เปิดโฉม‘Topten’จ่ายน้ำท่วม ประกันโวยกันเองเคลมไม่ได้

เปิดโฉม‘Topten’จ่ายน้ำท่วม ประกันโวยกันเองเคลมไม่ได้

ค่าสินไหมทดแทนก้อนใหญ่ 4.8 แสนล้านบาทที่อุตสาหกรรมประกันภัยต้องจ่ายจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา เป็นที่รู้กันว่าบริษัทประกันภัยญี่ปุ่นเจอไปหนักที่สุดในฐานะผู้รับประกันภัยโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งที่ถูกน้ำท่วมซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงาน อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเอง ซึ่งจากข้อมูลความเสียหายที่บริษัทประกันภัย แต่ละแห่งรวบรวมนำส่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ณ 30 พฤษภาคม 2555 เป็นตัวเลขที่นิ่งที่สุดแม้จะล่วงมากว่า 2 เดือนแต่จนถึงตอนนี้ข้อมูลไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

> เผยโฉม “ท็อปเทน” จ่ายน้ำท่วมบริษัทญี่ปุ่นรับเละ กว่า 3 แสนล้าน

บริษัทประกันภัยที่มียอดสินไหมน้ำท่วมสูงสุด 10 อันดับ (ท็อปเทน) ได้แก่
1.บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย ค่าสินไหม 1.59 แสนล้านบาท
2.บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประ กันภัย ค่าสินไหม 8 หมื่นล้านบาท
3.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ค่าสินไหม 4.3 หมื่นล้านบาท
4.บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีบริษัท นิปปอนโคอะจากญี่ปุ่นถือหุ้นอยู่ประมาณ 10% ค่าสินไหม 2.9 หมื่นล้านบาท
5.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ค่าสินไหม 2.58 หมื่นล้านบาท
6.บริษัท ไอโออิกรุงเทพประกันภัย จำกัด ค่าสินไหม 1.7 หมื่นล้านบาท
7.บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย จำกัด ค่าสินไหม 1.5 หมื่นล้านบาท
8.บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด ค่าสินไหม 1.1 หมื่นล้านบาท
9.บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ค่าสินไหม 9.7 พันล้านบาท
10.บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน) ค่าสินไหม 9.5 พันล้านบาท

หากรวมค่าสินไหมของทั้ง 10 บริษัทคิดเป็นสัดส่วน 83% ของค่าสินไหมทั้งหมด เฉพาะบริษัทประกันภัยของญี่ปุ่น 4 บริษัทมียอดสินไหมรวมกัน 65% ของทั้งหมดหรือ 3.12 แสนล้านบาท

> วินาศภัยโวยกันเองเคลมไม่ได้สมาคมหย่าศึกเปิดเวทีหาข้อยุติ

อย่างไรก็ดี เนื่องจากค่าสินไหมครั้งนี้วงเงินสูงมากการจ่ายเงินให้กับลูกค้า รายใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่เสียหายมากจึงมีปัญหาในเรื่องของความล่า ช้า ตามมา สาเหตุที่ล่าช้าเพราะบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศที่บริษัทประกันภัยไทยส่งประกันต่อไปให้ยังไม่จ่ายเงินมาให้

“ในเรื่องของการเรียกร้องสินไหมประกันภัยต่อในการประชุมคณะกรรมการ บริหารสมาคมเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่าน มามีการพูดคุยกันถึงเรื่องนี้เหมือนกันเพราะไม่ใช่แค่รอเงินจากประกันภัยต่อต่าง ประเทศเท่านั้นแต่ยังมีค่าสินไหมในส่วนที่บริษัทประกันภัยในบ้านเราส่งประกันภัยต่อไปให้บริษัทประกันภัยด้วยกันเองรับไว้ส่วนหนึ่งก่อนที่บริษัทนั้นจะประกันต่อไปอีกทีเป็นส่วนที่มีปัญหาเก็บเงินกันไม่ได้ วงเงินส่วนนี้ใกล้แสนล้านบาท สมาชิกที่เจอปัญหานำเรื่องนี้มาหารือจะเอาไปคุยกับคปภ. แต่สมาคมมองว่าเป็นเรื่องระหว่างบริษัทด้วยกันเองควรจะพูดคุยตกลง กันก่อนไม่ต้องนำไปคุยกับคปภ. โดยสมาคมจะทำหน้าที่เป็นคนกลางประสานให้” “จีรพันธ์ อัศวะธนกุล” นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวกับ “สยามธุรกิจ”

