Fire
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย+option
อัคคีภัยสถานประกอบการ
อัคคีภัยสถานประกอบการ+option
อัคคีภัย บริษัทอื่นๆ
อัคคีภัยธุรกิจ
ประกันภัยธุรกิจ
เสี่ยงภัยทุกชนิด (เสี่ยงภัยทรัพย์สิน)
สั่งซื้อประกันอัคคีภัย
ขอใบเสนอประกันอัคคีภัย
Liability
วิชาชีพแพทย์ (Doctor)
บุคคลภายนอก (Third-party)
ผลิตภัณฑ์ (Product)
วิชาชีพบัญชี (Accountant)
ผู้ตรวจสอบอาคาร
ความรับผิดผู้ขนส่ง
ประกันภัยไซเบอร์ Cyber insurance
Life
แบบประกันชีวิต ▶️
ตลอดชีพ
สะสมทรัพย์
บำนาญ
จ่ายสั้น
เน้นคุ้มครองชีวิต
เน้นเก็บเงิน
อนุสัญญา
ประกันการศึกษาเด็ก
ประกันเกษียณ
ประกันเด็ก
กลุ่ม
Health
ประกันสุขภาพ
ประกันชดเชยรายได้
ประกันมะเร็ง
PA TA
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ+มะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ+ชดเชยรายได้
ประกันเดินทาง
ประกันเรียนต่อต่างประเทศ
Motor
ประกันภัยรถยนต์
พรบ รถยนต์
ประกันมอเตอร์ไซค์
พรบ มอเตอร์ไซค์
ประกันอื่น
ประกันวิศวกรรม
ประกันก่อสร้าง
ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
ประกันธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
ประกันอีเวนท์ (Event)
ประกันความซื่อสัตย์
ประกันสินเชื่อหรือเครดิตการค้า
ประกันหมาแมว (Cat&Dog)
สนับสนุน
customer login
ซื้อ+ชำระเงิน
ความรู้ประกัน
แบบฟอร์ม
อู่รถยนต์คู่สัญญาประกัน
โรงพยาบาลคู่สัญญา
เรทค่าห้อง
เกี่ยวกับเรา
เว็บบอร์ด
สมัครขายประกัน
BMI
TAX-insurance
ติดต่อ
FB
Inbox
Question
Email
(เบอร์โทรปรากฏตามเวลา)
admin LineOA
LineOA
Life Agent app(BLA)
Life Agent login(BLA)
Broker login(MTI)
Broker login(BKI)
Broker login(Aetna)
🔻
cymiz.com
MENU
ประกันอัคคีภัย ▶️
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
อัคคีภัยที่อยู่อาศัย+option
อัคคีภัยสถานประกอบการ
อัคคีภัยสถานประกอบการ+option
อัคคีภัย บริษัทอื่นๆ
ประกันภัยธุรกิจ
เสี่ยงภัยทุกชนิด(เสี่ยงภัยทรัพย์สิน)
ประกันอัคคีภัยสำหรับธุรกิจ
สั่งซื้อประกันอัคคีภัย
ขอใบเสนอประกันอัคคีภัย
สุขภาพ | อุบัติเหตุ | เดินทาง ▶️
ประกันสุขภาพ
ประกันชดเชยรายได้
ประกันมะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันอุบัติเหตุ+มะเร็ง
ประกันอุบัติเหตุ+ชดเชยรายได้
ประกันเดินทาง
ประกันเรียนต่อต่างประเทศ
ประกันความรับผิดทางกฏหมาย ▶️
วิชาชีพแพทย์ (Doctor)
บุคคลภายนอก (Third-party)
ผลิตภัณฑ์ (Product)
วิชาชีพบัญชี (Accountant)
ผู้ตรวจสอบอาคาร
ความรับผิดผู้ขนส่ง
ประกันภัยไซเบอร์ Cyber insurance
วิศวกรรม | รับเหมา | ก่อสร้าง ▶️
ประกันวิศวกรรม
ประกันก่อสร้าง
ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
รถยนต์ | มอไซค์ | พรบ ▶️
ประกันรถยนต์
พรบ รถยนต์
ประกันมอเตอร์ไซค์
พรบ มอเตอร์ไซค์
ประกันภัยอื่นๆ ▶️
ประกันธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
ประกันอีเวนท์ (Event)
ประกันความซื่อสัตย์
ประกันสินเชื่อหรือเครดิตการค้า
ประกันหมาแมว (Cat&Dog)
ประกันกลุ่ม
ประกันชีวิต
เช็คเบี้ยรถยนต์
ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้มีการริเริ่มยกร่างเมื่อราวปี พ.ศ.2506 โดยกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าของเรื่องโดยใช้ชื่อกฎหมายดังกล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์เพื่อบุคคลที่สาม พ.ศ. ........... ซึ่งมีหลักการสาระสำคัญโดยสรุป คือ เจ้าของรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถนั้น หรือ ผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จะต้องวางหลักทรัพย์จำนวนหนึ่งไว้กับนายทะเบียน หรือโดยการเอาประกันภัยได้กับบริษัทประกันภัยในประเทศ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิต อันเกิดจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น
แต่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้สะดุดหยุดลงในระดับ กระทรวง ต่อ มาในปี พ.ศ.2511 และ พ.ศ.2520 กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการศึกษายกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นอีก การยกร่างกฎหมายดังกล่าวนั้น ก็มีหลักการทำนองเดียวกัน แต่ได้เพิ่มหลักการการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ว่ารถ คันใดเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย และให้บริษัทประกันภัยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทนเป็นรายปีเพื่อเป็นกองทุน สำหรับจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยกรณีที่มีปัญหา
