สูตรในการสัมภาษณ์

สูตรในการสัมภาษณ์

สูตรในการสัมภาษณ์

สูตรต่างๆ ที่หยิบยกมาแนะนำนั้น เป็นของต่างประเทศ อาจเป็นเพราะว่า เขามีคนช่างคิด ช่างจัดก็ได้ แต่สามารถ นำมาปรับใช้ กับการจ้างงาน ของเราได้ดีทีเดียว ผู้อ่านที่ติดตาม มาตลอด คงเข้าใจคำว่า สูตรที่ใช้ว่า หมายถึงอะไร สูตรที่จะ ให้ครั้งนี้ มีชื่อว่า STAR หลายคนที่เคย ผ่านหลักสูตร Target Selection ต้องเรียนถึงสูตรนี้ หลักสูตร ยาวนานถึง สามวันทีเดียว แต่ทำ ในรูปของ Workshop คือต้องฝึกภาคปฏิบัติ เกือบตลอดเวลา จะสรุปใจ ความของสูตรนี้ ดังนี้

S ตัวแรกย่อมาจากคำว่า Situation ที่แปลว่า สถานการณ์ คือต้องการทราบว่า ผู้สมัคร เคยมี ประสบการณ์ ในการเผชิญกับ ปัญหาหรือมรสุม อะไรในชีวิตบ้าง ธรรมดาคนเรา ถ้าไม่เคยพบกับ ความลำบากยากเข็ญ ก็จะไม่แกร่ง ไม่แข็งแรงพอ ที่จะผจญกับ ความลำบากยุ่งยาก ไม่เคยเจ็บ ก็ไม่มีภูมิต้านทาน บางครั้งเรา จึงต้องฉีดเชื้อโรคเข้าไป เพื่อให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันให้ ก็จะไม่เป็นโรคนั้น ฉะนั้น จึงต้องมีการค้นหาว่า ผู้สมัครผ่านสมรภูมิ หรือมีภูมิคุ้มกันบ้างไหม
เขาจะแกร่งพอ สำหรับงาน หรือสู้กับงาน ได้อย่างทรหด อดทนไหม ผู้สัมภาษณ์ ต้องสร้างคำถาม เพื่อให้ผู้สมัคร มีโอกาสเล่าถึง ประสบการณ์ที่เขาเคยพบมา ต้องชั่งน้ำหนักว่า สิ่งที่เขาบอกเล่า มันหนักหรือเบา เขาเป็นตัวปัญหา หรือเป็นผู้รับ ผลกระทบ

Task คือคำเต็ม ของตัว T หมายถึง ความสามารถ ของผู้สมัคร ในการรับมือกับ Situation ที่เขาบอกเล่าอย่างไร เขาสามารถ ยืนหยัดด้วยตนเอง หรือได้รับความช่วย เหลือจากใคร จนทำให้เขา ผ่านพ้น สถานการณ์ที่ยุ่งยากนั้นมาได้ ข้อนี้วัดผู้สมัครได้ หลายอย่าง ทั้งด้านการ ควบคุมอารมณ์ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล รวมตลอดถึง ความเป็นผู้ใหญ่ หากเขาบอกว่า ไม่เคยมี สถานการณ์ ที่ยุ่งยาก แล้วเลยแปลว่า หมดโอกาส ค้นหาข้อ ต่อไปหรือไม่ คงไม่เป็น เช่นนั้น เพราะหาก เขาโชคดี ชีวิตราบเรียบ ก็สามารถ ใช้คำถามและ สร้างสถานการณ์ ให้เขาตอบได้ว่า หากเขาเจอแบบนี้ จะทำอย่างไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถ ของผู้สัมภาษณ์ ด้วยเป็นสำคัญ

A ตัวนี้ ไม่ใช่อย่างที่หลายคนนึก เพราะผู้เขียนเคยลองหลายทีแล้วว่า ตัวนี้น่าจะมาจาก คำว่าอะไร ปรากฏว่าทายผิดแทบทุกคน คำเต็มคือ Action ซึ่งแปลว่า การกระทำ เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง จากสองคำแรก หมายถึงว่า การกระทำอะไรที่ได้ทำลงไป เพื่อคลี่คลายความยุ่งยาก ที่ต้องเผชิญ เป็นการวัด พลังความคิด และให้พิสูจน์ไปใน ตัวว่า คิดแล้วสามารถ ทำให้เกิดเป็น จริงด้วยได้ จะได้ผล หรือไม่เป็นสิ่ง ที่วัดผลได้เลย จากคำบอกเล่า ของผู้สมัคร จะพูดแบบเกินเลย หรือไม่นั้น อยู่ที่ผู้ฟัง คือผู้สัมภาษณ์ ต้องใช้วิจารณญาณ ของตนเองว่า เรื่องราว ที่เขาเล่านั้น น่าเชื่อถือแค่ไหน เพียงใด

