"พรูเด็นเชียล"ขึ้นเบอร์1ประกัน ตีโจทย์ "พรูเด็นเชียล" ฮุบ "เอไอเอ"

"พรูเด็นเชียล"ขึ้นเบอร์1ประกัน ตีโจทย์ "พรูเด็นเชียล" ฮุบ "เอไอเอ"

"พรูเด็นเชียล"ขึ้นเบอร์1ประกัน ตีโจทย์ "พรูเด็นเชียล" ฮุบ "เอไอเอ"

จับตา "พรูเด็นเชียล" ยักษ์ประกันอังกฤษทุ่ม 3.55 หมื่นล้านดอลลาร์ ซื้อ "เอไอเอ" ฮุบตลาด "จีน-เอเชียตะวันออกไกล" โอกาสทองหนุนพรูเด็นเชียลยกระดับธุรกิจ ทะยานจากอันดับ 11 ขึ้นหัวตาราง ชี้โจทย์หินต้องทำให้ 1+1 มากกว่า 2 พร้อมส่ง "รอน แวน ออยเย่น" มือโปรนั่งซีอีโอ AIA ในไทย วงการประกันวิเคราะห์ win-win ทั้งคู่สบช่องขยายสาขาหนุนโต เตือนระวังจุดเสี่ยงลูกค้าสับสนแบรนด์พรูเด็นเชียลในไทยแข็งแกร่งสู้เอไอเอไม่ได้ ระบุต้องเร่งสร้างความเข้าใจต่อลูกค้า

พรูเด็นเชียล ยักษ์ประกันอังกฤษทุ่ม 3.55 หมื่นล้านดอลลาร์ซื้อกิจการอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ) ของเอไอจี หวังชิงโอกาสในตลาดเอเชียที่เติบโตเร็วที่สุด พร้อมขึ้นแท่นเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างน้อย 7 แห่ง

ภายใต้ดีลครั้งนี้ พรูเด็นเชียลจะชำระการซื้อกิจการเป็นเงินสด 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วน 2 พันล้านดอลลาร์จะอยู่ในรูปหุ้นบุริมสิทธิ ขณะที่อีก 8.5 พันล้านดอลลาร์จะอยู่ในรูปของหุ้นและหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับหุ้น ดังนั้นจะทำให้เอไอจีเข้ามา ถือหุ้น 11% ในพรูเด็นเชียลด้วย ทั้งนี้

พรูเด็นเชียลจะระดมทุนผ่านการแตกหุ้นมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ พร้อมกับกู้เงินเพิ่มอีก 5 พันล้านดอลลาร์

นักวิเคราะห์มองว่าการซื้อกิจการครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณครั้งสำคัญของยักษ์ประกันอังกฤษที่ต้องการบุกตลาดจีนและเอเชียตะวันออกไกล ซึ่งปัจจุบันมีเอไอเอเป็นคู่แข่งรายสำคัญ ด้วยยอดลูกค้า 20 ล้านคน การเทกโอเวอร์ ซึ่งเป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดของวงการประกัน จะเพิ่มสัดส่วนผลกำไรธุรกิจใหม่ของพรูเด็นเชียลจากเอเชียเพิ่มจาก 47% เป็น 60%

ผนึกกำลังกินรวบตลาด

แหล่งข่าวจากวงการประกันชีวิต เปิดเผยว่า ความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะได้เห็นหลังจากนี้ไปของพรูเด็นเชียลและเอไอเอในประเทศไทย คือ สาขาเต็มรูปแบบที่พรูเด็นเชียลและเอไอเออาจจะเปิดในแบรนด์เดียวกัน เพราะที่ผ่านมาเอไอเอ ประเทศไทย เป็นบริษัทใหญ่ แต่ดำเนินธุรกิจในฐานะของสาขาของบริษัทแม่ที่ฮ่องกง จึงไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายสาขาในประเทศไทยได้ แม้จะมีเงินทุนมหาศาล ที่จะเปิดสาขาได้อีกจำนวนมาก ขณะที่พรูเด็นเชียลเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย สามารถขยายสาขาได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ขนาดธุรกิจที่ยังเล็กจึงเปิดได้เพียงไม่กี่สาขาเท่านั้น

