Fire
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย+option
อัคคีภัยสถานประกอบการ
อัคคีภัยสถานประกอบการ+option
อัคคีภัย บริษัทอื่นๆ
อัคคีภัยธุรกิจ
ประกันภัยธุรกิจ
เสี่ยงภัยทุกชนิด (เสี่ยงภัยทรัพย์สิน)
สั่งซื้อประกันอัคคีภัย
ขอใบเสนอประกันอัคคีภัย
Liability
วิชาชีพแพทย์ (Doctor)
บุคคลภายนอก (Third-party)
ผลิตภัณฑ์ (Product)
วิชาชีพบัญชี (Accountant)
ผู้ตรวจสอบอาคาร
ความรับผิดผู้ขนส่ง
ประกันภัยไซเบอร์ Cyber insurance
Life
แบบประกันชีวิต ▶️
ตลอดชีพ
สะสมทรัพย์
บำนาญ
จ่ายสั้น
เน้นคุ้มครองชีวิต
เน้นเก็บเงิน
อนุสัญญา
ประกันการศึกษาเด็ก
ประกันเกษียณ
ประกันเด็ก
กลุ่ม
Health
ประกันสุขภาพ
ประกันชดเชยรายได้
ประกันมะเร็ง
PA TA
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ+มะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ+ชดเชยรายได้
ประกันเดินทาง
ประกันเรียนต่อต่างประเทศ
Motor
ประกันภัยรถยนต์
พรบ รถยนต์
ประกันมอเตอร์ไซค์
พรบ มอเตอร์ไซค์
ประกันอื่น
ประกันวิศวกรรม
ประกันก่อสร้าง
ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
ประกันธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
ประกันอีเวนท์ (Event)
ประกันความซื่อสัตย์
ประกันสินเชื่อหรือเครดิตการค้า
ประกันหมาแมว (Cat&Dog)
สนับสนุน
customer login
ซื้อ+ชำระเงิน
ความรู้ประกัน
แบบฟอร์ม
อู่รถยนต์คู่สัญญาประกัน
โรงพยาบาลคู่สัญญา
เรทค่าห้อง
เกี่ยวกับเรา
เว็บบอร์ด
สมัครขายประกัน
BMI
TAX-insurance
ติดต่อ
FB
Inbox
Question
Email
(เบอร์โทรปรากฏตามเวลา)
admin LineOA
LineOA
Life Agent app(BLA)
Life Agent login(BLA)
Broker login(MTI)
Broker login(BKI)
Broker login(Aetna)
🔻
cymiz.com
MENU
ประกันอัคคีภัย ▶️
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย+option
อัคคีภัยสถานประกอบการ
อัคคีภัยสถานประกอบการ+option
อัคคีภัย บริษัทอื่นๆ
ประกันภัยธุรกิจ
เสี่ยงภัยทุกชนิด(เสี่ยงภัยทรัพย์สิน)
ประกันอัคคีภัยสำหรับธุรกิจ
สั่งซื้อประกันอัคคีภัย
ขอใบเสนอประกันอัคคีภัย
สุขภาพ | อุบัติเหตุ | เดินทาง ▶️
ประกันสุขภาพ
ประกันชดเชยรายได้
ประกันมะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ+มะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ+ชดเชยรายได้
ประกันเดินทาง
ประกันเรียนต่อต่างประเทศ
ประกันความรับผิดทางกฏหมาย ▶️
วิชาชีพแพทย์ (Doctor)
บุคคลภายนอก (Third-party)
ผลิตภัณฑ์ (Product)
วิชาชีพบัญชี (Accountant)
ผู้ตรวจสอบอาคาร
ความรับผิดผู้ขนส่ง
ประกันภัยไซเบอร์ Cyber insurance
วิศวกรรม | รับเหมา | ก่อสร้าง ▶️
ประกันวิศวกรรม
ประกันก่อสร้าง
ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
รถยนต์ | มอไซค์ | พรบ ▶️
ประกันรถยนต์
พรบ รถยนต์
ประกันมอเตอร์ไซค์
พรบ มอเตอร์ไซค์
ประกันภัยอื่นๆ ▶️
ประกันธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
ประกันอีเวนท์ (Event)
ประกันความซื่อสัตย์
ประกันสินเชื่อหรือเครดิตการค้า
ประกันหมาแมว (Cat&Dog)
ประกันกลุ่ม
ประกันชีวิต
เช็คเบี้ยรถยนต์
การประภัยทางทะเลและขนส่ง
การประภัยทางทะเลและขนส่ง
การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1 การประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล
ให้ความคุ้มครองการขนส่งสินค้าด้านการส่งออก หรือการนำเข้า ต่อความสูญเสีย หรือเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางโดยเรือเดินทะเล ส่งสินค้านั้นจากภัยที่มิได้คาดไว้ เช่น พายุไต้ฝุ่น เรือเกยตื้น การชน ไฟไหม้ การลักทรัพย์ ฯลฯ
2 การประกันภัยการขนส่งสินค้าในประเทศ
ให้ความคุ้มครองระหว่างการขนส่งสินค้า ในประเทศ จากภัยที่มิได้คาดไว้ เช่น การชน รถพลิกคว่ำ ไฟไหม้ ฯลฯ
3 การประกันภัยตัวเรือ
ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายต่อเรือประเภทต่างๆ เช่น เรือเดินสมุทร เรือสำราญ ฯลฯ จากภัยที่มิได้คาดไว้ และคุ้มครองรวมถึง ความรับผิดตาม กฎหมายต่อบุคคลภายนอกด้วย
ID=221,MSG=240
Re: การประภัยทางทะเลและขนส่ง
Re: การประภัยทางทะเลและขนส่ง
เป็นการประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขน ส่งทางทะเล และยังขยายของเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. การประกันภัยตัวเรือ
› การประกันภัยตัวเรือเพื่อการค้า
› การประกันตัวเรือสำราญ
2. การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล
› การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Marine Cargo หรือ Oversea Transit) ทั้งทางอากาศ ทางเรือ
ทางไปรษณีย์
› การขนส่งสินค้าภายในประเทศ (Inland Transit)
ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครอง
1. ภัยทางทะเล (Peril of the sea) เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน และเรือเกยตื้น
