ธุรกิจประกันภัยกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน,AEC

ธุรกิจประกันภัยกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน,AEC

ธุรกิจประกันภัยกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, AEC

http://twittereffect.files.wordpress.com/2012/04/aec4.jpg

ธุรกิจประกันภัยภายใต้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่ใกล้รุกคืบเข้ามาทุกขณะ ประกันภัยไทยจะอยู่รอดหรือไม่!!!

ภายหลังเปิดเสรีในปี 2558 "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์"เปิดใจ กี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทประกันภัยไทย ที่มีบริษัทต่างชาติถือหุ้นใหญ่ ว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไร กับการแข่งขันธุรกิจประกันภัยในอนาคต

กี่เดชมองว่า หากเรามองถึงธุรกิจประกันภัยในไทยขณะนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่พร้อมรับมือกับการเปิดเสรี AEC ประกอบด้วย บริษัทประกันภัยไทยที่มีขนาดใหญ่และมีธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทแม่ และบริษัทประกันภัยข้ามชาติ กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ไม่พร้อมแข่งขัน คือ กลุ่มบริษัทประกันที่มีขนาดกลางและเล็ก ซึ่งเป็นบริษัทประกันท้องถิ่น

"บริษัทประกันภัยไทยที่มีขนาดใหญ่มีไซส์ 20,000 ล้านบาท พร้อมสู้รบปรบมือกับต่างชาติอยู่แล้ว ด้วยขนาด ยกตัวอย่างเช่น กรุงเทพประกันภัย ซึ่งมีความพร้อมเต็มที่กับการเปิดเสรี AEC บริษัทประกันที่มีแบงก์เป็นบริษัทแม่ก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน ส่วนบริษัทประกันข้ามชาติ ก็พร้อมสู้เต็มที่"

ตอนนี้เราก็เริ่มเห็นบริษัทประกันภัยไทย ที่มีบริษัทแม่เป็นแบงก์ รุกต่างประเทศบ้างแล้ว อย่างเช่นกรุงเทพประกันภัย ที่เข้าไปรุกในลาว และไทยพาณิชย์ประกันภัย ก็เข้าไปรุกธุรกิจในกัมพูชา

ในส่วนของแอกซ่าประกันภัย เรามีความพร้อมรับมือ AEC เพราะเรามีเครือข่ายสาขาครอบคลุม และไม่แย่งลูกค้ากัน
มาถึงภาพของการปรับตัวของธุรกิจประกันในไทยกันบ้าง กี่เดช มองว่า ธุรกิจประกันไทยต้องสร้างทีมผู้บริหารที่มีความแข็งแกร่ง พร้อมสู้รบปรบมือกับประกันท้องถิ่น และบริษัทประกันข้ามชาติ ซึ่งในจุดนี้เชื่อว่าบริษัทประกันข้ามชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยมีความพร้อมรองรับการแข่งขันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี รวมทั้งกำลังเงิน

"ผมไม่แน่ใจว่าภายใน 3 ปีข้างหน้า บริษัทประกันภัยในไทยมีความพร้อมหรือเปล่า เพราะระยะเวลามันสั้นมาก บริษัทประกันขนาดใหญ่มีความพร้อมแล้ว แต่บริษัทเล็กต้องยอมรับว่ายังไม่มีความพร้อม ขณะที่บริษัทประกันที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 10 อันดับแรก มีการแขยายตัวเร็วมาก ใครที่มีขนาดใหญ่ก็ใหญ่ได้เรื่อยๆ"

ในมุมมองของ กี่เดช เขามองว่า ภาพรวมธุรกิจประกันหลังเปิดเสรี AEC คงไม่ต่างอะไรมากนักกับธุรกิจประกันในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะในที่สุดแล้วจะเหลือบริษัทประกันไม่กี่เจ้า ยกตัวอย่างเช่น ในยุโรป บริษัทประกันขนาดเล็กก็จะถูกกลืน ส่วนของไทยที่ขนะนี้มี 64 บริษัท เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วก็จะมีการล้มหายตายจากหรือควบกิจการ

"มีการคาดการณ์ว่าในที่สุดแล้วบริษัทประกันในไทยจะหายไปครึ่งหนึ่ง แต่ในมุมมองผมเรื่องนี้คาดการณ์ยาก เพราะบางแห่งก็อาจควบกิจการกับต่างชาติ ซึ่งตัวเขาก็ยังอยู่ ยกตัวอย่างเช่น การควบกิจการระหว่าง บริษัทเมืองไทยประกันภัย บริษัทภัทรประกันภัย บริษัทนวกิจประกันภัย และบริษัทสากลประกันภัย ซึ่งเป็นการรวมกับ 4 บริษัท เหลือเพียง 1 บริษัท เพื่อรับมือการแข่งขัน"

ส่วนบริษัทแอกซ่าประกันภัยจะปรับตัวอย่างไรนั้น กี่เกชให้ความเห็นว่า "จริงๆแล้วไม่มี AEC เราก็มีเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า ต้องติด 1 ใน 10 เพราะถือเป็นนโยบายของแอกซ่า ในทุกประเทศ ซึ่งทำสำเร็จแล้วในมาเลยเซีย จากอันดับ 11 ขึ้นเป็นอันดับ 6 ส่วนในอินโดนีเซีย ถือว่ายังมีขนาดเล็กว่าประเทศไทย"