"โมเดลการรวมธุรกิจพรูเด็นเชียลกับเอไอเอในประเทศไทยเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพราะขนาดธุรกิจแตกต่างกันมาก ต่างจากในหลาย ๆ ประเทศ เช่น เวียดนาม อินเดีย ที่พรูเด็นเชียลจะมีขนาดสูสีกับเอไอเอ การรวมกันในต่างประเทศจึงน่าจะมีโอกาสในการขยายธุรกิจได้มากขึ้น ขณะที่กรณีของประเทศไทย พรูเด็นเชียลต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าทั้ง 2 บริษัทให้เป็นอย่างดี มิฉะนั้นลูกค้าจะสับสนและขาดความเชื่อถือ เนื่องจากการรับรู้ของตลาดประกันชีวิตในไทยต่อแบรนด์พรูเด็นเชียลยังไม่แข็งแกร่งเท่าเอไอเอ? แหล่งข่าวกล่าว

ด้านนายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ซึ่งเป็นผู้บริหารตัวแทนของเอไอเอ ประเทศไทยเช่นกัน กล่าวว่า ดีลครั้งนี้จะทำให้ในกลุ่มพรูเด็นเชียลมีธุรกิจประกันชีวิตในไทยขึ้นเป็นอันดับ 1 แต่เชื่อว่าในด้านแบรนด์และฝ่ายขายของเอไอเอคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปหรือได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เพราะเป็นจุดแข็งที่เอไอเอมีมานานแล้ว และทำตลาดได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งกลุ่มพรูเด็นเชียลจะรักษาจุดแข็งนี้เอาไว้ ขณะที่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงอาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามความเหมาะสมที่กลุ่มพรูเด็นเชียลเห็นสมควร ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

ขณะที่นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ดีลดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติในทางธุรกิจ โดยทั้ง 2 บริษัทต่างมีธุรกิจประกันชีวิตอยู่ในประเทศไทยทั้งคู่ และโดยส่วนตัวเห็นว่าบริษัทใดจะเข้าหรือออกคงไม่กระทบต่อการแข่งขันไปจากนี้มากนัก เพราะปัจจุบันตลาดประกันชีวิตแข่งขันที่รุนแรงอยู่แล้ว

วงการจับตา

ที่ผ่านมา เอไอเอ ประเทศไทย ดำเนินธุรกิจมากว่า 70 ปี ปัจจุบันมีฐานลูกค้ากรมธรรม์กว่า 5 ล้านราย และ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2552 มีสินทรัพย์รวม 434,142 ล้านบาท เงินกองทุน 77,478 ล้านบาท สูงกว่าเกณฑ์ของกฎหมายถึง 1,209% มีกองทัพฝ่ายขายกว่า 70,000 คน และช่องทางผ่านแบงก์แอสชัวรันซ์ที่และช่องทางอื่น ๆ ที่เอไอเอได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2538 ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2552 มีสินทรัพย์ 6,569 ล้านบาท เงินกองทุน 533 ล้านบาท สูงกว่าเกณฑ์ 694% โดยมีช่องทางขายหลักผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้ง หรือพรูคอล เป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างเบี้ยกว่า 80%

เมื่อเทียบความใหญ่ด้านสินทรัพย์ถือว่าเทียบกันไม่ติดเพราะเอไอเอถือเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดประกันชีวิตไทยที่มีส่วนแบ่งการตลาด 33.30% โดยปี 2552 มีเบี้ยรับรวมถึง 86,311.8 ล้านบาท ทิ้งห่างอันดับ 2 คือ ไทยประกันชีวิต ที่มีส่วนแบ่ง13.8% ส่วนพรูเด็นเชียล อยู่อันดับ 11 มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1.16% เบี้ยรับรวม 3,018.3 ล้านบาท

