ความแตกต่างของ ตัวแทนประกันภัย vs นายหน้าประกันภัย

ความแตกต่างของ ตัวแทนประกันภัย vs นายหน้าประกันภัย

ความแตกต่างของ ตัวแทนประกันภัย vs นายหน้าประกันภัย

ตัวแทนประกันภัย ใช้เรียก ชื่อ รวมๆของ ตัวแทน และ นายหน้า

ตัวแทนประกันวินาศภัย = Insurance Agents
นายหน้าประกันภัย = Insurance Brokers (มี2ประเภท คือ จดนิติบุคคล และ เป็นบุคคลธรรมดา)

คำอื่นๆที่ใกล้เคียง
ตัวเเทนประกันชีวิต = Life Insurance Agents
นายหน้าประกันชีวิต = Life Insurance Brokers

การพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวกับการประกันมืออาชีพเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาของแผนประกันทางธุรกิจ และต่อไปนี้ คือ ความแตกต่างระหว่างตัวแทนประกันภัยและนายหน้าประกันภัย

ตัวแทนประกันภัย
ตัวแทนประกันภัย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัย ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง บริษัท ประกันภัยและผู้เอาประกัน แนะนำ ช่วยเลือก เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีจะได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมและทำให้คุณได้ซื้อความคุ้มครองที่จำเป็น

ตัวแทนประกันภัยสามารถเป็นได้ทั้ง :
ตัวแทนประกันภัยแบบไม่อิสระ
เป็นตัวแทนประกันภัยที่ทำงานให้กับ บริษัท ประกันเพียงหนึ่งเดียว แห่งเดียว โดยเซ็นสัญญาลักษะ เป็น contact ไม่ใช่ลูกจ้าง ไม่ใช่พนักงาน และจะขายประกัน ตามนโยบายของบริษัท ตัวแทนแบบไม่อิสระ อาจเรียกว่าตัวเเทน แบบจำเลย หรือ ตัวเเทนเชลย หรือ ตัวเเทนทาส ก็ได้ ในความหมายจริงๆ และ ในความเป็นจริงก็เป็นอย่างนั้น
;D

ตัวแทนประกันภัยแบบอิสระ
ตัวแทนประกันภัยอิสระ เป็นตัวแทนประกันภัยที่ทำงาน หลากหลายของผู้ประกันตนที่แตกต่างกัน ตัวแทนประกันภัยอิสระสามารถขายประกันได้หลายบริษัท หลากหลายแบบประกัน มีการเปรียบเทียบบางส่วนของนโยบายการประกันที่แตกต่างกัน จึงสามารถตอบสนองความต้องการของผุ้เอาประกันได้ดีกว่า อย่างน้อยๆก็ในด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ประกันจากหลากหลายบริษัท

โบรกเกอร์ประกันภัย หรือ นายหน้าประกันภัย
นายหน้าประกันภัย สามารถนำเสนอ ทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อให้คุณพิจารณา โบรกเกอร์จะต้องมีใบอนุญาตโบรกเกอร์ที่มักจะหมายถึงโบรกเกอร์ที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมหรือประสบการณ์มากกว่าตัวแทน

โบรกเกอร์ยังมีหน้าที่ที่สูงขึ้นในรัฐส่วนใหญ่ให้กับลูกค้าของพวกเขา โบรกเกอร์มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ธุรกิจและการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมถูกต้องและเพียงพอสำหรับธุรกิจที่ นี้เป็นหน้าที่ที่สูงกว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลระบบที่บริสุทธิ์ของตัวแทน แต่ความเชี่ยวชาญนี้มาที่ค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น โบรกเกอร์มักจะเสียค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมในการบริหารหรือการชำระเบี้ยประกันจะสูงกว่า

ความหมายในเชิงของกฏหมาย
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ตัวแทนประกันวินาศภัยและ นายหน้าประกันวินาศภัย ดังนี้คือ
ตัวแทนประกันวินาศภัย หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท
นายหน้าประกันวินาศภัย หมายความว่า ผู้ซึ่งชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทโดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น

