Contribution )
- หลักการรับช่วงสิทธิ (Principle of Subrogation)
ระบบประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ทั่วโลก แบ่งออกได้เป็น2 ระบบ คือ
- ระบบการประกันภัยภาคบังคับ (Compulsory Insurance)
- ระบบการประกันภัยภาคสมัครใจ (Voluntary Insurance)
ระบบประกันภัยภาคสมัครใจเป็นการที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์สมัครใจที่จะทำประกันภัยด้วยตนเองเนื่องจากเล็งเห็นว่ามีความส าคัญต่อการประกอบอาชีพของตน โดยที่ไม่มีกฎหมาย บังคับให้แพทย์ต้องทำประกันภัย แพทย์มีอิสระที่จะท าประกันภัยความรับผิดหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับ
ดุลยพินิจของแพทย์เอง
การประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ภาคสมัครใจไม่ว่าจะเป็นการท า
ประกันภัยกับบริษัทประกันภัยหรือกับสมาคม ก็มีหลักการเดียวกันคือเพื่อรวบรวมจ านวนเงินที่ได้จาก
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ซึ่งอยู่ในสภาวะเสี่ยงภัยคล้ายๆ กัน มาไว้เป็นเงินกองทุน เพื่อชดใช้
ให้แก่ผู้เสียหายกรณีเกิดความผิดพลาด บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อจากการประกอบวิชาชีพ แต่จะมี
ความแตกต่างกันในรายละเอียด ในประเทศไทยการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ก็มีลักษณะเป็น
การประกันภัยภาคสมัครใจเช่นกัน แต่ที่ผ่านมายังไม่ค่อยแพร่หลาย เนื่องจากจ านวนเงินการฟ้องร้องมี
อัตราที่สูงซึ่งบริษัทประกันภัยไม่สามารถรับภาระดังกล่าวได้และผู้เอาประกันภัยก็ยังคงมีจ านวนน้อยและ
ยังไม่มีการจัดตั้งสมาคมประกันตนเองของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์
ID=2590,MSG=4073
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
ภาระการพิสูจน์ตามกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ในประเทศไทย
แต่เดิมมาภาระการพิสูจน์ในคดีเกี่ยวกับการกระท าผิดพลาด บกพร่อง หรือประมาทเลินเล่อของผู้
ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์นั้นเป็นของผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้เสียหาย ตามมาตรา 84 ประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดๆ เพื่อ
สนับสนุนค าฟ้องหรือค าให้การของตน ให้หน้าที่น าสืบข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้าง”
ซึ่งเป็นหลักทั่วไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฉบับเดิม แต่ในปัจจุบันเมื่อมีการแก้ไขกฎหมาย
ลักษณะพยานหลักฐานโดยมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 84/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 23) และมีการประกาศใช้ พรบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ใน
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 หลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ได้เปลี่ยนไป โดยมาตรา 84/1ในประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 23) บัญญัติว่า “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อ
สนับสนุนค าคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ใน
กฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่
คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์
จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว” จากกฎหมายดังกล่าวท าให้หากผู้ป่วยสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนได้
ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว ผู้ป่วยก็จะได้รับ
ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานและผลักภาระการพิสูจน์ไปให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ นอกจากนั้น
ตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เนื่องจากตามค านิยามใน มาตรา 3 ของ พรบ.
ดังกล่าว ผู้ป่วยถือว่าเป็นผู้บริโภค และผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะ
เป็นผู้ให้บริการและคดีทางการแพทย์ก็ถือว่าเป็นคดีผู้บริโภคเนื่องจากถือว่าเป็นการให้บริการตาม
ค านิยามในมาตรา 3(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
6
ท าให้คดีทางการแพทย์ที่ขึ้นสู่ศาลภายหลัง
วันดังกล่าวนั้น ตกอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ และมีผลให้ภาระการพิสูจน์ตกเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบ
วิชาชีพทางการแพทย์แทนที่จะเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยตามความในมาตรา 29 ของ พรบ. วิธีพิจารณาคดี
ผู้บริโภค ซึ่งบัญญัติว่า “ประเด็นข้อพิพาทใดจ าเป็นต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิต
การประกอบการออกแบบหรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการหรือการด าเนินการใดๆ ซึ่งศาลเห็นว่า
ข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ ให้ภาระการพิสูจน์
ในประเด็นดังกล่าวตกแก่คู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจนั้น” ซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีทางการแพทย์นั้น
ข้อเท็จจริงในการรักษานั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์แต่เพียงผู้เดียว
เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ต่างจากผู้ป่วย ซึ่งเป็นผู้เข้ารับ
บริการที่ไม่มีความรู้ในทางการแพทย์อย่างเพียงพอที่จะเข้าใจขั้นตอนการรักษาดังกล่าวได้ ดังนั้น การจะ
ให้ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นธรรม เพราะเป็นเรื่องยากมากที่ผู้ป่วย
จะสามารถน าสืบพิสูจน์จนเป็นฝ่ายชนะคดีได้ ท าให้ผู้ป่วยไม่อยากที่จะน าคดีขึ้นสู่ศาล เพราะรู้ว่าโอกาสที่
จะชนะคดีนั้นมีน้อย แต่เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวท าให้ ผู้ป่วยมีความหวังที่จะชนะคดี
เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ นอกจากนั้น พรบ.