2. อัคคีภัย (Fire) ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้ แต่ต้องไม่เกิดจากความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเอง หรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของสินค้าอันเนื่องมาจากธรรมชาติ
3. การทิ้งทะเล (Jettisons) หมายถึง การเอาของทิ้งทะเลเพื่อให้เรือเบาลง
4. โจรกรรม (Thieves) หมายถึง การโจรกรรมอย่างรุนแรงโดยการใช้กำลังเพื่อช่วงชิงทรัพย์
5. การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ (Barratry) หมายถึง การกระทำโดยมิชอบของคนเรือโดยเจตนากลั่นแกล้งทุจริต ตั้งแต่นายเรือจนกระทั่งถึงลูกเรือในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพย์สินและการกระทำนั้นต้องปราศจากการรู้เห็นเป็นใจ ของเจ้าของทรัพย์
การเลือกซื้อความคุ้มครอง
มี 3 แบบ โดยความคุ้มครองไม่เท่ากัน ดังนี้
1. F.P.A. (Free from Particular Average) ความคุ้มครองแคบสุด กล่าวคือ บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมเฉพาะสินค้าเสียหายสิ้นเชิงเท่านั้น
2. W.A. (With Average) คุ้มครองทั้งความเสียหายสิ้นเชิงและเสียหายบางส่วน แต่เสียหายบางส่วน
ต้องไม่ต่ำกว่า 3 %
3. All Risks เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองกว้างที่สุด ไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย
เงื่อนไขและขอบเขตความคุ้มครอง
ใน ประเทศไทย เงื่อนไขความคุ้มครองส่วนใหญ่ มักยึดตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ใช้กันในประเทศอังกฤษ ได้กำหนดขอบเขต ความเสี่ยงภัยที่คุ้มครองดังนี้
1. Institute Cargo Clauses (C)
คุ้ม ครองการสูญเสีย หรือ ความเสียหายของสินค้าในระหว่างการขนส่ง ที่เกิดจาก เช่น อัคคีภัย ภัยระเบิด เรือจม เรือเกยตื้น เรือล่ม เรือชนกัน เรือตะแคง รถพลิกคว่ำ รถชนกัน รถไฟตกราง ค่าเสียหายเฉลี่ยส่วนรวม (GENERAL AVERAGE) การสละสินค้าลงทะเลในขณะที่เรือประสบภัย (JETTISON) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการปกป้องหรือลดความเสียหายของสินค้า (SUE AND LABOR CHARGES) ค่าขนส่งสินค้าลงที่ท่าระหว่างทางซึ่งเรือใช้หลบภัย
2. Institute Cargo Clauses (B)
คุ้ม ครองเพิ่มเติมจาก CLAUSES (C) ครอบคลุมไปถึงเกิดจากสาเหตุของ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า สินค้าที่ถูกคลื่นซัดตกทะเล สินค้าเสียหายสินเชิงทั้งหีบห่อ ที่เกิดขึ้นขณะขนขึ้นลงจากเรือ หรือระหว่างถ่ายลำสับเปลี่ยนเรือ สินค้าเปียกเนื่องจากน้ำทะเล หรือน้ำในแม่น้ำโดยคลื่นซัดเข้าสู่ระวางเรือหรือเข้าตู้คอนเทนเนอร์
3. Institute Cargo Clauses (A) หรือ ALL RISKS
คุ้ม ครองเพิ่มเติมจาก CLAUSES (C) และ (B) ครอบคลุมไปถึงเกิดจากสาเหตุของ สินค้าเปียกน้ำฝน การปล้นโดยโจรสลัด การถูกลักขโมย การเสียหายระหว่างการขนส่ง เช่น แตก หัก ฉีกขาด เปื้อน ภาชนะบุบสลาย ทำให้สินค้ารั่วไหล เกิดขึ้นระหว่างขนส่งและ อื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อยกเว้นการประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง (Marrine Insurance)
ID=221,MSG=967
ประเภทของการประกันภัยทางทะเล
ประเภทของการประกันภัยทางทะเล
ประเภทของการประกันภัยทางทะเล
1. การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance) : คุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ภัยจากลมพายุ,
เรือเกยตื้น, เรือชนกัน, เรือชนหินโสโครก เป็นต้น และยังหมายความรวมไปถึงการประกันค่าระวางด้วย
2. การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance) : คุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล ภัยที่ได้รับการคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อ ความคุ้มครองไว้
ใน ตลาดการประกันภัยทางทะเลและขนส่งประเทศไทย เงื่อนไขความคุ้มครองที่ผู้รับประกันภัยส่วนใหญ่ จัดให้แก่ผู้เอาประกันภัย มักจะยึดถือตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ใช้กันในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำขึ้นโดย กลุ่มผู้รับประกันภัย อันได้แก่
The Institute of London Underwriters, the Liverpool Underwriters Association
และ Lloyds Underwriters Association
เงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำโดยกลุ่มผู้รับประกันภัยดังกล่าวข้างต้น จะขึ้นด้วยคำว่า ‘Institute’ ซึ่ง เป็นที่รู้จักแลยอมรับกันดีทั่วไป ในวงการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ธนาคาร หรือ ตัวแทนในการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนใน การประกันภัย ขนส่งสินค้าทางทะเลโดยทั่วไป มีชุดเงื่อนไขความคุ้มครอง 3 ชุด ที่เป็นที่นิยมกัน ซึ่งได้กำหนดขอบเขตความเสี่ยงภัยที่คุ้มครอง ลดหลั่นลงไปตามลำดับ ดังนี้
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (A)
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B)
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (C)
ID=221,MSG=990