จากคำจำกัดความข้างต้น สามารถแยกข้อแตกต่างระหว่างตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัยได้ดังนี้
1. นายหน้าประกันวินาศภัย ทำงานเป็นอิสระไม่อยู่ในบังคับบัญชาหรือการควบคุมของ บริษัทผู้รับประกันภัย (Professional Broker) แต่ตัวแทนประกันวินาศภัยจะทำงานโดยได้รับการมอบหมายจากบริษัทผู้รับประกันภัยให้ทำหน้าที่แทน

2. นายหน้าประกันวินาศภัย ทำงานโดยหวังบำเหน็จหรือผลประโยชน์ จากการชี้ช่อง หรือ จัดการให้ผู้ที่จะทำประกันภัยเข้าทำสัญญา กับ บริษัทผู้รับประกันภัยนั้น ๆ โดยใช้เงินทุนในการดำเนินการของ นายหน้าประกันวินาศภัยเอง ส่วนตัวแทนประกันวินาศภัยจะดำเนินการโดยใช้เงินทุนของบริษัทผู้รับประกันภัย ถึง แม้ว่าการดำเนินการของ ตัวแทนประกันวินาศภัยจะได้รับค่าตอบแทนจาก บริษัทผู้รับประกันภัยก็ตาม

3. นายหน้าประกันวินาศภัย ทำหน้าที่ " ชี้ช่อง " หรือ " จัดการ "
คำว่า ชี้ช่อง น่าจะหมายถึงการแนะนำ หาช่องทาง ให้ผู้เอาประกันภัย เข้าทำสัญญากับผู้รับประกันภัยจนสำเร็จ
คำว่า จัดการ นั้น จะหมายถึงการกระทำใด ๆ อันเหมาะสมและจำเป็นเพื่อให้การทำสัญญาประกันภัย สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี รวมถึงการเข้าเจรจาต่อรองเงื่อนไข หรือข้อคุ้มครองต่าง ๆ และการตกลงจำนวนเบี้ยประกันภัย กับผู้รับประกันภัยด้วย

ตัวแทนประกันวินาศภัย ปกติมีหน้าที่ เฉพาะการชักชวนให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยเท่านั้น ไม่สีสิทธิเข้าทำสัญญาประกันภัยแทนผู้รับประกันภัย ซึ่งเป็นตัวการแต่อย่างใด เว้นแต่จะได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือ จากบริษัทผู้รับประกันภัย ตามแบบที่อธิบดีกำหนดไว้

- แต่ความหมายของตัวแทนประกันภัย และนายหน้าประกันภัย ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 หมวด 5 มาตรา 49 ถึง มาตรา 64 ให้ความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ตัวแทนประกันวินาศภัยต้องระบุว่าเป็นตัวแทนของบริษัทผู้รับประกันภัย บริษัทไหน แต่หากตัวแทนประกัน วินาศภัยนั้น ๆ ต้องการเป็นตัวแทนให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยอื่น เพิ่มขึ้นก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือยินยอมจากบริษัทผู้รับประกันภัยเดิม ที่ตัวแทนนั้น เป็นอยู่ ให้แก่นายทะเบียนพิจารณา และออกใบอนุญาตใหม่ เพิ่มเติมให้แก่ตัวแทน นั้น ๆ แต่ส่วนนายหน้าประกันภวินาศภัยไม่จำเป็นต้องกำหนดว่าเป็นนายหน้าของบริษัทผู้รับประกันภัยใด

2. ตัวแทนประกันวินาศภัยต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ส่วนนายหน้าประกันวินาศภัย เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล

3. ตัวแทนประกันวินาศภัย สามารถมีตำแหน่งใด ๆ ในบริษัทประกันวินาศภัย หรือบริษัทอื่น ๆ ก็ได้ แต่นายหน้า ประกันวินาศภัย จะต้องไม่เป็น กรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือลูกจ้างในบริษัทใด ๆ มิฉะนั้น ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยของผู้นั้นจะสิ้นสุดลง

4. นายหน้าประกันวินาศภัย สามารถรับเบี้ยประกันภัยและทำสัญญาประกันภัยในนามของบริษัทผู้รับประกันภัยที่ตนกระทำการเป็นตัวแทนได้ ในเมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัทผู้รับประกันภัย นั้น ๆ แต่ส่วนนายหน้าประกันวินาศภัย ไม่มีสิทธิกระทำการเช่นนั้น แทนบริษัทผู้รับประกันภัยได้เลย

5. การขออนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย นายทะเบียนจัดให้มีการสอบความรู้เกี่ยวกับการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย แต่การขออนุญาติเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยกฏหมายไม่ได้กำหนดให้มีการสอบไว้ แต่ในทางปฏิบัติ นายทะเบียนจะจัดให้มีการสอบความรู้เช่นเดียวกับนายหน้าประกันวินาศภัย

6. นายหน้าประกันวินาศภัย จะต้องมีสำนักงานตามที่ระบุไว้ในคำขอ รับอนุญาต จะต้องจัดทำสมุดทะเบียนและสมุดบัญชี เกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันวินาศภัย ตามแบบและรายการที่นายทะเบียนกำหนด ส่วนตัวแทนประกันวินาศภัยเป็นตัวแทนของบริษัทผู้รับประกันภัย จึงไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานและจัดทำบัญชี เช่นเดียวกับ นายหน้าประกันภัย

หมายเหตุ : อ้างอิงและคัดลอกข้อความบางส่วนจาก หนังสือความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับการประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัยประจำปี พ.ศ. 2528-29


ID=1349,MSG=1507
Re: ความแตกต่างของ ตัวแทนประกันภัย vs นายหน้าประกันภัย

Re: ความแตกต่างของ ตัวแทนประกันภัย vs นายหน้าประกันภัย

ความแตกต่างของ ตัวแทน(นายหน้า)ประกันชีวิต กับ ตัวแทน(นายหน้า)ประกันวินาศภัย

1. ข้อดี-ข้อเสียของการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตกับนายหน้าขายประกันชีวิต

