การขอรับค่าเสียหาย การเคลมประกัน

การขอรับค่าเสียหาย การเคลมประกัน

การขอรับค่าเสียหาย การเคลมประกัน

1. ทำอย่างไร เมื่อมีผู้ประสบภัยจากรถ

          อย่าลืมว่า ทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ หรือเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ขอให้รีบนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล สถานพยาบาลที่ใกล้และสะดวกที่สุดเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าผู้บาดเจ็บได้รับอุบัติเหตุจากรถ และถ้ามีเวลาพอ ช่วยกรุณาตรวจดูเครื่องหมายสี่เหลี่ยมที่ติดอยู่ที่กระจกหน้ารถด้วยว่ารถคัน ที่เกิดเหตุมีประกันภัยหรือไม่ กับบริษัทอะไรเครื่องหมายสีอะไร เครื่องหมายเลขที่เท่าใด เพื่อที่จะแจ้งโรงพยาบาลและบริษัทได้ถูกต้อง และอย่าลืมแจ้งอุบัติเหตุนั้นให้ตำรวจท้องถิ่นที่เกิดเหตุทราบด้วย

2. การขอรับค่าเสียหาย (1)

          ผู้ประสบภัยจากรถ หรือทายาท มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้จาก

              (1) บริษัทประกันภัย โดยผู้ประสบภัยอยู่ในรถคันใด จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัยรถคันนั้น แต่หากรถ 2 คัน ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอก เช่น คนข้ามถนน กรณีนี้บริษัทที่รับประกันภัยรถทั้งสองคัน จะร่วมกันเฉลี่ยชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่า ค่าเสียหายเบื้องต้น จะได้รับภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความถูกผิดเรียบร้อยแล้ว
              (2) กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นตามที่กฏหมายกำหนดเท่า นั้น ผู้ประสบภัยหรือทายาท จะต้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัย หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น อนึ่ง เมื่อผู้ประสบภัยมอบอำนาจให้โรงพยาบาลมารับเงินควรรับทราบวงเงินที่ให้เบิก ด้วย

3. การขอรับค่าเสียหาย (2)

          ผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาท จะยื่นขอรับค่าเสียหายด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้สถานพยาบาล/โรงพยาบาล เป็นผู้รับแทนก็ได้ขณะนี้ ในส่วนของค่าเสียหายเบื้องต้นซึ่งผู้ประสบภัยมีสิทธิได้รับภายใน 7 วัน นับจากวันร้องขอ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความถูกผิดผู้ประสบภัยหรือทายาทสามารถขอรับแบบคำขอได้ ที่โรงพยาบาลทั่วไป หรือที่สำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรมการประกันภัย ส่วนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขตที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่บริษัทประกันภัยและสาขาทั่วประเทศ

4. แบบคำขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น

          ขณะนี้ กำหนดไว้รวม 4 แบบด้วยกัน แยกตามประเภทผู้จ่ายและผู้ร้องขอ ประกอบด้วย

              ก. กรณีขอรับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย มี 2 แบบ คือ

                    (1) แบบ บต. 1 ใช้ในกรณีผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรม เป็นผู้ร้องขอ
                    (2) แบบ บต. 2 ใช้กรณีโรงพยาบาล/สถานพยาบาล เป็นผู้ร้องขอ

              ข. กรณีขอรับจากบริษัทประกันภัย มี 2 แบบ คือ

                    (1) แบบ บต. 3 ใช้ในกรณีผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมเป็นผู้ร้องขอ
                    (2) แบบ บต. 4 ใช้ในกรณีโรงพยาบาล/สถานพยาบาล เป็นผู้ร้องขอ

          1. แบบ บต. 1 (1)

          กรณีผู้ประสบภัยหรือทายาท ร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนฯ ต้องกรอกราย ละเอียดต่าง ๆ ในแบบ บต. 1 เช่น สถานที่อยู่ วันที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ หมายเลขทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ ชื่อบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันนั้น และเลขที่กรมธรรม์ พร้อมทั้งระบุกรณีที่จะทำให้มีสิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ และต้องแนบหลักฐานประกอบดังนี้ คือ (1) ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล (2) สำเนาบัตรประจำตัว หรือหลักฐานแสดงตัวอื่น ๆ เช่น ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือสำเนาทะเบียนบ้าน (3) สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน และในกรณีเสียชีวิตต้องมี (4) สำเนาใบมรณบัตร

          2. แบบ บต. 1 (2)

          ในแบบ บต. 1 นั้น หากผู้ร้องขอเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ผู้ร้องขอก็จะต้องแนบหลักฐานประกอบคำร้องด้วยนอกเหนือจากหลักฐานของผู้ประสบ ภัย ตามข้อ 1 หลักฐานแสดงตัวอื่น ๆ เช่น ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น

          3. แบบ บต. 2

          ใช้ในกรณีผู้ประสบภัยมอบอำนาจให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเป็นผู้ร้องขอรับ ค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทน ฯ แทนผู้ประสบภัย ลักษณะข้อความในแบบ บต. 2 จะคล้ายคลึงกันแบบ บต. 1 และหลักฐานประกอบคำขอก็จะเป็นสำเนาหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ประสบภัยเช่นเดียวกัน