R คือคำว่า Result หรือผลลัพธ์นั่นเอง เป็นผลมาจากอะไร ก็เป็นผลมาจากการ การที่ต้องพบกับความยุ่งยาก หรือปัญหา แล้วก็เรียงมา ถึงความคิด ความสามารถ ที่จะรับมือกับปัญหา เมือคิดได้แล้ว ถึงขั้นลงมือทำ มาจบลงที่ผลที่เกิดขึ้น จากความคิดเหล่านั้น ว่าเกิดผลอย่างไร จะเลวร้ายกว่าเดิม หรือผ่อนคลาย หรือรอดพ้นมาได้ คือผลลัพธ์ตามข้อนี้
จะเห็นได้ว่า Situation Task Action Result เป็นการวัดความสามารถของคน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกัน เป็นลูกโซ่ จะขาดช่วงใด คำใดไม่ได้ ต้องโยงใยครบถ้วน แล้วได้อะไร จากการใช้สูตรนี้ น่าจะครบพอสมควร สำหรับการทำงาน อยากบอกเพิ่มเติมว่า คนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน จากการหาแบบนี้ ไม่ใช่พนักงานธรรมดาหรอก น่าจะเป็นคนที่มีศักยภาพ < Potential> คนหนึ่งทีเดียว คนเราลอง พบปัญหา แล้วสติไม่แตก กลับพลิก วิกฤตเป็นโอกาส ใช้ความสุขุม คิดแก้ปัญหา แล้วยังลงมือ แก้ตามที่คิด ยังผลให้เกิดเห็นเป็น รูปธรรมด้วย น่าจะเป็นคน ที่ได้ไว้ทำงานด้วย น่าจะจัดได้ว่า เป็นคนมีคุณภาพ
ขอย้ำสักนิดว่า นี่คือคนเก่งนะ แต่ไม่อาจรับรองว่าจะเป็นคนดีด้วย ต้องแยกให้ออกว่า คนเก่งและคนดี ไม่เหมือนกัน หากจะหาคนดี อาจต้องค้นหา ด้วยสูตรอื่น หรือคำถามอื่น คนเก่งอาจ ไม่ต้องการเวลามากนัก ในการเรียนรู้งาน หลายแห่ง เมื่อใช้สูตรนี้ กำหนดว่า จะต้องมีวิธีจัดการ หรือกำหนดอนาคตคน ที่ผ่านสูตร นี้ได้เป็นพิเศษ เรียกว่ามีเส้นทางลัด < Fast Track} ในการเติบโต เช่นการจ้าง ผู้บริหารฝึกหัด < Management Trainee> หากไม่มี แผนพิเศษให้เขา องค์การจะรู้ว่าไม่สามารถตอบสนอง หรือเก็บเขาไว้กับองค์การได้ เนื่องจากคนพวกนี้ จะเป็นนักแสวงหา มีพลังแฝงในตัวสูง หากให้งานธรรมดา ไม่พอมือ พอใจเขาหรอก ต้องมีเส้นทางพิเศษให้เดิน
ผู้สัมภาษณ์ ต้องเรียนรู้ถึงการสร้าง คำถามที่สอดคล้องกับสูตรนี้ แน่นอนคำถามต้องกว้าง เป็นแบบเปิดไม่ชี้นำ เพราะต้องการ ให้เขาแสดงออกมากที่สุด ใช้การกระตุ้น ให้กำลังใจ จะได้พูดออกมาให้หมด อาจมีการซักถาม เป็นบางช่วง หากต้องการรู้รายละเอียดเพิ่ม แต่ควรปล่อยให้เขาพูด อย่าขัดจังหวะ แต่ต้องจำแล้ว เก็บมาถามใน ตอนท้าย สิ่งที่จะช่วยคือต้องมีความจำดี ช่างสังเกต และการมีมุมมองที่กว้าง ใจกว้าง พร้อมรับฟังความคิด ของคนอื่น ซึ่งอาจไม่เหมือน กับของผู้สัมภาษณ์ หากบังเอิญ Situation พ้องกับ สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์เคยพบ อาจมีวิธีแก้ปัญหา ไม่เหมือนกัน อย่าเร่งตัดสินว่า เขาผิด ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องค้นให้พบว่า เขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง และจะนำมาใช้ในช่วง ชีวิตต่อไปอย่างไร
STAR เป็นสูตรในการสัมภาษณ์ ที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง บ้านเราเริ่มเรียนรู้สูตรนี้แล้ว ไม่อยู่ในแวดวง แคบเหมือนเมื่อก่อน ที่ใช้เฉพาะบางธุรกิจเท่านั้น แต่การรู้แค่สูตร หากไม่สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ ก็เปล่าประโยชน์ จึงอยู่ที่การปรับ ใช้โดยการสร้างคำถาม จึงจะสมบูรณ์ ได้ทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ประเภทของคำถาม เมื่อได้ทราบกระบวนการต่างๆ ของการสอบสัมภาษณ์งานไปแล้ว ต่อไปนี้ลองมาดูประเภทของคำถามกันบ้าง เพราะเมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์เข้าจริงๆ จะได้เตรียมตัวได้ถูก ดังนี้ครับ