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (A)
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (A)
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (A)
Institute Cargo Clauses (A) ระบุภัยที่คุ้มครอง ไว้ดังนี้
This insurance covers all risks of loss of or damage to the subject-matter insured, except as provided in Clauses 4, 5, 6 and 7 below.
คำว่า All Risks หมายถึง การเสี่ยงภัยทุกชนิด (ที่ไม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และสืบเนื่องจากสาเหตุภายนอก) ที่อาจยังความสูญเสีย หรือเสียหายต่อสินค้าที่เอาประกันภัย ในระหว่างช่วงระยะของการประกันภัย
ภายใต้กรมธรรม์ที่คุ้มครอง All Risks ผู้เอาประกันภัยจะต้องแสดงให้เห็นว่าเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายจริง. ซึ่งความสูญเสียนั้นเป็นเหตุบังเอิญ (Fortuity), ที่เกิดขึ้นและเป็นสาเหตุโดยตรง (Proximately) ต่อความสูญเสีย. ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องมี่ส่วนได้เสียจึงจะมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าสิน ไหมทดแทน ส่วนผู้รับประกันภัยจะต้องพิสูจน์ว่าความสูญเสีย หรือเสียหายที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหรือสืบเนื่องจากภัยที่ถูกระบุยกเว้นไว้
นอกจากนี้ความสูญเสียหรือความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากกรณี General Average และ/หรือ
Boths to Blame Collision ก็ได้รับความคุ้มครองด้วยกล่าวคือ
General Average Clause ให้คุ้มครอง
1. ความสูญเสียที่เป็นของส่วนรวม และค่าตอบแทนในการกอบกู้ทรัพย์สิน ที่ต้องร่วมรับผิดตามที่กำหนดในสัญญาขนส่ง หรือวิธีปฏิบัติและกฎที่มีผลบังคับใช้
2. ความสูญเสียหรือค่าตอบแทนนั้นต้องเพื่อหลีกเลี่ยง หรือเกี่ยวเนื่องกับการหลีกเลี่ยงความสูญเสียจากภัยที่คุ้มครอง
หรือไม่ได้ถูกยกเว้น
“Boths to Blame Collision” Clause ให้คุ้มครอง
1. การชดใช้ค่าสินไหมฯ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดภายใต้เงื่อนไข “การโดนกันของเรือแล้วผิดทั้งคู่” ในสัญญาขนส่ง
2.ผู้ เอาประกันภัยต้องแจ้งผู้รับประกันภัย เมื่อเจ้าของเรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เพื่อผู้รับประกันภัยจะได้มีสิทธิต่อสู้การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ดังกล่า
บุคคลผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจจะเอาประกันภัยทางทะเลได้
ผู้ ที่จะเอาประกันภัยได้ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่เอาประกันภัย เช่น เจ้าของเรือ, เจ้าของสินค้าหรือผู้รับขนส่ง เป็นต้น ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าขณะเกิดความเสียหาย ผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้
ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (A)
แม้ว่าเงื่อนไขความคุ้มครองตาม Institute Cargo Clauses (A) จะระบุความคุ้มครองแบบ All Risks ก็ตามแต่ก็มีความเสี่ยงภัย หรือลักษณะความเสียหายบางอย่างที่ถูกยกเว้นไม่ให้ความคุ้มครองโดยได้กำหนด และระบุไว้เป็นข้อกำหนดอย่างชัดเจนภายใต้ General Exclusions Clause ดังนี้
In no case shall this insurance cover Loss damage or expense attributable to/caused by
ไม่ว่ากรณีใดก็ตามการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญเสีย เสียหาย หรือค่าใช้จ่าย อ้นเนื่องจาก/ที่เกิดจาก
1. การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย...Wilful misconduct of the Assured
2. การรั่วไหลไปตามปกติการขาดหายตามปกติของปริมาณ หรือน้ำหนัก หรือการสึกหรอและสึกกร่อนตามปกติ...Ordinary
leakage, ordinary loss in weight or volume, or ordinary wear and tear of the subject-matter
insured
3. การบรรจุหีบห่อ หรือการจัดเตรียมที่ไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะสมในวัตถุแห่งการประกันภัย...Insufficiency or
unsuit-ability of packing or preparation of the subject-matter insured
4. ข้อเสียในตัวเองหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย..Inherent vice or nature of the subject-matter insured
5. การล่าช้า แม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม...Delay, even though the delay be caused by a risk insured against
6. การล้มละลาย หรือการไม่สามารถใช้หนี้สิน ไม่ว่าของเจ้าของเรือ, ผู้เช่าเหมาเรือ หรือผู้ดำเนินการเดินเรือ หรือตัวแทนของบุคคลใดบคคลหนึ่ง ที่กล่าวมา...Insolvency or financial default of the owners, managers, charterers, or operators of the vessel
7. การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัว หรือ การหลอมตัวของปรมาณู หรือ ผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี...The use of any weapon of war employing atomic or nuclear fission and/or fusion or other like reaction or radioactive force or matter