ดังกล่าวยังลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ท าให้ผู้ป่วยสามารถฟ้องคดีได้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เองที่ท าให้
การฟ้องร้องผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น และท าให้การประกันภัยความรับผิด
ทางการแพทย์มีแนวโน้มที่จะมีการกระท ากันอย่างกว้างขวางมากขึ้น
6
มาตรา 3 ของพรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า “ในพระราชบัญญัตินี้ “คดี
ผู้บริโภค” หมายความว่า (1) คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอ านาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา 19
หรือตามกฎหมายอื่นกับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย อัน
เนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ”
ID=2590,MSG=4074
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
การประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ในต่างประเทศ
1. ประเทศออสเตรเลีย
การประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ (Medical Indemnity Insurance) ในประเทศออสเตรเลีย เป็นรูปแบบการประกันภัยความรับผิดซึ่งชดเชยให้กับผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ (medical practitioner) ในกรณีที่ต้องสูญเสียเงินตามกฎหมายจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน (เช่น การฟ้องร้องเนื่องจากการบาดเจ็บ หรือตายเนื่องจากการรักษา) ซึ่งถือว่าเป็นการส่งต่อความเสี่ยง
ของการสูญเสียจากผู้เอาประกันภัยไปยังผู้รับประกันภัย ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเงินจ านวนหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย (premium) ให้แก่ผู้รับประกันภัย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมความผิดทางอาญา
7
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่มีการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์อย่าง
แพร่หลาย มีทั้งลักษณะการรวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่สนใจสมัคร
เข้าเป็นสมาชิกและการประกันภัยกับบริษัทเอกชนหรือประกันภัยกับโรงพยาบาลเอกชนที่ตนสังกัดอยู่
และมีรูปแบบกรมธรรม์ที่หลากหลาย โดยกรมธรรม์ประกันภัยของประเทศออสเตรเลียมีกรมธรรม์ส าหรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์โดยเฉพาะ (Medical Malpractice Insurance) รวมทั้งมีกรมธรรม์
ส าหรับผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางในบางสาขา เช่น Medical Insurance Group Australia
(MIGA) มีกรมธรรม์ส าหรับศัลยแพทย์เสริมความงาม (Cosmetic Surgery) เนื่องจากธุรกิจเสริม
ความงามก าลังเป็นที่นิยมในประเทศออสเตรเลีย จึงมีกรมธรรม์ส าหรับศัลยแพทย์ตกแต่งโดยเฉพาะ ซึ่ง
โดยปกติแล้วการศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงามมักจะอยู่ในข้อยกเว้น เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง แต่
อย่างไรก็ตามก็มีการจัดระดับความเสี่ยงไว้ในแต่ละกรมธรรม์
ในปัจจุบันนี้ประเทศออสเตรเลียมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยความรับผิดทาง
การแพทย์คือ The Insurance Act 1973, Medical Indemnity Act 2002 และ Medical Indemnity (Prudential
Supervision and Product Standard) Act 2003
2. ประเทศสหรัฐอเมริกา
การประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกามีหลากหลายรูปแบบ แต่
โดยทั่วไปจะเป็นลักษณะการประกันภัยภาคสมัครใจ ในบางมลรัฐ เช่น Texas, Alabama มีการบัญญัติ
เรื่องการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์เป็นหมวดหนึ่งในประมวลกฎหมายประกันภัย คือ Texas
Insurance Code Subtitle B. Chapter 1901 Professional Liability Insurance for Physicians and
Health Care Provider และ Code of Alabama Title 27: Insurance- Chapter 1-Medical Liability
Insurance
3. ประเทศฝรั่งเศส
ในประเทศฝรั่งเศส มีการบัญญัติกฎหมายที่ใช้บังคับกับการประกันภัยความรับผิด
ทางการแพทย์ไว้โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายประกันภัย บรรพ 2 หัวข้อที่ 5 เรื่อง การประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์
8
โดยในประมวลกฎหมายดังกล่าวได้แยกหมวดหมู่เรื่อง
การประกันภัยอย่างชัดเจนโดยแยกเป็น บรรพ 1 - บรรพ 5 โดย บรรพ 1 จะกล่าวถึงการการประกันภัยประเภทที่ไม่ใช่
การประกันภัยทางทะเลและการประกันชีวิต (Non-Marine and Life Insurance)
