SPF และ PA คืออะไร

SPF และ PA คืออะไร

SPF และ PA คืออะไร

Sun Protect factor (SPF)
    SPF คือตัวเลขที่แสดงถึงประสิทธิภาพของครีมกันแดด ในการป้องกันอาการแดง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจาก UVB สามารถหาได้จากอัตราส่วน ระหว่างปริมาณแสงน้อยที่สุด ที่ทำให้เกิดอาการแดง หลังรับแสง 24 ชั่วโมง โดยไม่ทาครีมกันแดด กับปริมาณแสงน้อยที่สุด ที่เกิดอาการแดงโดยทาครีมกันแดด ถ้า SPF ยิ่งสูงจะสามารถป้องกันอาการแดง (sunburn) ได้ยิ่งดี

การทาครีมกันแดด
    โดย ทั่วไป ควรทาครีมกันแดดก่อนถูกแดด ประมาณ 20 -30 นาที เพื่อให้สารกันแดดซึมเข้าสู่ผิวหนัง และหลังจากว่ายน้ำ หรืออกกำลังกาย ซึ่งมีเหงื่อออกมาก ควรทาซ้ำ และควรทาบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกปิดด้วย ไม่ใช่ทาเฉพาะใบหน้าเท่านั้น ควรทาทุกครั้งที่อยู่กลางแจ้ง ไม่ใช่เฉพาะวันที่เล่นกีฬา หรือถูกแดดมาก
    ปริมาณที่ทา มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพ ของครีมกันแดดมาก เนื่องจากการหาค่า SPF ของครีมกันแดดจะใช้ปริมาณ 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร แต่พบว่าคนทั่วไป มักจะทาครีมกันแดด ประมาณ 1.3 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตรเท่านั้น ทำให้ค่า SPF ลดลงไปมากกว่า 50%

ผลิตภัณฑ์ยากันแดดส่วนใหญ่จะระบุค่า SPF (Sun Protection Factor) หรือแปลเป็นไทยว่า ค่าการป้องกันแสงแดด ถ้าเคยตากแดดแล้วผิวไหม้แดง ในเวลา 15 นาที หากทายากันแดดที่มี SPF= 6 ผิวจะไหม้ในเวลาเป็น 6 เท่าคือ 90 นาที (6x15=90) ถ้าค่า SPF= 8 ผิวจะไหม้ในเวลา 2 ชั่วโมง (8x15=120)

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีคำนิยามใหม่ของค่า SPF (Sun Protection Factor) โดยใช้สูตรสำหรับหาค่า SPF คือ

SPF = MED บริเวณที่ทายากันแดด / MED บริเวณที่ไม่ได้ทายากันแดด

MED (minimal erythematous dose) คือ ปริมาณแสงแดดที่น้อยที่สุด ที่ทำให้เกิดอาการแดงที่ผิวหนัง ซึ่งอาการแดงนั้นเป็นจุดที่สังเกตเห็นด้วยตา มีการศึกษาพบว่า ปริมาณแรงที่เป็น suberythemal dose (คือปริมาณแสงที่ยังน้อยกว่าจะทำให้เกิดอาการแดง) ก็ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและมีการทำลายเซลล์ของผิวหนังเกิดขึ้น แล้ว ดังนั้นในอนาคตอาจต้องมีวิธีที่จะวัดการทำลายผิวหนังของแสงแดดที่ดีกว่า อาการแดง เช่น การดูลักษณะของเซลล์ผิวหนังที่เปลี่ยนไปจากการไหม้แดด (sunburncell) การดูลักษณะของเส้นใยอิลาสตินที่เปลี่ยนรูปร่าง การลดลงของจำนวน Langerhans cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน เพื่อหาประสิทธิภาะของการกันแดด

โดยที่ปริมาณของยากันแดดที่เป็น มาตรฐานในการหาค่า SPF นั้น ต้องทายากันแดดปริมาณ 2 มิลลิกรัม ต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตร ดังนั้นหากปริมาณแสงแดดที่จะทำให้บริเวณที่ทายากันแดดนั้นเกิดอาการแดง มีปริมาณมากกว่าบริเวณที่ไม่ได้ทายากันแดด 5 เท่า ยากันแดดนั้นก็จะมีค่า SPF 5 ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะแปลว่าปริมาณแสงเป็นเวลาแทน

มีข้อสังเกตว่า
1. การใช้ค่า MED นี้ อาจไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพภายในการป้องกันผิวหนัง จากการทำลายของแสงแดด นั่นคือยากันแดดถึงจะป้องกันไม่ให้ผิวหนังแดงได้ แต่ก็ยังอาจเกิดการเสื่อมของผิวหนังขึ้นแล้ว

