วิธีออกจากงานอย่างมีชั้นเชิง

วิธีออกจากงานอย่างมีชั้นเชิง

วิธีออกจากงานอย่างมีชั้นเชิง

ยิ่งถ้าสนิทสนมกับเจ้านายมากเท่าไร ก็เป็นเรื่องที่พูดยากและบีบคั้นความรู้สึกมากขึ้นเท่านั้น
จะพูดอย่างไรให้เจ้านายเข้าใจโดยไม่ทำให้เสียความรู้สึกจนเข้าหน้ากันไม่ติด ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการขอลาออกจากงานง่ายๆไปใช้ดูจะทำให้คุณเดินออกจากงานได้อย่างงาม สง่า และเก็บมิตรภาพดีๆกับเจ้านายไปไว้ได้อย่างครบถ้วน

เลี่ยงการลาออกเพราะ “เกลียดงาน” “ทะเลาะกับนายจ้าง”
บางทีคุณอาจรู้สึกเกลียดงานที่ทำอยู่ หรือรู้สึกไม่ชอบหน้ากับนายจ้างของคุณจนสุดจะทน นั่นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คุณไม่ควรลาออกด้วยเหตุผลเหล่านี้ การลาออกจากงาน คุณไม่ควรสร้างความเป็นศัตรูกับใคร ถ้าคุณไม่คำนึงถึงใบประเมินจากบริษัท อย่างน้อยคุณก็ควรคิดถึงอนาคตเอาไว้บ้าง บางครั้งคุณอาจต้องกลับมาทำงานในบริษัทเดิมอีกครั้ง หรือบังเอิญต้องร่วมงานกับคนในบริษัทเดิมของคุณ เดินเจอกันตามห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งเจ้านายของคุณอาจรู้จักใครสักคนในที่ทำงานใหม่ของคุณก็เป็น ได้

คุณคงไม่อยากปล่อยให้ใครต่อใครซุบซิบนินทาคุณในทางเสียหาย จนได้ยินไปถึงหูเจ้านายใหม่หรอกนะ หรืออย่างน้อยคุณก็คงไม่อยากมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสายตาคนอื่นใช่ไหมล่ะ ระงับอารมณ์ร้อนของคุณให้อยู่ สร้างศัตรูไว้ที่ไหนก็ได้แต่ต้องไม่ใช่ที่ทำงาน

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะลาออก
เมื่อคุณคิดที่จะลาออก จิตใจของคุณไม่ได้อยู่กับงานอีกต่อไป แต่คุณยังเดินเข้าที่ทำงานทุกวัน เป็นการกระทำที่ไม่สร้างผลดีให้กับใคร การตัดสินใจลาออกจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และควรทำ แต่คุณควรจะเก็บความคิดนี้เป็นความลับไม่ควรบอกใครในที่ทำงาน เพราะเรื่องอาจจะดังไปถึงหูเจ้านายเสียก่อน คุณควรจะเป็นคนเดินไปบอกเจ้านายด้วยตัวเองมากกว่าการได้ยินจากคนอื่นหาโอกาส ให้กับตัวเองในงานใหม่ที่คุณสนใจจริงๆ แต่อย่าใช้วิธีหว่านใบสมัครคุณคงไม่อยากให้เจ้านายเห็นใบสมัครงานของคุณจาก อินเตอร์เน็ท หรือรู้จากเพื่อนต่างบริษัทหรอกนะ ถ้าคุณเล่นโปรยใบสมัครไปทั่วทุกหนแห่ง มีหวังว่าคุณคงจะไปลอดพ้นจากสายตาเจ้านายไปได้แน่ๆ

ตรวจสอบสัญญาจ้างให้ดีถึงข้อปฏิบัติในการลาออก และอย่าลืมคิดถึงระยะเวลาของการออกเงินโบนัสปลายปีเพราะบางทีคุณอาจพลาดเงิน ก้อนโตอย่างน่าเสียดาย ข้อสุดท้ายคุณมองหางานใหม่บ้างหรือยัง และงานนั้นมีแนวโน้มที่จะตอบรับคุณหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้คุณควรได้งานใหม่ก่อนที่จะตัดสินใจลาออก

พูดกับเจ้านายอย่างไรไม่ให้เสียน้ำใจ
เวลามาสมัครงานคุณก็เข้าทางประตู หากคุณจะลาออกจากงานคุณก็ควรจะเดินออกทางประตูด้วย อย่าโดดหน้าต่างหนีไปก่อนละ มันแสดงให้เห็นถึงความไม่รับผิดชอบของคุณ ไหนๆ ก็ตัดสินใจจะลาออกแล้ว ควรเดินไปบอกเจ้านายด้วยตัวของคุณเองบอกถึงเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจไปทำ งานที่บริษัทใหม่ตามสมควร เช่น ความก้าวหน้าในการงาน เงินเดือนที่มากกว่า การเดินทางที่สะดวก ฯลฯแต่คุณไม่ควรจะร้องเรียน หรือบ่นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ระบบการทำงาน หรือตัวเจ้านายเอง ถึงแม้มันจะเป็นความจริงที่ทำให้คุณลาออกก็ตามทีเถอะ ทั้งนี้คุณควรทำหนังสือเป็นรายลักษณ์อักษรแจ้งล่วงหน้าไปยังบริษัทอย่างน้อย 1 เดือนด้วย