การประกันภัยแบบกลุ่ม (Group Insurance) และการประกันภัยทางทะเล (Marine Insurance) ในบรรพ 2
จะกล่าวถึงการประกันภัยภาคบังคับ (Compulsory Insurance) ซึ่งมีการประกันภัยความรับผิดทาง
การแพทย์รวมอยู่ด้วย บรรพ 3 จะกล่าวถึง บริษัทประกันภัยและการก ากับดูแลบริษัทประกันภัย รวมทั้ง
การขอใบอนุญาตประกอบกิจการ บรรพ 4 จะกล่าวถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยและควบคุม
กิจการประกันภัย และ บรรพ 5 จะกล่าวถึงเรื่องตัวแทน นายหน้าประกันภัย ในประเทศสวีเดนกฎหมายที่ใช้บังคับกับการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์นั้นก็คือ The Patient Damage Act
ในประเทศไทย หลักเกณฑ์ที่น ามาปรับใช้กับเรื่องนี้ คือ การประกันภัยค้ าจุน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 และมาตรา 888 ซึ่งทั้งสองมาตราเป็นการวาง
หลักเกณฑ์ทั่วไปในเรื่องประกันภัยความรับผิด ซึ่งสามารถน ามาปรับใช้กับการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ได้ แต่ยังขาดรายละเอียดบางประการ เช่น ค านิยามของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยทางการแพทย์ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใช้เกณฑ์อะไรและชดใช้อย่างไร การควบคุม
กรมธรรม์ประกันภัยและเบี้ยประกันภัย เป็นต้น ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่มีการบัญญัติเรื่องประกันภัยความ
รับผิดทางการแพทย์เป็นหมวดหนึ่งแยกต่างหากในกฎหมายลักษณะประกันภัยและมีการวางหลักเกณฑ์
เกี่ยวกับการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ไว้เฉพาะ ผู้เขียนจึงเห็นว่าหากมีการบัญญัติเรื่อง
การประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ไว้เป็นหมวดหนึ่งก็จะท าให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
7
Australian Competition & Consumer Commission, Medical Indemity Insurance, Third
Monitoring Report, December 2005, in http://www.accc.gov.au/content/index.phtml/itemId/
724656, access date January 11, 2008.
8
Insurance Code Book II Title V Medical professional liability insurance.
ID=2590,MSG=4075
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
ปัญหาเรื่องการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ในประเทศไทย
1. ปัญหาการน าระบบประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ภาคสมัครใจ
มาใช้ในประเทศไทย
ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบังคับให้แพทย์ทุกคนต้องท าประกันภัย
ดังนั้นจึงยังถือว่าเป็นระบบประกันภัยภาคสมัครใจ และเนื่องจากการประกันภัยในลักษณะนี้ค่อนข้างจะ
เป็นการประกันภัยในรูปแบบใหม่ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ยังไม่นิยมท าประกันภัยความรับผิด
เนื่องจากไม่ไว้วางใจบริษัทประกันภัยว่าเมื่อเกิดภัยแล้วจะยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้หรือไม่ หรือ
หากยินยอมชดใช้จะชดใช้ให้มากน้อยเพียงใด เนื่องจากข้อยกเว้นของการประกันภัยความรับผิดของ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์มีค่อนข้างมาก แพทย์อาจจะคิดว่าโอกาสที่จะเกิดการฟ้องร้องมีน้อยจึง
เลือกที่จะไม่ท าประกันภัยความรับผิด ส่งผลให้ไม่เป็นไปตามกฎแห่งจ านวนมาก และท าให้
เบี้ยประกันภัยสูง นอกจากนี้การน าระบบประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ภาคสมัครใจมา
ใช้ยังอาจท าให้เกิดปัญหาเรื่องการประกันภัยต่อและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้อง
แก้ไขต่อไป
2. ปัญหากฎหมายและกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์
ภาคสมัครใจ
เมื่อการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ภาคสมัครใจมีความส าคัญ
ประเด็นต่อไปที่จะต้องพิจารณาคือขณะนี้ระบบการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์ใน
ประเทศไทยมีความเหมาะสมแล้วหรือไม่ ควรมีการพัฒนาอย่างไร
2.1 ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายเฉพาะเรื่องการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์
ในประเทศไทย
ประเทศไทยไม่ได้มีกฎหมายประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์เฉพาะ แต่น า
กฎหมายในเรื่องการประกันภัยค้ าจุนหรือการประกันภัยความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 20 หมวด 2 ส่วนที่ 3 มาปรับใช้ในบางประเทศเช่นประเทศฝรั่งเศส และประเทศสหรัฐอเมริกา มีการบัญญัติ