2. ปริมาณของการใช้ยากันแดดในการหาค่ามาตรฐาน คือ ต้องทายากันแดด 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรนั้น นับว่ามากกว่าปริมาณการใช้ในชีวิตจริง คนปกติจะทายากันแดดแค่ 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ หากทายากันแดดมากไปจะเกิดปัญหาด้านความมันและความสวยงาม

สำหรับยากันแดดชนิดที่ละลายน้ำได้น้อยนั้น มีชื่อคือ
Water resistant หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 40 นาที
Waterproof (=very water resistant) หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 80 นาที

โดยการใช้ยากันแดดตามค่า SPF นี้มักดูตามลักษณะของสีผิวคือ
1. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนยาก ใช้ค่า SPF 20-30 (Ultra high)
2. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวอาจมีสีแทนนิดหน่อย ใช่ค่า SPF 12-20 (Very high)
3. ถ้าผิวไหม้แดดปานกลาง และผิวค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแทนใช้ค่า SPF 8-12 (High)
4. ถ้าผิวไหม้แดดได้น้อย และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เสมอ ใช่ค่า SPF 4-8 (Moderate)
5. ถ้าผิวไหม้แดดยากมาก และผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้อย่างมาก ใช้ค่า SPF 2-4 (Minimal)
ถ้า ดูตามนี้จริงๆ แล้ว อย่างผมซึ่งน่าจะจัดว่าอยู่ในกลุ่มที่ 5 คือโดนแดดอย่างไร ก็ไม่ไหม้เสียที จะมีก็แต่ผิวคล้ำดำปี๋ ก็ควรจะใช้ SPF แค่ 2-4 เท่านั้นเอง

เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า
ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%

เมื่อ ดูตามนี้จะเห็นว่า เมื่อใช้ยากันแดดค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3% ซึ่งเมื่อเพิ่ม SPF ขึ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นไม่มากนัก และยากันแดดที่มีค่า SPF สูงมักมีปัญหาด้านความงามและมีราคาแพง จากมุมมองนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ SPF สูงนัก

แต่ก็มีปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้และมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยากันแดด เช่น การทา การสวมใส่เสื้อผ้า การมีเหงื่อออก ลม เหงื่อ การว่ายน้ำ ฯลฯ และมีความจริงที่ว่า ยากันแดดที่มีค่า SPF สูงนั้น จะมีประสิทธิภาพในการกันแสงแดดในช่วงยูวีเอ โดยเฉพาะยูวีเอ II ที่ดีขึ้น ซึ่งรังสีตัวนี้ทำให้เกิดการเสื่อมของผิวหนังได้มาก นอกจากนั้นการหาค่า SPF จะเป็นการหาค่าในห้องทดลอง ซึ่งเมื่อนำยากันแดด มาใช้ในชีวิตจริงจะพบว่ามีค่า SPF น้อยกว่าที่ระบุเสมอ ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง

จึงแนะนำว่าควรใช้ยากัน แดดค่า SPF สูง (15 ขึ้นไป) ในกรณีที่ต้องตากแดด เป็นเวลานานติดต่อกันและใช้ค่า SPF ต่ำ ในกรณีที่โดนแดดเป็นครั้งคราวระหว่างวันครับ สำหรับข้อมูลนี้ส่วนหนึ่งมาจากการประชุมของสมาคมศิษย์เก่าสถาบันโรคผิวหนัง โดยมีอาจารย์จิโรจ สินธวานนท์ เป็นผู้บรรยาย นพ.ประวิตร พิศาลบุตร

ตัวอย่าง
SPF (Sun Protection Factor) หรือ ค่าการป้องกันแสงแดด
เป็น ค่าที่ใช้บอกว่าเราจะสามารถยืนกลางแดดโดยทาสารกันแดดนั้นๆโดยผิวหนังไม่ถูก เผาไหม้ได้นานเท่าใด เปรียบเทียบกับผิวที่ไม่ได้ใช้สารกันแดด โดยค่าที่วัดจะเป็นการวัดเฉพาะการปกป้อง UVB เท่านั้น
ตัวอย่าง: ค่า SPF 15 มีความหมายว่า ในกรณีที่ทาครีมกันแดดอย่างทั่วถึงในความหนา 2 มิลลิกรัมต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งตารางซม. จะต้องใช้เวลาตากแดดเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่า จึงจะทำให้ผิวไหม้แดง ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์จริง ถ้าอยู่กลางแสงแดดจัด เวลาเที่ยง บริเวณชายทะเลในเวลาประมาณ 15 นาที จะทำให้ผิวหนังแดงได้ การทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 อย่างทั่วถึงจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 15 เท่า จึงจะเกิดผิวไหม้แดง นั่นคือ เท่ากับ 15x15 คือ 225 นาที หรือ 3 ชม. 45 นาที แต่เนื่องจากในการทดสอบครีมกันแดดจะทำในห้องทดลอง โดยใช้หลอดไฟเลียนแสงอาทิตย์ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้นและการเคลื่อนไหวของผู้ทำการทดสอบ ทำให้ค่าที่ทดสอบได้มักจะสูงกว่าการใช้จริง ดังนั้นในความเป็นจริงอาจจะเป็นเวลาประมาณ 2/3 ของเวลาที่ทดสอบ คือประมาณ 2 ชม. เป็นต้น

