ประกันชีวิตแบบใหม่ Universal Life & Unit-Linked Insurance

ประกันชีวิตแบบใหม่ Universal Life & Unit-Linked Insurance

ประกันชีวิตแบบใหม่ Universal Life & Unit-Linked Insurance

หลายปีที่ผ่านมา เราคงพอจะสังเกตกันได้ว่าธุรกิจประกันชีวิต ล้วนดำเนินไปอย่างค่อยเป็น
ค่อยไป แต่ละองค์กรต่างพยายามพยุงตัวเองเล่นเกมในแบบเชิงรับซะมากกว่า แต่ปีนี้ดู ท่าว่าทุกอย่างมันกำลังจะเริ่มเปลี่ยนไป ธุรกิจหลายประเภทเริ่มมองเห็นช่องทางที่จะปรับปรุงและพัฒนารูปแบบของสินค้า ใหม่ๆ เพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจและหลอกล่อให้ ผู้บริโภคที่เริ่มคลายความกังวลเอาเงินออกมาใช้จ่ายมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจพื้นฐาน ที่มีมาแต่ช้านานอย่างธุรกิจประกันชีวิต
    จากความร้อนแรงของตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ภายใน ระยะเวลาไม่ทันข้ามเดือน ทำให้การขายประกันชีวิตที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ยแก่ ผู้ถือกรมธรรม์เพียงแค่ 4-6% ต่อปี กลายเป็นเรื่องยากเย็นเข็ญใจ สำหรับตัวแทนที่ ต้องการจะหาลูกค้าใหม่ๆ ขึ้นมาทันทีทันใด เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงจำเป็นอยู่เองที่บริษัทประกันชีวิตต้องพยายามหาทางนำสินค้าแบบใหม่ เข้ามาเสนอแก่ผู้บริโภค เพื่อเรียกความ
สนใจกลับคืนมาก่อนที่สายเกินแก้
    นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เขียนได้พบและสนทนากับ Mr. Chris Lossin ประธานบริหารของ Ayudhya Alliance C.P. Life Pcl. (AACP) ประกันชีวิตอันดับสามของไทย ที่ได้ให้ ความคิดเห็นถึงแนวโน้มและความน่าจะเป็นของตลาดการประกันชีวิตในไทย อีกทั้งยังได้ให? ข้อมูลเกี่ยวกับประกันชีวิตในรูปแบบที่ เรียกว่า Universal Life และ Unit-Linked มาให้ได้ศึกษากันก่อนใคร

    แต่ก่อนอื่น เราคงจะต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าประกันชีวิตในรูปแบบทั่วไป เบี้ยประกันที่ผู้ซื้อประกันต้องจ่าย จะถูกกำหนดขึ้น จากลักษณะทางกายภาพของผู้ที่ต้องการจะทำ ประกัน เช่น คนผู้นั้นเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย อายุ เท่าไร นอกจากนั้นก็จะดูถึงสภาวะการทาง ร่างกายและอุปนิสัยในการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่
มั้ย หรืออาชีพการงานที่ทำอยู่มีความเสี่ยงมาก น้อยยังไง
    เมื่อผู้ซื้อประกันจ่ายค่าเบี้ยประกันไปแล้ว บริษัทประกันก็จะนำเอาเงินจำนวนนั้นไปเป็น ค่าใช้จ่ายในการประกันชีวิตให้กับผู้ซื้อ และเตรียมความพร้อมในการที่จะต้องจ่ายเป็นเงิน ก้อนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไป รวมทั้งค่าสินไหมทดแทนหากเกิดเหตุอันใดขึ้น จริงๆ โดยที่ผู้ซื้อประกันไม่ได้รู้รายละเอียดว่า บริษัทประกันแบ่งส่วนเบี้ยประกันสำหรับ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ยังไง จึงรวมเรียกกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบนี้ว่า เป็นก้อนเดียวกัน (Bundle)
    หากมองทางด้านผู้ที่ซื้อประกัน การจ่ายค่า เบี้ยประกันทำนองนี้ ดูไปก็เหมือนกับว่าเป็น การจ่ายค่าธรรมเนียมล่วงหน้าส่วนหนึ่ง เพราะในช่วงสองสามปีแรก ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์ประเภทไหน ผู้ซื้อประกันจะไม่มีทางได้รับเงิน ก้อนหรือหากต้องการยกเลิกก็จะได้รับเงินคืน ที่น้อยกว่าค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปอย่างแน่นอน
    ส่วนการประกันชีวิตในแบบที่มีการนำเอา รูปแบบที่เหมือนกับการฝากเงินเข้ามาผูกเอาไว้ด้วย ที่อาจจะมีการทำสัญญาจ่ายสินไหม ทดแทนที่คงที่ ซึ่งในหลักการของการดำเนิน
ธุรกิจรับประกันแล้ว บริษัทประกันก็จะนำเอาค่า เบี้ยประกันหักด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปลงทุนเพื่อ นำมูลค่าเพิ่มมาจ่ายเป็นค่าสินไหม หรือเงินก้อน ให้กับผู้ซื้อประกัน นั่นก็หมายความว่าบริษัทประกันถือความเสี่ยงในการลงทุนให้กับผู้ซื้อประกัน นั่นเอง