เรื่อง การประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ไว้เป็นหมวดหนึ่งในประมวลกฎหมายประกันภัยซึ่งก็ท าให้
เกิดความชัดเจนและสามารถน าไปปรับใช้กับเรื่องดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ท าให้ทั้งผู้เอาประกันภัยและผู้รับ
ประกันภัยมีความมั่นใจในการตัดสินใจท าประกันภัย
2.2 ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาของกฎหมายประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพ
ทางการแพทย์ของประเทศไทย
เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีกฎหมายประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพ
ทางการแพทย์โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงขาดรายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้
1. ค านิยามของผู้รับประกันภัย และผู้เอาประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์
2. ค านิยามของความสูญเสีย หลักส่วนได้เสีย และหลักสุจริตทางการแพทย์
3. การเรียกร้องค่าเสียหาย (Claim) และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Compensation)
4. การควบคุมอัตราเบี้ยประกันภัย
ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะในเรื่องการประกันภัย
ความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์และมีการบัญญัติเนื้อหาในเรื่องดังกล่าวไว้ เพื่อให้เกิดความชัดเจน
และช่วยลดปัญหาในการตีความ
2.3 ปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบกรมธรรม์และการควบคุมกรมธรรม์ประกันภัยความ
รับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์
กฎหมายไทยไม่ได้ก าหนดแนวทางหรือขอบเขตให้แก่นายทะเบียนในการให้
ความเห็นชอบในการก าหนดกรมธรรม์ประกันภัย แต่ให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ที่จะพิจารณาเป็น
กรณีๆ ไป จึงไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน เนื่องจากดุลยพินิจของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันได้การบัญญัติ
กฎหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่มีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
ID=2590,MSG=4076
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
Re: ประกันความรับผิดแพทย์
ในอดีตวิชาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพที่น่าเคารพนับถือ และผู้ป่วยจะเห็นว่าแพทย์เป็นผู้มีบุญคุณกับ
ตน เมื่อรักษาผิดพลาดจึงมักไม่ติดใจเอาความกับแพทย์มากนัก แต่ในปัจจุบันสังคมยุคใหม่มองแพทย์
ต่างไปจากเดิม โดยถือว่าแพทย์เป็นเพียงผู้ให้บริการในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพสาขาหนึ่งเท่านั้น
ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์เองก็ปฏิบัติต่อผู้ป่วยแตกต่างไปจากอดีตจากที่ประกอบวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือ
เกื้อกูลผู้ป่วยมาเป็นการท าหน้าที่เชิงธุรกิจ เกิดโรงพยาบาลและคลีนิคเอกชนขึ้นมากมายเพื่อแสวงหา
ก าไรจากการรักษา ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในเชิงผู้ให้บริการกับ
ผู้รับบริการ เมื่อเกิดความผิดพลาดจากการรักษา ผู้ป่วยจึงฟ้องร้องผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์มากขึ้น
ประกอบกับนโยบายทางสาธารณสุขที่ต้องการให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไรสามารถใช้
บริการทางการแพทย์ได้อย่างเท่าเทียมกันท าให้จ านวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามีจ านวนเพิ่มขึ้นอย่าง
มาก แพทย์มีจ านวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ท าให้ต้องปฏิบัติงานด้วยความเร่งรีบ โอกาส
ผิดพลาดในการปฏิบัติงานก็มีมากขึ้นตามล าดับ และรัฐเองก็มีงบประมาณในการรองรับนโยบายดังกล่าว
ไม่เพียงพอจึงท าให้เมื่อเกิดความผิดพลาดจากการให้บริการทางการแพทย์แล้ว รัฐไม่สามารถจะเยียวยา
ความเสียหายให้แก่ประชาชนได้ตามความเสียหายที่แท้จริง
การประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพทางการแพทย์เป็นการประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพ
สาขาหนึ่งและเป็นสัญญาประกันภัยประเภทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริง (Indemnity
Contract) ซึ่งผู้เอาประกันภัยคือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ท าสัญญากับผู้รับประกันภัยซึ่งอาจจะ
เป็นบริษัทประกันภัยเอกชน องค์กร หรือสมาคมซึ่งมีการรับประกันภัย โดยมีวัตถุที่เอาประกันภัยคือ
ความรับผิดตามกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และผู้รับประกันภัยสัญญาที่จะชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริงให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทาง
การแพทย์ โดยความเสียหายนั้นอาจเกิดจากความรับผิดตามสัญญาหรือความรับผิดทางละเมิดก็ได้ ข้อดี
ของการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ที่แตกต่างจากการเรียกร้องในลักษณะอื่นๆ ก็คือผู้ป่วย
สามารถได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามความเป็นจริงซึ่งแตกต่างจากการได้รับค่าเสียหายจากการฟ้องร้อง
การอนุญาโตตุลาการ หรือการได้รับชดใช้โดยรัฐจากนโยบายสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยมักได้รับ
การชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนเท่านั้น
แนวทางต่างๆ
แพทย์ที่สมัครใจเป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บทุกปีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งน ามาจากงบประมาณของ
แพทยสภาหรือทันตแพทยสภาเป็นต้น เพื่อเป็นการชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ป่วยอันเกิด
จากการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพแพทย์และในขณะเดียวกันก็เป็นการลดภาระแก่แพทย์ที่อาจถูกผู้ป่วย
ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เช่นเดียวกับการจัดตั้งกองทุนประกันความรับผิดในวิชาชีพของประเทศ
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เป็นต้น และก าหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน มีอ านาจ
หน้าที่ด าเนินการพิจารณาและออกข้อก าหนดต่างๆ อันเกี่ยวกับกองทุนดังกล่าว ตลอดจนก าหนดอัตรา
ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้เยียวยาให้กับผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย โดยความเห็นชอบของแพทยสภา
การส่งเสริม
พัฒนาความรู้และเทคนิคทางการแพทย์ใหม่ๆ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วยเองด้วย อย่างเช่น MAG
Mutual Insurance Company By Physicians, For Physicians, Medical Liability Mutual Insurance
Company (MLMIC), สมาคม Obstetricians & Gynecologists Risk Retention Group of America
(OGRRGA) ของสหรัฐอเมริกา The Medical Protection Society (MPS) ของสิงคโปร์ เป็นต้น
ประเทศไทยควรมีการปรับปรุงกฎหมายลักษณะประกันภัย โดยมีการจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน
เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายประกันภัยของประเทศฝรั่งเศส (Insurance Code) ซึ่งมีการจัดหมวดหมู่
อย่างชัดเจนและครบถ้วนจะทำให้เกิดความเป็นระบบชัดเจน
เนื้อหาของกฎหมายประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ ควรมีการบัญญัติถึงเรื่องส าคัญที่
อาจจะก่อให้เกิดปัญหาการตีความขึ้นได้ในอนาคต เช่น ค านิยามของสัญญาประกันภัยความรับผิด
ทางการแพทย์ คู่สัญญาในสัญญาประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์กล่าวคือผู้รับประกันภัยและผู้เอา
ประกันภัย ค านิยามของผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่จะเอาประกันภัย ค านิยามของสถานพยาบาล
รวมทั้งสิทธิ หน้าที่ของผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย และหากมีการบัญญัติถึงความสูญเสีย หลัก
ส่วนได้เสียและหลักสุจริตทางการแพทย์ไว้ก็จะชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นควรมีการบัญญัติเรื่องเกณฑ์
การเรียกร้องค่าเสียหาย (Claim) และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Compensation) ทางการแพทย์ว่าใช้
เกณฑ์การเรียกร้องอย่างไรและมีลักษณะอย่างไร สิทธิในการเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใด และความเสียหาย
ลักษณะใดที่จะได้รับการชดเชยหรือไม่ได้รับการชดเชย
ID=2590,MSG=4077
ติดต่อเรา
สนใจ
Chat
Line OA
Question
Email
Sleep
😃 ซื้อผ่านเรา .. เราดูแลคุณ |
เมูนูลัด
⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)
ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ
กดดูที่ลิงค์นี้
"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"
โปรดรอ
display:inline-block; position:relative;
FB
Chat
LineOA
Question
Email
Sleep
Search
เช็คเบี้ยรถ
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Thursday เวลา 06:42:58pm
(ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.
นโยบาย,ข้อตกลง
×
Cymiz.com Insurance Consult Broker
กดถูกใจ ติดตามได้ที่เพจ FACEBOOK ของเรา
cymiz.com insurance