ดังนั้นหากมีเอไอเอ ประเทศไทย เข้ามาเพิ่มอีกหนึ่ง ยิ่งทำให้พรูเด็นเชียลได้ช่องทางขายผ่านตัวแทนเพิ่มอีกจำนวนมหาศาล หลังจากที่เคยพยายามพัฒนาช่องทางตัวแทนมาหลายครั้ง แต่โจทย์ที่ท้าทายยิ่งกว่าก็คือ ทำอย่างไรพรูเด็นเชียลใช้ศักยภาพของทั้งสองบริษัทขยายธุรกิจได้มากกว่าที่เป็นอยู่

แปลงศัตรูสู่มิตร

วอลล์สตรีต เจอร์นัล วิเคราะห์ว่า การควบรวมกิจการครั้งนี้จะผลักดันให้พรูเด็นเชียลกลายเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับ 1 ในหลายประเทศของเอเชีย และได้ประโยชน์จากความต้องการซื้อประกันที่เพิ่มขึ้นในเอเชีย เนื่องจากลูกค้าปรับพฤติกรรมการออมจากการออมเงินสดมาเป็นการซื้อประกัน หรือการลงทุนในผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนประเภทอื่น โดยแมคคินซีย์ แอนด์ โค คาดว่า 40% ของการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันชีวิตโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้าจะมาจากเอเชีย ขณะที่ยอดเบี้ยประกันรวมจะเติบโตไปถึงระดับ 950 พันล้านดอลลาร์ในปี 2555 หรือสูงกว่ายอดปี 2550 ถึง 50%

การซื้อกิจการครั้งนี้เป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของผู้บริหารพรูเด็นเชียลอย่างทิดเจน เธียม ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเพียง 5 เดือนเท่านั้น ซึ่งเขาเปิดเผยว่า การซื้อกิจการเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมาก และเป็นโอกาสครั้งเดียวที่จะเปลี่ยนโฉมบริษัทให้ไปอยู่ในฐานะผู้นำที่แข็งแกร่งในตลาดที่มีการเติบโตมากทั้งหมดในภูมิภาค

ทั้งนี้เมื่อดีลเสร็จสมบูรณ์ พรูเด็นเชียลจะรวมกิจการของเอไอเอกับธุรกิจของพรูเด็นเชียลในเอเชีย ซึ่งจะทำให้บริษัทกลายเป็นผู้นำในตลาดประกันชีวิตในหลายประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม เดอะ การ์เดี้ยนระบุว่า ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการบริหารจัดการบริษัทอย่างไร หลังจากที่ซีอีโอของพรูเด็นเชียลระบุว่าจะยังคงแบรนด์เอไอเอไว้ ปัจจุบันเอไอเอมีตัวแทนประกันราว 320,000 คน ซึ่งที่ผ่านมามองว่าพนักงาน 400,000 คนของพรูเด็นเชียล คือคู่แข่งรายสำคัญ และจากกฎข้อบังคับด้านการแข่งขันในบางประเทศอาจกดดันทำให้มีการขายธุรกิจบางส่วนในอนาคต

ข้อมูลจากวอลล์สตรีต เจอร์นัลระบุว่า หลังการควบรวม บริษัทใหม่จะมีส่วนแบ่งในตลาดราว 1 ใน 4 ในฮ่องกงและอินโดนีเซีย และจะครองส่วนแบ่งมาถึง 1 ใน 3 ในตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย พร้อมกับพลิกให้พรูเด็นเชียลกลายเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดประเทศไทย ที่ปัจจุบันเอไอเอครองส่วนแบ่งการตลาดไว้สูงถึง 38% ขณะที่พรูเด็นเชียลมีส่วนแบ่งราว 1% เท่านั้น ซึ่งเมื่อรวมทั้งภูมิภาคแล้ว ปัจจุบันพรูเด็นเชียลมีลูกค้าประมาณ 11 ล้านคนใน 12 ประเทศเอเชีย

