ประกันภัยซาเล้ง คุ้มครองผู้ประสบภัยรถซาเล้ง

ประกันภัยซาเล้ง คุ้มครองผู้ประสบภัยรถซาเล้ง

1 ม.ค. 2553 รถซาเล้ง ทุกคันจะต้องทำ พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง ตาม พรบ.ในลักษณะเดียวกันกับรถจักรยานยนต์ โดยเจ้าของรถจะต้องเสียค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 365 บาท

http://i278.photobucket.com/albums/kk85/popoipoi/Original/zaleng.png

คุณสิทธิชัย เป็นหนึ่งในคนขับรถซาเล้งจำนวนมากใน กรุงเทพมหานคร ที่มีรายได้หลักมาจากการไปรับซื้อเศษขวดเศษกระดาษตามบ้านมาขายให้กับโรงรับซื้อ วันละ 4-5 เที่ยว ได้กำไรตกเฉลี่ยวันละประมาณ 300 บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว และนอกจากค่ากินอยู่แล้ว ก็ยังมีเช่าบ้าน ค่าน้ำมันที่ต้องจ่ายอย่างต่ำวันละ 80 บาท ทำให้เงินที่ได้มาแทบจะไม่พอใช้ แต่โชคดีที่รถซาเล้งคันนี้เป็นของคุณสิทธิชัยเอง เพราะหากเป็นรถที่เช่ามา ก็จะต้องเสียค่าเช่าให้กับเจ้าของอีกวันละ 50 บาท อย่างไรก็ตามแม้การทำประกันภัยจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับบรรดาเจ้าของรถซาเล้ง แต่ด้วยเม็ดเงินเพียงวันละ 1 บาท หรือปีละ 365 บาท ก็ไม่ถือว่ากระทบกระเทือนความเป็นอยู่ของพวกเขามากนัก เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่ต้องเสียเงินในจำนวนที่มากกว่านี้เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น"ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นวันละ 1 บาท สำหรับการทำประกันภัยของรถซาเล้งนั้น ทุกวันนี้อาจไม่ใช่ภาระที่หนักเกินไปนัก เพราะจากการสอบถามเจ้าของรถซาเล้งหลายรายต่างบอกตรงกันว่า เงิน 365 บาทที่ต้องจ่ายในแต่ละปีนั้นคุ้มค่า เมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่จะได้รับ"

http://www.thaimtb.com/webboard/133/66825-2.jpg

ดึงเข้าหมวด จยย.คิดค่าเบี้ยววันละ 1 บาท ชาวบ้านเฮเกิดอุบัติเหตุจ่ายภายใน 7 วัน
 
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประ กันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า
คปภ.ได้ร่วมลงนามกับสมาคมประกันวินาศภัย เกี่ยวกับการบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ระเบียบต่าง ๆ ให้ทันสมัยและครอบคลุมมากขึ้น โดยกำหนดให้นำรถซาเล้งเข้ามารวมอยู่ในหมวดของรถจักรยานยนต์ โดยคิดค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 365 บาท หรือวันละ 1 บาทเท่านั้น เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ เช่นกัน ซึ่งจะเริ่ม  ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 เป็นต้นไปเพื่อเป็นของขวัญในวันขึ้นปีใหม่ให้ประชาชน
 
นอกจากนี้ ได้
เพิ่มความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะจากเดิม 100,000 บาท เป็น 200,000 บาท
และหากต้องเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล ให้จ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
และขยายวงเงินค่ารักษาพยาบาลจาก 15,000 บาท เป็น 50,000 บาท เป็นต้น

ซึ่งที่ผ่านมา คปภ.ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมากกว่า 8 ครั้ง และลดเบี้ยประกันภัยภาคบังคับลงมาโดยตลอด
 
“ต่อจากนี้เมื่อประชาชนเกิดอุบัติเหตุ บริษัทประกันจะต้องจ่ายเงินทดแทนค่าสินไหมตาม กฎหมาย โดยจะต้องไม่มีข้ออ้างใด ๆ ทั้ง  สิ้น หลังจากนั้นค่อย    มาดำเนินการหักล้าง    ซึ่งบริษัทประกันจะชดเชยกรณีเกิดอุบัติเหตุภายใน 7  วัน และให้ลดขั้นตอนเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด จากเดิมที่เมื่อผู้ประสบภัยประสบอุบัติเหตุแล้วต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน ซึ่งเห็นว่าไม่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุเดือดร้อน พร้อมทั้งได้เร่งให้บริษัทประกันภัยต่าง ๆ ปรับปรุงประสิทธิภาพการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ประสบภัยและโรงพยาบาลเพื่อความรวดเร็ว ตลอดจนหาแนวทางลดระยะเวลาการจ่ายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งในส่วนของต่างจังหวัดนั้นยังล่าช้าอยู่มาก”
 
ขณะนี้สมาคมประกันวินาศภัยรับปาก คปภ. ว่า จะลดขั้นตอนและวิธีการ พร้อมปฏิบัติตาม  กฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ซึ่งยอมรับว่า ที่ผ่านมา  มีบางบริษัทประวิงการจ่ายค่าสินไหม จึงได้กำชับว่าหากไม่ปฏิบัติตามและประชาชนยังร้องเรียน  เข้ามาที่ 1186 คปภ.จะดึงเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาผ่านคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับและลงโทษ รวมทั้งประจานผ่านสื่อและเว็บไซต์ของ คปภ. อย่างน้อย 6 เดือน.

ข้อสังเกตุ ซาเล้ง จะมีแบบที่ถีบ กับ แบบมีเครื่อง


ID=1777,MSG=1964


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Wednesday เวลา 12:25:49pm เที่ยง ปิดทำการ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com