ข้อ 1. ข้อดีของการเป็นนายหน้าประกันภัย คือ  ขายง่าย เพราะ เป็นความต้องการ ของผู้ที่จะซื้ออยู่แล้ว เรามีหน้าที่เพียงเลือก บริษัทประกัน และราคาประกันที่เหมาะสมเป็นที่ถูกใจลูกค้า
ข้อเสีย : ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่า ประกันชีวิต (ประกันชีวิตค่านายหน้า หรือ ค่าคอมมิสชั่น ปีแรก 40% ปัจจุบันอาจลดลง เป็น 35% 30 หรือ น้อยกว่านั้น เมื่อหลายสิบปีก่อน 60% ก็เคยมี ) แถมต้องแข่งกับนายหน้าหรือตัวแทนคนอื่น  โบรกเกอร์บางแห่งก็ได้ราคาดีกว่าเรา หรือ อาจจะติดปัญหาหลายๆอย่างเช่น  บริษัทประกัน ก  มีนาย ข  และ ค เป็น  นายหน้าอยู่  แต่ นายหน้า ข มียอดเดือนละ 100 ล้านบาท จึงไปขอต่อรองกับบริษัท ก  ว่า ถ้าจะรับทำเป้า ให้กับ บริษัท ก เดือนละ 150 ล้าน โดย ถ้าถึงเป้า บริษัท ก จะต้องให้ส่วนลด กลุ่ม ให้กับงาน ของ  นาย ข ทุกคัน  ซึ่ง เมื่อทั้ง นาย ข  และ  ค  ได้ สอบถามราคาเบี้ยประกัน ในรถคันเดียวกัน ก็จะได้ราคาที่ต่างกัน คือ ของนาย ค จะแพงกว่า 10 % ซึ่ง จะทำให้ นาย  ค  ปิดงานไม่ได้ เพราะเบี้ย แพงกว่า  นาย  ข  ( อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ เพราะ มันเกิดไปแล้ว กับบริษัทประกัน แห่งหนึ่ง ที่ ใหญ่เป็น อันดับ 2 ของประเทศ และภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ )
หรือ  บ่อยครั้งที่ ลูกค้ามีประวัติดี มากๆเช่น  เดิมทำอยู่กับสินมั่นคง  5 ปีแล้วไม่เคยเคลมเลย เบี้ยชั้น 1 เหลือ ประมาณ 10000 ต้นๆ ไม่ถึง 12000 แต่พอลูกค้ามาให้เราเช็ค กลับกลายเป็น โอนโค้ดเปลี่ยนผู้ดูแลไม่ได้  และ เมื่อเราเช็คให้ที่อื่น ก็ 14000 ขึ้นทั้งนั้น ก็บ่อยนะครับ
และอย่าสุดท้าย  คือ  คุณเป็น นายหน้า คุณต้อง ไปแข่งกับ นายหน้าเจ้าใหญ่ๆที่มีลูกเล่นเยอะ เช่น  TQ*  ที่โทรหาลูกค้าก่อน เป็น 5-6 เดือน กว่าจะหมดประกัน  หรือ  ของ  sil*pla*  ที่ให้ลูกค้าสามารถผ่อนได้ เป็น 10 เดือน  ในขณะที่คุณเอง ไม่สามารถให้ลูกค้าผ่อนได้

2. รายได้ของทั้งสองอย่างเป็นอย่างไร
ค่าคอมของนายหน้าประกัน หรือตัวแทน จะอยู่ที่ 18 %  แต่ ก็จะมากกว่านั้น ถ้าเป็นโบรคเกอร์ที่มียอดเยอะๆ ก็จะได้ + ค่าการตลาด  หรือ ค่าออกกรมธรรม์ แล้ว แต่ เขาจะเลี่ยงไปใช้  จะเป็น 18+1  หรือ 18+2  หรือ 18+3  ก็แล้วแต่ยอด และ ในสิ้นปี หาก ลูกค้าของคุณ มียอดเคลมน้อย  บริษัทประกัน ก็จะมีโบนัสพิเศษให้ครับ

ค่าคอมของตัวแทนประกันชีวิต(นายหน้าประกันชีวิต) แล้วแต่แบบประกันที่ขาย ตั้งแต่ 1% -  50% (ปัจจุบันประมาณ 35%) ปีแรก ปีต่อไปลดเหลือ ครึ่งหนึ่ง

3. เป็นไปได้ไหมที่เราเป็นตัวแทนขายประกันบริษัทหนึ่ง แล้วก็ไปขายประกันของบริษัทอื่นด้วย

เยอะแยะไปครับ ที่เป็น ตัวแทน ของบริษัทนึง แล้ว แอบไปส่งอีกบริษัทนึง ไม่ใช่ว่าเพราะไม่ซื่อสัตย์ นะครับ แต่เพราะเหตุผลบางประการ เช่น เบี้ยแพงกว่ากันเยอะ  ก็ต้องขอบอกก่อนว่า บริษัทประกัน แต่ละบริษัท จะมีกลุ่มรถที่เขา จะเล่นอยู่ครับ ถ้าไม่ใช่ในกลุ่มรถนั้น แพงครับ เช่น
อิซูซุ Dmax cab  ถ้า ซ่อมห้าง สินมั่นคง ราคา 21000  วิริยะ ไม่รับ  LMG  22,000  ไทยพานิชย์  16500  บาท  แบบนี้ ตัวแทน วิริยะ  สินมั่นคง  ปวดหัวเลยครับ เพราะเบี้ยสู้ของ ไทยพานิชย์ไม่ได้  หรือ บางที บริษัทประกันที่เราเป็น ตัวแทนอยู่ ไม่รับรถ ชนิดนั้นๆ เช่น  เป็นตัวแทน ของ ทิพย  แต่มีลูกค้า เป็น รถตู้ป้ายเหลือง วิ่งวิน มา แน่นอน ทิพย ไม่เอาครับ  คุณจะทำยังไง จะปล่อยลูกค้าไปหรือ  ในขณะที่ มิตรแท้ รับ  สินมั่นคงรับ  วิริยะ รับ คุณก็ต้องไปส่ง บริษัทอื่นนั่นละ

