ประกันภัยความรับผิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

ประกันภัยความรับผิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

กรมธรรม์ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บรรจุหีบห่อ เจ้าของภัตตาคาร ฯลฯ ในความบาดเจ็บหรือเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือการออกแบบหรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้วิธีเก็บรักษาคำเตือนหรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร

ประกันความรับผิดต่อสินค้า หรือ ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์

ประกันความรับผิดต่อสินค้าไม่ปลอดภัย หรือ ประกันความรับผิดสินค้า
หรือ ที่เรียกกันเต็มๆ ว่า ประกันความรับผิดตามกฎหมายต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

เป็นประกันที่ออกมารองรับ พรบ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ปี 2551 ซึ่งเป็นแนวโน้มในอนาคตที่จะให้ความคุ้มครองต่อผู้บริโภค ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้สินค้าและบริการมากขึ้น

กฎหมายฉบับนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ของผู้ประกอบการ เพราะเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดต่อผู้เสียหายเนื่องจากสินค้าของตนเป็นสินค้าไม่ปลอดภัยและทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายไม่ว่าจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทก็ตาม และเป็นกฎหมายที่ให้รับผิดอย่างเคร่งครัด โดยหน้าที่ในการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องพิสูจน์ว่าตนไม่ได้กระทำผิด

คำว่าผู้ประกอบการก็ครอบคลุมเป็นวงกว้างคือจะหมายถึงตั้งแต่ ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้ ผู้ใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า ซึ่งถ้ามาดูในส่วนที่หมายถึงความไม่ปลอดภัยในตัวสินค้า ก็ตั้งแต่ ความบกพร่องในการผลิต ความบกพร่องในการออกแบบ หรือแม้กระทั่ง คำเตือน วิธีใช้ วิธีเก็บรักษาที่ไม่เพียงพอ ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน โดยถ้าผู้บริโภคสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้รับความเสียหายจากสินค้าของผู้ประกอบการและการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติ

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและบริการ มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในการทำธุรกิจ อาจจะหมายถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่อาจจะมีเข้ามาโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ยิ่งมีปริมาณการขายมากเท่าใด การควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการก็ต้องมีมากขึ้น

กรมธรรม์ประกันความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์อันเกิดจากความรับผิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
จึงเกิดขึ้นมารองรับความเสี่ยงนี้สำหรับผู้ประกอบการ โดยมีขอบเขตความคุ้มครองคือ

ความรับผิดตามกฎหมายอันเนื่องมาจากสินค้าที่เอาประกันก่อให้เกิด
- ความสูญเสียต่อ ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย ของผู้เสียหาย
- ความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้เสียหาย
- ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี

ประกันประเภทนี้ยังใหม่มากสำหรับประเทศไทย ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่าตนมีสิทธิตากกฎหมายที่ออกมา ดังนั้นในด้านการประกันสำหรับประกอบการที่มีความประสงค์จะทำประกันประเภทนี้ จึงต้องมีการกรอกแบบฟอร์ม เพื่อเป็นการให้ข้อมูลของตน ให้ทางบริษัทประกันได้รับทราบ เพื่อที่จะได้คำนวณเบี้ยประกันและ ขอบเขตของความคุ้มครองได้อย่างเหมาะสม เพราะประเภทของสินค้า มูลค่าของยอดขาย ขอบเขตของการขายสินค้า วัสดุอุปกรณ์ในการผลิต มาตราฐานการผลิตและการควบคุมคุณภาพ ย่อมมีผลโดยตรงต่อการกำหนดเบี้ยประกันภัย ซึ่งทางผู้ประกอบการควรให้รายละเอียดที่ชัดเจนและถูกต้อง เพราะจะทำให้เบี้ยประกันเป็นไปตามความเป็นจริง นอกจากนั้นกรมธรรม์ก็จะสามารถคุ้มครองหรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถึงเวลาที่จำเป็น ( โดยผู้ที่สนใจสามารถ Loaded แบบฟอร์ม ได้ )

:)

การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย
การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย คืออะไร?
คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองสำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหายเนื่องจากสินค้าของตนเป็นสินค้า
ที่ไม่ปลอดภัยทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทก็ตาม ใช้หลักความรับผิดแบบเคร่งครัดมาใช้ (Strict Liability)
ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 (Product Liability Law)
การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย เหมาะกับใคร?
1. ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า
2. ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้
3. ผู้ใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า

การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย มีกี่ประเภท?
มี 1 ประเภท

ความคุ้มครองเบื้องต้น ครอบคลุมอะไรบ้าง?

1. บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัย สำหรับความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยต่อผู้เสียหาย อันสืบเนื่องหรือ
เป็นผลมาจากผลิตภัณฑ์ที่เอาประกันภัยซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และเกิดเหตุการณ์ความเสียหายขึ้นภายในอาณาเขตความคุ้มครองที่เกิดขึ้น
ตั้งแต่วันที่มีผลคุ้มครองย้อนหลัง (Retroactive Date) ตามที่ระบุในตารางกรมธรรม์ประกันภัย และผู้เอาประกันภัยได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ต่อบริษัทภายในระยะเวลาเอาประกันภัยตามเกณฑ์วันเรียกร้อง (Claim Made Basis) สำหรับ
• ความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย การบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
• ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
• ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี

2. การล้มละลายหรือการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของผู้เอาประกันภัยหรือของกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะไม่เป็นการปลดเปลื้องบริษัท
จากภาระผูกพันภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้

อัตราเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง?
• ประเภทสินค้า
• ยอดขาย
• ขอบเขตอำนาจศาล
• จำนวนเงินจำกัดความรับผิด
• อาณาเขตที่คุ้มครอง

รายละเอียดสินค้า https://www.cymiz.com/product-liability.php
การขอใบเสนอราคา


ID=2889,MSG=3986
Re: ประกันภัยความรับผิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

Re: ประกันภัยความรับผิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

กฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ (Products Liability Law หรือ PL Law) มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 และมีผลใช้บังคับโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 โดยกฎหมายนี้มีสาระสำคัญในการกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าตามหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด (strict liability) อันทำให้ผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องให้ผู้ประกอบการรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้านั้นไม่ต้องพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการอีกทั้งในเรื่องค่าสินไหมทดแทนนั้น นอกจากผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายลักษณะละเมิดแล้ว กฎหมายยังได้กำหนดค่าเสียหายอีก 2 ประเภทที่ผู้เสียหายสามารถเรียกได้เพิ่มเติม คือ ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจ และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ (punitive damage) ลำดับในการอธิบายเป็นการอธิบายเนื้อหาเริ่มด้วยการปูพื้นเกี่ยวกับกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ เป็นเชิงประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ในเชิงประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ตลอดจนเหตุผลความจำเป็นในการตรา ความเป็นมา และภาพรวมของพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551    หลังจากนั้นได้เริ่มอธิบายเนื้อหาของกฎหมายไล่เรียงตามบทมาตรา โดยชื่อบทมาตราจะตรงกับเลขที่ของบทที่เป็นการอธิบายเนื้อหาของมาตรานั้น ในเนื้อหาแต่ละส่วนจะอธิบายตัวบทกฎหมาย เจนารมณ์ของกฎหมาย พร้อมทั้งยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาของศาลไทยในคดีละเมิดเพื่อเทียบเคียงให้เห็นภาพ ตลอดจนได้ยกตัวอย่างคดีความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่าง แล้ววิเคราะห์ว่าหากคดีเหล่านั้นเกิดขึ้นภายใต้กฎหมายไทยผลน่าจะออกมาในทิศทางใด เพื่อทำให้เห็นภาพของกฎหมายไทยได้ชัดเจนขึ้น

- เหตุความจำเป็นในการมีกฎหมายความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
- ความเป็นมาของพระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
- ภาพรวมของกฎหมายความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
- ความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ประกอบการต่อผู้เสียหาย
- ภาระการพิสูจน์ของผู้เสียหาย
- เหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการหลุดพ้น ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
- ข้อยกเว้นความรับผิดชอบของผู้ผลิตตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างให้ผลิตและผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้า
- ข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ
- การฟ้องคดี ฯลฯ

รายละเอียดสินค้า
https://www.cymiz.com/product-liability.php


ID=2889,MSG=3987


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 06:34:58am เปิดทำการ 9.00
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com