How Does Insurance Work? ประกันทำงานอย่างไร?

How Does Insurance Work? ประกันทำงานอย่างไร?

How Does Insurance Work? ประกันทำงานอย่างไร?

http://www.youtube.com/watch?v=nXfGeMNnBsM

การประกันภัยคืออะไร?
คำว่าการประกันภัยตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Insurance ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของการประกันภัยไว้หลายนัยด้วยกัน แล้วแต่ว่าจะมองการประกันภัยในแง่ใด ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.การประกันภัย คือการที่คนจำนวนมากได้ตกลงกันที่จะร่วมกันชดใช้หรือแบ่งเบาความเสียหายที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งในกลุ่มอาจได้รับ โดยตั้งเป็นเงินกองทุน (Pool) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางรวบรวมเงินทุนหรือที่เรียกว่าเบี้ยประกันภัยจากสมาชิกทุกคนเข้าสู่กองทุน และกองทุนจะทำหน้าที่จ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกผู้ต้องประสบความเสียหาย
2.การประกันภัย คือแผนเฉลี่ยความเสี่ยงภัยร่วมกัน โดยบุคคลจำนวนหนึ่งตกลงกันว่า หากบุคคลในกลุ่มนั้นได้รับการสูญเสียเนื่องจากภัยที่กำหนดไว้ ทุกๆ คนในกลุ่มจะเฉลี่ยค่าสูญเสียให้แก่ผู้ประสบภัย
3.การประกันภัย คือการกระทำของบุคคลหมู่หนึ่ง ทำการรับโอนความเสี่ยงภัยของสมาชิกแต่ละคน เพื่อที่จะกระจายไปยังสมาชิกผู้ที่ได้รับความเสียหายทุกคน

จากความหมายดังที่กล่ามาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าการประกันภัยมิได้หมายความถึงการป้องกันมิให้เกิดภัยขึ้น แต่หมายถึงการให้คำมั่นสัญญาว่าถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นจากภัยแล้ว ผู้ที่ต้องได้รับความเสียหายจะไม่ต้องรับภัยพิบัตินั้นไว้คนเดียว สมาชิกในกลุ่มคนอื่นๆ ก็จะช่วยเหลือให้ผู้ต้องภัยพิบัตินั้นได้กลับคืนมีสภาพเหมือนเดินเหมือนเมื่อก่อนเกิดภัยขึ้น การประกันภัยจึงน่าจะหมายความถึง การทำให้เกิดความแน่นอนขึ้น เนื่องจากมนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ต้องเผชิญกับภัยอันเกิดจากไฟไหม้และการถูกโจรกรรม คนขับรถต้องเสี่ยงภัยต่อความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ชีวิตต้องเสียงต่ออุบัติเหตุ และภยันตรายต่างๆ รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บ และความตาย จึงอาจกล่าวได้ว่าไม่มีใครในโลกนี้จะหนีพ้นจากความเสี่ยงภัยไปได้ การประกันภัยจึงเป็นการขจัดความเสี่ยงภัยให้หมดสิ้นไป และทดแทนความไม่แน่นอนทั้งหลายเหล่านั้นด้วยความแน่นอน

การเสี่ยงภัย
การเสี่ยงภัย (Risk) หมายความถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการสูญเสีย เช่น รถยนต์ต้องเสี่ยงต่อการชน การคว่ำ และการถูกลักขโมย บ้านต้องเสี่ยงต่อการถูกไฟไหม้ เป็นต้น

ภัย (Peril) คำว่า “ภัย” หรือ “Peril” หมายความถึงสิ่งที่ก่อนให้เกิดการสูญเสีย เช่น ไฟไหม้ ลมพายุ ฟ้าผ่า อุบัติเหตุรถยนต์ โจรภัย เป็นต้น ภัยเป็นเรื่องที่ไม่รู้ล่วงหน้า เป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดความเสียหาย

การลดการเสี่ยงภัย การประกันภัยเป็นวิธีการที่ลดการเสี่ยงด้วยการโอนการสูญเสียไปให้ผู้อื่นช่วยแบกภาระให้ การประกันภัยเป็นวิธีที่ช่วยลดการเสี่ยงต่อการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินด้วยวิธีเฉลี่ยความเสียหายของมนุษย์ที่อยู่ในสังคมเดียวกัน และต้องเผชิญกับภัยที่มีลักษณะคล้ายกัน