8. เรือ หรือยาน ไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเล หรือ เรือ ยาน ยวดยาน ตู้ลำเลียง หรือ ตู้ยก ที่จะใช้ในการบรรทุกสินค้า ไม่พร้อมสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอ โดยที่ผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย...Unseaworthtness & Unfitness Exclusion Clause
9. ข้อยกเว้นภัยสงคราม..WarExclusion Clause
9.1 สงคราม สงครามกลางเมือง การปฏิวัติ กบฏแข็งข้อ หรือ การต่อสู้ของประชาชนที่เกิดจากการดังกล่าว หรือการกระทำเป็นปฏิปักษ์ ซึ่งกระทำต่อ หรือถูกกระทำโดยชาติอำนาจที่เป็นศัตรู
9.2 การถูกจับกุม ถูกยึด ถูกกุม กักกัน หรือหน่วงเหนี่ยว (ยกเว้น การกระทำการเป็นโจรสลัด) และผลใดๆ ของการนั้นๆ หรือ ความพยายามใดๆ ที่จะกระทำการดังกล่าว
9.3 การถูกทิ้งทุ่นระเบิด ตอร์ปิโด ระเบิด หรืออาวุธสงครามอื่นใด 10. ข้อยกเว้นภัยนัดหยุดงาน...Strikes Exclusion Clause
10.1 คนงานที่นัดหยุดงาน, คนงานที่ถูกปิดงาน, หรือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการก่อความไม่สงบทางแรงงาน
10.2 การจลาจล หรือการก่อความวุ่นวานโดยฝูงชน อันเป็นผลจากการนัดหยุดงาน การปิดงาน ความไม่สงบทางแรงงาน
10.3 การก่อความวุ่นวายโดยฝูงชน อันเกิดจากการก่อการร้าย หรือการกระทำไม่ว่าจะของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ID=221,MSG=991
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B)
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B)
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B)
Institute Cargo Clauses (B) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก Institute Cargo Clauses (A) คือ
I.C.C (A) ระบุให้คุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีสาเหตุจากภายนอกพร้อมกับกำหนดยกเว้นภัยบางประเภทไว้เท่านั้น แต่
I.C.C (B) ระบุภัยที่คุ้มครอง และสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน ความสูญเสียหรือเสียหายอันเนื่องจาก หรือมีสาเหตุจากภัยที่ไม่ได้ระบุไว้จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
นอกจากนั้น I.C.C. (B) ยังได้แยกความคุ้มครองออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. Loss of or damage to the subject-matter insured reasonably attributable to...การใช้คำ reasonably attributable to...เท่า กับว่าผู้รับประกันภัยชดใช้ในความสูญเสียหรือเสียหาย ซึ่งมีผลสือเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็นตัว การที่ทำให้เกิดความเสียหายภัยที่คุ้มครอง ได้แก่
1.1 อัคคีภัย หรือ การระเบิด...Fire or explosion
1.2 เรือ หรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้น เกยพื้น จม หรือพลิกคว่ำ...Vessel or craft stranded grounded sunk or capsized
1.3 การคว่ำหรือตกรางของยานพาหนะทางบก...Overturning or derailment of land conveyance
1.4 การชนหรือการโดยกันของเรือ ยวดยาน หรือ ยานพาหนะ กับวัตถุ ภายนอกใดๆ ก็ตามนอกเหนือจากกับน้ำ...Collision or contact of vessel craft or conveyance with any external object other than water
1.5 การขนถ่ายสินค้าลงที่ท่าใช้หลบภัย...Discharge of cargo at a port of distress
1.6 แผ่นดินไหว การระเบิดของภูเขาไฟ หรือฟ้าผ่า...Earthquake volcanic eruption of lightning
2. Loss of or damage to the subject-matter insured caused by...การใช้คำ caused by...หมายความว่า ความสูญเสียหรือเสียหาย จะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ ได้แก่
2.1 การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม...General Average Sacrifice
2.2 การถูกทิ้งทะเล หรือ การถูกน้ำซัดตกจากเรือไป...Jettison or washing overboard
2.3 การที่น้ำทะเล น้ำทะเลสาบ หรือน้ำในแม่น้ำ เข้ามาในระวางเรือ หรือยวดยาน หรือเข้ามาในตู้ลำเลียง, ตู้ยก หรือสถานที่เก็บวางสินค้า...Entry of sea lake or river water into vessel craft hold conveyance container liftvan or place of storage
3. Total loss of enired package ความสูญเสียโดยสิ้นเชิงของหีบห่อใด ซึ่งตกจากเรือ หรือตกลงมาในขณะขนขึ้น หรือขนลงจากเรือ หรือยวดยาน...Total loss of any package lost overboard or dropped whilst loading on to, or unloading from vessel or craft
นอกจากนี้ความสูญเสียหรือความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากกรณี General Average และ/หรือ Boths to blame Collision ก็ได้รับความคุ้มครองด้วย กล่าวคือ
ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B)
แม้ว่าเงื่อนไขความคุ้มครองตาม Institute Cargo Clauses (B) จะระบุภัยที่ให้ความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม แต่ก็ได้กำหนดและระบุ สาเหตุ หรือ ลักษณะความเสียหายบางอย่างที่จะถูกยกเว้นไม่ให้ความคุ้มครองไว้เป็นข้อกำหนด อย่างชัดเจนภายใต้ General Exclusions Clause ดังนี้