นักวิชาการ ได้แบ่งลักษณะของคำถาม ออกเป็น 5 ประเภท คือ

1. คำถามเปิด คำถามชนิดนี้จะเปิดกว้าง ให้ผู้ตอบได้มีโอกาสตอบ และแสดงความคิดเห็นของตน อาจจะเป็นคำถามที่คลุมเครือ เช่น คุณมีประสบการณ์อะไรบ้าง (What experience do you have?) ดังนั้น เวลาตอบ ผู้ตอบคำถามเหล่านี้ ต้องตอบโดยตีความให้แคบลง โดยระบุลงไปว่า มีประสบการณ์อะไรบ้าง

2. คำถามปิด คือคำถามที่ต้องการ เฉพาะเจาะจง เพียงต้องการให้ผู้ตอบ ตอบเพียง Yes หรือ No เท่านั้น กรณีเช่นนี้ ถ้าผู้ตอบ ตอบไม่ได้จริงๆ ก็ให้ตอบไปตามตรงเลยว่า ไม่ทราบ (Sorry! I don't know) เพราะว่าคำถามประเภทนี้ ผู้ตอบจะไม่ค่อยมีโอกาส แสดงออกความคิดเห็น ได้เองเท่าใดนัก

3. คำถามทวน เป็นคำถามที่แนะเป็นนัย ให้ผู้ตอบตรึกตรองดูอีกครั้งหนึ่งว่า คำตอบ ที่ตอบไปแล้วนั้น จะสมบูรณ์พอแล้วหรือไม่ เช่น คุณพูดว่า คุณจะไปต่างประเทศสิ้นปีนี้ใช่หรือไม่(You said you would go abroad at the end of this year, is that true?)

4. คำถามหยั่ง คือคำถามที่หยั่งลึกลงไป เพื่อหยั่งหาเหตุผล ทัศนคติ และความเชื่อ ของผู้ถูกถาม เช่น ทำไมคุณจึงยอมลาออก จากที่ทำงานเดิม ทั้งๆ ที่ยังไม่ทำงานใหม่ (Why did you decide to quit your last job, though you have not yet get the new one?)

5. คำถามนำ คือคำถามที่มีลักษณะ แบบทำให้ผู้ตอบ ตอบตามที่ผู้ถามคาดคะเนเอาไว้ เช่น เธอไม่มีโรคประจำตัว ตามที่ระบุไว้ในข้อ 4 ของระเบียบใช่หรือไม่ (You don't have any diseases as indicated in clause 4 of our procedure, do you?)
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือประเภทของคำถาม ที่ผู้สมัครพึงศึกษาไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะใช้คำตอบได้ถูกต้อง และในบทต่อไปเป็นคำถาม และคำตอบที่ผู้เขียนได้รวบรวมไว้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ที่จะเข้าสอบสัมภาษณ์ ได้ศึกษา และเรียนรู้ไว้ก่อน

Prepare for predictable questions ในการสอบสัมภาษณ์แม้ว่าจะต่างกรรม ต่างวาระ แต่จะมีคำถามส่วนหนึ่ง เป็นคำถาม Basic ที่ผู้สัมภาษณ์มักใช้สัมภาษณ์ ซึ่งหากมีการเตรียมตัว หรือซักซ้อมคำตอบไว้ล่วงหน้า จะเป็นคำถามช่วยทำคะแนน คำถามต่อไปนี้ผู้เขียนได้เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้สมัคร ได้มีโอกาสเตรียมตัว รับสถานการณ์ไว้ ก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์จริง....