ประโยชน์ของการประกันภัย
การประกันภัยนอกจากจะให้ประโยชน์โดยตรงในด้านการให้ความคุ้มครองการเสี่ยงภัยหรือการลดและบรรเทาความเสียหายให้กับผู้ประสบภัยแล้ว การประกันภัยยังให้ประโยชน์ทางอ้อมหลายประการดังต่อไปนี้

1. ก่อให้เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ
2. ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ
3. การประกันภัยเป็นรากฐานสำคัญของระบบสินเชื่อ
4. การประกันภัยช่วยป้องกันภัย ช่วยป้องกันความเสียหาย
5. การประกันภัยส่งเสริมการออมทรัพย์
6.การประกันภัยช่วยให้การคำนวณต้นทุนใกล้เคียงต่อความเป็นจริง

การเสี่ยงภัยที่อาจเอาประกันภัยได้
1. จำนวนของการเสี่ยงภัยที่มีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันจะต้องมีจำนวนมากพอ ทั้งนี้ เพราะหลักของการประกันภัยขึ้นอยู่กับกฎว่าด้วยจำนวนมาก (Law of Large Number) ซึ่งมีหลักว่าถ้าจำนวนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มีจำนวนมากแล้วย่อมจะสามารถประมาณหรือคาดคะเนจำนวนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ค่อนข้างใกล้เคียงความจริง การที่จะทราบได้ว่าจำนวนเท่าใดจึงจะมากเพียงพอ และโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น จำนวนเท่าใด นั้นย่อมต้องอาศัยความสังเกตจากเหตุการณ์และวิธีการทางสถิติเข้าช่วยดังตัวอย่างของการโยนหัวโยนก้อยดังที่กล่าวมาแล้ว

2. ภัยเหนือการเสี่ยงนั้นจะต้องเกิดขึ้นจริงแท้หรือแน่นอน ความตายเป็นภัยที่แน่นอน แต่ภัยบางประเภทอาจมีปัญหาว่า ภัยนั้นได้เกิดขึ้นจริงตามที่ได้เอาประกันภัยไว้หรือไม่ เช่น การประกันทุพพลภาพเนื่องจากอุบัติเหตุ มักมีปัญหาอยู่เสมอว่าทุพพลภาพนั้นเกิดจากอุบัติเหตุหรือเกิดจากเหตุอย่างอื่นที่ไม่ใช่อุบัติเหตุตามที่ได้เอาประกันภัยไว้ฃ

3. ภัยหรือการเสี่ยงนั้นจะต้องไม่เป็นภัยที่จงใจให้เกิดขึ้น คือมิได้เกิดจากเจตนาของผู้เอาประกันภัย คือภัยหรือความเสียหายนั้นต้องไม่ใช่ภัยหรือความเสียหายที่อาจคาดการณ์ไว้ได้ และอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้เอาประกันภัย ในการประกันชีวิต แม้ว่าความตายจะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องประสบ แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะต้องตายเมื่อใดและอย่างไร สำหรับการฆ่าตัวตายนั้น เมื่อเกิดขึ้นก็จะถูกปฏิเสธการชดใช้ และความมุ่งหมายของการประกันชีวิตก็คือการประกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สัญญาประกันชีวิตโดยทั่วไปจึงกำหนดให้การฆ่าตัวตาย หลังจากที่สัญญามีผลบังคับมาแล้วระยะหนึ่ง จะได้รับการคุ้มครอง ซึ่งถือว่าเป็นข้อยกเว้นขององค์ประกอบที่ว่าภัยหรือการเสี่ยงนั้นจะต้องไม่อาจคาดหมายได้หรือต้องเกิดขึ้นโดยโอกาสมิใช่การจงใจ

4. ภัยที่เกิดขึ้นจะต้องไม่ใช่ภัยทีมีลักษณะเป็นมหันตภัย ( Catastrophe) ซึ่งได้แก่ภัยที่ร้ายแรง เช่น แผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยประเภทนี้จะทำลายกฎว่าด้วยจำนวนมาก (Law of Large Number) ได้เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมหันตภัยมากเกินกว่าที่คาดไว้บริษัทอาจจะต้องล้มละลายเพราะไม่สามารถชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ แต่การประกันต่อ (Re-Insurance) และการกระจายของภัยจะช่วยให้บริษัทสามารถรับประกันภัยเหล่านี้ได้

