คปภ. สั่งลงโทษ 35 บริษัทประกัน ทำผิดกฎหมาย

คปภ. สั่งลงโทษ 35 บริษัทประกัน ทำผิดกฎหมาย

คปภ. สั่งลงโทษ 35 บริษัทประกัน ทำผิดกฎหมาย (ปี 2010)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เดินหน้านโยบายประกันภัยเข้มแข็งเต็มพิกัด เพื่อจัดระเบียบบริษัทประกันภัย ซึ่งมักจะกระทำความผิดซ้ำซาก อันเป็นเหตุให้ธุรกิจประกันภัยขาดวินัยไม่เข้มแข็ง และเพื่อรองรับการเปิดตลาดประกันภัยเสรี ซึ่งไทยต้องให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาแข่งขันตามข้อตกลงของ แกทท์ (GATT) โดย คปภ. ได้ออกระเบียบ คำสั่ง และใช้กฎเหล็กระดับเข้มข้น สั่งลงโทษบริษัทประกันภัย ที่ทำผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนคำสั่ง คปภ. อย่างเคร่งครัด

ในเดือนพฤศจิกายน 2554 เพียงเดือนเดียว คปภ. สั่งลงโทษปรับบริษัทประกันภัยกว่าครึ่งหนึ่งของประกันภัยทั้งหมด (ยังไม่รวมบริษัทประกันชีวิต) ซึ่งนับว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในวงการประกันภัยไทย บางบริษัทถูกลงโทษหลายกระทง บางบริษัทถูกฟ้องศาลด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ในเวบไซท์ คปภ. www.oic.or.th จึงขอนำมาเผยแพร่ และอยากให้ทุกท่านได้ตรวจสอบว่าบริษัทที่ท่านทำประกันอยู่ แต่ละบริษัทมีพฤติกรรมอย่างไร มีความมั่นคงแค่ไหน ก่อนจะตัดสินใจซื้อประภัยใหม่กับบริษัทใดต่อไป

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ฉบับที่ 14/2554 และ ฉบับที่ 15/2554 วันที่ 29 พฤศจิกายน พศ. 2554 กรณีบริษัทประกันวินาศภัย กระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และคณะกรรมการได้สั่งลงโทษเปรียบเทียบปรับ จำนวน 35 บริษัท
1. บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย กรณีไม่ชาระค่าปรับตามสัญญาประกันภัยอิสรภาพต่อศาลแขวงนครปฐม ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 125,000 บาท
2. บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ 1) จัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท และเงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 23 ณ วันที่ 6 ตุลาคม พศ. 2552 ถึง ณ วันที่ 31 มกราคม พศ. 2553 และเดือนมีนาคม พศ. 2553 ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 590,000 บาท 2) ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท 3) ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย กรณีไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 250,000 บาท
3. บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ 1) จัดสรรสินทรัพย์หนุนหลัง ตามมาตรา 27/4 ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พศ. 2553 ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท 2) ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท
4. บริษัท ชาร์ทิส ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ 1) กระทำการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทตามมาตรา 37 (2) สาหรับรายการเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท 2) ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท
5. บริษัท ฟินิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ 1) ไม่ลงรายการรับชาระเงินจากลูกหนี้ในสมุดบัญชีของบริษัทภายในระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่มีเหตุอันจะต้องลงรายการนั้น คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 18,650 บาท 2) ฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 51 โดยจัดส่งเอกสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ครบถ้วน คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ จำนวน 10,000 บาท 3) ไม่จัดส่งรายงานการประเมินระบบการควบคุมภายในและระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทสาหรับปี พศ. 2552 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 187,500 บาท 4) ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท
6. บริษัท คูเนียประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ 1) ไม่ลงรายการค่าสินไหมทดแทนในสมุดทะเบียนของบริษัทภายในระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่มีเหตุอันจะต้องลงรายการนั้น คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 30,650 บาท 2) ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท
7. บริษัท กรุงเทพประกันสุขภาพ จำกัด ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ 1) ไม่จัดส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชี ได้สอบทานแล้ว ของไตรมาสที่ 3 ปี พศ. 2553 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 16,650 บาท 2) ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท
8. บริษัท บริรักษ์ประกันภัย จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เอเพ็กซ์ประกันสุขภาพ จำกัด) ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ 1) ไม่จัดส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชี ได้สอบทานแล้ว ของไตรมาสที่ 3 ปี พศ. 2553 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 16,650 บาท 2) ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท
9. บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ แตกต่างไปจากแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 75,000 บาท
10. บริษัท ไทยไพบูลย์ประกันภัย จำกัด ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ ออกกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด โดยใช้แบบและข้อความที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 75,000 บาท 1
1. บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ 1) ไม่จัดส่งรายงานการประเมินระบบการควบคุมภายในและระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทสาหรับปี พศ. 2552 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 187,500 บาท 2) ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย กรณีไม่ชำระค่าปรับตามสัญญาประกันภัยอิสรภาพต่อศาลจังหวัดปทุมธานี ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท 1
2. บริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ ไม่จัดส่งรายงานการประเมินระบบการควบคุมภายในและระเบียบวิธีปฏิบัติการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทสาหรับปี พศ. 2552 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 125,000 บาท 1
3. บริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จำกัด ลักษณะการกระทำความผิด ได้แก่ ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เป็นเงิน 187,500 บาท นอกจากนี้ยังมีการสั่งลงโทษเปรียบเทียบปรับในความผิดอื่นๆ ที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด คือ ลักษณะการกระทำความผิด ไม่จัดส่งนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี (ปี 2553-2555) ของทิศทางการขยายงานอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ แต่ละบริษัท เป็นเงิน 125,000 บาท ได้แก่
1. บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท แอลเอ็มจีประกันภัย จำกัด
3. บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท เจนเนอราลี่ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
5. บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด
6. บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
7. บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด
8. บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด
9. บริษัท เอ็ม เอส ไอ จีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
10. บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด 1
1. บริษัท ชับบ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 1
2. บริษัท เอช ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันซ์ จำกัด 1
3. บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) 1
4. บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) 1
5. บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด สาขาประเทศไทย 1
6. บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด 1
7. บริษัท ฟินิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ลักษณะการกระทำความผิด ไม่จัดส่งรายงานแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประจำเดือนพฤศจิกายน พศ. 2553 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ แต่ละบริษัท เป็นเงิน 16,650 บาทได้แก่
1. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
3. บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
4. บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด
5. บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด


ID=1872,MSG=2071
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 10:48:05am... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com