สกัดฟอกเงินผ่านประกัน กฎใหม่ปปง.บีบบริษัทเข้มลูกค้าทุกราย

สกัดฟอกเงินผ่านประกัน กฎใหม่ปปง.บีบบริษัทเข้มลูกค้าทุกราย

สกัดฟอกเงินผ่านประกัน กฎใหม่ปปง.บีบบริษัทเข้มลูกค้าทุกราย

การประกอบธุรกิจประกันภัยในยุคนี้ต้องเจอกับปัจจัยท้าทายใหม่ๆ อยู่เป็นระยะอย่างกฎหมายใหม่ๆ ที่ทางหน่วยงานกำกับดูแลคือ สำนักงานคณะกรรมการและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทยอยนำออกมาบังคับใช้ควบคุมธุรกิจยกระดับ สู่มาตรฐานสากล เพิ่มศักยภาพการแข่งขันรับมือการเปิดเสรีไม่ว่าจะเป็นกฎหมายความมั่นคงทางการเงินการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (RBC) หรือแม้แต่กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนการเงินแก่ก่อการร้ายของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่คลุมมาถึงธุรกิจประกันภัยด้วย

> ปปง.ออกกฎใหม่สกัดฟอกเงินสั่งบริษัทประกันทำนโยบายป้องกัน

“เนื่องจากบริษัทประกันภัยจัดเป็นสถาบันการเงินต้องทำตามกฎหมายนี้ ล่าสุด ปปง. เพิ่งออกกฎกระทรวงใหม่ว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จ จริงเกี่ยวกับลูกค้าที่เริ่มใช้ไปเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่ง บริษัทประกันภัยทุกแห่ง ต้องทำตามอย่างครบถ้วน หากใครไม่ทำตาม กรรมการบริษัทที่มีอำนาจ เกี่ยวข้องต้องได้รับโทษตามกฎหมาย กฎ กระทรวงฉบันนี้ออกมาล้อกับ พ.ร.บ.ต่อต้านฟอกเงินและสนับสนุนการก่อการร้ายฉบับใหม่ที่กำลังแก้ไขซึ่งออกมาบังคับ ใช้ก่อนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ปีหน้า “พุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต” ประธานคณะกรรมการ กฎหมายและกฎระเบียบ สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวกับ “สยามธุรกิจ”

กฎใหม่ของปปง.กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยทุกแห่งต้องประกาศใช้นโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนก่อ การร้ายที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้วและประกาศใช้คู่มือแนวปฏิบัติในการจัดให้ลูกค้าแสดงตน (KYC) และกระบวนการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (CDD)

> ตรวจสอบลูกค้าทุกรายยันประกันต่อทุน 7 แสนบาทขึ้นไปจัดกลุ่มเสี่ยง

นโยบายดังกล่าวมีอยู่ด้วยกัน 4 ส่วน 1.ต้องพิสูจน์ตัวตนลูกค้าทุกรายที่ทำประกันภัย ขณะเดียวกันต้องบริหารจัดการความเสี่ยง จัดกลุ่มความเสี่ยงสูง-ต่ำกำหนดทุนประกันภัยตั้งแต่ 700,000 บาทขึ้นไปต้องมีการจัดกลุ่มความเสี่ยงหากไม่ ใช่พฤติกรรมที่น่าสงสัยไม่ต้องรายงาน ปปง.แต่หากทุนประกันต่ำกว่า 700,000 บาทแต่มีเหตุอันน่าสงสัย เช่น ซื้อรถคันละ 600,000 บาท โดยใช้ชื่อเดียวกันมาทำ ประกันต้องรายงานปปง. เป็นต้น เพื่อความ เข้มข้นในการตรวจสอบจากเดิมกำหนดแค่การจ่ายค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปต้องรายงาน ปปง. 2.ต้องตรวจสอบฐานข้อมูลของ ปปง. ว่าลูกค้าในบัญชีของบริษัทมีชื่อควรต้องสงสัยเป็นผู้ฟอกเงินหรือให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายหรือไม่ 3.ให้ตัวแทนและ นายหน้ากระทำการเหมือนบริษัทประกันภัย คือต้องช่วยพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าก่อนรับประกันแทนบริษัทประกันภัยได้แจ้งไปยังสมาคมนายหน้าประกันภัยไทยแล้วและ 4.เป็นเรื่องของการประกันภัยต่อต้อง ตรวจสอบผู้รับประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ที่ทำธุรกรรมกับบริษัทว่ามีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือผู้ลงทุนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือ สนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้ายหรือไม่