เกี่ยวกับ SPF และ PA มี คนพูดว่า เอา SPF สูง ๆ มาทาหน้าหรือกันแดดใส่ SPF สูง ๆ ไว้เยอะ ๆ ฟังแล้วก็งงๆ เพราะ SPF มันไม่ใช่สาร
ก็เลยเอามาแปะให้สาว ๆ ไทยได้อ่านด้วย ทบทวนความรู้กันเล็กน้อย

• SPF และ PA ไม่ใช่สาร เป็นแค่ตัวเลขบอกประสิทธิภาพในการกันรังสียูวี.

• SPF บอกค่ากันรังสียูวีบี ไม่ได้บอกว่ากันแดดนั้นสามารถกันรังสียูวีเอได้แต่ประการใด

• PA บอกค่ากันรังสียูวีเอ แต่ว่าถ้าไม่ได้เขียนไว้ก็ไม่ได้หมายความว่ากันแดดนั้นจะไม่ดี เพียงแต่หมายความว่าผู้ซื้อต้องมีความรู้เพียงพอในการที่จะเลือกดูกันแดดที่ สามารถกันรังสียูวีเอได้ โดยต้องอ่านจากสารประกอบสำคัญที่เขียนไว้ที่ฉลาก

• PA ไม่ใช่ค่ามาตรฐานทั่วไป ดังนั้นคุณจะพบ PA ได้ในกันแดดที่มาจากญี่ปุ่น หรือว่าจากบางประเทศในแถบเอเชียเท่านั้นค่ะ

• ค่า SPF หรือ PA สูงๆ ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะว่าถ้าคุณทาน้อยกว่าปริมาณที่ควรทา มันก็กันได้น้อยกว่าตัวเลขที่กำหนดไว้อยู่ดี ข้อเสียอีกประการหนึ่งของการที่มีค่า SPF สูง ๆ คือว่าทำให้คนใช้กันแดดนั้นๆ หลงผิด คิดว่ามันกันแดดได้ยาวนาน โดยไม่คำนึงถึงว่ากันแดดมีการหลุดออกจากผิว เพราะเหงื่อ และการเสียดสีของผิว ดังนั้นการใช้กันแดดที่มีค่า SPF สูงๆอาจจะส่งผลเสียให้ผิวเสียได้เนื่องจากว่าผู้ใช้มั่นใจเกินไป ไม่ยอมทาซ้ำ มีรายงานจากหลายประเทศระบุค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้ใช้ที่ใช้กันแดดค่า SPF สูงมากๆนั้นมักจะเข้าใจผิด และทำให้อยู่กลางแดดนานเกินควร ซึ่งส่งผลให้ผิวเสียและเป็นมะเร็งผิวหนังได้ (เนื่องจากความเข้าใจผิด คิดว่ากันแดดเป็นโล่ป้องกันแสงได้ ซึ่งไม่จริงเลย มันเสื่อมสลายได้)

• กันแดดไม่ใช่กาว ทาแล้วก็หลุดลอกได้บ้าง ดังนั้นควรทาซ้ำทุกๆ 1- 2 ชม ถ้าคุณต้องออกกลางแดดนานๆ

PA (Protection of UV-A) หรือ ค่าการวัดการปกป้องรังสี UV-A

PA คือ การวัดการเปลี่ยนแปลงของรงควัตถุในผิว skin pigmentation หรือวัดความดำของผิวที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากสัมผัสกับ UV-A โดยตัวบ่งชี้ค่าของการวัดการปกป้องของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวจะเป็นช่วง ตั้งแต่ 1 - 8
โดยค่า 1 หมายถึงมีการปกป้องน้อยที่สุด ค่า PA ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มนำมาใช้และแพร่หลายอยู่ในเอเชีย ค่า PA จะสัมพันธ์กับเครื่องหมาย +

PA+    =    1-3
PA++  =    4-5
PA+++ =    6-8


ID=2399,MSG=2697


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 01:14:55am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com