นครวัด

นครวัด

นครวัด
สถานที่ตั้ง : เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ประเทศกัมพูชา
สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 16-17
วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์ เมื่อสมัยแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร

ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม

ในปี ค.ศ. 1586 พ.ศ. 2129ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา

ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์> โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก

ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง

ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี
หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลง มา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด

ตัวปราสาทสร้างด้วยหินศิลาแลง นี้กว้างด้านละ 5 เส้น หรือ 200 เมตร แบ่งเป็นเป็น 3 ตอน รอบ ๆ ปราสาทมีคู ทางเข้าปราสาท ด้านหน้าปูด้วยหินศิลาแลงขนาดใหญ่มีราวกำแพงสลักเป็นพญานาค ซุ้มประตูสร้างเป็น พระปรางค์ 3 ยอด ผ่านประตูเข้าไปข้างในถึงตอนกลางเป็นปราสาทก่อเป็นพระปรางค์มี 5 ยอด มีภาพแกะสลักวิจิตรงดงามลงในเนื้อหินประดับประดาอยู่แทบทั้งหมด เป็นภาพนูนแสดงถึงพุทธประวัติ ประวัติการทำสงคราม ตอนบนของยอดปราสาทมักสลักเป็นรูปพรหมสี่หน้า เป็นสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่งดงามมั่นคงซึ่งแสดงว่าครั้งหนึ่ง ขอมเคยเจริญรุ่งเรืองมาแล้วในสมัยโบราณ

ปราสาทนี้ปล่อยทิ้งร้างไว้เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง จนกลายเป็นป่าทึบชัมีต้นไม้ปกคลุมโดยทั่วไปทำให้ปรักหักพังลงมากมาย เพิ่งได้รับการบำรุงซ่อมแซมบูรณะให้คืนสู่สภาพเดิมเมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ 19
<center><object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/AJllLdw3qNo?fs=1&amp;hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/AJllLdw3qNo?fs=1&amp;hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object></center>

ปราสาทนครวัด (Angkor Wat)
เป็นเทวสถานฮินดูลัทธิไวษณพนิกายที่นับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด สร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เมื่อช่วงครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่ออุทิศถวายแด่องค์พระวิษณุที่พระองค์เชื่อว่า เป็นร่างของพระองค์เองในขณะที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ และหลังจากสิ้นพระชนม์ไปแล้วศาสนสถานแห่งนี้ ก็จะเป็นพระราชสุสานที่พระองค์จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระวิษณุ

• ปีที่สร้าง : พุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1650 – 1693)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
• ศิลปะ : ศิลปะแบบนครวัด
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย
• มหาปราสาทนครวัด ก่อสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1650 – 1693) จุดประสงค์เพื่อสร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุเทพในศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ และยังใช้เป็นราชสุสานเก็บพระศพของพระองค์ ด้วยเหตุนี้มหาปราสาทนครวัดจึงถูกสร้างให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต่างจากปราสาทอื่นๆ ที่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสียเป็นส่วนใหญ่
• อาณาขอมโบราณนั้นได้รับอิทธิพลความเชื่อจากอินเดียผ่านมาทางขวา ศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์นั้นยกย่องกษัตริย์ว่าเป็นเทพเจ้า เรียกว่า “ลัทธิเทวราชา” กษัตริย์คือตัวแทนของเทพเจ้าในโลกมนุษย์ ซึ่งมีการสร้างเทวสถานถวายให้ และเชื่อว่าเมื่อสวรรคตแล้ววิญญาณจะประทับอยู่ที่ปราสาท ซึ่งเป็นคติเทวราชาที่เชื่อว่ากษัตริย์คือเทวเจ้าอวตารลงมา
• ด้วยความเชื่อเช่นนี้เอง ที่ทำให้กษัตริย์ขอมเมื่อขึ้นครองราชย์ จึงตั้งหน้าตั้งตาสร้างปราสาทตลอดรัชกาลของแต่ละพระองค์ เป็นศาสนสถานสัญลักษณ์ของระบบสุริยะจักรวาลตามคติฮินดูหรือความหมายก็คือศูนย์กลางของโลกและจักรวาลนั่นเอง
• พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงครองอาณาจักรขอมระหว่างปี พ.ศ. 1656 – 1693 รวม 37 ปี หลังสิ้นรัชกาลของพระองค์ กษัตริย์ขอมองค์ต่างๆ ที่ขึ้นครองราชย์ยังคงมีการก่อสร้างปราสาท แต่ไม่มีปราสาทใดเลยจะยิ่งใหญ่ไปกว่ามหาปราสาทนครวัดแห่งนี้
• นครวัดไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสูงส่งเลิศเลอในบรรดาปราสาทขอมทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองในตัวของมันเองด้วย นั่งคือมีฐานะเป็นทั้งเมืองหลวง และศาสนสถานประจำรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ที่สร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุ
ส่วนนอกสุดของนครวัดกั้นด้วยคูเมืองขนาดใหญ่ ยาว 1.5 กิโลเมตร กว้าง 1.3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดเกือบ 2 ตารางกิโลเมตร การวางผังของปราสาทที่ไม่เหมือนปราสาทอื่น สังเกตได้จากโคปุระทางทิศตะวันตกของกำแพงนอกสุดจะมีขนาดใหญ่ที่สุดและใหญ่กว่าโคปุระอีก 3 ทิศ
ตัวปราสาท

