เมื่อแผ่นดินไหวควรทำอย่างไร

เมื่อแผ่นดินไหวควรทำอย่างไร

เมื่อแผ่นดินไหวควรทำอย่างไร

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

  1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
  2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
  4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
  5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
  6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
  7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกันเพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง
  8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

  1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
  2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็ง แรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
  3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
  4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
  5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
  6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
  7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
  8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว

  1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
  2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
  3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
  4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
  5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
  6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
  7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
  8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
  9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคาร
  10. อย่าแพร่ข่าวลือ

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวต้องทำอย่างไร

* ถ้าอยู่นอกบ้าน ควรออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้งห่างจาก อาคารสูง ต้นไม้ใหญ่ กำแพง เสาไฟฟ้า และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อาจจะโค่นล้มลงมาได้ ที่สำคัญอย่าวิ่งไปตามถนน
* ถ้าอยู่ในบ้าน ให้ระวังสิ่งของที่อยู่สูงจะตกใส่ศีรษะ เช่น หลอดไฟ ฝ้าเพดานหรือชิ้นส่วนของเพดานอาคาร และระวังพวกตู้หนังสือ ตู้โชว์ ชั้นวางของ โต๊ะ ทีวี ตู้เย็น และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ จะเลื่อนมาชนหรือล้มทับ พยายามอยู่ห่างประตู หน้าต่าง และกระจก อย่าอยู่ติดผนัง หรือไปอยู่นอกระเบียง ถ้าการสั่นไหวรุนแรงควรหลบอยู่ใต้โต๊ะ ใต้เตียง หรือมุมห้อง ที่ห่างจากหน้าต่าง อย่าวิ่งออกมานอกอาคารจนกว่าสงบ
* ถ้าอยู่ในที่ทำงานหรือในอาคารสูง ให้หลบอยู่ใต้โต๊ะจนกว่าจะสงบ ขณะเกิดอย่าวิ่งลงทางออกฉุกเฉิน เพราะบันไดอาจจะหักไปแล้ว หรือมีคนจำนวนมากแย่งกันลง ที่สำคัญอย่าใช้ลิฟต์เพราะลิฟต์อาจจะเสีย เนื่องจากไฟฟ้าดับ หรืออุปกรณ์บางส่วนได้รับความเสียหาย
* ถ้าอยู่ในที่ๆ มีคนจำนวนมาก อย่าแย่งกันออกจากอาคาร เพราะคนจำนวนมากจะมีความคิดอย่างเดียวกัน คือ รีบหนีออกจากอาคารให้เร็วที่สุด อาจเกิดการเหยียบกันตายได้
* ถ้าอยู่ในรถ ให้หยุดรถในที่จะไม่มีสิ่งใดที่ล้มลงมาทับ อย่าจอดรถใต้สะพาน ต้นไม้ เสาไฟ และอยู่ภายในรถจนกระทั่งการสั่นสะเทือนหยุดลง
* ถ้าอยู่ใกล้ชายทะเล ให้ออกจากชายฝั่ง เพราะอาจมีคลื่นยักษ์สึนามิซัดเข้าหาฝั่งได้

แผ่นดินไหว หมายถึง การสั่นสะเทือนของพื้นดิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่อย่างฉับพลันของเปลือกโลก เนื่องจาก พลังงานความร้อนภายในโลก ทําให้เกิดแรงเครียด แรงเครียดที่สะสมอยู่ในโลก ทําให้เกิดการแตกหักของหิน เมื่อหินแตกออกเป็นแนวจะเกิดเป็นรอยเลื่อน และการเคลื่อนที่อย่างฉับพลันของรอยเลื่อนนี้ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวนอกจากจะเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้ว ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งทําให้สภาพสมดุลของเปลือกโลกบางส่วนเปลี่ยนไป และไปกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าว แต่จะมีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แผ่นดินไหวอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิด เหมืองถล่ม หรือการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน เป็นต้น

ขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) คือปริมาณพลังงานซึ่งปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยวัดความสูงของคลื่นแล้วนํามาคํานวณ ในสูตรการหาขนาด ซึ่งคิดค้นโดย ริคเตอร์ จึงเรียกว่า มาตราริคเตอร์

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) วัดโดยใช้ความรู้สึกจากการสั่นสะเทือน การสํารวจความเสียหาย ซึ่งปรากฏในแต่ละแห่ง โดยเทียบจากมาตราวัดอันดับความสะเทือน ซึ่งเรียกว่า มาตราเมอร์เคลลี

ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
1. ภัยจากการสั่นไหวของพื้นดิน ก่อนให้เกิดการปรับตัวของดินที่ต่างกัน การพังทลายของดินและโคลนและการที่ดินมีสภาพกลายเป็นของเหลว
2. ภัยจากการยกตัวของพื้นดินในบริเวณรอยเลื่อน
3. ภัยที่เกิดจากคลื่นใต้น้ำที่เรียกว่า "Tsunami" คลื่นนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในทะเลและมหาสมุทร ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง
4. ภัยจากไฟไหม้หลังการเกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว = Earthquake
แผ่นดินถล่ม = Landslide


ID=2377,MSG=2675


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Thursday เวลา 02:46:44am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com