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้สะดุดหยุดลงในระดับกระทรวงอีกเช่นกันครั้นต่อมาในสมัยรัฐบาลของ ฯพณฯ พล .อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติด้วย ได้พิจารณาเห็นว่าผู้ประสบภัยจากรถเป็นจำนวนมากไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงตกเป็นภาระของผู้ประสบภัยจากรถที่จะต้องช่วยเหลือตัวเองหรือเป็นภาระของ รัฐบาลที่ต้องเข้าไปดูแลให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านการรักษาพยาบาลและการ ดำรงชีพ ประกอบกับในขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายใดที่ให้ความคุ้มครองทางการเงินแก่ผู้ประสบภัยจากรถในรูปแบบ สากลที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในประเทศต่างๆ ถึงแม้จะมีพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกและพระราชบัญญัติรถยนต์ ทีมีมาตรการบังคับอยู่บ้าง แต่ก็เป็นการ ควบคุมเฉพาะรถยนต์โดยสารรับจ้าง รถยนต์บรรทุกรับจ้างและรถยนต์รับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร ไม่เกิน 7 คน ซึ่งรถดังกล่าวมีจำนวนรวมกันแล้ว ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนรถที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศ
ดังนั้น จึงได้มีคำสั่ง ที่ 16/2526 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2526 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อหามาตรการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ขึ้น คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจได้นำร่างพระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์เพื่อบุคคลที่ สาม พ.ศ …… ฉบับหลังสุด ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ยกร่างขึ้นนั้นนำมาพิจารณาปรับปรุงหลายบทเพื่อให้เกิด ความชัดเจนและคล่องตัวในการปฏิบัติยิ่งขึ้น โดยได้เพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการยึดรถและขายทอดตลาดรถ กรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้มีสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประผู้ประสบภัยขึ้นในกรมการประภัยเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับกองทุน และได้พิจารณาเปลี่ยนชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็น “ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ ........... แทนชื่อเดิม
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ยกร่างเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 และได้นำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็นชอบในเวลาต่อมา แต่รัฐบาลก็ได้สิ้นสุดวาระลงเสียก่อน ในสมัย ฯพณฯ พล .อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกแก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรี และเกิดเหตุ รถบรรทุกดินระเบิดระเบิดขึ้นที่จังหวัดพังงาในเวลาใกล้เคียงกัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากทั้งสองเหตุการณ์ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จึงได้สั่งการให้นำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ........ นำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วน และในระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอยู่นั้นก็เกิดการยึดอำนาจโดยคณะ รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ กฎหมายฉบับนี้ก็มีอันต้องตกไปอีก
จนกระทั้งในเวลาต่อมากระทรวงพาณิชย์ได้นำร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรี และได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีฝ่ายสังคมและกฎหมายตามลำดับเมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2534 และได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ในที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติให้ใช้ พระราชบัญญัติดังกล่าวและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2535 ครั้น ต่อมาเมื่อได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลขึ้นใหม่โดยมี ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอญัตติด่วน เรื่องขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับรถใหม่เพื่อให้เหมาะสมที่ประชุมจึงได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพร้อมทั้งได้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ขยายระยะเวลาบังคับใช้ออกไปอีก 180 วัน
ID=1210,MSG=1355
Re: ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