พรูเด็นเชียลเจอด่านหิน

แม้การเทกโอเวอร์จะทำให้มูลค่าตลาดของพรูเด็นเชียลเพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นประมาณ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่บีบีซีอ้างความคิดเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ว่า ยังมีอุปสรรคหลายประการรออยู่ โดยบริษัทจำเป็นต้องโน้มน้าวให้ผู้ถือหุ้นของพรูเด็นเชียลเชื่อว่า ทั้ง 2 บริษัทสามารถผนึกรวมโครงสร้างที่ซับซ้อนในตลาดประเทศเอเชีย 13 แห่งได้ เช่น ในตลาดจีนและอินเดีย ที่ปัจจุบันเอไอเอและพรูเด็นเชียลจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับพันธมิตรคนละราย โดยในอินเดีย พรูเด็นเชียลมีบริษัทร่วมทุนกับไอซีไอซีไอ แบงก์ แต่เอไอจีถือหุ้น 26% ในบริษัทร่วมทุนกับทาทา กรุ๊ป และรัฐบาลอินเดียอนุญาตให้บริษัทต่างชาติลงทุนร่วมกับบริษัทประกันเพียงรายเดียวเท่านั้นในประเทศ ดังนั้นจึงต้องทำให้มั่นใจว่าข้อตกลงร่วมทุนที่มีอยู่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการซื้อกิจการครั้งนี้ ขณะเดียวกันในตลาดบางแห่ง การกลายเป็นผู้นำตลาดของพรูเด็นเชียลหลังดีลนี้ อาจทำให้มีประเด็นเรื่องการแข่งขันเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้พรูเด็นเชียลคาดว่าจะสามารถดำเนินกระบวนการแตกหุ้นเสร็จสิ้นภายในต้นเดือนมิถุนายน และได้รับการอนุมัติจากทางการเกี่ยวกับการซื้อกิจการนี้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงด้วย

ด้านเอไอจีจะนำรายได้จากการขายกิจการเอไอเอไปจ่ายคืนให้แก่ธนาคารกลางสหรัฐเพื่อลดหนี้ นอกจากนี้บริษัทยังสามารถขายหุ้นมูลค่า 10.5 พันล้านดอลลาร์ในพรูเด็นเชียลและหลักทรัพย์อื่น ๆ เพื่อชำระหนี้เพิ่มเติมแก่เฟดได้ในอนาคต

หลังกลุ่มพรูเด็นเชียล บริษัทประกันชีวิตอันดับ 1 ของอังกฤษ ได้เข้าซื้อธุรกิจของ "เอไอเอ ฮ่องกง" ซึ่งดูแลธุรกิจประกันชีวิตภายใต้แบรนด์เอไอเอในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 15 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่มีบริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (สาขาประเทศไทย) เป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1

http://www.prachachat.net/news-photo/prachachat/2010/03/fin08110353p2.jpg

ที่ผ่านมาเอไอเอ ประเทศไทย ดำเนินธุรกิจมากว่า 70 ปี โดยเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2471 มีฐานลูกค้ากรมธรรม์กว่า 5 ล้านราย มีสินทรัพย์รวม ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2552 เป็นมูลค่า 434,142 ล้านบาท มีเงินกองทุน 77,478 ล้านบาท สูงกว่าเกณฑ์ของกฎหมายถึง 1,209% มีช่องทางการขายที่ครบทั้งตัวแทนที่มีกองทัพ ฝ่ายขายกว่า 70,000 คน แบงก์แอสชัวรันซ์ที่ทำร่วมกับธนาคารพันธมิตรหลายแห่ง เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารทิสโก้ และธนาคารยูโอบี เป็นต้น รวมถึงช่องทางอื่น ๆ ที่เอไอเอได้พยายามพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) ดำเนินธุรกิจมาแล้วกว่า 14 ปี เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2538 มีสินทรัพย์รวม ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2552 เป็นมูลค่า 6,569 ล้านบาท และเงินกองทุน 533 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของกฎหมาย 694% โดยมีช่องทางการขาย หลักผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้งหรือพรูคอลเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างเบี้ยกว่า 80% และมีช่องทางขายผ่านแบงก์แอสชัวรันซ์ร่วมกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) รวมถึงล่าสุดได้เปิดความร่วมมือ ด้านแบงก์แอสชัวรันซ์กับธนาคารยูโอบี เพิ่มอีก 1 ราย ดังนั้นการมีเอไอเอ ประเทศไทยเข้ามาอีกบริษัทหนึ่งจึงทำให้พรูเด็นเชียลจะเพิ่มช่องทางตัวแทนขายอีกมหาศาล หลังจากที่เคยพยายามพัฒนา ช่องทางตัวแทนมาหลายครั้ง



