ประกันความรับผิดชอบของนายจ้าง (ต่อลูกจ้าง)

ประกันความรับผิดชอบของนายจ้าง (ต่อลูกจ้าง)

ประกันความรับผิดชอบของนายจ้าง (ต่อลูกจ้าง) (Employers’ Liability Compulsory Insurance)

ประกันความรับผิดชอบของนายจ้าง (ต่อลูกจ้าง) (Employers’ Liability Compulsory Insurance)

คำแนะนำสำหรับนายจ้าง
ตามกฎหมายนายจ้างจำเป็นต้องมีประกันความรับผิดชอบให้กับลูกจ้างในกรณีเกิดการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย เพราะทำงานให้นายจ้าง

ประกันความรับผิดชอบของนายจ้าง (Employers’ Liability Compulsory Insurance) คืออะไร
นายจ้างจะต้องรับผิดชอบต่อภัยอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างและความปลอดภัยในที่ทำงาน ระหว่างที่ลูกจ้างทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้างอาจจะได้รับบาดเจ็บในที่ทำงาน หรือเกิดอาการเจ็บป่วยเพราะงานที่ทำให้นายจ้าง และถึงแม้ลูกจ้างจะได้ออกจากงานนั้นไปแล้ว ลูกจ้างก็อาจจะร้องเรียนให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยให้ได้ หากนายจ้างมีส่วนรับผิดชอบ ประกันความรับผิดชอบของนายจ้างนี้ก็หมายความว่า นายจ้างจะต้องมีกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจะจ่ายเงินค่าชดเชยเหล่านี้ให้แก่ลูกจ้าง ในขั้นต่ำสุดที่กฎหมายกำหนดไว้

ประกันความรับผิดชอบนี้จะทำให้นายจ้างสามารถจ่ายเงินค่าชดเชยให้ลูกจ้างได้ ไม่ว่าอาการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจะเกิดขึ้นใน หรือนอกสถานที่ทำงาน แต่อย่างไรก็ตามหากลูกจ้างประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถยนต์ในระหว่างที่ทำงานให้นายจ้าง ประกันภัยของรถยนต์อาจจะครอบคลุมในกรณีนั้น

ประกันความรับผิดชอบต่อสาธารณชน (Public Liability Insurance) ต่างจากประกันความรับผิดชอบของนายจ้าง ตรงที่
ประกันความรับผิดชอบต่อสาธารณชน (Public Liability Insurance) จะคุ้มครองในกรณีที่บุคคลภายนอก หรือ กิจการอื่น ๆ ฟ้องร้องนายจ้าง แต่ไม่คุ้มครองในกรณีลูกจ้างเป็นผู้ฟ้อง กฎหมายไม่ได้บังคับให้นายจ้างมีประกัน ฯ ต่อสาธารณชน แต่นายจ้างจำเป็นต้องมีประกัน ฯ ต่อลูกจ้าง นายจ้างผู้ใดไม่มีประกันภัย ฯ ต่อลูกจ้าง ซึ่งยังไม่หมดอายุ และมีผลบังคับตามกฎหมาย นายจ้างผู้นั้นก็อาจโดนปรับได้

ซื้อประกันภัยได้จากบริษัทไหน
ท่านจะต้องซื้อกรมธรรม์ประกัน ฯ ต่อลูกจ้าง จากบริษัทประกันที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย ท่านต้องสอบถามกับบริษัทประกันของท่านว่าเขาได้รับอนุญาตหรือไม่ ก่อนที่จะซื้อประกันชนิดนี้ บริษัทประกันที่ได้รับอนุญาตคือผู้ที่ประกอบการภายใต้การควบคุมของ Financial Services Authority: FSA ผู้ซึ่งมีบัญชีรายชื่อบริษัทประกันที่ได้รับอนุญาตแล้ว ท่านอาจตรวจสอบได้ว่าบริษัทประกันของท่านได้รับอนุญาตหรือไม่ที่ www.fsa.gov.uk หรือโทรศัพท์ไปที่ FSA หมายเลข 0845 606 1234

กรมธรรม์ประกัน ฯ จะมีข้อแม้ได้หรือไม่
หากท่านซื้อกรมธรรม์ ฯ ท่านจำเป็นต้องตกลงกับบริษัทประกันว่าเขาจะจ่ายเงินค่าชดเชยให้ลูกจ้างในกรณีใดบ้าง เช่นกรมธรรม์ ฯ จะครอบคลุมถึงการงานประเภทใดในกิจการของท่านบ้าง แต่ท่านไม่มีสิทธิที่จะตกลงกับบริษัทประกัน และเขาก็ไม่มีสิทธิบังคับให้ท่านรับเงื่อนไขที่อาจลดเงินค่าชดเชยที่จ่ายให้ลูกจ้างได้ และท่านจำเป็นต้องตรวจสอบว่ากรมธรรม์ประกัน ฯ ของท่านไม่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