4. ถ้าเป็นนายหน้า ขายได้แล้ว ใครจะมาดูแลลูกค้าต่อให้
นายหน้าเป็นเพียงผู้ชี้ชอ่ง นะครับ  เมื่อ ลูกค้าตกลงทำประกัน เช่น ลูกค้าเลือกกรุงเทพประกันภัย  เมื่อถึงคราเกิดเหตุ ก็เป็นหน้าที่ของ ลูกค้าละครับ ที่จะแจ้งเหตุไปที่กรุงเทพ ประกันภัย  นายหน้าจะประสานงานให้บ้างในกรณี ที่ ลูกค้ามีอัน ต้อง ถกเถียงกับ บริษัทประกัน เช่น  บริษัทประกัน จะเก็บค่า excess ลูกค้า เราก็อาจจะต้องคอยเถียง หรือ ขอร้องให้ เป็นต้น


5. ถ้าอย่างจะเริ่มทำในแต่ละแบบ ผมต้องเริ่มทำยังไงบ้างครับ ต้องสอบอะไร สอบที่ไหน หาข้อมูลได้จากไหน

ขั้นตอนการสมัคร  (กรุงเทพ เปิดรับสมัครวันที่ 15 ของทุกเดือน ถึง สิ้นเดือน)
http://www.oic.or.th/th/eservice/index.php/testing

วิธีสมัคร
http://www.oic.or.th/th/eservice/index.php/testing/go2NonLife

สงสัยอะไรดูที่นี่
http://www.oic.or.th/th/eservice/index.php/testing/go2Faq

6. ถ้าจะเป็นนายหน้าขายประกัน จำเป็นต้องก่อตั้งเป็นนิติบุคคลรึเปล่า
ไม่จำเป็นต้องเป็น นิติบุคคลครับ ไว้ คุณมียอดเยอะๆ เป็นล้าน แล้วค่อยตั้งเป็น นิติบุคคล

http://pantip.com/topic/30096563


ID=1349,MSG=3018
Re: ความแตกต่างของ ตัวแทนประกันภัย vs นายหน้าประกันภัย

Re: ความแตกต่างของ ตัวแทนประกันภัย vs นายหน้าประกันภัย

นายหน้าประกันภัย(โบรกเกอร์) รายใหญ่ๆ
บริษัทโตโยต้าอินชัวรันส์ โบรกเกอร์ บริษัทฮอนด้าอินชัวรันส์โบรกเกอร์ ห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส บริษัทล็อคตันโบรกเกอร์ บริษัททีคิวเอ็ม  โบรกเกอร์ และอีกหลายรายเป็นต้น

นายหน้าประกันภัย หรือ Broker มี 2 ประเภท
นายหน้าบุคคลธรรมดา
นายหน้านิติบุคคล

บริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยที่เป็นนิติบุคคลในระบบ มีหลายร้อยบริษัทที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ปัจจุบันมีเพียง 60 บริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมฯเท่านั้น

ช่องทางการซื้อประกัน มีความแตกต่างกันอย่างไร?
http://www.cymiz.com/insurance/chanel-to-buy-insurance.html


ID=1349,MSG=3019


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Thursday เวลา 04:46:06am ...
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com