การประกันภัยรถยนต์ ( Automobile Insurance )

การประกันภัยรถยนต์ ( Automobile Insurance )

การประกันภัยรถยนต์  ( Automobile  Insurance )
การประกันภัยรถยนต์  คือ  การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์
   ความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์
   ความเสียหายที่รถยนต์ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต  ร่างกาย  และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก  รวมทั้งบุคคล ที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้น

การประกันภัยรถยนต์ในตลาดธุรกิจประกันภัยจำแนกออกเป็น 2 ประเภท
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ  หมายความถึงการประกันภัยรถยนต์ที่ถูกบังคับโดยกฎหมาย  เพื่อความคุ้มครองต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย บุคคล ผู้ประสบภัยจากรถยนต์  ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เรียกว่า “ พระราชบัญญัติ ”  คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ( พ.ร.บ.)

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ  หมายความถึง  การประกันภัยที่เกิดขึ้น  โดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์  ผู้ครอบครองรถยนต์  หรือผู้ขับขี่รถยนต์  โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมาย  แต่อย่างใด  การประกันภัยรถยนต์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดประกันภัยในปัจจุบันนี้ เป็นการประกันภัยในภาคสมัครใจ

ประโยชน์ของการประกันภัย
   ประโยชน์ต่อตัวผู้เอาประกันภัยเอง  คือการประกันภัยเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เอาประกันภัย ว่า  เมื่อวินาศภัยตามสัญญาประกันภัยหากมีขึ้น ผู้รับประกันภัยก็จะเป็นผู้ใช้สินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย  หรือบุคคลภายนอก ผู้ได้รับความเสียหาย
   ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคม  คือในกรณีเกิดความสูญหาย  หรือความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หากรถยนต์คันนั้นเป็นต้นเหตุ มิได้เอาประกันภัยไว้  และหากเจ้าของรถยนต์ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือ ผู้ขับขี่ขาดความรัยผิดชอบ ผู้เสียหาย หรือผู้ประสบภัย ก็จะขาดรายได้ ขาดประโยชน์ และในกรณี ได้รับบาดเจ็บ  รัฐบาลก็จะต้องเป็นผู้นับภาระค่าใช้จ่าย

การประกันภัยรถยนต์  มี  2 ลักษณะ
   การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ  “ การประกัน พ.ร.บ. ” ( Compulsory Third Party Insurance )
   การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ  ( Voluntary Motor Insurance )

การประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ( พ.ร.บ. ) ( COMPULSORY THIRD PARTY INSURANCE )
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ประชาชนผู้ประสบภัย ได้รับความคุ้มครอง  และการชดใช้ค่าเสียหายที่แน่นอน รวดเร็ว เป็นธรรม จึงได้กำหนดให้มีพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 5 เมษายน 2535

กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เป็นกรมธรรม์มาตรฐาน  ที่ถูกกำหนดมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามพระราชบัยญิตคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และ ให้สอดคล้องกับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจด้วย

ผู้เอาประกันภัย คือ
1.    ผู้ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถ
2.    ผู้มีสิทธิ ครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ
3.    ผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว

ความคุ้มครอง
               บริษัทฯ จะใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัย  ของผู้ประสบภัย ทุกคน เนื่องจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก  หรือติดตั้งในรถนั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ไม่รวมความเสียหายของทรัพย์สิน

สิทธิการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายประกันภัย (  พ.ร.บ. )
เริ่มใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นไป
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น  
  กรณีบาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน     15,000 บาท
  กรณีเสียชีวิต  ค่าปลงศพ         35,000 บาท
  กรณีบาดเจ็บแล้วเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน   50,000 บาท
2. สิทธิในค่ารักษาพยาบาล                         ไม่เกินคนละ 50,000 บาท
3. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร   100,000 บาท
  ปรับปรุง ณ ปี2553 ทุกกรมธรรม์ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป  
  กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร           200,000 บาท
  ค่าชดเชยรายวันกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นคนไข้ใน  200 บาท / วัน (ไม่เกิน 20 วัน)  
  ข้ออื่นๆเหมือนเดิม  

การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบภัยสมารถยื่นเอกสารขอรับได้ที่
1.    บริษัทประกันภัย
2.    สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
3.    สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต ทั้ง 4 เขต
4.    สำนักงานคปภ. ทุกจังหวัด