          4. แบบ บต. 3

          เป็นแบบคำขอรับค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยหรือทายาท ร้องขอรับจากบริษัทประกันภัย ราย ละเอียดต่าง ๆ ประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ วันที่ เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ หมายเลขทะเบียนรถที่เกิดเหตุ ชื่อบริษัทที่รับประกันภัย และเลขที่กรมธรรม์ รวมถึงจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น ฯลฯ และต้องแนบหลักฐานต่อไปนี้ ประกอบคำขอด้วย คือ (1) ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ของโรงพยาบาล/สถานพยาบาล (2) สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย แล้วแต่กรณี และในกรณีเสียชีวิตต้องมี (3) สำเนาใบมรณะบัตรและ (4) สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถด้วย
          ในส่วนหลักฐานของทายาทซึ่งเป็นผู้ร้องขอ ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวของทายาทด้วย

          5. แบบ บต. 4

          หากผู้ประสบภัยหรือทายาทไม่สะดวกที่จะยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัย ก็ สามารถมอบอำนาจให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเป็นผู้ขอรับแทน ในกรณีนี้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต้องกรอกแบบคำขอที่เรียกว่า แบบ บต. 4 พร้อมหลักฐานประกอบเช่นเดียวกับกรณีอื่น ๆ

          6. แบบ สม. 5

          เมื่อบริษัทได้รับคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากผู้ประสบภัยแล้วบริษัทจะต้องออกหลักฐานให้แก่ผู้ประสบภัย เรียกว่า แบบ สม. 5

5. ผู้สุจริตได้รับความคุ้มครองผู้ทุจริตกฏหมายลงโทษ

          ผู้ประสบภัย หรือทายาทผู้ใดยื่นคำขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นโดยทุจริต หรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. นี้ มีความผิดมีโทษทางอาญา คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งประจำทั้งปรับ

6. ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด หรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฏหมายได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น

          กฏหมายนี้ให้ความคุ้มครองทุกคนที่ประสบภัยจากรถแม้แต่ผู้ประสบภัยซึ่งเป็น ผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายต้องรับผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหรือไม่มีผู้ใดต้อง รับผิดตามกฏหมาย ก็ยังได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนโดยจะได้รับการชดใช้ เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง หรือเป็นค่าปลงศพแล้วแต่กรณี

7. การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน และค่าปลงศพ

          ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันเกิดอุบัติเหตุ และรถทุกคันนั้นได้จัดทำประกันภัยไว้ เป็นเหตุให้ผู้ประสบภัยได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย โดยไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิดในเหตุที่เกิดขึ้น บริษัททีรับประกันภัยจะสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 50,000.- บาทต่อหนึ่งคนสำหรับกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ แต่กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทที่รับประกันภัยจะสำรองจ่ายค่าทดแทน หรือค่าปลงศพเป็นจำนวน 80,000.- บาทต่อหนึ่งคน ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัย ซึ่งโดยสารมาในรถหรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ไปก่อน (ไม่รวมผู้ขับขี่)
          สำหรับผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอก บริษัทผู้รับประกันภัยของรถทุกคันที่เกิดเหตุ จะร่วมกันสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพดังกล่าว โดยเฉลี่ยจ่ายฝ่ายละเท่า ๆ กัน

8. ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น

          ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับจากกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบ ภัยจากรถ ขณะนี้กำหนดไว้ไม่เกิน 50,000.- บาท/คน สำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย และ 200,000.- บาท/คน สำหรับความเสียหายต่อชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรโดยส่วนหนึ่งจะเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัยจะได้ รับภายใน 7 วันนับจากวันร้องขอ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด สำหรับส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับโดยเร็วหลังจากมีการพิสูจน์ความผิดเรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทประกันภัยที่เป็นผู้รับประกันภัยรถคันที่ผิดจะเป็นผู้จ่ายค่าเสีย หายส่วนนี้แก่ผู้ประสบภัย

9. ใคร...รับผิดชอบความเสียหายส่วนที่เกินกว่าความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

          1. ถ้าเจ้าของรถได้ทำประกันภัยภาคสมัครใจ ซึ่งมีจำนวนเงินคุ้มครองเพิ่มขึ้นจากที่กฏหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กำหนดบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินนั้น แต่ทั้งนี้จะไม่เกินกว่าวงเงินคุ้มครองที่ซื้อไว้
          2. ถ้าเจ้าของรถไม่มีการทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ ผู้ระเมิดยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

10. การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง

          การขอรับค่าเสียหายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ต้องใช้หลักฐานดังนี้
              (1) สำเนาประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน
              (2) ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้
              (3) สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ถ้าเป็นบุคคลต่างด้าวก็ใช้สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง
              (4) สำเนามรณะบัตร ในกรณีผู้ประสบภัยถึงแก่ความตาย และทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยต้องยื่นเอกสารตามข้อ (3) ด้วย


ID=1076,MSG=1219


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Friday เวลา 01:59:33pm ซื้อประกัน 085-911-3737
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com