Re: ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เจตนารมณ์และเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติฯ
เนื่องจาก ปรากฎว่าอุบัติเหตุอันเกิดจากรถ ได้ทวีจำนวนมากขั้นในแต่ละปีเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็น จำนวนมาก โดยผู้ประสบภัยดังกล่าว
ไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายหรือได้รับชดใช้ค่าเสีย หายไม่คุ้มกับความเสียหายที่ได้รับจริง และหายผู้ประสบภัยจะใช้สิทธิทางแพ่งเรียกร้อง ค่าเสียหายก็จะต้องใช้เวลา ดำเนินคดียาวนาย ดั้งนั้น เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น ที่แน่นอนและทันท่วงทีสมควรกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว และนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้อาจสรุปเหตุผลและนโยบายในการตราพระราช บัญญัติฯ ของรัฐบาลได้ดังนี้คือ
เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับอันตรายความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและ ค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและแน่นอน จึงต้องตราพระราชบัญญัติ นี้ขึ้นมาบังคับ
เพื่อให้พระราชบัญญัตินี้เป็นหลักประกันว่าผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างแน่นอนและทันท่วงที และเป็นหลักประกันได้ว่าสถานพยาบาลทุกแห่งจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลอย่าง แน่นอนและรวดเร็วในการรับรักษาพยาบาลแต่ผู้ประสบภัยจากรถดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจประกันภัย ให้มีส่วนร่วมในการแบ่งเบาค่าเสียหายของผู้ประกันภัยอันเนื่องมาจาก อุบัติเหตุจากรถ ซึ่งนอกจากจะเป็น การช่วยบรรเทาภาระความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัว แล้ว ยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในด้านสวัสดิสงเคราะห์อีกด้วย
ID=1210,MSG=1356
Re: ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
Re: ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.
ผู้ประสบภัย จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ เป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิดบริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ ค่าเสียหาย ดังกล่าว เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้
กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา)
กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท (เฉพาะกรมธรรม์คุ้มครองตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นมา) รวมแล้วจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท
ID=1210,MSG=1357
Re: ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
Re: ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
รถประเภทใดที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กำหนดประเภทรถที่ไม่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ไว้ดังนี้
รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
รถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่าง ๆ รถยนต์ทหาร
รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานธุรการ ที่เป็นอิสระขององค์กรใด ๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ID=1210,MSG=1358
Re: ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
Re: ความเป็นมา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ผู้ได้รับความคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.
ผู้ประสบภัย อันได้แก่ ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย
อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้
ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
ID=1210,MSG=1359
ติดต่อเรา
สนใจ
Chat
Line OA
Question
Email
Sleep
😃 ซื้อผ่านเรา .. เราดูแลคุณ |
เมูนูลัด
⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)
ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ
กดดูที่ลิงค์นี้
"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"
โปรดรอ
display:inline-block; position:relative;
FB
Chat
LineOA
Question
Email
Sleep
Search
เช็คเบี้ยรถ
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Thursday เวลา 10:48:44pm
(ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.
นโยบาย,ข้อตกลง
×
Cymiz.com Insurance Consult Broker
กดถูกใจ ติดตามได้ที่เพจ FACEBOOK ของเรา
cymiz.com insurance