1. Why did you apply for this position? (ทำไมคุณจึงเลือกสมัครตำแหน่งนี้) หรือ
Why do you want to leave your present job? (ทำไมคุณจึงต้องการออกจากงาน ที่ทำอยู่ปัจจุบัน)
คำถามประเภทนี้ ต้องตอบในลักษณะที่ว่า เราต้องการมีประสบการณ์มากขึ้น และอยากมีความรับผิดชอบ มากขึ้นกว่านี้อีก เช่น
 I would like to broaden my experience and have more responsibility. หรือ
 I have been looking for another job which give me more responsibility and offer better prospects for the future. (ผมกำลังหางานใหม่ ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น และมีอนาคตที่ดีกว่า)

2. ไม่ควรทำตัวคุ้นเคยจนเกินไป ถึงแม้ว่า บริษัทที่เราไปสมัครนั้น จะไม่ค่อยเคร่งครัดเกี่ยวกับระเบียบมากนักก็ตาม เช่น ถ้าหากผู้สัมภาษณ์ แนะนำตัวเองว่า "My name is James Thomson" ก็ไมควรเรียกเขาโดยใช้ชื่อแรกว่า "Mr.James" เพราะในภาษาอังกฤษถือว่าไม่สุภาพ ควรจะเรียกเขาว่า "Mr.Thomson" จะเหมาะสมกว่า

3. ตามปกติแล้ว มีน้อยครั้งที่ผู้สัมภาษณ์จะเริ่มต้นโดยกล่าวว่า
"Right, tell me about yourself." (เอาละช่วยบอกให้ผมทราบเกี่ยวกับตัวคุณหน่อยซิ)
คำถามลักษณะนี้ เวลาตอบต้องถามผู้สัมภาษณ์ให้แน่นอนว่า จะให้เริ่มเล่าตั้งแต่ตอนไหน โดยการถามเขาว่า "Where would you like me to begin?"
เมื่อถึงตอนนี้ผู้สัมภาษณ์อาจจะพูดว่า "I'd like you to tell me a bit about what you've been doing since you left University." (ผมอยากให้คุณเล่าให้ฟังนิดหน่อยว่า คุณทำอะไรหลังจากจบมหาวิทยาลัยแล้ว)
ผู้สมัครอาจจะตอบว่า well, when I graduated in 1986, I started work as a salesman with an electronics company and I have been with this company since then." (เมื่อผมได้รับปริญญาในปี ค.ศ.1986 ผมก็เริ่มทำงานเป็นเซลส์แมนกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง และผมก็ได้ทำงานกับบริษัทนี้ มาจนกระทั่งบัดนี้)

4. อนึ่ง การที่เราชักชวนให้ผู้สัมภาษณ์พูดนั้น ย่อมเป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง และเวลาเขาพูด เราก็ต้องแสดงความในใจให้เขาเห็น โดยการตอบรับบ้าง อย่านั่งฟังแต่เพียงฝ่ายเดียว เช่น
"That's interesting." (นั่นน่าสนใจจริงๆ ครับ) หรือ
"I see." (อย่างนั้นหรือครับ)
การตอบรับแบบนี้ ควรพูดได้เป็นบางครั้ง บางคราวเท่านั้น เพราะถ้าใช้พร่ำเพรื่อ จะกลายเป็นว่าเราไม่มีความรู้ ความสามารถอะไรเลย ครับ ยังไม่จบนะครับยังมีต่อ แต่ตอนนี้จะขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน เอาไว้พบกันตอนหน้านะครับ สวัสดีครับ!

