ทำไมต้องทำ "ประกันบำนาญ"

ทำไมต้องทำ "ประกันบำนาญ"

ทำไมถึงต้องเลือกทำประกัน และทำไมต้องเป็นประกันแบบบำนาญ รวมถึงใครล่ะ ที่จะได้รับผลประโยชน์จากประกันบำนาญ

ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้บริษัทประกันชีวิต สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาเป็นส่วนลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ถึง 200,000 บาท จากเดิมที่กำหนดเอาไว้ 100,000 บาท นั้น ส่งผลให้ผู้ที่ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำเบี้ยประกันมาเป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย และ RMF แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เรื่องนี้แม้เป็นเรื่องใหม่ ที่บุคคลทั่วไปกำลังสนใจ โดยเฉพาะบริษัทประกันชีวิต ส่วนใหญ่ต่างก็รีบออกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อเสนอขายให้ทันภายในปี 2553 เพื่อให้ประชาชนที่ซื้อสามารถนำไปใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะต้องยื่นแบบการเสียภาษี ในปี 2554 เพื่อให้ทุกคนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำประกันแบบบำนาญ  ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนว่าทิศทางประชากรของไทย กำลังไปทางไหน

ทำไมการเพิ่มขึ้นของคนสูงอายุจึงน่าสนใจ
การมีจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หมายถึงว่าประเทศมีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นในการเตรียมรองรับการดูแลผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ยังมีผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารประเทศ เพราะเมื่อโครงสร้างประชากร เริ่มขยับไปสู่การมีประชากรสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ก็จะลดน้อยลง
ในปี 2533 มีประชากรวัยแรงงาน 10 คน ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน คาดว่าในปี 2563 ภาระของประชากรวัยแรงงาน ในการดูแลผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะประชากรวัยแรงงาน ประมาณ 4 คน จะต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 คน
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นนัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการลดลงของรายได้เฉลี่ยประชากร การออม การลงทุน รวมถึงรายจ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ด้านการประกันสังคม สุขภาพอนามัย และสวัสดิการผู้สูงอายุ นอกจากนี้ในด้านสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในลักษณะนี้ ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัว ซึ่งมีนัยว่า จะมีสมาชิกของครอบครัว ที่จะทำหน้าที่ในการให้การดูแลผู้สูงอายุน้อยลง

สิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญยามเกษียณ
เมื่อเข็มนาฬิกาชีวิตเดินทางมาหยุดที่ตัวเลข 60 เป็นสัญญาณเตือนให้ได้รู้ว่าความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เดินทางมาถึงแล้ว อาจมีหลายท่านที่ยิ้มรับกับช่วงเวลาดังกล่าว เพราะคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่จะได้มีความสุข เนื่องจากจะได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น หลังจากได้ทำงานหนักมาค่อนชีวิต รวมทั้งยังจะมีเวลามากพอที่จะท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ที่อยากจะไป หรือ ทำในสิ่งที่อยากจะทำ มีเวลาอยู่กับลูกหลานมากขึ้น แต่หลายท่านอาจจะลืมคิดไปว่าการเกษียณอายุนั้น นอกจากจะมาพร้อมกับการมีเวลาว่างมากขึ้น และไม่ต้องทำงานแล้ว นั้น ยังมีบางสิ่งที่ตามมาพร้อมกับการเกษียณอายุ คือ
1. การสูญเสียรายได้หลัก เมื่อเกษียณอายุแล้ว ก็หมายความว่าไม่มีงานทำ และเมื่อไม่มีงานทำก็ไม่มีรายได้หลักเหมือนเช่นแต่ก่อน ซึ่งจะสวนทางกับค่าใช้จ่ายที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย ค่าเดินทาง เป็นต้น ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีสัดส่วนลดลงเมื่อเกษียณอายุแล้ว แต่ก็ยังเป็นค่าใช้จ่ายประจำและต่อเนื่องไปจนสิ้นอายุขัย
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกษียณอายุแล้ว ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ค่าใช้จ่ายเดินทางท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการบริจาค และอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกคนยังต้องเผชิญเมื่อเกษียณอายุ
2. โรคภัยไข้เจ็บที่มาพร้อมกับการชราภาพ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ สิ่งที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าโรคที่จะมาพร้อมกับการเกษียณอายุสูงสุด 5 อันดับแรก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคต่อมไร้ท่อ , โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ , โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคระบบทางเดินหายใจ ตามลำดับ หากพิจารณาถึงวิธีการดูแลและรักษาโรคดังกล่าวแล้ว ก็พอจะคาดเดาได้ว่าจะต้องใช้เงินเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง และเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณอายุ โอกาสที่จะต้องเผชิญกับโรคดังกล่าวก็จะมีเพิ่มตามไปด้วย
3. อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อถือว่าเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดสำหรับวัยเกษียณเพราะทำให้ทรัพย์สินของผู้สูงอายุมีมูลค่าลดลงและมาตรฐานการครองชีพลดต่ำลง แม้ว่าจะไม่มีใครคิดว่าประเทศไทยจะมีชะตากรรมเช่นเดียวกับประเทศอาร์เจนตินา เมื่อช่วงยุคปี 1980 ซึ่งอัตราเงินเฟ้อสูงมากจนทำลายสังคมทั้งระบบ ความเป็นไปได้ที่รายได้จากเงินบำนาญ 120,000 บาทต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีค่าเพียงแค่ 82,000 บาทก็ได้ บนพื้นฐานที่สมมติฐานว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.5% หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 4.5% รายได้ที่ได้รับจากบำนาญก็จะมีค่าแค่ 74,000 บาท เท่านั้น และหากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 5.5% รายได้ที่ได้รับจากบำนาญก็จะมีค่าแค่ 66,000 บาท เท่านั้น ถือว่ามีมูลค่าแค่ครึ่งหนึ่งของจำนวนเดิม
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เมื่อภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อก็ยิ่งทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณยากลำบากมากขึ้นอีกเท่าตัว หากมีชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาเงินออม จึงเป็นคำถามว่าผู้สูงอายุ หรือ เราๆ ท่านๆ จะมีการรับมืออย่างไรในภาวะอัตราเงินเฟ้อสูงและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำติดดิน สิ่งที่เราๆ ท่านๆ ทำได้ คือ การคำนวณดูว่า ท่านต้องการเงินเป็นจำนวนเท่าใดสำหรับวัยเกษียณ โดยรักษามาตรฐานการครองชีพที่ดีของท่านเช่นในปัจจุบัน
  ปัจจุบันมีการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่ก้าวล้ำอย่างมาก ทำให้คนที่มีอายุเข้าสู่วัย 60 ปี นั้น อาจจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก ถึง 19 ปี สำหรับผู้ชายไทย และอีก 21.5 ปี สำหรับผู้หญิงไทย นั่นหมายความว่าผู้ชายไทยจะมีอายุขัยมากถึง 79 ปี และ 81.5 ปี สำหรับหญิงไทย ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน สำหรับการใช้ชีวิตในช่วงหลังวัยเกษียณของแต่ละคน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องดีนัก เพราะยิ่งมีอายุยืนยาวขึ้นเท่าไร ยิ่งต้องการเงินเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น    ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มองเรื่องการออมเพื่อการเกษียณยังเป็นเรื่องที่รองลงมา ทำให้หลายครัวเรือนจึงประสบปัญหามีเงินออมที่ไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในวัยเกษียณ ทำให้ต้องกลับไปทำงานเพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ สาเหตุหลักนั้นก็มาจากการประเมินค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณที่ต่ำเกินไป และขาดการวางแผนการเงินให้ได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพเมื่อเข้าสู่ วัยสูงอายุ ส่งผลให้มีการออมเพื่อการเกษียณที่ช้า

ถ้าใครยังไม่ได้เริ่มออมเงินเพื่อการเกษียณ ก็ควรที่จะเริ่มออมตั้งแต่ตอนนี้ เพราะการออมเงินเพื่อการเกษียณนั้นจะต้องใช้เวลาในการออมอย่างน้อย 15 ปี เพื่อให้เงินออมได้มีเวลาสำหรับการสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นอย่างมีนัยสำคัญ การออมเป็นเรื่องของระยะเวลา ยิ่งออมนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งสบายตอนแก่มากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น เราจึงควรเริ่มออมเงินเพื่อการเกษียณตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ความจริงในปัจจุบัน คนทั่วไปมีช่วงอายุทำงานอยู่ระหว่าง 25-55 ปี ดังนั้นจึงมีระยะเวลาในการหารายได้ และเก็บเงินออม 30 ปี หากออมเงินเดือนละ 5,000 บาท และได้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5% ต่อปี ก็จะมีเงินออม อยู่ที่ประมาณ 4,161,293 บาท ในขณะที่มีช่วงอายุหลังเกษียณ ซึ่งไม่มีรายได้ แต่ต้องใช้เงินออม จะเริ่มตั้งแต่อายุ 55-85 ปี มีระยะเวลาหลังเกษียณ 30 ปี มีเงินที่ใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณอยู่ที่ 11,599 บาท

