การประกันภัยการขนส่งทางทะเล ทางอากาศ และการขนส่ง

การประกันภัยการขนส่งทางทะเล ทางอากาศ และการขนส่ง

การประกันภัยการขนส่งทางทะเล ทางอากาศ และการขนส่ง

การประกันภัยตัวเรือ
ในปี พ.ศ. 2542 เบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยตัวเรือ คิดเป็นมูลค่า 159 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.3 ของ มูลค่าตลาดรวม
จากการที่มีบริษัทประกันภัยเพียง 10 บริษัทเท่านั้นที่มีการรับประกันตัวเรือ และการที่บริษัทประกันภัยในประเทศของไทยยังขาดความสามารถที่จะรับประกันภัยประเภทนี้ เจ้าของเรือซึ่งเป็นคนไทย จึงสามารถดำเนินการจัดทำประกันภัย เช่นว่าโดยตรงกับบริษัทผู้รับประกันภัยในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเรือลำนั้นๆ มีผู้ถือหุ้นหรือผู้รับจำนองเป็นชาวต่างประเทศอยู่ด้วย โดยปกติแล้วบริษัทผู้รับประกันภัย ในประเทศส่วนใหญ่ จะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม และจะรับประกันภัย เฉพาะเรือที่มีการบริหารที่ดี และมีการจ่ายเบี้ยประกันภัยที่คุ้มพอ ส่วนเรือที่มีการบริหารที่ไม่ดี บริษัทนายหน้าจะเข้าไปดำเนินการจัดทำประกันภัยยังตลาดต่างประเทศ ด้วยอัตราเบี้ยประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยในประเทศไม่ต้องการที่จะแข่งขันด้วย

กลุ่มเรือเดินทะเลที่สำคัญ
• บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด
• บริษัท ไทยมารีนไลน์ จำกัด
• บริษัท จุฑานาวี จำกัด
• Thai International Maritime Enterprises Ltd. (TIME)
• Thai Overseas Line Ltd.
• Unithai Shipping
• Petrolane Co., Ltd.
• บริษัท แสงไทยการเดินเรือ จำกัด
• Philsawat Navigation

เรือไทยทุกลำจะมีน้ำหนักต่ำกว่า 20,000 ตัน จนกระทั่งโครงการท่าเรือน้ำลึกอีสเทิร์นซีบอร์ดแล้วเสร็จ เฉพาะเรือที่มีน้ำหนักไม่เกิน 12,000 ตันกรอส สามารถเทียบท่าได้ โดยอายุของเรือโดยเฉลี่ยจะมากกว่า 15 ปี

เรือประมง
ประเทศไทยมีเรือประมงประมาณ 53,400 ลำ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้มีการทำประกันภัย จะทำประกันภัยก็เฉพาะที่ถูกธนาคารบังคับ และนับตั้งแต่ธนาคารงดปล่อยสินเชื่อ เรือประมงที่มีการทำประกันภัยเรือ จึงถือเป็นเรือที่มีคุณภาพดีที่สุด บริษัทผู้รับประกันภัยในประเทศได้กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย สำหรับความเสียหายสิ้นเชิงของเรือเดินสมุทร ที่มีประสบการณ์ที่ดีในอัตราร้อยละ 7 ซึ่งโดยปกติแล้วกรมธรรม์ จะระบุให้ผู้เอาประกันภัยรับความเสี่ยงภัยไว้เองในอัตราร้อยละ 30

การรับประกันภัยต่อ
การรับประกันภัยต่อของธุรกิจตัวเรือ ประกอบไปด้วยการประกันภัยแบบ Quota Share, Surplus และ Fac. Oblig Treaties

การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล
ในปี 1995 เบี้ยประกันภัยของการประกันภัยสินค้าขนส่งทางทะเล มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,950 พันล้านบาท (48.7 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 4.2 ของมูลค่าตลาดรวม
เป็นที่ตระหนักว่าตลาดประกันภัยประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นการซื้อความคุ้มครองจาก หรือในต่างประเทศ เนื่องจากมีแนวโน้มของการส่งออกและการนำเข้าสินค้าในรูป C & F และ CIF ตามลำดับ ประมาณการได้ว่าการทำประกันภัยประเภทนี้ในประเทศ มีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น อนุมานได้ว่าเบี้ยประกันภัยในส่วนนี้มากกว่า 1 พันล้านบาทเหรียญสหรัฐ ได้ถูกจ่ายให้แก่ผู้ส่งในต่างประเทศ
เพื่อใช้เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมธุรกิจประกันภัยในประเทศ ให้มีความแข็งแกร่ง ประกอบกับเพื่อลดการขาดดุลการค้า กรมการประกันภัย ได้เสนอแนะให้การนำเข้าและส่งออกสินค้าในภาครัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชน ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ต้องทำประกันภัยในประเทศ จึงขอให้ดูกันต่อไปว่าข้อเสนอแนะนี้ จะมีการประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายในที่สุดหรือไม่

ข้อกำหนดพิเศษ
ตลาดการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลขณะนี้ได้ใช้ในรูปแบบของ MAR

ประวัติความเสียหาย
การเรียกร้องค่าสินไหม กรณีของการเฉลี่ยความเสียหายร่วมกัน คิดเป็นมูลค่าประมาณหนึ่งในสามของเบี้ยประกันรับทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าทัศนคติของฝ่ายจัดการจะดีขึ้นก็ตาม ผู้ส่งหลายรายยังคงมีแนวโน้มที่จะใช้บริการขนส่ง ที่มีอัตราค่าระวางที่ถูกที่สุด โดยไม่คำนึงอายุและคุณภาพของเรือที่ใช้ในการขนส่ง และจากในการใช้ค่าระวางราคาถูกนี่เอง ได้ก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูพายุใต้ฝุ่น เมื่อเจ้าของเรือต่างประเทศ แทบจะไม่อยากเสี่ยงเดินเรือในน่านน้ำย่านเอเชียอาคเนย์เลย

ปัญหาอื่นๆ ที่บริษัทผู้รับประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลยังคงต้องคำนึงถึงมีดังนี้
1. ความเสียหายครั้งใหญ่ของการขนส่งสินค้าทางทะเล ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น การจมของเรือ "Patrikos" ระหว่างเส้นทางสิงคโปร์-กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งบรรทุกหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจการโรงไฟฟ้า
2. ท่าเรือกรุงเทพ อาจได้รับผลกระทบในช่วงฤดูน้ำท่วม เมื่อผนวกกับน้ำในแม่น้ำที่มีระดับสูง และกระแสน้ำที่เชี่ยวกราด ดังเช่น ตู้คอนเทนเนอร์จมน้ำจากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ. 2538 และ 2539 อย่างไรก็ตาม จากมาตรการควบคุมน้ำท่วมที่มีขึ้นทำให้ปัญหาดังกล่าวลดน้อยลง
3. เนื่องจากปัญหาความแออัดในบริเวณท่าเรือกรุงเทพ สินค้าที่อยู่บริเวณท่าเรือเป็นเวลานาน จึงอาจจะได้รับความเสียหายได้ เจ้าหน้าที่การท่าเรือ โดยปกติมิได้แจกแจงถึงสาเหตุของความเสียหาย จึงเป็นการยากต่อผู้รับประกันภัย ในการที่จะเรียกร้องค่าเสียหายคืน จากฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ
4. อุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นเหตุจูงใจให้เกิดภัยจากศีลธรรม โดยเฉพาะชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่หายาก มักสูญหายในระหว่างการขนส่งเสมอ
5. ปัญหาจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ ว่าด้วยเงื่อนไขจัดการทดแทนทรัพย์สิน เนื่องจากผู้เอาประกันภัยผู้ซึ่งนำเข้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีความแม่นยำสูง มักยืนกรานในการที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากกว่าที่จะซ่อมแซม
6. สินค้าเกษตรกรรมเทกองส่วนมาก จะได้รับความเสียหายเนื่องจากน้ำทะเล
7. โดยปกติแล้ว มักจะได้รับรายงานการส่งขาดของสินค้าที่นำเข้าจากรประเทศจีน เกาหลีเหนือ และอินเดีย

สิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณอู่เรือและท่าเรือ
เรือที่เข้ามาเพื่อจะทำการเทียบท่าบริเวณกรุงเทพ อาจมักต้องรอเป็นสัปดาห์ ทั้งนี้ เนื่องจากความแออัดบริเวณท่าเรือคลองเตย และข้อจำกัดในการรับได้เฉพาะเรือที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 12,000 ตัน หรือ เรือที่มีความลึกในน้ำ ไม่เกิน 8.5 เมตร เรือใหญ่จำต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็ก บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนท่าเรือน้ำลึกบริเวณแหลมฉบัง และมาบตาพุดในโครงการอิสเทิร์นซีบอร์ด ก็สามารถทำการเทียบเรือได้แล้วในปัจจุบัน
วิธีการขนส่งก็ยังจำเป็นที่ต้องใช้ทางแม่น้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อที่จะทำการขนถ่ายสินค้าไปยังเขตท่าเรือสำคัญต่างๆ โดยปกติมักใช้เรือโยงในการลากเรือท้องแบนครั้งละประมาณ 7 หรือ 8 ลำ
อาจจะกล่าวได้ว่ามาตรฐานการขนสินค้าขึ้น และลงที่ท่าเรืออยู่ในระดับที่น่าพอใจ กระบวนการทางศุลกากรก็ไม่ได้ใช้เวลามากนัก การเรียกร้องความเสียหาย เนื่องจากการขาดความระมัดระวังในการจัดการกับสินค้า และการลักขโมยส่วนใหญ่เกิดขึ้นเป็นประจำที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ

การเสี่ยงภัยทางด้านน้ำมันและพลังงาน

ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานธรรมชาติ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ประกอบด้วยแหล่งพลังงานก๊าซจำนวน 15.2 หมื่นล้านลูกบาศก์ฟุต และแหล่งพลังงานน้ำมันจำนวน 400 ล้านบาร์เรล แหล่งพลังงานก๊าซส่วนมากอยู่บริเวณอ่าวไทย
การมีแหล่งพลังงานในท้องถิ่น เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย ซึ่งคาดหมายว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เหนือกว่าประเทศสิงคโปร์ ภายในปี พ.ศ.2543
อุตสาหกรรมพลังงานของประเทศ รวมถึงแหล่งผลิตนอกชายฝั่ง โรงงานแยกก๊าซ โรงกลั่นน้ำมัน และโรงงานปิโตรเคมี ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

จำนวนเงินที่เอาประกันภัยของโรงงานพลังงานบางแห่งมีดังนี้
โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ มูลค่า 2,360 ล้านเหรียญสหรัฐ
โรงกลั่นน้ำมันบางจาก มูลค่า 708 ล้านเหรียญสหรัฐ
ไทยแอโรเมติค มูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
ไทยโอลีฟิน มูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
โรงงานกลั่นน้ำมันไทยออยล์ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2542

การประกันภัยเครื่องบิน

ลูกค้าที่เป็นสายการบินส่วนใหญ่ ประกอบไปด้วยสายการบินแห่งชาติ อันได้แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และที่ย่อมลงมา คือ บริษัทกรุงเทพการบิน จำกัด ส่วนสายการบินอื่นๆ มีเป็นจำนวนน้อย เนื่องจากข้อจำกัดของรัฐในการอนุญาตให้มีการดำเนินงานโดยเอกชน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการลักลอบขนถ่ายยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ ลาวและพม่า



ID=231,MSG=250


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 11:32:57pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com