การจ่ายภาษีของตัวแทนประกันชีวิตในประเทศไทยแพงกว่าประเทศอื่นๆ

การจ่ายภาษีของตัวแทนประกันชีวิตในประเทศไทยแพงกว่าประเทศอื่นๆ

การจ่ายภาษีของตัวแทนประกันชีวิตในประเทศไทยแพงกว่าประเทศอื่นๆ
นางสาวศิริภรณ์ พุทธรักษ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและ ที่ปรึกษาการเงินเปิดเผยภายหลังกลับจากการประชุมร่วมกับสมาคมตัว แทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีก 10 ประเทศ ที่เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ว่า จากการพูดคุยเรื่องภาษีเงินได้ของ ตัวแทนประกันชีวิตพบว่าโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเงินได้ของตัวแทนประกันชีวิตในประเทศไทยยังล้าสมัยกว่า ประเทศอื่นๆ อยู่มาก
ปัจจุบันรายได้ของตัวแทนประกัน ชีวิตไทยถูกจัดตามประมวลรัษฎากรให้อยู่ในหมวด 40(2) หมวดเดียวกับราย ได้จากค่าธรรมเนียม, ค่าเช่าบ้าน, เบี้ยประชุมรวมถึงรายได้เนื่องจากตำแหน่ง หน้าที่ โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่า กับคนกินเงินเดือนที่อยู่ในหมวด 40(1) คือหักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ไม่ว่าจะมีรายได้กี่แสนบาท หรือกี่ล้านบาทต่อปี

“การที่กรมสรรพากรกำหนดให้คนกินเงินเดือนในหมวด 40(1) และอาชีพต่างๆ ในหมวด 40(2) หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดเพียง 60,000 บาทนั้นเพราะค่าใช้จ่ายของการประกอบการงานของอาชีพคนเหล่านี้จะมีเพียงค่าเดินทางมาทำงาน, ค่าเครื่องแต่งกายและ ค่าอาหารเที่ยง นอกนั้นบริษัทออกให้ทั้งหมดไม่ว่าสถานที่ทำงาน เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานหรือค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารแต่สำหรับอาชีพตัวแทน ประกันชีวิตต้องใช้ของตัวเองทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือหรือชุดคอม พิวเตอร์สำหรับพิมพ์ข้อเสนอ”

ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจก็แปรผันตามรายได้ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่ากระเช้าของเยี่ยม ค่ารับรอง และค่าใช้จ่าย ในการอบรมสัมมนา ซึ่งโดยทั่วไปตัวแทนมืออาชีพจะตั้งงบประมาณสำหรับการพัฒนา ตนเองด้วยการไปอบรมสัมมนาปีละ 10% ของรายได้ หากต้องการขายลูกค้ารายใหญ่ขึ้นไปค่าใช้จ่ายแปรผันนี้ก็จะยิ่งสูง เป็นเงาตามตัว ดังนั้นหากกรมสรรพากรยังจะ กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายคงที่ได้ไม่เกิน 60,000 บาทดูจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

“เราไปคุยกับผู้แทนสมาคมตัวแทนประกันชีวิตชาติอื่นๆ แล้วตกใจที่สิงคโปร์และมาเลเซียเขาใช้โครงสร้างเหมือนกันคือถือว่าตัวแทนแต่ละคนจะเป็นเสมือนผู้ประกอบการ ดังนั้นจะให้สิทธิ์แต่ละบุคคล ประเมินค่าใช้จ่ายตนเองได้ตามสมควร แต่หากประเมินแล้วสูงผิดปกติมาก กรมสรรพากรของเขาก็มีสิทธิ์เรียกขอดูหลักฐานการใช้จ่ายของคุณได้ ค่าใช้จ่ายเขาอนุญาตให้นับรวมตั้งแต่ค่ารับรอง ค่าอบรม สัมมนา ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ ค่าน้ำมัน ค่าเบี้ยประกันรถ ค่าใช้จ่ายทุกประเภท ที่ใช้เพื่อดูแลลูกค้าเก่าและหาลูกค้าใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 40-60% ของรายได้ต่อปีไม่มีเพดานเพราะมันแปรผันตามรายได้”

ขณะที่ผู้แทนจากประเทศอินโดนีเซีย บอกว่ากฎหมายของเขากำหนดว่า รายได้ ที่เข้ามาทุกเดือนให้หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ทันที 50% ส่วนที่เหลือค่อยถือเป็นรายได้ สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้ จนกว่าจะมีรายได้เกินกว่า 4.8 พันล้านรูเปียอินโดนีเซีย (หรือประมาณ 16 ล้านบาท) รายได้ส่วนที่เกินนี้จะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกต่อไป ต้องนำไปคำนวณภาษีเต็มจำนวน

นางศิริภรณ์กล่าวว่า จากข้อมูลที่แสดงมาจะเห็นว่าปัจจุบัน โครงสร้างการจัดเก็บภาษีรายได้ของตัวแทนไทยยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ อยู่มาก ขณะที่อัตราที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศอื่นๆ ก็ต่ำกว่าไทยมาก เช่นกัน โดยอัตราภาษีสูงสุดของประเทศในภูมิภาคนี้จะตกที่ประมาณ 20-25% เท่านั้น ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยสูงสุดอยู่ที่ 37% เข้าใจว่ากรมสรรพากรทราบเรื่องนี้แล้วกำลังหาข้อมูลเพื่อปรับโครงสร้างการจัดเก็บอยู่

ส่วนประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม นางศิริภรณ์กล่าวว่า ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า
ทำไม ต้องให้ตัวแทนรับผิดชอบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เพียงผู้เดียวไม่สามารถผลักภาระให้บริษัทประกันชีวิตและผู้เอาประกันต่อไปได้
เพราะโดยหลักการของกฎหมาย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้บริโภคคนสุดท้ายต้อง เป็นผู้รับภาระภาษี แต่ในอดีตค่านายหน้าตัวแทนประกันชีวิตไม่ต้องเสียภาษีการค้าทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ พอมีภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาก็ควรให้บริษัทประกันในฐานะผู้ซื้อบริการจากตัวแทนเป็นผู้รับภาระภาษี แต่บริษัทประกันชีวิตไม่ยอมรับภาระภาษี โดยอ้างว่าค่านายหน้าที่จ่ายได้รวมภาษีอยู่ในนั้นแล้วและถ้าจะผลักภาระต่อไปให้ผู้เอาประกันโดยการเพิ่มเบี้ยประกันชีวิตก็ไม่ได้อีกเนื่องจากเบี้ยประกันเป็นสินค้าอ่อนไหว

เมื่อปีที่ผ่านมา สมาคมฯ เคยเข้าพบผู้บริหารกรมสรรพากรเสนอให้ย้ายรายได้ของตัวแทนประกันชีวิตไปอยู่หมวด 40( 8 ) ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจ โดยเสนอให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 30% เหมือนอาชีพอิสระอื่นๆ เช่น ทนายความ นักบัญชีเพราะลักษณะงานใกล้เคียงกัน ทางกรมสรรพากรให้สมาคมฯไปหาผลวิจัยที่เป็นทางการมายืนยันว่าตัวแทนควรมีค่าใช้จ่ายเท่าไร ไม่ใช่ยกตัวเลข 30% มาลอยๆ


ID=1626,MSG=1807


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 06:40:43am เปิดทำการ 9.00
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com