กฎเกณฑ์ประกันบำนาญ
"จันทรา บูรณฤกษ์" เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ให้ทัศนะว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบการประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยอนุมัติวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เพิ่มจากวงเงินเดิมสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท เป็น 300,000 บาท
ทั้งนี้วงเงินส่วนที่เพิ่มขึ้น 200,000 บาท นั้น ต้องเป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญเท่านั้น และต้อง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน ซึ่งเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนอื่นๆ ประเภทเดียวกันเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ตาม กฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (RMF) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

คปภ . จะเร่งประสานกับภาคธุรกิจในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจรูปแบบของการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมดังกล่าวได้ ว่าต้องมีหลักเกณฑ์ เช่น
1. ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปีขึ้นไป
2. การจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญ จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตั้งแต่อายุ 55 ปี ขึ้นไป และจ่ายต่อเนื่องไปจนผู้เอาประกันภัยอายุเกิน 85 ปี
3. เป็นกรมธรรม์ที่ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใด ก่อนที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญที่อายุ ครบ 55 ปี ยกเว้นผลประโยชน์กรณีการเสียชีวิต หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186
"สุทธิ รจิตรังสรรค์" นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ได้แสดงความคิดเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่รัฐบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยผลักดันมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบการประกันชีวิตแบบบำนาญ นอกจากนั้นยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้ทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อสะสมเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณอายุอันจะเป็นการช่วยสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิตในบั้นปลาย และเพื่อเพิ่มทางเลือกในการออมทำให้การออมของประเทศในระยะยาวเพิ่มมากขึ้น
อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ และลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุในอนาคตได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้นับเป็นนโยบายของภาครัฐที่ช่วยส่งเสริมการออมของธุรกิจประกันชีวิตอย่างแท้จริง โดยจะเป็นแรงจูงใจที่ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนสนใจและหันมาทำประกันชีวิตแบบบำนาญมากขึ้น ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการวางแผนความมั่นคงให้กับชีวิตในยามชราภาพโดยไม่สร้างภาระให้กับครอบครัว สังคมและประเทศชาติ
เมื่อการออมของประชาชนเพิ่มขึ้น ระดับเงินออมภายในประเทศก็สูงขึ้นก็จะทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ และในภาคของผู้ประกอบการก็จะคิดค้นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพื่อนำเสนอให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ทุกอาชีพ เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนต่อไป

ใครเหมาะสมจะทำประกันบำนาญ
อายุ ระหว่าง 30-55 ปี ทำได้ทุกคน หรือ ผู้ที่ลงทุนผ่าน RMF แต่ยังลงทุนไม่ถึง 500,000 บาท หรือ กลุ่มคนที่ไม่ชอบความเสี่ยงในการลงทุน และต้องการผลตอบแทนที่แน่นอน หรือ กลุ่มคนที่ไม่ต้องการเป็นภาระลูกหลาน หรือ แม้กระทั่งคนโสด

จากการสำรวจประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่มีการเสนอขายในปัจจุบัน คือ เมืองไทยประกันชีวิต , เอไอเอ , ไอเอ็นจี และธนาคารทหารไทย ที่ผ่านมาการอนุมัติแบบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีลักษณะที่คล้ายๆ กัน คือ เป็นแบบประกันที่รับประกันตั้งแต่อายุ 30-55 ปี มีการรับรองการจ่ายเงินเป็นจำนวนเดียวเท่ากันทุกปี เริ่มตั้งแต่ ปีที่ผู้เอาประกันอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี แล้วแต่แบบประกันที่ลูกค้าเลือกซื้อ โดยจะมีการจ่ายเงินบำนาญให้กับผู้เอาประกันภัยประมาณ 12% ของทุนประกันภัย