บริษัทประกันไม่อาจปฏิเสธการจ่ายเงินค่าชดเชยเพียงเพราะเหตุผลดังต่อไปนี้
• ท่านไม่ได้จัดหาอุปกรณ์ที่สมควรเพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยให้แก่ลูกจ้าง
• ท่านไม่ได้เก็บรักษาประวัติข้อมูลของลูกจ้าง และไม่สามารถให้ข้อมูลเหล่านี้แก่บริษัทประกัน ฯ ได้
• ท่าน (หรือลูกจ้างอื่น ๆ ของท่าน) ได้ประพฤติปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างที่บริษัทประกันได้ห้ามท่านไว้แล้ว เช่น ห้ามไม่ให้ท่านเอ่ยวาจารับผิดชอบแก่ผู้ใด
• ท่านไม่ได้กระทำบางสิ่งบางอย่างที่บริษัทประกัน ได้แจ้งให้ท่านทำ เช่น ทำการแจ้งต่อหน่วยงานต่าง ๆ เมื่อมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้น
• ท่านไม่ได้กระทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ในเรื่องการป้องกันภัยอันตรายอันอาจเกิดขึ้นต่อลูกจ้าง

แม้ท่านจะยังได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัย ในกรณีที่ไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองในการปกป้องภัยอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้างตามที่กฎหมายระบุไว้ เช่น ท่านมีหน้าที่

• ประเมินความเสี่ยงต่อภัยอันตรายอย่างพอเพียงและเหมาะสม
• ดำเนินการทุกอย่างที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายต่อลูกจ้าง และ
• รายงานเรื่องราวเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

แต่ในกรณีที่บริษัทประกัน คิดว่าท่านไม่ได้ทำหน้าที่ตามกฎหมายในการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้าง และการละเมิดหน้าที่ของท่านทำให้บริษัทประกันต้องจ่ายเงินค่าชดเชยแก่ลูกจ้างแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยก็จะอนุญาตให้บริษัทประกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากท่านได้

บริษัทประกัน ฯ จะบังคับให้ท่านจ่ายเงินส่วนหนึ่งของค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้หรือไม่
บริษัทประกัน ฯ ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามที่บริษัท ฯ ได้ตกลงกับลูกจ้าง หรือตามคำสั่งของศาล บริษัทประกัน ฯ ไม่มีสิทธิสร้างเงื่อนไขให้ท่านในฐานะนายจ้าง หรือให้ตัวลูกจ้างเองจ่าย เงินค่าชดเชยส่วนหนึ่ง แต่ท่านมีสิทธิที่จะตกลงกับบริษัทประกัน ฯ ว่าท่านจะจ่ายเงินส่วนหนึ่งที่บริษัทต้องจ่ายให้ลูกจ้างคืนให้บริษัท ฯ ซึ่งก็จะทำให้ค่าธรรมเนียมสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยลด

ท่านจะต้องมีประกันภัยเป็นวงเงินเท่าไร
กฎหมายบังคับให้นายจ้างมีประกันเป็นวงเงินอย่างน้อย 5 ล้านปอนด์ แต่ท่านควรจะพิจารณาให้ดีถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ว่าท่านควรมีประกันมากกว่านั้นหรือไม่ เพราะ วงเงิน 5 ล้านปอนด์นี้ต้องรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องศาลด้วย และ 5 ล้านปอนด์อาจไม่เพียงพอในกรณีที่มีการเสียหายมาก ตามปกติบริษัทประกันจะขายประกันเป็นวงเงินอย่างน้อย 10 ล้านปอนด์

ท่านจำเป็นต้องบอกลูกจ้างหรือไม่ว่าท่านมีประกันภัย ฯ
เมื่อเวลาที่ท่านซื้อหรือ ต่อกรมธรรม์ประกันภัย บริษัทประกันจะให้ใบสำคัญการประกันภัย (Certificate of insurance) มาให้ ซึ่งจะแสดงวงเงินประกัน และชื่อของผู้ประกัน ท่านต้องติดประกาศใบสำคัญนี้ในสถานที่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้ชัดเจน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2008 เป็นต้นมา กฎหมายอนุญาตให้ท่านแสดงใบสำคัญการประกันนี้ทางคอมพิวเตอร์ได้ แต่นายจ้างผู้เลือกที่จะแสดงใบสำคัญโดยวิธีนี้ จะต้องมั่นใจว่าลูกจ้างทุกคนมีคอมพิวเตอร์ในที่ทำงาน และทุกคนรู้วิธีที่จะหาและเปิดดูเอกสารนี้ได้