Prepare for predictable questions ก่อนที่จะเข้าสัมภาษณ์ทุกครั้ง ผู้สมัครไม่ควรละเลย ที่จะซักซ้อมคำถามคำตอบล่วงหน้าไว้ก่อน เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งบางครั้งคำถาม คำตอบเหล่านี้ อาจจะถูกถามหรือไม่ก็ได้ เหมือนกับการจับ "ใบดำ ใบแดง" แต่อย่างน้อย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้สัมภาษณ์ ซึ่งคราวที่แล้วเราได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้ว คราวนี้จะมาดูว่ามีคำถามอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง ที่เราพอจะเตรียมตัวได้อีกบ้าง
 กรณีที่มีผู้สัมภาษณ์หลายคน ซึ่งเรียกว่า "The panel interview" นั้น เมื่อเรากำลังจะตอบคำถาม ของผู้สัมภาษณ์ท่านใดท่านหนึ่ง แต่มีผู้สัมภาษณ์ท่านอื่น พูดแทรกขึ้นมา เราควรพูดคั่นในทำนองนี้ "May l try to answer your question together with the one raised by your colleague?" (ขอให้ผมได้ตอบคำถามของท่าน พร้อมกับคำถามของเพื่อนร่วมงาน ของท่านด้วยนะครับ)
 คำถามที่ควรระมัดระวังในการตอบก็คือ คำถามเกี่ยวกับเรื่องเงินเดือน เช่น ถ้าถูกถามว่า "What salary do you expect to get?" (คุณต้องการเงินเดือนเท่าไหร่)
 คำถามประเภทนี้ ไม่ควรตอบโดยระบุว่า ต้องการเท่านั้นเท่านี้ ควรตอบในลักษณะนี้จะดีกว่า "Usually what is your standard rate of pay for a person in this position?" (โดยปกติแล้ว มาตรฐานการจ่ายเงินเดือนของคุณ ให้กับบุคคลที่มีประสบการณ์เช่นผม ซึ่งทำงานในตำแหน่งเดียวกันนี้เป็นอย่างไร)
 ถ้าต้องการให้เหตุผลว่า เรามีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน ควรใช้ "I am suited to the job." อย่าใช้ The Job suits me. เด็ดขาด เพราะงานอยู่กับที่ เราเองต่างหากที่ไปเหมาะสมกับงานเอง
 เมื่อถูกถามเกี่ยวกับชีวิตในครอบครัว (Family background) เช่น What does your father do for a living? หรือ Does your mother work?
อะไรทำนองนี้ ก็ไม่ควรพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ตอบ เพราะรู้สึกอาย หรือกลัวว่าเมื่อตอบความจริงแล้ว จะทำให้ตัวเองต่ำต้อย หรือไม่ก็กลัวถูกปฏิเสธ แท้จริงแล้วเราควรพูดความจริง เพราะถ้าคิดจะดิ้นรน ต่อสู้ชีวิตในอนาคต ก็ไม่ควรปล่อยให้วิถีชีวิตในอดีต มาเป็นอุปสรรคแก่ตัวเราได้
 คำถามเกี่ยวกับเวลาว่าง (Spare time) หรืองานอดิเรก (Hobbies) ถ้าเราตอบว่าชอบอ่านหนังสือ ก็ควรจะตอบได้ว่า ผู้เขียนหนังสือที่เราอ่านคือใคร และเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าเพียงแต่ระบุไว้ในใบสมัคร ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีนิสัยรักการอ่าน หรือเกี่ยวกับกิจกรรมอื่นๆ เราก็ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เพราะถ้าไม่รู้จริง จะทำให้ผู้สัมภาษณ์ หมดความเชื่อถือในตัวเราได้
เราควรติดตามความเคลื่อนไหว ในเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยการอ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี หรือฟังวิทยุ ก็ได้ ถึงแม้เราจะไม่เคยสนใจมาก่อนเลยก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น
 คำถามเกี่ยวกับความทะเยอทะยาน หรือความกระตือรือร้น (Ambition) หรือ (Aspiration) เช่น How do you see your career developing over the next five years? (คุณเห็นว่าอีก 5 ปีข้างหน้า งานของคุณจะพัฒนาไปอย่างไร) ก็ไม่ควรแสดงความทะเยอทะยานจนเกินไป เพราะผู้สัมภาษณ์อาจเกรงว่า ผู้สมัครมีความทะเยอทะยานมากจนเกินไป จนเป็นเหตุให้อยู่บริษัทได้ไม่นาน
 คำถามที่ถามว่า What do you think are your weaknesses or failings? (อะไรที่คุณคิดว่าเป็นความอ่อนแอ หรือเป็นข้อบกพร่องของคุณบ้าง) คำถามเช่นนี้ไม่ควรตอบว่า "I dont't have any weaknesses/failings at all. (ผมไม่มีความอ่อนแอ หรือข้อบกพร่องใดๆ เลยครับ) ซึ่งเมื่อฟังแล้ว ดูจะเป็นการพูดเท็จมากกว่า
 ดังนั้น คำถามในลักษณะนี้ ควรตอบเช่นนี้จะเหมาะสมกว่า "I don't think I have any weaknesses or failings which would affect my ability to do this job." (ผมไม่คิดว่าผมมีความอ่อนแอ หรือข้อบกพร่องใดๆ ที่จะเป็นอุปสรรค ต่อความสามารถของผม ในการทำงานนี้ครับ)
คำถามคำตอบเหล่านี้ เป็นเพียงแนวทางเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งผู้สมัครควรเตรียมตัวไว้บ้าง จะได้ไม่รู้สึกเจ็บใจ เมื่อออกจากห้องสัมภาษณ์มา และกลับมาพูดหัวข้อใหม่ ในตอนหน้านะครับ....