> สินไหมสะดุด! ประกันต่อชะลอกระทบสภาพคล่อง-เพิ่มทุนอีก

สำหรับความคืบหน้าการติดตามค่าสินไหมจากบริษัทซีซีอาร์ของฝรั่งเศสที่รับ ประกันต่อในไทยมากที่สุดประมาณ 30% นายกสมาคมประกันวินาศภัยกล่าวว่า ทางซีซีอาร์ส่งทีมเข้ามาประจำที่ประเทศไทยเพื่อประสานงานในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งทางสมาคมอนุญาตให้ใช้ที่ทำ การสมาคมเป็นสถานที่ทำงานได้ ส่วนบริษัท เอเชีย แคปปิตอล รีอินชัวรันส์ (เอซีอาร์) ของสิงคโปร์ที่รับงานในไทยมากเช่นกันยังไม่มีการติดต่อกลับมาหลังจากสมาคมทำหนังสือไปเร่งรัดให้จ่ายสินไหมส่วนหนึ่ง อาจจะพูดคุยโดยตรงกับบริษัทประกันที่ส่งงานกันอยู่

แหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งให้ข้อมูลกับ “สยามธุรกิจ” ว่า เนื่อง จากซีซีอาร์และเอซีอาร์รับประกันในไทยมากทำให้วงเงินสินไหมที่จะต้องจ่ายมีจำนวน มากแม้จะมีความคืบหน้าในการตกลงร่วม กันได้กับบริษัทไทยในการตรวจสอบความ ถูกต้องของค่าสินไหมที่เรียกร้องเข้าไปแต่การจ่ายยังล่าช้าอยู่มาก ส่งผลกระทบ ต่อการจ่ายสินไหมของบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ในไทยสะดุดไปด้วยทำให้ระบบสินไหมประกันต่อในตอนนี้หยุดชะงัก

“วงเงินที่เหลือน้อยลงกว่าเก่าก็จริง แต่ยังมากอยู่ส่วนนี้การจ่ายจะล่าช้ากว่าปกติพราะต้องมีการตรวจสอบเสียหายจริง มั๊ย เสียหายเท่าไหร่หลังจากจ่ายบางส่วน ไปแล้วส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัทประกันภัยจะสะดุดขณะที่ลูกค้าต้อง การเงินจะเห็นปัญหามากพอสมควร”

ถามว่าจะนำไปสู่การเพิ่มทุนครั้งใหญ่ อีกหรือไม่ แหล่งข่าวกล่าวว่า ยังไม่เกิดขึ้นตอนนี้ต้องรอดูสถานการณ์ระหว่างบริษัทประกันภัยกับรีอินชัวเรอส์ก่อน ถ้าบริษัทประกันสามารถเรียกเงินคืนจากรีอินชัวเรอส์ได้อาจจะไม่ต้องเพิ่มทุน แต่ถ้าเรียกเงินไม่ได้คาดว่าในไตรมาสแรกปีหน้าจะเห็นการเพิ่มทุนน่าจะเป็นรอบที่เพิ่ม ทุนมากกว่าครั้งอื่นๆ เพราะนอกจากให้เหมาะ กับความเสี่ยงแล้วคงจะมองถึงการขยายงานในอนาคตด้วย จะเพิ่มทุนมากทีเดียว สมมติสินไหม 4.8 แสนล้านบาท รีอินชัวเรอส์จ่ายมาแค่ 3 แสนล้านบาทอีก 1.8 แสนล้านบาทคือส่วนที่ต้องเพิ่มทุน”


ID=1765,MSG=1952


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Wednesday เวลา 12:40:29pm เที่ยง ปิดทำการ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com