ตัวอย่างแบบประกันบำนาญของ เมืองไทยประกันชีวิต แบบ 8555 (บำนาญแบบลดหย่อนได้)
รับประกันตั้งแต่อายุ 30-50 ปี ทุนประกัน 1 ล้านบาท สามารถส่งเบี้ยประกันแบบรายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือนและรายปี ส่วนเบี้ยประกันนั้นขึ้นอยู่กับอายุ และเพศ ซึ่งไม่เท่ากัน ผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้น เมื่อผู้เอาประกันมีอายุครบ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญปีละ 12% ของทุนประกันที่ 1 ล้านบาท นั่นหมายความว่า ผู้เอาประกันจะได้รับเงินบำนาญปีละ 120,000 บาท ไปจนถึงอายุ 85 ปี
คำถามที่ตามมา คือ กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนรับเงินบำนาญละ จะทำอย่างไร ตัวอย่างนี้ก็มีให้เห็นเช่นกัน คือ สมมติว่าผู้เอาประกันได้ส่งเบี้ยประกันมาเป็นเวลา 7 ปี แล้วเสียชีวิต ในกรณีนี้ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือ มูลค่าเวนคืนในขณะนั้น แล้วแต่จำนวนใดมีค่าสูงกว่า
ในทำนองเดียวกันกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหลังรับบำนาญไปแล้ว เช่น รับบำนาญไปแล้ว 5 ปี ทายาท หรือ ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับผลประโยชน์เท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญที่ยังไม่ได้รับอีก 5 งวด หรือ 5 ปี เพราะตามเกณฑ์ระบุเอาไว้ว่า มีการการันตีรับบำนาญ 10 ปี
คำถามเกี่ยวกับสิทธิเรื่องภาษีและแบบประกันบำนาญที่ลดหย่อนภาษีได้ ยังเป็นเรื่องที่ทุกคนสงสัยอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นใครก็ตามที่จะซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ นั้นให้ตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่า ต้องเป็นแบบประกันที่ออกหลังจากที่ ครม.อนุมัติเท่านั้น และต้องระบุว่าเป็น "บำนาญแบบลดหย่อนได้" หรือหากสงสัยให้ติดต่อกับตัวแทนฝ่ายขาย หรือเจ้าหน้าที่ของแต่ละบริษัท เท่านี้ก็ได้รับคำตอบแล้ว

สำหรับคนที่ไม่เคยมีประกันชีวิตเลย
สำหรับบุคคลที่ไม่เคยมีประกันชีวิตเลย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ดังนั้น คือ
1.เบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาทแรก สามารถลดหย่อนได้เต็มจำนวนตามหลักเกณฑ์เดิม
2.เบี้ยประกันชีวิตที่เหลือ 200,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ในวงเงินไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน
ตัวอย่างที่ 1
นาย A มีรายได้พึงประเมิน 1 ล้านบาท 15% เท่ากับ 150,000 บาท สามารถหักลดหย่อนภาษีบำนาญใหม่ได้ 150,000 บาท รวมกับหักลดหย่อนภาษีเดิมอีก 100,000 บาท เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 250,000 บาท
ตัวอย่างที่ 2
นาย B มีรายได้พึงประเมิน 2 ล้านบาท 15% เท่ากับ 300,000 บาท สามารถหักลดหย่อนภาษีบำนาญใหม่ได้ 200,000 บาท รวมหักลดหย่อนภาษีได้ 300,000 บาท

บุคคลที่มีประกันชีวิตอยู่แล้ว
บุคคลที่มีประกันชีวิตทุกแบบเดิมที่ลดหย่อนภาษีได้ หากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์เดิมไว้ สมมุติว่า 50,000 บาท
สามารถหักลดหย่อนภาษีในเงื่อนไขเดิมได้ 100,000 บาทแรกได้ 50,000 บาทอยู่แล้ว ส่วนเบี้ยประกันชีวิตที่เหลืออีก 250,000 บาทสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ดังนี้

สมมุติว่า นาย A มีรายได้พึงประเมิน 1 ล้านบาท 15% ของรายได้ก็เท่ากับ 150,000 บาท เพราะฉะนั้นสามารถหักลดหย่อนภาษีแบบบำนาญใหม่ได้ 150,000 บาท บวกกับ 50,000 บาทเดิม เพราะฉะนั้นสามารถลดหย่อนภาษีได้ 200,000 บาท

สมมติว่า นาย B มีรายได้พึงประเมิน 2 ล้านบาท 15% ของรายได้ก็เท่ากับ 300,000 บาท เกณฑ์ใหม่ระบุว่า สามารถลดหย่อนภาษีได้ 200,000 บาท เพราะฉะนั้น เมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตเดิมที่มีอยู่ 50,000 บาท นาย B สามารถลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 250,000 บาท


ID=1912,MSG=2164
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 01:58:01pm... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com