http://www.finansa-asset.com/knowledge/110504/Insurance10-3.gif

Universal Life & Unit-linked Products
    เมื่อเข้าใจหลักการประกันชีวิตในรูปแบบทั่วไปกันพอสังเขปแล้ว คราวนี้เราก็ลองมาทำ ความเข้าใจประกันชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรากำลังจะนำเสนอกันที่เรียกว่า Universal Life และ Unit-Linked Insurance ซึ่งการซื้อประกันแบบนี้ ผู้ซื้อประกันสามารถกำหนดการ จ่ายค่าเบี้ยประกันเองได้ แล้วยังสามารถแยกแยะการลงทุนออกจากการทำประกันได้อย่างค่อน ข้างเห็นชัด ส่วนเงินสินไหมทดแทน หรือเงินก้อน ที่จะได้คืน เมื่อสิ้นอายุการทำประกันก็จะได้มา จากมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการลงทุนที่ผู้ซื้อประกันตัดสินใจลงทุนเอาไว้ บวกกับค่าสินไหมที่บริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายจากค่าเบี้ยประกันที่ผู้ซื้อ ประกันจ่ายไป กล่าวคือ เบี้ยประกันที่จ่าย จะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งก็เป็นค่าใช้จ่าย สำหรับบริษัทประกัน อีกส่วนก็จะเป็นเงินลงทุน นั่นเอง (ตาราง 1) แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นผู้ซื้อประกันจะสามารถกำหนดการจ่ายเบี้ยประกันได้ ภายในขอบเขตไม่น้อยกว่าหรือมากกว่าที่บริษัท ประกันกำหนดเอาไว้เท่านั้น

http://www.finansa-asset.com/knowledge/110504/Insurance10-4.gif

สำหรับการทำประกันประเภท Universal Life ผลประโยชน์ที่ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ หากผู้ซื้อประกันเสียชีวิต จะมีทางเลือกให้สอง แบบ คือ

    แบบ A ซึ่งจำนวนเงินค่าทดแทนจะลดลง เมื่อมูลค่าเงินทั้งหมดเพิ่มขึ้น นั่นก็คือเงินผลประโยชน์ที่ได้รับจากการ ลงทุนก็จะสูงขึ้น

    แบบ B ผู้ซื้อประกันจะกำหนดวงเงินสินไหม ทดแทนเอาไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุที่ต้อง เรียกร้อง ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับเงิน ก้อนนั้นบวกกับมูลค่าของเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ในแบบที่สองเงินค่าสินไหมทดแทน จึงเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น

    ในส่วนของเงินลงทุน บริษัทประกันจะกำหนดเพียงอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำเอาไว้ ซึ่งจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ จากปัจจัยการลงทุนที่ขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน เงิน ลงทุนที่ใส่เพิ่มเข้ามา ซึ่งบริษัทประกันจะใช้ตัวเลข ผลตอบแทนเงินที่ผ่านมาเป็นตัวกำหนด

    อัตราผลตอบแทนของเงินก้อนใหม่ที่ใส่เพิ่มเข้ามาดัชนี เช่น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เป็นต้น จะเห็นได้ว่า แนวคิดของการทำประกันชนิดนี้ ยังค่อนข้างใหม่มากสำหรับตลาดในเมืองไทย เพราะฉะนั้นหากท่านสนใจควรจะต้องทำการ ศึกษากับบริษัทประกันให้เข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจ

http://www.finansa-asset.com/knowledge/110504/Insurance10-5.gif

Unit-Linked Policies
    ในทางตรงกันข้ามกับประกันในแบบ Universal Life การทำประกันในแบบ Unit-Linked ผู้ซื้อประกันสามารถที่จะกำหนดเอาเอง ว่าอยากจะให้เงินส่วนที่นำไปลงทุนนั้น ไปลงทุน ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด ภายใต้ ขอบเขตที่กำหนดเอาไว้
    อย่างไรก็ตาม คำว่า Unit-Linked ที่ว่านี้จะถูกเรียกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ซึ่ง อาจจะทำให้เกิดความสับสนขึ้นมาบ้าง โดยอังกฤษและออสเตรเลียซึ่งเรียกหน่วยลงทุนว่า Unit trust จะเรียกประกันชีวิตประเภทนี้ว่า Unit-Linked ในขณะที่อเมริกาเรียกประกันใน รูปแบบเดียวกันนี้ว่า Variable Life Insurance
    และเมื่อผู้ซื้อประกันสามารถที่จะเลือกซื้อ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ ได้ เพราะฉะนั้นผลตอบแทนรวมไปถึงเงินสินไหมทดแทน ที่จะได้ ย่อมขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของ

http://www.finansa-asset.com/knowledge/110504/Insurance10-6.gif

กองทุนรวมนั้นๆ เป็นส่วนสำคัญ ซึ่งก็น่าจะบอก เป็นนัยว่า ผู้ที่สนใจอยากจะซื้อประกันประเภทนี้ ควรที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องการลงทุนมากพอสมควร
    ส่วนในเรื่องของชนิดกองทุนรวมที่ผู้ซื้อประกันสามารถแบ่งเงินไปซื้อ หน่วยลงทุนได้ จะขึ้นอยู่กับบริษัทประกันที่จะเป็นผู้คัดเลือกมา เสนอควบคู่ไปกับกรมธรรม์ที่ต้องการขาย ซึ่ง อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว ก็มักจะเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนใน ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุนรวมแบบผสม แบบยืดหยุ่น หรืออาจจะเป็นกองทุนรวมที่ไป ลงทุนในต่างประเทศที่มีอยู่ (Foreign Investment Fund, FIF)

http://www.finansa-asset.com/knowledge/110504/Insurance10-7.gif

หลักการสำคัญสำหรับประกันประเภทนี้ก็คง จะอยู่ตรงที่ผู้ซื้อประกันสามารถบริหารพอร์ต การลงทุนของตนเองได้ และก็เป็นผลบวกสำหรับบริษัทประกันอย่างเห็นได้ชัดที่สามารถ ผลักภาระความรับผิดชอบในเรื่องการลงทุนไป ให้กับผู้ซื้อโดยตรง จะได้จะเสียจะได้ไม่ต้องมาว่า กันทีหลังความสำเร็จในการทำตลาดในเมืองไทย สำหรับประกันชีวิตสองประเภทนี้ จะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง และที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนรวมในระยะยาว เพราะผลประโยชน์ที่ผู้ซื้อประกัน ย่อมจะต้องขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของกองทุน รวมนั้นๆ อย่างเป็นนัยสำคัญ เพราะฉะนั้นหากจะเป็นการดึงดูดผู้ซื้อ บริษัทประกันจึงคิดวาง แนวทางที่อาจจะต้องมีการกำหนดอัตราการ จ่ายสินไหมทดแทนขั้นต่ำเอาไว้ด้วยเช่นกัน
    นอกจากนั้นแล้วเรื่องของตัวบทกฏหมายที่ เกี่ยวข้องก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลย จากข้อเท็จจริงที่ว่า ประกันประเภทนี้จะต้องมี หน่วยงานทางราชการที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยถึงสองแห่ง คือ กรมการประกันภัยที่ดูแลรับผิด ชอบในเรื่องประกันภัย และสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. (SEC) ที่ต้อง ควบคุมในเรื่องการลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งทั้งสองหน่วยงานคงต้องทำความเข้าใจกันให้ดี เสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาใน ภายหลังและสุดท้ายตัวบริษัทประกันเองก็ยังมีงาน สำคัญที่จะต้องเตรียมบุคลากรซึ่งจะต้องมา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายประกันให้มีความรู้ ความเข้าใจกับการทำประกันประเภทนี้ให้ดี เสียก่อน อีกทั้งตัวแทนประกันก็จำเป็นที่จะต้องไปสอบใบอนุญาตที่ปรึกษาการลง ทุน(Investment Planner, IP) เสียก่อนด้วย
    อย่างไรก็ตามหวังว่า สิ่งที่เรานำมาเสนอใน ครั้งนี้คงพอจะช่วยทำให้ท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ได้พอมองเห็นภาพโดยรวมของการทำประกัน ประเภทนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่อย่าลืมว่า ปรึกษาผู้รู้จริงก่อนตัดสินใจ น่าจะดีกว่าดุ่มเข้า ไปเสี่ยงเอาเอง มันอาจจะทำให้เจ็บตัวได้ง่ายๆ

http://www.finansa-asset.com/knowledge/110504/Insurance10-8.gif

ที่มา finansa-asset.com


ID=896,MSG=1016
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 01:33:13am... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com