In no case shall this insurance cover Loss damage or expense attributable to/caused by
ไม่ว่ากรณีใดก็ตามการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง ความสูญเสีย เสียหาย หรือค่าใช้จ่าย อ้นเนื่องจาก/ที่เกิดจาก
1. การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย...Wilful misconduct of the Assured
2. การรั่วไหลไปตามปกติ, การขาดหายตามปกติของปริมาณ หรือน้ำหนัก หรือการสึกหรอและสึกกร่อนตามปกติ...Ordinary leakage, ordinary loss in weight or volume, or ordinary wear and tear of the subject-matter insured
3. การบรรจุหีบห่อ หรือการจัดเตรียมที่ไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะสมในวัตถุแห่งการประกันภัย...Insufficiency or unsuit-ability of packing or preparation of the subject-matter insured
4. ข้อเสียในตัวเองหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย...Inherent vice or nature of the subject-matter insured
5. การล่าช้า แม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม...Delay, even though the delay be caused by a risk insured against
6. การล้มละลาย หรือ การไม่สามารถใช้หนี้สิน ไม่ว่าของเจ้าของเรือ, ผู้เช่าเหมาเรือ หรือผู้ดำเนินการเดินเรือ หรือตัวแทนของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่กล่าวมา...Insolvency or financial default of the owners, managers, charterers, or operators of the vessel
7. การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัว หรือ การหลอมตัวของปรมาณู หรือ ผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี...The use of any weapon of war employing atomic or nuclear fission and/or fusion or other like reaction or radioactive force or matter
8. เรือ หรือ ยาน ไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเล หรือ เรือ ยาน ยวดยาน ตู้ลำเลียง หรือ ตู้ยก ที่จะใช้ในการบรรทุกสินค้า ไม่พร้อมสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอ โดยที่ผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย...Unseaworthtness & Unfitness Exclusion Clause
9. การทำความเสียหายโดยเจตนา หรือการทำลายโดยเจตนาต่อวัตถุแห่งการประกันภัย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดในวัตถุแห่งการประกันภัย โดยการกระทำที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะโดยบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือหลายบุคคลก็ตาม...Deliberate damage to or deliberate destruction of the subject-matter insured or any part thereof by the wrongful act of any person or persons
10. ข้อยกเว้นภัยสงคราม...War Exclusion Clause
10.1 สงคราม สงครามกลางเมือง การปฏิวัติ กบฏแข็งข้อ หรือ การต่อสู้ของประชาชนที่เกิดจากการดังกล่าว หรือการกระทำเป็นปฏิปักษ์ ซึ่งกระทำต่อ หรือถูกกระทำโดยชาติอำนาจที่เป็นศัตรู
10.2 การถูกจับกุม ถูกยึด ถูกกุม กักกัน หรือหน่วงเหนี่ยว (ยกเว้น การกระทำการเป็นโจรสลัด) และผลใดๆ ของการนั้นๆ หรือ ความพยายามใดๆ ที่จะกระทำการดังกล่าว
10.3 การถูกทิ้งทุ่นระเบิด ตอร์ปิโด ระเบิด หรืออาวุธสงครามอื่นใด
11. ข้อยกเว้นภัยนัดหยุดงาน...Strikes Exclusion Clause
11.1 คนงานที่นัดหยุดงาน, คนงานที่ถูกปิดงาน, หรือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการก่อความไม่สงบทางแรงงาน
11.2 การจลาจล หรือการก่อความวุ่นวายโดยฝูงชน อันเป็นผลจากการนัดหยุดงาน การปิดงาน ความไม่สงบทางแรงงาน
11.3 การก่อความวุ่นวายโดยฝูงชน อันเกิดจากการก่อการร้าย หรือการกระทำไม่ว่าจะของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ID=221,MSG=992
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (C)
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (C)
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (C)
Institute Cargo Clauses (C) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก I.C.C. (A) เช่นเดียวกับ I.C.C (B) คือ
ระบุ ภัยที่คุ้มครอง และสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน ความสูญเสียหรือเสียหาย อันสืบเนื่องจากหรือมีสาเหตุจากภัย ที่ไม่ได้ระบุไว้จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
แต่ I.C.C. (C) ให้ความคุ้มครองที่แคบกว่า I.C.C. (B)
ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (C)
แม้ว่าเงื่อนไขความคุ้มครองตาม Institute Cargo Clauses (C) จะระบุภัยที่ให้ความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม แต่ก็ได้กำหนดและระบุ สาเหตุ หรือ ลักษณะความเสียหายบางอย่างที่จะถูกยกเว้นไม่ให้ความคุ้มครองไว้เป็นข้อกำหนด อย่างชัดเจนภายใต้ General Exclusions Clause ดังนี้