"แอกซ่าประกันภัยในไทย ก็ยึดเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องติดอันดับ 1 ใน 10 ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งโตได้ด้วยตัวเอง หรือการเข้าซื้อกิจการ (เทคโอเวอร์) บริษัทประกันอื่น เพื่อเพิ่มขนาดกิจการ เพียงแต่ว่าเรายังมองหาจังหวะเวลา และโอกาสที่เหมาะสม"

กี่เดช กล่าวว่า แม้เรายังไม่ได้ซื้อกิจการ (เทคโอเวอร์) ใคร ตัวเราก็ตั้งเป้าขยาตัวแบบก้าวกระโดด เพื่อให้ได้เบี้ยประกันที่พอเหมาะกับขนาดธุรกิจ ซึ่งเรามองว่าบริษัทประกันภัยต้องมีเบี้ยประมาณ 3 พันล้านบาทขึ้นไปจึงจะอยู่ได้
"ณ เวลานี้ ผมพูดถึงไซส์ 3 พันล้านบาท แต่ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า อาจเป็น 5 พันล้านบาท เพราะเราได้ทุ่มงบประมาณในการขยายเครือข่ายสาขา เพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ไซส์ก็ต้องเพิ่ม เพื่อให้คุ้มกับต้นทุน"

ส่วนเป้าหมายของแอกซ่าประกันภัยหลังเปิด AEC ในปี 2558 กี่เดช มองว่า ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ต้องติดอันดับ 1 ใน 10 แต่ก็ต้องดูถึงการแข่งขันของตลาดด้วย เพราะต้องยอมรับว่า ปัจจุบันตลาดประกันภัยในไทยมีการแข่งขันด้านราคาสูงมาก

แล้วผู้บริโภคจะได้อะไรจากการเปิดเสรี AEC กี่เดช มองว่า ตอนนี้ผมว่าผู้บริโภคได้แล้ว เพราะมีการแข่งขันการให้บริการ และการแข่งขันด้านราคา แต่ผู้บริโภคต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน เพราะถ้าเจอบริษัทประกันภัยดีๆ ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าโชคร้ายก็ถือว่าไม่ดี ยกตัวอย่างเช่นหลายปีก่อน มีการแข่งขันราคาสูงมาก จนในที่สุดก็ต้องปิดกิจการไป อย่าง พาณิชย์ประกันภัย รัตนโกสินทร์ประกันภัย เพราะเขาแข่งเรื่องของราคา จนในที่สุดการเคลมประกันก็มีปัญหา สุดท้ายก็ตกที่ผู้บริโภค

มาถึงการปรับตัวของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกัน อย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในมุมมอง ของ กี่เดช เขามองว่า คปภ.มีการปรับตัวมาพอสมควร หลังจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ เริ่มตั้งสมัย จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ( คปภ.) คนแรก ที่มีการเขย่าธุรกิจประกัน ให้มีการปรับตัว เริ่มตั้งแต่การใช้กฎการกันสำรอง RBC ซึ่งทำให้บริษัทประกันเริ่มเข้าที่ มีเงินกองทุนเพียงพอในการทำธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อประกัน แต่ก็ถือว่าโชคร้ายที่เลื่อนออกไป แต่เชื่อว่าสิ้นปี 2555 น่าจะเริ่มได้

"สุขภาพบริษัทประกันดี ก็ดีกับผู้บริโภค ในอนาคต ถ้าบริษัทไหนล้มก็เชื่อว่าน่าจะล้มไม่แรง ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ดี ที่สำคัญหน่วยงานรัฐในแง่ของธรรมาภิบาลก็ถือว่าดีขึ้น"

http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2012/06/05/images/news_img_455061_1.jpg

เริ่มตื่นตัวกันแล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจประกันภัยที่เป็นบริษัทท้องถิ่น เตรียมตั้งรับเพราะไม่มีเครือข่ายพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นต่างประเทศ และที่ผ่านมายังมีปัญหาเคลมสินไหมน้ำท่วมหลายแสนล้านบาท ซึ่งยังเป็นปัญหาเคลียร์ไม่จบ

ขณะที่ธุรกิจประกันชีวิตแม้ดูเหมือนจะมีปัญหาน้อยกว่า เพราะผู้ประกอบการกว่าครึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาปักธงอยู่แล้ว เหลือผู้ประกอบการท้องถิ่นไม่ถึง 10 ราย แต่ปรากฎว่าเมื่อต้องเปิดเสรีอาเซียนขึ้นมาจริงๆในในปี 2558 หลายฝ่ายก็ไม่มั่นใจว่าแต่ละแห่งจะเตรียมความพร้อมรองรับกระแสการแข่งขันของกลุ่มทุนต่างชาติอื่นๆ ที่จะเข้ามาเจาะตลาดได้แค่ไหน