ในด้านผลการดำเนินงานของธุรกิจในประเทศไทยเองของทั้ง 2 บริษัทนี้ก็ถือว่าเทียบกันไม่ติดเช่นกัน โดยเอไอเอมีเบี้ยรับรวมในปี 2552 ถึง 86,311.8 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 33.30% มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของตลาดประกันชีวิตไทย ขณะที่พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มีเบี้ยรับรวมในปีที่ผ่านมา 3,018.3 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1.16% เท่านั้น อยู่ในอันดับ 11 เมื่อรวมธุรกิจทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกันจะทำให้ชื่อของพรูเด็นเชียลกลายเป็นกลุ่มบริษัทประกันชีวิตที่มีเบี้ยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ทันที

แม้การก้าวขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งหัวแถวของชื่อพรูเด็นเชียลด้วยการรวมธุรกิจกับ เอไอเอ ประเทศไทย ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายของบริษัทประกันชีวิตในกลุ่มหัวแถวอีกหลายแห่งที่ต่างขับเคี่ยว ไล่บี้ชิงส่วนแบ่งการตลาดกันตลอด ไล่เรียงตั้งแต่เบอร์ 2 ในธุรกิจอย่างบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ก็แข็งแกร่งในฐานตัวแทนและกลยุทธ์ ล่าสุด "Insurance Convergent" ที่จะรวมธุรกิจในเครือเข้ามาผนึกด้วยกันโดยชูประกันชีวิตเป็นธงนำ

ส่วนบริษัทที่รองลงไปจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด, บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต, บมจ.ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ ประกันชีวิต, บมจ.อยุธยาอลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต (เอเอซีพี) รวมถึง บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ต่างก็เป็นกลุ่มที่พยายามชูกลยุทธ์การรุกตลาดแบบหลากหลายช่องทาง (multidistribution channel)

และที่สำคัญกลุ่มบริษัทเหล่านี้ต่างมีจุดแข็งอยู่ที่การมีสายสัมพันธ์ที่ดีและเหนียวแน่นกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทยทั้งสิ้น ทั้งในฐานะพันธมิตรหลักและผู้ถือหุ้นด้วย ประกอบกับโอกาสทองที่แบงก์แอสชัวรันซ์อยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้บริษัทในกลุ่มนี้พร้อมจะทะยานขึ้นไปเขย่าบัลลังก์ธุรกิจประกันชีวิตได้เสมอ

เมื่อมองภาพรวมในตลาดประกันชีวิตประเทศไทยแล้ว นี่จึงเป็นโอกาสของพรูเด็นเชียลที่จะยกระดับขนาดธุรกิจขึ้นมาอยู่หัวตาราง แต่โจทย์ที่ท้าทายยิ่งกว่าก็คือ จะทำอย่างไรให้พรูเด็นเชียลใช้ศักยภาพของทั้งสองบริษัทขยายธุรกิจได้มากกว่าที่เป็นอยู่ และทำให้โจทย์การ รวมกันในประเทศไทยเป็นได้มากกว่าแค่ 1+1 เป็น 2


ID=1510,MSG=1681


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Thursday เวลา 03:21:55pm ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com