ตั้งธง!ยกชั้นประกันไทยเท่าสากล (2011)

ตั้งธง!ยกชั้นประกันไทยเท่าสากล (2011)

ตั้งธง!ยกชั้นประกันไทยเท่าสากล

เปิดแผนพัฒนาประกัน 5 ปีฉบับที่ 2 ปี 53-57 ตั้งธง! ยกชั้นประกันไทยเท่าสากล เพิ่มขีดความสามารถ แข่งขัน รับมือเปิดเสรีวาง 4 มาตรการ หนุนประเด็นสร้างความเข้มแข็ง ระบบ ประกันนำมาเป็นอันดับแรก ปี 54 เริ่มใช้ RBC ดำรงเงินกองทุนตามเสี่ยง ส่วนการสร้างความเชื่อมั่น ประชาชนเข้าถึงประกันและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคตามมาเป็นอันดับ 2 และ 3

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่าคปภ.อยู่ระหว่างจัดทำแผนพัฒนา การประกันภัย ฉบับที่ 2 พ.ศ.2553-2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการประกันภัยของไทยให้ก้าวสู่มาตรฐานสากล ระดับหนึ่งและพร้อม ที่จะก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการแผนพัฒนาสถาบันการเงินและตลาดทุน โดย ได้ทำงานร่วมกับบริษัทประกันภัยทั้งใหญ่ กลางและเล็กเชิญมาหารือวางมาตรการต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภาย ในเดือนมีนาคมนี้

ภายใต้แผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2 นี้ จะมีการกำหนดแนวทางและมาตรการสำหรับนโยบายในการเปิดเสรีของอุตสาหกรรมประกัน ภัยไทยเพื่อเตรียม ความพร้อมให้กับธุรกิจประกันภัยในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจ ประกันภัยในต่างประเทศโดยกำหนดให้มีการใช้แนวทางการกำกับดูแลเงินกองทุนตาม ระดับความเสี่ยง (Risk-Based Capital:RBC) ซึ่งจะบังคับใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2554 หลังจากนั้นจะมีการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคอาเซียนก่อน

นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนด มาตรการหลักที่สำคัญ 4 มาตรการหลักที่จะมีผลต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรม ประกันภัยไทยประกอบด้วย มาตรการที่ 1.การเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบประกันภัย มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อระบบประกันภัย ได้แก่ การตรวจสอบและกำกับ บริษัทประกันภัยตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Supervision : RBS), การกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (RBC), การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงคุณภาพ, การลดต้นทุนทางการประกันภัย, การเพิ่มมาตรการป้องกันความเสียหายอย่างทันท่วงที, การกำกับแบบรวมกลุ่ม, การลงทุน, ข้อพึงปฏิบัติในการเสนอขายและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ ประกันภัย, การ เตรียมความพร้อมให้ดำเนินการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและการ จัดทำมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการอุดหนุนเงินแก่ผู้ก่อการร้าย (AML/CFT), การพัฒนาด้านอัตราเบี้ยประกันภัย, การพัฒนากระบวนการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย, การสร้างมาตรการจูงใจเพื่อการควบรวมกิจการและการกำหนดแนวนโยบายในการเปิด เสรีธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน ปี 2563

มาตรการที่ 2 การเสริมสร้างความ เชื่อมั่นและการเข้าถึงระบบประกันภัยของประชาชน ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของประชาชน ที่เปลี่ยน แปลงไปตามสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจ สังคม กฎหมายและเทคโนโลยีสารสนเทศ, การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการให้บริการแบบครบวงจร, การเสริมสร้างความรู้ด้านประกันภัยให้กับประชาชนและการเสริมสร้างให้ระบบ ประกันภัยมีบทบาทต่อสังคมไทย

มาตรการที่ 3 การยกระดับการให้บริการและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพการให้บริการและการส่งเสริมจิตสาธารณะในระบบประกันภัย, การพัฒนาคุณภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยและการ เพิ่มบทบาทภาครัฐในการคุ้มครองประชาชนด้านประกันภัย

มาตรการที่ 4 การส่งเสริมโครงสร้าง พื้นฐานด้านการประกันภัย ได้แก่ การส่งเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, การสร้างและส่งเสริมศักยภาพด้านบุคลากรในระบบประกันภัย, การปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย, การปรับปรุง ระบบภาษีเพื่อการพัฒนาระบบประกันภัย และการจัดตั้งสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง

ทั้งนี้ สำนักงานคปภ. ได้มีการประเมินการดำเนินการตามแผนพัฒนา การประกันภัย ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2549-2554) พบว่าในขณะนี้การดำเนินการตามกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ได้บรรลุเป้าหมายสำคัญๆ ที่ตั้งไว้ในระดับหนึ่ง โดยมีการปรับโครงสร้างองค์กรกำกับดูแล จาก “กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์” หน่วยงานราชการ มาเป็น “สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)” ซึ่งเป็น หน่วยงานของรัฐ ที่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ ที่ไม่เป็นส่วนราชการ และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่ดำเนินงานตามทิศทางนโยบายและมาตรการที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

นอกจากนี้ ยังได้มีความคืบหน้าในมาตรการสำคัญๆ ของแผนฯ ด้วย คือ การปฏิรูปกฎหมายประกันภัย การพัฒนา ระบบการตรวจสอบและกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาและปรับใช้แนวทางการกำกับดูแลตามระดับความเสี่ยง และพัฒนาปรับ-ปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการในการวิเคราะห์และการกำกับบริษัทประกันภัยโดยมุ่งเน้น ที่ความเสี่ยงของบริษัท (Risk Focused Monitoring and Examination) โดย นำระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early WarningSystem : EWS) มาใช้ การพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาคุณภาพบุคลากรประกันภัยและการเพิ่มมาตรการจูงใจทางด้านภาษีโดยเพิ่ม จำนวนเบี้ยประกันชีวิตที่สามารถนำมาคำนวณหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้สูงขึ้นจากเดิม 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท เป็นต้น
   
ที่มา : สยามธุรกิจ


ID=1980,MSG=2271


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 09:20:51am ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com