<strong>ประกอบด้วยโครงสร้างหลักที่เด่น ของสถาปัตยกรรมขอม 2 ส่วน</strong> คือ ปิรามิดปราสาทและระเบียงคติที่เชื่อมติดกัน ในส่วนของปิรามิดปราสาทสร้างยกระดับขึ้นสูง 3 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็นสัดส่วนด้วยระเบียงคต มีโคปุระอยู่ทั้งสี่ทิศหลักและศาลาที่มุมทั้งสี่มุม หรือปราสาทบริวารล้อมรอบของปรางค์ประธาน
ด้วยขนาดที่ใหญ่โตของนครวัด สัญลักษณ์ต่างๆที่แทนในสิ่งก่อสร้างทั้งหลายตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดูก็ให้ภาพและความรู้สึกที่คล้ายจริง คูเมืองหมายถึงมหาสมุทรที่ล้อมรอบโลก ระเบียงคตที่เชื่อมกันล้มรอบปราสาท หมายถึงเทือกเขาน้อยใหญ่ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุที่ประทับของเทพเจ้า และตัวปราสาทชั้นบนสุดหรือปรางค์ประธานหมายถึงยอดเขาพระสุเมรุ การได้ขึ้นไปถึงปรางค์ประธานอันสูงชันก็เหมือนการจำลองการขึ้นเขาพระสุเมรุจริงๆ

จุดเด่นที่สุดจุดหนึ่งของมหาปราสาทนครวัด นอกจากสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ คือภาพสลักบนผนังด้านในของระเบียงคตชั้นล่างของตัวปราสาทแม้เรื่องราวส่วน ใหญ่จะมาจากมหากาพย์และคัมภีร์พระเวทของศาสนาฮินดู แต่ก็กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ผู้สร้างไว้ด้วยโดยสลักเป็น รูปกระบวนทัพของพระองค์ ส่วนหนึ่งในภาพสลักนี้มักเป็นที่สนใจหยุดชมของนักท่องเที่ยวเสมอ คือภาพกองทัพชาวสยาม ซึ่งปัจจุบันยังหาข้อสรุปแน่ชัดไม่ได้ว่าเป็นชาวสยามกลุ่มใด โดยมีลักษณะเด่นที่การแต่งกาย การเดินทัพที่ดูไม่เป็นแถว ไม่เป็นระเบียบ
ปราสาทชั้นนอก

ทางดำเนินเข้าสู่มหาปราสาทนครวัดมี 5 ประตู ประตูใหญ่อยู่ตรงกลางสำหรับพระมหากษัตริย์ดำเนินเข้าสู่นครวัด ส่วนทางเข้าที่เล็กกว่าถัดออกไปสำหรับเสนาบดี และที่ไกลสุดอีกสองแห่งมีขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับประชาชนทั่วไปรวมทั้งสัตว์พาหนะ

ภาพสลักที่มหาปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของศิลปะขอม จนได้ชื่อว่าเป็นศิลปะยุคนครวัด ปรากฏอยู่ที่ผนังด้านในระเบียงคตชั้นนอกสุดของตัวปราสาท พื้นที่รวมของภาพสลักมีนาดใหญ่มาก ยาวเกือบ 600 เมตร เนื้อหาของภาพส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระเวท และมหากาพย์ของสาสนาฮินดู