ระยะเวลาในการเรียกร้องค่าเสียหาย
1.    การเรียกร้องจากกองทุน ฯ เรียกได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
2.    การเรียกร้องจากบริษัทประกันภัย

   ค่าเสียหายเบื้องต้น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
   ค่าเสียหายส่วนเพิ่ม ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
   กรณีฟ้องร้องค่าเสียหายจากผู้ขับขี่ตามมูลละเมิด  ( ทางแพ่ง )  ต้องฟ้องร้องภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
   ค่าเสียหายส่วนเกินจากกฎหมายประกันภัย เรียกได้ตามปกติจากฝ่ายที่ต้องรับผิด  ( ฝ่ายผิด )

หลักฐานการขอรับเงิน
1.    ค่าเสียหายเบื้องต้น

   บันทึกประจำวัน
   บัตรประจำตัวประชาชน  และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
   บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท  ( กรณีเสียชีวิต )
   สำเนากรมธรรม์  ทั้ง 2 คัน
   สำเนาใบขับขี่
   ใบเสร็จรับเงิน  ( กรณีรักษาพยาบาล )
   สำเนามรณะบัตร  ( กรณีเสียชีวิต )

 2.    ค่าเสียหายส่วนเพิ่ม จะเพิ่มหลักฐานพิสูจน์ ถูกผิด คือ สำเนาผลการสอบสวนหรือสำเนาคำพิพากษาศาล  
บทกำหนดโทษ
1.    เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้  และรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศและนำเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็น  การชั่วคราว  โดยเจ้าของรถไม่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร  ต้องจัดให้มีการประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด และถ้าผู้ใดกระทำการดังกล่าวโดยทุจริต จะได้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
2.    บริษัทประกันภัยต้องรับประกันรถยนต์ ( พรบ. )  ตามข้อ 1 หากไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่         50,000 บาท  ถึง  250,000 บาท
3.    ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกัน พรบ. ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000  บาท

   ผู้ใดปลอมเครื่องหมาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน  ถึง  5 ปี  และปรับตั้งแต่ 10,000   บาท  ถึง  100,000   บาท
   บริษัทไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น  หรือจ่ายให้ไม่ครบ ในจำนวนและระยะเวลาตามกฎกระทรวง  ต้องระวางโทษ  ปรับตั้งแต่ 10,000  บาท  ถึง  50,000   บาท
   ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตาม  พรบ.  นี้โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตาม  พรบ. นี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  1 ปี  ปรับไม่เกิน  20,000   บาท  หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ( VOLUNTARY  MOTOR  INSURANCE )

แบบของกรมธรรม์ประกันภัย  ภาคสมัครใจ
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ใหม่  แบ่งออกเป็น  2 แบบ คือ
1.    กรมธรรม์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่  ( Un-Named Driver )
               เป็นกรมธรรม์แบบเดิม  ที่คุ้มครองผู้ขับขี่คนใดก็ได้  ที่ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้ขับขี่  เสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย
2.    กรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่   ( Named Driver )
               เป็นกรมธรรม์แบบไหม่ที่นำเอาอายุผู้ขับขี่มาเป็นองค์ประกอบในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย  และคุ้มครองแต่ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้นของอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วย  กรมธรรม์แบบนี้ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ใช้รถส่วนบุคคล  และสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ไม่เกิน 2 คน  โดยจะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยตามช่วงอายุของผู้ขับขี่ดังนี้

ผู้ขับขี่   อายุ   18 – 24   ปี ระบุชื่อผู้ขับขี่   2   คน ลดเบี้ย     5  %
ผู้ขับขี่   อายุ   25 – 35   ปี ระบุชื่อผู้ขับขี่   2   คน ลดเบี้ย     10  %
ผู้ขับขี่   อายุ   36 – 50   ปี ระบุชื่อผู้ขับขี่   2   คน ลดเบี้ย     15  %
ผู้ขับขี่   อายุ   50  ปีขึ้นไป ระบุชื่อผู้ขับขี่   2   คน ลดเบี้ย     20  %

หมายเหตุ   ให้ใช้อัตราส่วนลดของอายุผู้ขับขี่ที่มีความเสี่ยงภัยสูงกว่า

ประเภทของกรมธรรม์และความคุ้มครอง
           การประกันภัยรถยนต์  แบบใหม่  มีความคุ้มครองให้เลือก 3 ประเภท
ประเภท 1   ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ

   ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย  หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ ( TPBI )
   ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก  ( TPPD )
   ความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย  ( OD )
   ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้  และการสูญหาย  ( F&T )

“ จำนวนเงินเอาประกันภัย  ของ  OD = F&T “
ประเภท 2   ผู้เอาประกันภัยประเภทนี้ จะได้รับความคุ้มครอง  คือ

   ความรับผิดต่อชีวิต  ร่างกาย  หรืออนามัยของบุคคลภายนอก  และผู้โดยสารในรถ  ( TPBI )
   ความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก  ( TPPD )
   ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้  และการสูญหาย  ( F&T )

ประเภท 3  ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนี้

   ความรับผิดต่อชีวิต  ร่างกาย  หรืออนามัยของบุคคลภายนอก  และผู้โดยสารในรถ  ( TPBI )
   ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก  ( TPPD )

ประเภท 4 ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินบุคคลภายนอกเท่านั้น ส่วนความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของ บุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถไม่จำเป็นเพราะมี พรบ แล้ว  ดังนั้นจึงคุ้มครองเพียงแค่

   ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก  ( TPPD )

ประเภท 5  ( ประเภท 3 พลัส ) เป็นประเภทที่เพิ่มเติม ดัดแปลงมาจากประเภท 3 โดยทั่วไป เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีการซ่อมรถของผู้เอาประกันด้วย โดยมีวงเงินที่แน่นอน แต่เหตุที่เกิดจะต้องเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น   ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนี้

   ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของ บุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ  (TPBI)
   ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก  ( TPPD )
   การซ่อมรถเอาประกันตามวงเงินที่กำหนดไว้ โดยเหตุที่เกิดต้องเกิดจากยานพาหนะทางบกเท่านั้น  ถ้าเป็นฝ่ายผิดส่วนใหญ่จะมี EX 2,000.- บาท ฝ่ายถูกไม่ต้องเสีย

ปัจจุบัน มีแบบไม่ต้องเสีย EX ด้วย แต่ก็เพิ่มเบี้ยประกันภัยขึ้นไปประมาณ 1,000.-บาท
( ประเภท 2 พลัส )  เหมือน ( ประเภท 3 พลัส ) แต่เพิ่มความคุ้มครอง รถหาย-ไฟไหม้ ขึ้นมาด้วย

   ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของ บุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ (TPBI)

   ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก  ( TPPD )
   ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้  และการสูญหาย (F&T)
   การซ่อมรถเอาประกันตามวงเงินที่กำหนดไว้ โดยเหตุที่เกิดต้องเกิดจากยานพาหนะทางบกเท่านั้น  ถ้าเป็นฝ่ายผิดส่วนใหญ่จะมี EX 2,000.- บาท ฝ่ายถูกไม่ต้องเสีย

ปัจจุบัน มีแบบไม่ต้องเสีย EX ด้วย แต่ก็เพิ่มเบี้ยประกันภัยขึ้นไปประมาณ 1,000.-บาท

หมายเหตุ            
TPBI =  Third Party  Bodily  Injury                        
TPPD  =   Third Party  Property  Damage
OD =  Own  Damage                                                  
F&T  =   Fire And Theft

ปัจจัยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย
เบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครจี่แก้ไขปรับปรุงใหม่  อาศัยปัจจัยต่างๆ ที่นำมาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกันภัย ดังนี้

ลักษณะการใช้รถยนต์เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยตามความเสี่ยงภัยของการใช้รถ  เช่น

   รถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคล  มีความเสี่ยงต่ำ  เสียเบี้ยประกันต่ำ
   รถยนต์ที่ใช้ในการพาณิชย์  มีความเสี่ยงสูงกว่า เสียเบี้ยประกันสูงกว่า

ขนาดรถยนต์   เป็นตัวแปรตามความเสี่ยงภัย  ของขนาดรถยนต์ เช่น

   ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 2,000 ซี.ซี.     เป็นรถขนาดเล็ก     =   อัตราเบี้ยต่ำ
   ขนาดเครื่องยนต์เกิน      2,000 ซี.ซี.     เป็นรถขนาดใหญ่   =   อัตราเบี้ยสูง

กลุ่มรถยนต์   เป็นตัวแปรความเสี่ยงภัยที่ขึ้นกับ

   ต้นทุนสินไหม  โดยคิดจากราคาอะไหล่และค่าแรง
   แบ่งกลุ่มรถยนต์ตามยี่ห้อ  และรุ่นรถ ออกเป็น 5 กลุ่ม

