บริษัทเอพีเอฟอินชัวรันส์ (APF insurance) ล้ม

บริษัทเอพีเอฟอินชัวรันส์ (APF insurance) ล้ม

บริษัทเอพีเอฟอินชัวรันส์ (APF insurance) ล้ม

คปภ. เพิกถอน ใบอนุญาตเอพีเอฟฯอินชัวรันส์ (APF insurance)
คปภ.ประกาศเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท APF อินชัวรันส์ เหตุเงินกองทุนไม่ครบตามกฎหมาย

ตามที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2553 ตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1583 /2553 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2553 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด นั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ขอสรุปข้อเท็จจริง ดังนี้

1. บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด มีฐานะการเงินดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอแก่การชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ จัดสรรทรัพย์สินไม่เพียงพอกับหนี้สินและภาระผูกพันต่อเจ้าหนี้ของบริษัทฯ และมีค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายแก่ผู้เอาประกันภัย หรือประชาชนเป็นจำนวนมาก บริษัทอยู่ในฐานะที่มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 จำนวน 265.13 ล้านบาท

2. สำนักงาน คปภ. ในฐานะผู้กำกับดูแลบริษัทประกันภัยได้ให้โอกาสแก่บริษัทในการแก้ไขปัญหาของ บริษัทมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว หากบริษัทสามารถระดมเงินทุนใหม่จะทำให้บริษัทสามารถชำระหนี้สินที่มีต่อเจ้า หนี้ทั้งปวงได้ แต่บริษัทไม่สามารถแก้ไขปัญหาฐานะการเงินของบริษัทได้ และบริษัทยังคงค้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนอีกเป็นจำนวนมาก บริษัทจึงมีฐานะการเงินหรือการดำเนินงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ เอาประกันภัยหรือประชาชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงใช้อำนาจตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 สั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ประชาชน หรือผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายเพิ่มเติม

3. การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์ เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด ในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทประกันวินาศภัยอื่นๆ

4. สำนักงาน คปภ. ได้รับความร่วมมือจากบริษัทประกันภัยให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย ในกรณีกรมธรรม์ที่ยังมีระยะเวลาคุ้มครองเหลืออยู่ ให้ทำประกันภัยกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการให้ความช่วยเหลือ โดยสามารถซื้อความคุ้มครอง 1 ปี แล้วบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลา ประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิม หรือบริษัทประกันภัยอาจให้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาคุ้มครอง ที่เหลืออยู่ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องโอนสิทธิที่จะได้รับเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลา ที่เหลือจากผู้ชำระบัญชี กองทรัพย์สินของบริษัทในคดีล้มละลาย หรือจากกองทุนประกันวินาศภัยให้แก่บริษัทที่รับประกันภัยใหม่ สำหรับรายชื่อบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการให้ความช่วยเหลือ ผู้เอาประกันภัย สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. (oic.or.th) หรือสอบถามได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186

5. สำหรับผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี และกองทุนประกันวินาศภัย ภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยออกประกาศ โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประจำตัวประชาชน ใบเคลม ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) หากไม่สามารถมายื่นได้ด้วยตนเองจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ยื่นต่อผู้ชำระบัญชีของบริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด ได้ตามสถานที่ดังต่อไปนี้ 5.1ส่วนกลาง ยื่นได้ 4 แห่ง ดังนี้ (1)สำนักงาน คปภ. เลขที่ 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 (2)สำนักงาน คปภ.เขต 1 เลขที่ 8/8 ซอยวิภาวดี 44 ถนนวิภาวดีรังสิตแขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 (3)สำนักงาน คปภ.เขต 2 เลขที่ 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษกท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 (4)สำนักงาน คปภ. เขต 3 เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถนนบางนา ตราด กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 5.2 ต่างจังหวัด ยื่นที่ สำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ

6. สำหรับเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ณ สถานที่และภายในกำหนดเวลาตามข้อ 5 พร้อมทั้งนำเอกสารแสดงความเป็นเจ้าหนี้ ต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 1 ชุด ประกอบการขอยื่นชำระหนี้ ดังนี้ หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) หากไม่สามารถมายื่นได้ด้วยตนเองจะต้องมี หนังสือมอบอำนาจ พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ

7. ปัจจุบันมีกองทุนประกันวินาศภัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจาก การเอาประกันภัย ในกรณีที่บริษัทล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตโดยเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้ รับชำระหนี้ที่เกิดจากสัญญาประกันภัยจะต้องไปขอรับชำระหนี้จากผู้รับชำระ บัญชี และ/หรือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายก่อนหากจำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้ จากบริษัทฯ (ผู้ชำระบัญชี และ/หรือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์) มีไม่เพียงพอ เจ้าหนี้ดังกล่าวมีสิทธิได้รับชำระหนี้ส่วนที่ขาดจากกองทุนฯ แต่รวมกันทุกสัญญาแล้วไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อราย

APF insurance เดิม คือ บริษัท advance insurance ที่เจ๊งไป


ID=543,MSG=632


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Wednesday เวลา 06:50:02pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com