การชมภาพสลักภาพมี ภาพการรบที่ทุ่งกุรุเกษตรในมหาภารตะยุทธ ภาพขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ภาพการตัดสินความคดีและความชั่วของพญายม ภาพการกวนเกษียรสมุทร และยังมีภาพอื่นๆอีกมากมายหลายร้อยภาพให้ได้ชมกัน

ภาพการรบที่ทุ่งกุรุเกษตร เป็นเรื่องราวในมหาภารตยุทธ กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพี่น้องสองตระกูล คือตระกูลปาณฑพ และเการพ ทั้งสองตระกูลยกทัพมารบกันขั้นแตกหักที่ทุ่งกุรุเกษตรทางตอนเหนือของอินเดีย ภาพสลักมีความยาว 49 เมตร เล่าเรื่องขณะสู้รบกัน ตระกูลเการพอยู่ทางด้านซ้ายและตระกูลปาณฑพอยู่ทางด้านขวา ขอบภาพทั้งสองด้านเป็นภาพของทหารแต่ละฝ่ายยืนเรียงแถวกันเป็นระเบียบ มีนายทหารบนรถม้าศึกและหลังช้างการรบถึงขั้นตะลุมบอนรุนแรงที่บริเวณที่บริเวณกลางภาพ มีตัวละครเด่นๆ คือ ภีษมะ แม่ทัพของฝ่ายเการพอรชุน แม่ทัพฝ่ายปาณฑพ และพระวิษณุ ที่อวตารลงมาเป็นพระกฤษณะ ซึ่งเป็นผู้ขับรถศึกให้อรชุน การรบดำเนินมาจนวันที่สิบ อรชุนก็สังหารภีษมะ จะเห็นภาพภีษมะนอนตายบนลูกธนูที่ถูกยิงทั่วทั้งตัว การรบสิ้นสุดลงในวันที่สิบแปด โดยตระกูลปาณฑพเป็นฝ่ายชนะและถือเป็นวันสิ้นสุดของยุค

ภาพขบวนทัพของพระเจ้าสุรยวรมันที่ 2 เป็นภาพสลักที่ต่างจากทุกภาพ คือเป็นภาพจากเรื่องจริงในประวัติศาสตร์ มีความยาว 94 เมตร
โดยแบ่งภาพออกได้เป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นช่วงที่ยังไม่จัดตั้งขบวนทัพ ส่วนที่สองเป็นภาพขบวนทัพ ในส่วนแรกนั้นแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นบนเป็นภาพพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ประทับบนราชบัลลังก์ ล้อมรอบด้วยเหล่ารัฐมนตรี และแม่ทัพนายกองที่มาเฝ้า

ชั้นล่างเป็นภาพขบวนของเจ้าหญิง พระธิดาบนเสลี่ยง เมื่อสิ้นสุดภาพในส่วนแรกก็เริ่มเป็นภาพขบวนทัพของทหารเดินเรียงไปตลอดแนว พร้อมกับแม่ทัพนายกองของแต่ละกองทัพบนหลังช้าง เกือบหน้าสุดของขบวนทัพเป็นกองทัพที่มีลักษณะแตกต่างจากทัพอื่นทหารมีใบหน้าที่โค้งมน สวมเสื้อลายดอก นุ่งผ้าคล้ายกระโปรง ชายผ้ายาว สวมหมวกทรงสูงเป็นชั้นๆ ที่ปลายมีภู่ยาว แม่ทัพอยู่บนหลังช้างเช่นกัน สันนิษฐานว่าเป็นทัพของชาวสยาม
นรก สวรรค์ การพิพากษาของพญายม (ระเบียงคตทิศใต้ ด้านทิศตะวันออก)