กฎหมายนี้มีผลบังคับกับนายจ้างผู้ใดบ้าง

นายจ้างที่ไม่ต้องมีประกันภัยนี้คือ
• หน่วยงานราชการ
• กิจการในครอบครัว คือกิจการที่ลูกจ้างทุกคนเป็นสมาชิกใกล้ชิดภายในครอบครัวของนายจ้าง คือ คู่สมรสต่างเพศหรือเพศเดียวกัน บิดามารดา บิดามารดาเลี้ยง ปู่ย่าตายาย บุตรธิดา บุตรธิดาเลี้ยง หลาน พี่น้องพ่อแม่เดียวกันหรือต่างบิดาหรือต่างมารดา แต่หากกิจการในครอบครัวนี้จดทะเบียนในรูปแบบบริษัทจำกัด (limited companies) บริษัทนี้จำเป็นต้องมีประกันภัยความรับผิดชอบของนายจ้างนี้
• บริษัทที่มีลูกจ้างเพียงคนเดียว และลูกจ้างผู้นี้มีหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป ในบริษัท

ท่านต้องมีประกันภัยสำหรับพนักงานทุกคนหรือไม่
ท่านจำเป็นต้องมีประกันภัยสำหรับพนักงานที่เป็นลูกจ้าง หรือเป็นผู้กำลังฝึกงาน (Apprentice) แต่ไม่ต้องมีประกันสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ (self-employed) การที่พนักงานผู้หนึ่งจะเป็นลูกจ้างหรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ไม่สำคัญว่าท่านจะเรียกเขาว่าลูกจ้างหรือเขาทำงานให้ตนเอง หรือ มีสถานะทางภาษีอย่างไร แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะที่แท้จริงของความสัมพันธ์ และการควบคุมการทำงาน ของนายจ้างต่อพนักงานผู้นี้ หากท่านไม่แน่ใจว่าพนักงานผู้ใดเป็นลูกจ้างหรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ข้อมูลข้างล่างนี้อาจช่วยให้ท่านตัดสินใจได้

ท่านจำเป็นต้องมีประกันภัยให้กับพนักงานผู้ที่มีลักษณะต่อไปนี้
• ท่านหักเงินค่าประกันสังคม และภาษีเงินได้จากเงินค่าจ้างของพนักงานผู้นี้
• ท่านมีสิทธิควบคุมว่าพนักงานผู้นี้จะทำงานที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร
• ท่านเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานให้แก่พนักงาน
• ท่านมีสิทธิในกำไรที่พนักงานผู้นี้นำมา แต่ท่านก็อาจตกลงแบ่งบันกำไรบางส่วนให้กับพนักงานในรูปแบบค่านายหน้า โบนัส หรือหุ้นในบริษัทนายจ้าง
• ท่านต้องการให้พนักงานผู้นี้ทำงานให้ท่าน และเขาไม่มีสิทธิจ้างคนอื่นมาทำงานแทน หากเขาทำงานให้ท่านไม่ได้
• ท่านปฏิบัติต่อพนักงานผู้นี้เหมือนกับลูกจ้างอื่น ๆ เช่น เขาทำงานอย่างเดียวกัน และภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับลูกจ้างอื่น ๆ ของท่าน

ท่านไม่จำเป็นต้องมีประกันภัยให้กับพนักงานผู้ที่มีลักษณะต่อไปนี้
• พนักงานผู้นี้ไม่ได้ทำงานให้ท่านแต่ผู้เดียว เขาทำงานในลักษณะผู้รับเหมาอิสระ (independent contractor)
• พนักงานผู้นี้จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานของเขาเองเป็นส่วนใหญ่
• พนักงานผู้นี้ทำกิจการงานโดยหวังผลกำไรของตัวเอง
• เขามีสิทธิจ้างผู้อื่นให้มาทำงานแทน หากเขาไม่สามารถมาทำงานให้ท่านได้
• ท่านไม่ได้หักเงินค่าประกันสังคม และภาษีเงินได้จากเงินค่าจ้างของพนักงานผู้นี้ แต่อย่างไรก็ตามแม้พนักงานผู้หนึ่งจะเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระทางด้านภาษี เขาอาจจะถูกนับเป็นลูกจ้างในด้านอื่น และท่านจำเป็นจะต้องมีประกันภัยเพื่อคุ้มครองเขาด้วย