Questions you need not ask ในการสัมภาษณ์หลายครั้ง ผู้สมัครงานมีคำถาม "คาใจ" แม้จะเกี่ยวพันกับการทำงาน และผลประโยชน์โดยตรง แต่บางครั้งก็เป็นคำถาม "ต้องห้าม" และหากหลุดปากถามออกไป ก็อาจจะทำให้โอกาส หลุดลอยไปก็ได้ ลองดูกันว่า คำถามแนวไหนที่ไม่สมควรถาม....

1. Do I have to sign a contract?
(ผมต้องเซ็นสัญญาหรือไม่)

2. What are the working hours?
(ชั่วโมงการทำงานเป็นอย่างไร)

3. Will I have to work overtime?
(ผมต้องทำงานล่วงเวลาหรือไม่)

4. What degree have you obtained?
(ท่านสำเร็จศึกษาอะไรมา)

5. How much vacation leave am I entitled to?
(ผมมีสิทธิลาหยุดงานได้นานเท่าไร)

6. Do we have a Labour Union here?
(ที่นี่เรามีสหภาพแรงงานได้หรือไม่)

7. Will I have the cpportunity to travel overseas?
(ผมจะมีโอกาสไปต่างประเทศหรือไม่)

8. What fringe benefits does your company offer?
(ทางบริษัทให้ผลประโยชน์อะไรบ้าง)

แน่นอนที่สุด ผู้สมัครย่อมต้องการคำตอบของคำถามเหล่านี้ ก่อนที่จะรับทำงาน แต่ผู้สมัครก็ไม่ควรถามคำถามเหล่านี้ในขณะสัมภาษณ์ เพราะผู้สัมภาษณ์อาจเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี (bad impression) ต่อผู้สมัคร เป็นต้นว่า

 ผู้สมัครเห็นแก่เงินเดือนเท่านั้น
 ผู้สมัครไม่ต้องการยึดมั่นอยู่กับงานนั้นโดยเฉพาะ แต่ต้องการทำไปอย่างนั้นเอง
 ผู้สมัครไม่ค่อยสนใจที่จะปรับปรุงงานนั้นให้ดีขึ้น แต่ต้องการเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น
ดังนั้น วิธีที่ดี ก็คือ ผู้สมัครควรถือเสียว่า เรายังมีเวลาซักถาม คำถามเหล่านี้อยู่มาก รอให้เขารับเราเสียก่อน ค่อยถามก็ได้
ครับ ตอนนี้ก็จบกันเพียงสั้นๆ และเบาๆ ก่อนครับ แล้วค่อยพบกันตอนหน้า สวัสดีครับ

Questions you will need to ask
เกือบทุกครั้งที่จบบทสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์มักจะเปิดโอกาส ให้ผู้สมัครได้ถามสิ่งที่อยู่ในใจ ซึ่งเป็น "ข้อสอบ" อีกข้อหนึ่งที่ใช้ "ประเมินผล" ดังนั้น ผู้ถูกสัมภาษณ์จึงต้องระวังตัวพอสมควร ก่อนที่จะเอ่ยแต่ละคำถาม อันเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมตัวที่ดี และไม่ควรจะมองข้าม ดังนี้
โดยปกติแล้วหลังจาก การสอบสัมภาษณ์เสร็จแล้ว ผู้สัมภาษณ์จะถามว่า
 Do you have any questions?
 Well! is there anything further you would like to know? (คุณมีคำถามอะไรอีกไหม)
และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะเป็นการดีมาก ถ้าหากว่าผู้สมัคร จะมีคำถามสัก 2-3 คำถาม เพื่อแสดงให้เห็นว่า ตัวผู้สมัครมีความสนใจในงานจริงๆ และต่อ


ID=2331,MSG=2629


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 01:22:00am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com