ถ้าคุณกลัวที่จะเผชิญหน้ากับคนในออฟฟิศ และเจ้านายของคุณหลักบอกข่าวการลาออก คุณควรวางแผนที่จะบอกข่าวนี้กับเจ้านายคุณในตอนเย็นก่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย ให้เจ้านายคุณและตัวคุณได้มีเวลาคิดทบทวน และเตรียมกับมือกับปัญหาต่างๆที่จะตามมาหลังการลาออกของคุณ

เดินออกจากบริษัทอย่างสง่างาม
ก่อนออกจากงานอย่าลืมที่จะทุ่มเทและสะสางงานให้เสร็จสิ้นเป็นการส่งท้าย และถ้าเจ้านายต้องการให้คุณหาคนมาทำงานแทน คุณก็ควรอาสาสอนงานให้เด็กใหม่ก่อนจะถึงวันสุดท้ายของการทำงาน จะเป็นการแสดงความรับผิดชอบงานที่ดี

วันสุดท้ายในที่ทำงานคุณไม่ควรจะแสดงความดีใจจนออกนอกหน้า หรือเยาะเย้ยเพื่อนร่วมงาน เป็นไปได้ก็คืนดีกับคู่อริ เผื่อวันหน้าวันหลังคุณอาจจะพึงพิงเขาได้บ้าง หรืออย่างน้อยเขาก็ไม่เคียดแค้นเอาเรื่องกับคุณตอนเผลอ เก็บเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนร่วมงานไว้ เก็บสัมภาระของตัวเองให้เรียบร้อย ตรวจเช็คให้ถี่ถ้วนว่าคุณไม่ได้นำทรัพย์สินของบริษัทติดไปด้วย และอย่าลืมกล่าวขอบคุณเพื่อนร่วมงาน และเจ้านายด้วย

ทิ้งเรื่องร้ายไว้ เก็บเอาแต่สิ่งดีๆไป
หลังออกจากงานคุณควรใช้ช่วงเวลาสั้นๆ อย่างคุ้มค่าในการพักผ่อน ไปเที่ยวต่างจังหวัด ทะเล ภูเขา หรือต่างประเทศตามแต่คุณจะชอบ เก็บเกี่ยวแต่ประสบการณ์ดีๆมาประยุกต์ใช้กับการเริ่มต้นทำงานในที่ใหม่ เมื่อใครถามถึงที่ทำงานเก่าให้พูดถึงแต่เรื่องดีๆอย่าพูดจาว่าร้ายบริษัท เก่า หรือเจ้านายเก่าอย่างเด็ดขาดหาสาเหตุที่ดูดีในการเปลี่ยนงานมากกว่าการโดน ไล่ออก เบื่องาน หรือมีปัญหาในการทำงาน

ที่สำคัญที่สุด เมื่อคุณออกจากงานก็ไม่ใช่ว่าคุณกับเพื่อนร่วมงานก็ต้องจบกันไปด้วย ติดต่อกันไว้บ้างเพื่อมิตรภาพที่ดี และบางครั้งคุณอาจช่วยเหลือติดต่อธุรกิจกับเพื่อน หรือเจ้านายเก่าได้อีกด้วย

อื่นๆ
"โครงสร้างระบบที่ทำงานเดิมทำให้เกิด ปัญหาในการทำงาน
รวมถึงขอบเขตของการทำงานที่เป็นลักษณะ "จับฉ่าย" มากเกินไป ทำให้เราไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง
บางที งานที่มีลักษณะจับฉ่าย ก็ทำให้เราเรียนรู้งานได้หลายๆอย่าง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง การทำงานจับฉ่ายทำให้เราไม่ได้โฟกัสไปที่เนื้องานที่เราต้องการทำ
ผมหวังว่างานที่ใหม่จะมีขอบเขตของงานที่ชัดเจน และมีระบบโครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการทำงานของผมมากขึ้น"

หรูมาก แต่พูดง่ายๆคือ  อยากทำงานเพาะเจาะจงมากขึ้น ไม่อยากทำงานแบบจับฉ่ายอีกแล้ว (ไม่อยากทำเเล้วโว้ยย >:()


ID=2328,MSG=2626
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 10:40:55am... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com