อายุรถยนต์   เป็นตัวแปรที่ทำให้ความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้นหรือลดลง      

   ตัวแปรตามความเสี่ยงภัยของอายุรถยนต์  ใหม่ – เก่า
   อายุรถยนต์  กำหนดตั้งแต่  1 – 10  ปี  และเกิน  10  ปีขึ้นไป
   นับปีจดทะเบียนรถ  ถึงปีที่ยื่นใบคำขอ

อายุของผู้ขับขี่   ตัวแปรตามความเสี่ยงภัยของอายุผู้ขับขี่  กำหนดกลุ่มอายุ 4 ช่วง  คือ

   กลุ่มอายุ ผู้ขับขี่  
   18  -  24  ปี                        
   25  -  35  ปี
   36  -  50  ปี
   เกิน  50  ปี

ไม่ว่าจะระบุชื่อ  1  คน  หรือ  2  คน  ให้ใช้อัตราส่วนลดเดียวกัน  โดยใช้อัตราระบุ  2 คน  เป็นเกณฑ์  และระบุชื่อได้ไม่เกิน  2 คน  ( การนับอายุให้นับปีที่เกิด  ถึงปีที่ยื่นใบคำขอเอาประกันภัย )

จำนวนเงินเอาประกันภัย  ( Sum Insured )

   ตัวแปรตามความเสี่ยงภัย  ของจำนวนเงินคุ้มครองตัวรถ
   ทุนประกันภัย รวม อุปกรณ์  ส่วนควย  เครื่องตกแต่ง  ( ถ้ามี )

อุปกรณ์พิเศษ      

   ตัวแปรตามความเสี่ยงภัยของรถยนต์ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพิ่ม  เช่น  อุปกรณ์ดัมพ์  อุปกรณ์ไฮดรอลิค  เครื่องทำความเย็น  เป็นต้น  ทำให้ความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น

ความเสียหายส่วนแรก  ( Deductible )
ความเสียหายส่วนแรก สามารถจำแนกได้ ดังนี้

ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ  ( Voluntary  Deductible )
               สำหรับเจ้าของรถที่มีความเชื่อมั่นตนเอง  และมีความระมัดระวังในการขับรถ  อาจเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง  ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง  คือ  ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์    ( รถเราเอง )  และคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก  ( รถ  หรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอก )  โดยบริษัทประกันภัยจะลดเบี้ยประกันภัยให้เป็นจำนวนเงินตามเงื่อนไขสัญญา

ความเสียหายส่วนแรกกรณีผิดสัญญา  ( Compulsory  Deductible )
กรณีกรมธรรม์แบบระบุชื่อ แต่บุคคลอื่นขับขี่  และเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบ  ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกเองต่อความเสียหายดังนี้

   6,000  บาทแรก  สำหรับความเสียหาย ต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
   2,000  บาทแรก  สำหรับความเสียหาย ต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

กรณีใช้รถผิดประเภท เช่น  นำรถส่วนบุคคลไปรับจ้าง  ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้

   2,000  บาทแรก  ของความเสียหาย ต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

กรณีแจ้งเหตุไม่มีคู่กรณี
- 2,000   บาทแรกสำหรับความเสียหาย ต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
1,000 บาทแรก สำหรับการเกิดเหตุที่มีความเสียหายต่อตัวรถ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากการชนเริ่มใช้ในกรมธรรม์ตั้งแต่ปี 2552

การบอกเลิกกรมธรรม์
ผู้เอาประกันภัย และบริษัทประกันภัย  สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้

   กรณีบริษัทบอกเลิก ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  15  วัน  ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน  ถึงผู้เอาประกันภัย  ตามที่อยู่ครั้งสุดท้ายที่แจ้งให้บริษัททราบ  และบริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัย  ให้แก่ผู้เอาประกันโดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ใช้บังคับมาแล้ว  ออกตามส่วน
   กรณีผู้เอาประกันภัยบอกเลิกเอง  ให้แจ้งให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษร  และมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามอัตราการคืนเบี้ยประกันที่ระบึไว้ในกรมธรรม์
   กรณีเป็นการประกันภัยกลุ่ม  และมีการลดจำนวนรถยนต์ ให้คืนเบี้ยเฉลี่ยรายวัน


ID=1168,MSG=1311


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Wednesday เวลา 11:49:44am ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com