In no case shall this insurance cover Loss damage or expense attributable to/caused by
ไม่ว่ากรณีใดก็ตามการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญเสีย เสียหาย หรือค่าใช้จ่าย อ้นเนื่องจาก/ที่เกิดจาก
1. การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย...Wilful misconduct of the Assured
2. การรั่วไหลไปตามปกติ การขาดหายตามปกติของปริมาณ หรือน้ำหนัก หรือการสึกหรอและสึกกร่อนตามปกติ...Ordinary leakage, ordinary loss in weight or volume, or ordinary wear and tear of the subject-matter insured
3.การบรรจุหีบห่อ หรือการจัดเตรียมที่ไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะสมในวัตถุแห่งการประกันภัย... Insufficiency or unsuit-ability of packing or preparation of the subject-matter insured
4. ข้อเสียในตัวเองหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย...Inherent vice or nature of the subject-matter insured
5. การล่าช้า แม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม...Delay, even though the delay be caused by a risk insured against
6. การล้มละลาย หรือ การไม่สามารถใช้หนี้สิน ไม่ว่าของเจ้าของเรือ, ผู้เช่าเหมาเรือ หรือผู้ดำเนินการเดินเรือ หรือตัวแทนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่กล่าวมา...Insolvency or financial default of the owners, managers, charterers, or operators of the vessel
7. การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัว หรือ การหลอมตัวของปรมาณู หรือผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี... The use of any weapon of war employing atomic or nuclear fission and/or fusion or other like reaction or radioactive force or matter
8. เรือ หรือ ยาน ไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเล หรือ เรือ ยาน ยวดยาน ตู้ลำเลียง หรือ ตู้ยก ที่จะใช้ในการบรรทุกสินค้า ไม่พร้อมสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอโดยที่ผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย...Unseaworthtness & Unfitness Exclusion Clause
9. การทำความเสียหายโดยเจตนา หรือการทำลายโดยเจตนาต่อวัตถุแห่งการประกันภัย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดในวัตถุแห่งการประกันภัย โดยการกระทำที่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะโดยบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือหายบุคคลก็ตาม...Deliberate damage to or deliberate destruction of the subject-matter insured or any part thereof by the wrongful act of any person or persons
10. ข้อยกเว้นภัยสงคราม...War Exclusion Clause
10.1 สงคราม สงครามกลางเมือง การปฏิวัติ กบฏแข็งข้อ หรือ การต่อสู้ของประชาชนที่เกิดจากการดังกล่าว หรือการกระทำเป็นปฏิปักษ์ ซึ่งกระทำต่อ หรือถูกกระทำโดยชาติอำนาจที่เป็นศัตรู
10.2 การถูกจับกุม ถูกยึด ถูกกุม กักกัน หรือหน่วงเหนี่ยว (ยกเว้นการกระทำการเป็นโจรสลัด) และผลใดๆ ของการนั้นๆ หรือ ความพยายามใดๆ ที่จะกระทำการดังกล่าว
10.3 การถูกทิ้งทุ่นระเบิด ตอร์ปิโด ระเบิด หรืออาวุธสงครามอื่นใด
11. ข้อยกเว้นภัยนัดหยุดงาน... Strikes Exclusion Clause
11.1 คนงานที่นัดหยุดงาน, คนงานที่ถูกปิดงาน, หรือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการก่อความไม่สงบทางแรงงาน
11.2 การจลาจล หรือการก่อความวุ่นวายโดยฝูงชน อันเป็นผลจากการนัดหยุดงาน การปิดงาน ความไม่สงบทางแรงงาน
11.3 การก่อความวุ่นวายโดยฝูงชน อันเกิดจากการก่อการร้าย หรือการกระทำไม่ว่าจะของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ID=221,MSG=993
การขอเอาประกันภัย การประภัยทางทะเลและขนส่ง
การขอเอาประกันภัย การประภัยทางทะเลและขนส่ง
การขอเอาประกันภัย การประภัยทางทะเลและขนส่ง
สำหรับการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น มีแนวทางในการขอเอาประกันภัย ดังนี้
1. ควรเลือกเงื่อนไขความคุ้มครองให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้า กล่าวคือ สินค้าโดยทั่วๆ ไปที่มีการบรรจุหีบห่อ เงื่อนไขความคุ้มครองมักใช้เงื่อนไขแบบมาตรฐานที่เรียกว่า Institute Cargo Clauses ซึ่งมีให้เลือก 3 เงื่อนไขด้วยกัน คือ
เงื่อนไข “A” สำหรับการคุ้มครองที่กว้างที่สุด
เงื่อนไข “B” สำหรับการคุ้มครองอุบัติเหตุที่ร้ายแรง เช่นรถคว่ำ เรือชนกัน เกยตื้น ไฟไหม้ และรวมถึงความเสียหายจากการเปียกน้ำด้วย
เงื่อนไข “C” คุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุที่ร้ายแรงเท่านั้น
อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าบางประเภทการเลือกใช้เงื่อนไข Institute Cargo Clauses แบบหนึ่งแบบใดอาจจะไม่เหมาะสม ควรเลือกเงื่อนไขความคุ้มครองที่ร่างขึ้นสำหรับสินค้านั้นๆ โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่าเงื่อนไขพิเศษ (Trade Clauses) เช่น