สำหรับความเคลื่อนไหวเพื่อรับมือการเปิดเสรีเออีซีนั้น มีอาทิ บริษัท กรุงเทพประกันภัย (BKI) และกรุงเทพประกันชีวิต(BLA)
ร่วมกับพันธมิตรที่เป็นบริษัทประกันภัยต่างชาติในการจัดตั้งบริษัทแคมโบเดียนไลฟ์ ในประเทศกัมพูชา
โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกัมพูชาถือหุ้นใหญ่ 51% ส่วนอีก 49% เป็นการร่วมลงขันโดยบริษัทประกันที่เป็นพันธมิตรกันใน 4ประเทศ คือ
BKI, BLA, บริษัทประกันภัยจากฮ่องกง และอินโดนีเซีย

เพื่อเป็นอีกหนึ่งกลไกช่วยสร้างหลักประกันให้แก่ผู้บริโภคในตลาดกัมพูชา หลังรัฐบาลกัมพูชาเพิ่งเปิดตลาดหุ้นไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาส่วนทางคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้แก้ไขหลักเกณฑ์สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทประกันภัยให้สามารถถือหุ้นเกินกว่า 25% โดยกำหนดว่าถ้าถือหุ้นไม่เกิน 49% จะต้องขออนุมัติบอร์ดคปภ. และถ้าถือหุ้นเกิน 49% ขึ้นไป ต้องขออนุมัติจาก รมว.คลัง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทประกันภัยให้สามารถรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้เต็มที่ภายในปี 2020

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. กล่าวยอมรับว่าขณะนี้ธุรกิจประกันไทยในภาพรวม ยังไม่มีความพร้อมในการรองรับเออีซี เพราะภาคประกันของไทยต้องสร้างตัวเองให้มีความเข้มแข็งก่อนที่จะไปแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งคงต้องมีการเตรียมพร้อมในเรื่องนี้กันอีกมาก และต้องเร่งปรับตัวให้ทันก่อนปี 2020 โดยนายประเวชแนะว่า บริษัทประกันต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ด้วย เพราะการประกันเป็นธุรกิจการเงินที่มีความซับซ้อน จึงถูกกำหนดให้มีระยะเวลาปรับตัวนานกว่าธุรกิจอื่นไปหนึ่งสเต็ป

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยประกันชีวิต ให้ความเห็นว่าสิ่งสำคัญ คือการปรับเปลี่ยนระบบของแต่ละบริษัทให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในธุรกิจ เพราะการเปิดเสรีประกันภัยนั้นพูดกันมานาน 20 ปีแล้ว กระทั่งขยับเข้ามาเป็นเออีซี ซึ่งแคบลงกว่าเดิม โดยในส่วนของไทยประกันชีวิตมีการปรับรูปแบบโครงสร้างการบริหารธุรกิจภายในให้รับกับกระแสการแข่งขันภายนอกที่แข่งขันรุนแรงมานานนับ 10 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาปรับเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา

นายประกิตติ บุณยเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารตัวแทนประกันชีวิต บริษัทเอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่าบริษัทแม่ที่ฮ่องกงยังไม่ได้ให้นโยบายเร่งด่วนสำหรับการวางแผนรองรับการเปิดเสรีเออีซี เพราะเอไอเอ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้ง15 ประเทศ ต่างมีขนาดธุรกิจค่อนข้างใหญ่ และประสบผลสำเร็จทางด้านยอดขายค่อนข้างดี ครอบคลุมฐานลูกค้ามากกว่าตลาดอาเซียนในปัจจุบัน โดยเฉพาะเอไอเอ ประเทศไทยมีฐานกรมธรรม์ลูกค้าทั้งประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลรวมกันแล้ว 7 ล้านฉบับ

นายธีระ ภู่ตระกูล นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่าในปี 2558 เมื่ออาเซียนกลายเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี มีการเปิดเสรีด้านการเงินการธนาคาร จะทำให้การแข่งขันด้านธุรกรรมและบริการวางแผนทางการเงินมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะสถาบันการเงินและบริษัทประกันชีวิตของประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนจะมีโอกาสเข้ามามีบทบาทและร่วมแข่งขันในประเทศไทยมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีสถาบันที่ให้บริการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นบริการเสริมเพื่อดึงดูดลูกค้าของสถาบันการเงินและธุรกิจประกันชีวิต โดยยังไม่ได้รวมถึงบริการของนักวางแผนการเงินอิสระอีกต่างหาก ดังนั้น ธุรกิจของไทยต้องวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไว้ล่วงหน้า

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทแอกซ่าประกันภัย ให้ความเห็นว่าถ้าเปิดเออีซีเต็มรูปแบบจริงบริษัทประกันภัยท้องถิ่นในประเทศจะเสียเปรียบบริษัทประกันภัยที่มีเครือข่ายข้ามชาติ ยกตัวอย่าง การประกันภัยรถข้ามแดนที่ปัจจุบันยังทำเฉพาะการประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. แต่ในอนาคตจะต้องเปิดประกันภาคสมัครใจด้วย


ID=1654,MSG=1840


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 09:28:21am ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com