ในบางกรณี ท่านไม่จำเป็นต้องมีประกันเพิ่มเติมให้แก่
• อาสาสมัคร
• นักศึกษาที่มาทำงานให้ท่านโดยไม่ได้ค่าจ้าง
• ผู้อื่นที่ท่านไม่ได้รับเป็นลูกจ้าง แต่มาทำการฝึกงานกับท่าน หรือ
• นักเรียนหรือนักศึกษาที่มาดูงาน (work experience)

โดยปกติ บริษัทประกันจะคุ้มครองบุคคลเหล่านี้รวมอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัยของท่าน ดังนั้นท่านไม่ต้องแจ้งให้บริษัท ฯ ทราบหากท่านมีบุคคลเหล่านี้มาทำงานให้ แต่ท่านควรแจ้งบริษัทประกัน หากเขาจะต้องมาทำงานเป็นระยะเวลานาน หรือทำงานประเภทที่ไม่ใช่งานปกติสำหรับกิจการของท่าน และท่านควรคำนึงถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่บุคคลเหล่านี้ อาจประสบในระหว่างทำงานให้ท่าน และท่านต้องประเมินความเสี่ยงพิเศษ หากมีผู้เยาว์มาทำงานให้ท่านและจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้น

แต่หากประกันความรับผิดชอบของนายจ้างที่ท่านมีไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ ท่านต้องปรึกษาบริษัทประกัน ฯ ก่อนที่ท่านจะรับบุคคลเหล่านี้เข้าทำงาน

สำหรับลูกจ้างที่ทำงานบ้านของท่าน โดยทั่วไปแล้วท่านไม่จำเป็นต้องมีประกัน ฯ คุ้มครองให้บุคคลเหล่านี้ โดยเฉพาะบุคคลจำพวก คนทำสวน พนักงานทำความสะอาด หากเขาทำงานให้นายจ้างหลาย ๆ คน แม้ผู้ดูแลเด็กเป็นครั้งคราวก็ไม่จำเป็นต้องมีประกันให้ แต่หากบุคคลเหล่านี้ทำงานให้ท่านแต่ผู้เดียว ท่านอาจจะต้องมีประกันคุ้มครองให้เขาด้วย

ท่านจำเป็นต้องเก็บรักษากรมธรรม์เก่าที่หมดอายุแล้วหรือไม่
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2008 กฎหมายไม่บังคับให้ท่านเก็บรักษากรมธรรม์เก่า ๆ ที่หมดอายุอีกต่อไป แต่นายจ้างก็สมควรที่จะต้องเก็บประวัติการประกันภัยของตนไว้ให้ครบชุด เพราะโรคเจ็บป่วยบางอย่างใช้เวลานานหลังจากที่บุคคลได้ประสบกับเหตุที่ทำให้ก่อโรค ก่อนที่อาการของโรคจะปรากฎ ดังนั้นลูกจ้างที่ออกไปนานแล้วอาจจะย้อนกลับมาฟ้องร้องสำหรับช่วงระยะเวลาที่เขาได้ทำงานให้ท่านและประสบกับเหตุของโรคนั้นในที่ทำงานของท่านก็ได้

นายจ้างที่ไม่ได้เก็บรักษาประวัติการประกันภัยเก่า ๆ ของตน อาจเสี่ยงต่อการที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างจากทรัพย์สินของตนเอง

อะไรจะเกิดขึ้นหากนายจ้างไม่มีประกันความรับผิดชอบของนายจ้าง
คณะกรรมการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety Executive) มีหน้าที่ดูแลการบังคับกฎหมายในเรื่องนี้ และผู้ตรวจการของคณะกรรมการ ฯ ก็อาจตรวจสอบได้ว่าท่านมีประกันความรับผิดชอบของนายจ้างกับบริษัทประกันที่ได้รับอนุญาตแล้วในวงเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้านปอนด์หรือไม่ ผู้ตรวจการอาจขอดูใบกรมธรรม์และเอกสารการประกันภัยอื่น ๆ ของท่านได้

หากท่านไม่มีประกันภัยชนิดนี้ ท่านอาจถูกปรับไม่เกิน 2,500 ปอนด์ต่อวัน และหากท่านไม่ได้ติดประกาศใบสำคัญการประกันนี้ไว้ หรือไม่ยอมแสดงใบสำคัญนี้ให้ผู้ตรวจการเมื่อมีการร้องขอ ท่านอาจถูกปรับไม่เกิน 1,000 ปอนด์


ID=1237,MSG=1389
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 10:44:27am... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com