Bulk Oil Clauses สำหรับคุ้มครองน้ำมันที่บรรทุกในเรือบรรทุกน้ำมัน
Institute Frozen Foods Clauses สำหรับสินค้าที่แช่แข็ง
Institute Frozen Meat Clauses สำหรับสินค้าที่เป็นเนื้อแช่แข็ง
Institute Coal Clauses สำหรับคุ้มครองถ่านหิน
2. ควรระบุให้กรมธรรม์มีผลคุ้มครองตลอดเส้นทางของการขนส่ง เช่น คลังสินค้าของผู้ซื้อสินค้าสมมติว่าตั้งอยู่ในเชียงใหม่ สินค้านำเข้ามาจากฮ่องกงซึ่งเรือสินค้าจะต้องเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพฯ ก่อนขนส่งต่อภายในประเทศไปยังจังหวัดเชียงใหม่ จึงควรระบุในกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง เริ่มจากฮ่องกงผ่านกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ (From Hongkong via Bangkok to Chiengmai)
3.ควรพิจารณาดูว่าสัญญาซื้อขายเป็นเงื่อนไขแบบใด ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายแบบ C.I.F. ในกรณีที่เป็นสินค้าส่งออกจะต้องตรวจดูเงื่อนไขของ L/C ที่ ผู้ซื้อสินค้าระบุมาว่าให้ใช้เงื่อนไขความคุ้มครองแบบใด ถ้าผู้ซื้อระบุการคุ้มครองที่กว้างกว่าประเพณีนิยมของการซื้อขายชนิดนั้น ผู้ซื้อมีหน้าที่รับภาระค่าเบี้ยประกันภัยส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปกติ
4. ควรพิจารณาทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยภายในประเทศ โดย เฉพาะกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าเพราะนอกจากจะเป็นการสงวน เงินตราไว้ภายในประเทศ ได้ส่วนหนึ่งแล้วในกรณีที่สินค้าได้รับความเสียหายหรือสูญหาย ขั้นตอนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัยในประเทศ จะสะดวกรวดเร็วกว่าการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยซึ่งตั้ง อยู่ต่างประเทศ
5. ควรมีข้อมูลและรายละเอียดสำหรับทำประกันภัย ดังนี้
ชื่อผู้เอาประกันภัย
ชื่อและประเภทของสินค้าที่เอาประกันภัย
จำนวนเงินเอาประกันภัย
เส้นทางการขนส่ง ควรระบุเมืองต้นทาง และเมืองปลายทางให้ชัดเจนในกรณีที่มีการถ่ายลำจะต้องระบุเมืองท่าที่มีการถ่ายลำด้วย
เงื่อนไขความคุ้มครองที่ต้องการ ภายหลังจากที่สินค้าขึ้นเรือเรียบร้อย จะต้องแจ้งข้อมูลให้บริษัททราบเพื่อออกกรมธรรม์ ดังนี้
ชื่อเรือหรือยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้า ชื่อเรือที่มีการถ่ายลำ (ถ้ามี)
วันที่เรือออกเดินทาง
ชื่อเมืองท่าต้นทางและปลายทาง
จำนวนหีบห่อและเครื่องหมายบนหีบห่อ
เอกสารที่ใช้ประกอบในการขอเอาประกันภัย
1. Letter of Credit
2. ใบกำกับสินค้า (Commercial Imvoice)
3. ใบตราส่ง (Bill of Lading)
ข้อแนะนำในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ใน กรณีที่เกิดความสูญเสีย และ/หรือความเสียหายที่อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยว ข้องได้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกัน ภัย และ/หรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัย พึงจะต้องปฏิบัติดังนี้
1. สำรวจสภาพสินค้าในทันทีทุกครั้งก่อนรับมอบสินค้า
2. ถ้าพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย ให้ผู้ขนส่ง/ผู้รับฝากสินค้า ออกหลักฐานระบุความเสียหายหรือทำเป็นหมายเหตุลงในใบรับสินค้า
3. กรณีขนส่งด้วยตู้ลำเลียง (Container) ต้องตรวจว่า ตู้ลำเลียง และ Seal มีสภาพเรียบร้อยถูกต้อง ถ้าตู้ลำเลียงหรือ Seal เสียหาย/สูญหาย หรือเป็น Seal อื่นต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นหลักฐาน
4. ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทันที
5. กรณีไม่พบความเสียหายขณะรับมอบ แต่พบในภายหลังต้องทำหนังสือแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน 3 วัน นับจากวันรับมอบสินค้า
6. ในทุกกรณีเมื่อพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย รีบแจ้งให้ผู้ประกันภัยทราบในทันที
นอก จากนี้ การจัดเตรียม และส่งมอบหลักฐาน และเอกสารประกอบในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ครบถ้วนจะช่วยให้ การพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสามารถดำเนินการไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว
หลักฐานในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
1. หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน Claim Bill
2. ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง Original Marine Insurance Policy
3. ใบกำกับสินค้าและใบแสดงการบรรจุหีบห่อ Invoice & Packing List
4. ใบตราส่งสินค้า Bill of Lading
5. หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น Survey Report, Wharf Survey Note, Shortlanded Cargo List
6. หลักฐานหรือเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น Charter Party, Sale Contract, Stowage Plan
7. สำเนาหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายถึงผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมหนังสือ ตอบจากผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
1. Loss of or damage to the subject-matter insured reasonably attributable to...การใช้คำ reasonably attributable to...เท่า กับว่า ผู้รับประกันภัยชดใช้ในความสูญเสียหรือเสียหาย ซึ่งมีผลสือเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็นตัว การที่ทำให้เกิดความเสียหายภัยที่คุ้มครอง ได้แก่
1.1 อัคคีภัย หรือ การระเบิด...Fire or explosion
1.2 เรือ หรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้น เกยพื้น จม หรือพลิกคว่ำ...Vessel or craft stranded grounded sunk or capsized
1.3 การคว่ำ หรือตกรางของยานพาหนะทางบก...Overturning or derailment of land conveyance
1.4 การชนหรือการโดนกันของเรือ ยวดยาน หรือยานพาหนะ กับวัตถุภายนอกใดๆ ก็ตาม นอกเหนือจากกับน้ำ...Collision or contact of vessel craft or conveyance with any external object other than water 1.5 การขนถ่ายสินค้าลงที่ท่าใช้หลบลี้ภัย...Discharge of cargo at a port of distress
2. Loss of or damage to the subject-matter insured caused by...การใช้คำ caused by... หมายความว่า ความสูญเสียหรือเสียหายจะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ ได้แก่
2.1 การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม...General Average Sacrifice
2.2 การถูกทิ้งทะเล...Jettison
นอกจากนี้ ความสูญเสียหรือความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากกรณี General Average และ/หรือ Boths to Blame Collision ก็ได้รับความคุ้มครองด้วย กล่าวคือ
1. The Institute Cargo Clauses ‘A’
2. The Institute Cargo Clauses ‘B’
3. The Institute Cargo Clauses ‘C’
ID=221,MSG=994
ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ การประภัยทางทะเลและขนส่ง
ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ การประภัยทางทะเลและขนส่ง
ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ การประภัยทางทะเลและขนส่ง
1. ภัยทางทะเล (Peril of the sea) เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน และเรือเกยตื้น
2. อัคคีภัย (Fire) ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้ แต่ต้องไม่เกิดจากความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเอง หรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของสินค้าอันเนื่องมาจากธรรมชาติ
3. การทิ้งทะเล(Jettisons) หมายถึง การเอาของทิ้งทะเลเพื่อให้เรือเบาลง
4. โจรกรรม (Thieves) หมายถึง การโจรกรรมอย่างรุนแรงโดยการใช้กำลังเพื่อช่วงชิงทรัพย์
5. การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ(Barratry) หมายถึง การกระทำโดยมิชอบของคนเรือโดยเจตนากลั่นแกล้งทุจริต ตั้งแต่นายเรือจนกระทั่งถึงลูกเรือในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพย์สินและการกระทำนั้นต้องปราศจากการรู้เห็นเป็นใจ ของเจ้าของทรัพย์
การเลือกซื้อความคุ้มครอง
จะมี 3 แบบให้เลือกโดยแต่ละแบบจะให้ความคุ้มครองไม่เท่ากัน
1. F.P.A. (Free from Particular Average) แปลว่า การประกันตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองแคบที่สุด
กล่าวคือ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้าเสียหายโดยสิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น ถ้าสินค้านั้นได้รับความเสียหายแต่เพียงบางส่วน (Partial Loss) จะไม่ได้รับการชดใช้
2. W.A. (With Average) แปลว่า การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความเสียหายบางส่วนนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 3% ของข้อมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
3. All Risks เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด คือ ให้ความคุ้มครองทั้งความเสียหายบางส่วน และสิ้นเชิงโดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย
ID=221,MSG=995
ติดต่อเรา
สนใจ
Chat
Line OA
Question
Email
ON Line
😃 ซื้อผ่านเรา .. เราดูแลคุณ |
เมูนูลัด
⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)
ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ
กดดูที่ลิงค์นี้
"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"
โปรดรอ
display:inline-block; position:relative;
FB
Chat
LineOA
Question
Email
ON Line
Search
เช็คเบี้ยรถ
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Wednesday เวลา 03:28:49pm
ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.
นโยบาย,ข้อตกลง
×
Cymiz.com Insurance Consult Broker
กดถูกใจ ติดตามได้ที่เพจ FACEBOOK ของเรา
cymiz.com insurance