> ประกันแบกต้นทุนเพิ่มชี้แนวโน้มฟอกเงินผ่านประกันน้อย

“ตอนนี้ไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ขาดการเอาจริงเอาจังในการออกกฎหมาย ต่อต้านฟอกเงินและการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายของโลกการออกกฎหมายใหม่มาทำให้ไทยหลุดออกจากบัญชีนี้เร็วขึ้นซึ่งประกันภัยเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้ไทยบรรลุเป้าหมายที่ว่าแม้ธุรกิจ ประกันภัยอาจจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้างแต่คุ้มค่า”

ต่อข้อถามถึงแนวโน้มการฟอกเงินผ่านธุรกิจประกันวินาศภัยรวมถึงการให้เงินสนับสนุนผู้ก่อการร้าย “พุทธิพงษ์” กล่าวว่า มีน้อยมากต้องมีทุนประกันที่ใหญ่ มากแล้วต้องมีธุรกรรมตั้งแต่เริ่มต้นทำประกันเป็นเหตุอันน่าสงสัย เช่น ซื้อรถซูเปอร์คาร์ 10 คันแล้วทำประกันพร้อมกัน เป็นต้น

นายกสมาคมประกันวินาศภัย “จีรพันธ์ อัศวะธนกุล” ให้ความเห็น “สยามธุรกิจ” เพิ่ม เติมว่า กฎหมายฟอกเงินทำให้บริษัทประ กันภัยต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพราะเวลารับประกันต้องตรวจสอบข้อมูลลูกค้าทุกรายและต้องรายงานข้อมูลกับปปง. ซึ่งการฟอกเงินผ่านธุรกิจประกันวินาศภัยแทบจะไม่มี แนวโน้มจะเกิดน้อยมากแต่ในฐานะ เป็นสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตาม

> ประกันชีวิตยอมรับต้องเข้มงวดรับประกันมากขึ้น

ส่วนประกันชีวิต แหล่งข่าวจากสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวกับ “สยามธุรกิจ” ว่า การดำเนินการของสมาคมไม่ต่างจากประกันวินาศภัยนักเพราะใช้แนวนโยบาย ตลอดจนตารางความเสี่ยงและแบบรายการแสดงตนเหมือนกัน โดยทาง สมาคมได้ทำหนังสือแจ้งให้ผู้บริหารระดับ กรรมการผู้จัดการบริษัทประกันชีวิตทุกแห่งทราบแล้วถึงนโยบายด้านการป้องกัน และการปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายที่ทุกบริษัทจะต้องมีตามกฎกระทรวงฉบับใหม่ที่ปปง.ออกมาบังคับใช้

“เกณฑ์ของปปง.เข้มงวดมากขึ้นของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือต้องตรวจสอบลูกค้าทุกรายที่มาซื้อประกันชีวิต โดยอาจจะต้องเสียเวลาในการตรวจสอบกับฐานข้อมูลที่ทางปปง.กำหนดเพื่อไม่ให้บริษัททำธุรกรรมกับลูกค้าที่สนับสนุนก่อการร้ายก็อาจจะมีผลในแง่ของการพิจารณา รับประกันในบางรายที่อาจต้องใช้เวลามากขึ้นเช่น 2-3 วัน ส่วนเกณฑ์เดิมยังคงใช้อยู่ เช่นการให้รายงานธุรกรรมหรือการซื้อประกันที่มีการชำระเบี้ยตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป”

แหล่งข่าวกล่าวว่า ธุรกิจประกันชีวิตไม่ได้มีผลกระทบมากนักจากเกณฑ์ใหม่ เพียงแต่ทำให้การพิจารณารับประกัน ต้องเข้มงวดมากขึ้น ใช้เวลามากขึ้นเท่านั้น แต่ปกติแล้วการพิจารณาอนุมัติกรมธรรม์ อย่างเร็วก็ใช้เวลา 1-2 วันอยู่แล้ว


ID=1773,MSG=1960
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 02:56:04pm... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com