ภาพสลักนี้นักโบราณคดีหลายท่านเชื่อว่าหลังจากที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เสด็จสวรรคตแล้ว ลักษณะของภาพแบ่งเป็นสองตอน แต่ละตอนแบ่งออกเป็นสองถึงสามชั้น ซึ่งชั้นบนจะเป็นบนโลก และสวรรค์ ชั้นล่างสุดเป็นรก ในตอนแรกซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายของภาพ เป็นภาพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เสด็จนำเหล่าข้าราชบริพารที่ดีขึ้นสวรรค์ พวกอสูรและคนไม่ดีตกนรก ในตอนที่สองชั้นกลางเป็นภาพพญายมสิบแปดมือนั่งพิพากษาความดี-ชั่ว ของคนตายบนหลังควายซึ่งเป็นสัตว์พาหนะ และภาพที่นับเป็นจุดเด่นของภาพสลักนี้คือภาพชั้นล่างของนรกขุมต่างๆ ที่มีการทรมารคนชั่วคนบาปตามคติขอมเชื่อว่านรกภูมิแบ่งเป็นชั้นถึง 32 ชั้น
ภาพกวนเกษียรสมุทร
• การกวนเกษียรสมุทรมีจุดประสงค์เพื่อผลิตน้ำอมฤต โดยใช้เวลาถึง 1,000 ปี น้ำอมฤตนั้นมีฤทธิ์ทำให้ผู้ที่ได้ดื่มกินเป็นอมตะ บางตำรากล่าวถึงสาเหตุของการกวนเกษียรสมุทรว่าเนื่องมาจากเทวดาและอสูรมักจะสู้รบ ยกทัพมาปราบอีกฝ่ายบ่อยครั้ง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอยู่เรื่อยมา ฝ่ายเทวดาจึงไปขอคำปรึกษากับพระวิษณุว่า ทำอย่างไรจึงจะรบชนะเหล่าอสูรได้ตลอดทุกครั้งพระวิษณุจึงแนะนำเรื่องการกวนเกษียรสมุทรเพื่อผลิตน้ำอมฤต ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่และต้องใช้พละกำลังมาก โดยใช้ภูเขามันทระเป็นแกนหมุน ใช้นาควาสุกรีแทนเชือกพันรอบเขามันทระแล้วแบ่งเป็นสองฝ่ายผลัดกันดึงสลับไป-มา เทวดาได้ยินดังนั้นก็ออกอุบายยืมแรงอสูรให้มาช่วยดึงนาคเพื่อกวนทะเลน้ำนม และให้สัญญาว่าจะแบ่งน้ำอมฤตที่ได้ให้ ฝ่ายอสูรเห็นดีก็ตอบตกลง จึงแบ่งด้านกันกวน ฝ่ายเทวดาอยู่ดึงนาควาสุกรีด้านหาง ฝ่ายอสูรให้ดึงด้านหัว
• การกวนครั้งนั้นใช้เวลานาน เขามันทระก็ค่อยๆ เจาะโลกลึกลงๆ พระวิษณุเป็นห่วงว่าโลกจะทะลุหรือแตกสลาย จึงได้อวตารเป็นเต่า (ปางกูรมาวตาร) เอากระดองรองรับเขามันทระไว้ (ซึ่งเป็นตอนที่ปรากฏบนฝาผนัง)
• จากขอบภาพด้านซ้ายจะเป็นภาพกองทัพเหล่าอสูรเตรียมตัวพร้อมรบ เพื่อแย่งน้ำอมฤตมาเป็นของตนฝ่ายเดียว ถัดไปจึงเป็นหัวแถวกวนเกษียรสมุทรด้านอสูร ตนแรกที่เป็นผู้ถือหัวนาควาสุกรีคือทศกัณฑ์ จากจุดนี้บ่งบอกได้ว่า ขอมโบราณได้รวมเอามหากาพย์รามายณะรวมกับคัมภีร์พระเวท ถัดไปเป็นแถวอสูรอีก 91 ตน ไปจนถึงกลางภาพ จะเห็นพระวิษณุสี่กร คอยควบคุมการกวนอยู่หน้าเขามันทระ ใต้เขามันทระเป็นเต่าเอากระดองรองเขา เหนือเขามันทระมีพระอินทร์คอยจับเขาให้ตรง ถัดไปด้านขวาเป็นแถวของเทวดา 88 องค์ ท้ายสุดผู้ถือหางคือหนุมาน ช่วงท้ายของภาพเป็นกองทัพของเหล่าเทวดาเตรียมตัวแย่งน้ำอมฤตจากอสูรเช่นเดียวกัน


ID=2406,MSG=2704


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 07:49:14am เปิดทำการ 9.00
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com