5. ภัยหรือการเสี่ยงภัยนั้นจะต้องไม่เป็นจำนวนเล็กน้อยเกินไป เพราะภัยแต่ละแบบแต่ละฉบับ ย่อมจะต้องมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการออกกรมธรรม์ ค่าใช้จ่ายในการเก็บเบี้ยประกัน ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ค่าใช้จ่ายในการสำรวจและประเมินราคาความเสียหาย ซึ่งค่าใช้เหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเบี้ยประกัน ดังนั้นถ้าเป็นภัยหรือการเสื่ยงภัยที่เล็กน้อยก็จะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น การประกันภัยความเสียกายที่เกิดขึ้นกับแว่นตาเพียงอันเดียวซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อย ย่อมไม่คุ้มกับเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป

6. ค่าใช้จ่ายในการประกันภัยต้องไม่สูงเกินควร อัตราเบี้ยประกันภัยจะประกอบด้วยส่วนประกอบสองส่วน คือส่วนที่เป็นเบี้ยประกันภัยโดยแท้ (Pure-premium) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ให้ความคุ้มครองโดยตรง กับค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งกำไรถ้าหากส่วนที่เป็นเบี้ยประกันภัยโดยแท้มีจำนวนเพียงเล็กน้อย และส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ย่อมไม่คุ้มกับค่าที่จะต้องเอาประกันภัย เช่น ถ้าเบี้ยประกันภัยรวมมีจำนวน 100 บาท ในจำนวน 100 นี้เป็นค่าใช้จ่ายและกำไรเสีย 90 บาท เหลือส่วนที่เป็นเบี้ยประกันภัยการเสี่ยงภัยโดยแท้เพียง 10 บาท เช่นนี้ย่อมไม่จำเป็นที่จะต้องมีการประกันภัย จำนวนเบี้ยปนะกันภัยที่เหมาะสมและสามารถดึงดูดให้คนเอาประกันภัยได้นั้น อัตราส่วนของค่าใช้จ่ายและกำไรต้องไม่สูงเกินควร ซึ่งโดยทั่วไปไม่ควรสูงเกินร้อยละ 50 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยรวม

7.เหตุการณ์ที่จะเกิดความเสียหายจะต้องไม่มากในขณะหนึ่ง ดังที่ได้ทราบแล้วว่าการประกันเป็นการเฉลี่ยด้วย คือคนจำนวนมากเฉลี่ยความเสียหาย (เบี้ยประกันภัย) กันคนละเล็กละน้อย เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางเศรษฐกิจของบุคคลจำนวนน้อย ดังนั้นถ้าหากขณะใดขณะหนึ่งคนจำนวนมากต้องรับภาระในการเสี่ยงภัย คนกลุ่มน้อยย่อมไม่สามารถรับภาระให้การช่วยเหลือได้

ความเสี่ยงภัยที่ไม่อาจเอาประกันภัยได้

1. การขาดสถิติ การประกันภัยต้องอาศัยสถิติซึ่งรวบรวมจากประสบการณ์ในอดีตเป็นหลักความเสี่ยงภัยที่ไม่อาจคาดคะเนได้ย่อมไม่อาจเอาประกนภัยได้ เช่น ผู้ขายปลีกสินค้าเกี่ยวกับแฟชั่น ไม่อาจเอาประกันภัยความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแฟชั่นโดยกระทันหันได้

2. ภัยที่ขัดต่อผลประโยชน์ของสาธารณชน เช่น ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่สามารถเอาประกันภันเพื่อคุ้มครองการเสียค่าปรับในกรณีการทำผิดกฎจราจรได้ หรือคนทุจริตไม่สามารถเอาประกันภัยผลของการกระทำผิดของเขาได้

3. ความเสี่ยงภัยที่เสี่ยงมากเกินไป เช่น ภัยสงคราม ถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้

ที่มา: สนง.คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)


ID=1129,MSG=1272


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Monday เวลา 03:33:33am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com