การทำประกันภัยตามกฏหมาย

การทำประกันภัยตามกฏหมาย

การทำประกันภัยตามกฏหมาย

1. ใครมีหน้าที่ต้องทำประกันภัย

          ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัย คือ เจ้าของรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ สำหรับประเภทและชนิดของรถที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ ประสบภัย คือ รถทุกคันซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และหมาย ความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย (เว้นแต่รถไฟ) ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้ให้นิยามศัพพ์ "รถ" หมายความว่า (1) รถตามกฏหมายว่าด้วยรถยนต์ (2) รถตามกฏหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (3) รถยนต์ทหารตามกฏหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร

2. รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย

          รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย ได้แก่ (1) รถสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (2) รถของสำนักพระราชวัง ที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายของสำนักพระราชวัง (3) รถของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เช่น รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา รวมถึงรถยนต์ทหาร แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงรถของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และ (4) รถที่ได้รับการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง

3. ผู้เอาประกันภัย

          บริษัทประกันวินาศภัยทุกบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภท รับประกันภัยรถในราชอาณาจักร ต้องรับประกันภัยตามกฏหมายนี้หากบริษัทปฏิเสธการรับประกันภัย บริษัทย่อมมีความผิดและจะต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 50,000.- บาท ถึง 250,000.- บาท (บริษัทประกันภัยในที่นี้ รวมถึงสาขาบริษัททุกสาขาทั่วประเทศไทยด้วย)

4. วิธีทำประกันภัย

          เพียงถ่ายเอกสารสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ และบัตรประจำตัวประชาชน (ในกรณีที่ที่อยู่ในสมุดทะเบียนรถ และที่อยู่ปัจจุบันไม่ตรงกัน) นำไปที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ หรือสาขาทั่วประเทศแจ้งความประสงค์ขอทำประกันภัยตามกฏหมายนี้ หลังจากที่ท่านจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัยซึ่งจะเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ สำหรับรถประเภทเดียวกันท่านจะได้รับ (1) กรมธรรม์ประกันภัย หรือใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน และ (2) เครื่องหมายแสดงว่ามีประกันภัย ซึ่งท่านจะต้องนำไปติดไว้ในที่ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
          อย่าลืมอ่านและทำความเข้าใจกับกรมธรรม์ให้ถ่องแท้ อนึ่งเครื่องหมายนั้น ถ้าท่านไม่ติดที่รถท่านมีความผิดและต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000.- บาท

5. โทษของการฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยตามกฏหมาย

          เจ้าของรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ หากไม่ทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท และหากผู้ใดนำรถที่ไม่มีประกันภัยมาใช้ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นเจ้าของรถแล้วไม่ทำประกันภัยและยังนำรถที่ไม่มีประกันภัยนี้ไปใช้ จะมีโทษปรับทั้ง 2 กระทงความผิด

6. ไม่มีสิทธิติดเครื่องหมายอย่าติดไว้เพียงเล่น ๆ หรือเห็นว่าโก้เก๋

          กรณีได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ให้ส่งคืนเครื่องหมายนั้นแก่นายทะเบียน หรือทำลายเครื่องหมายนั้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้ไม่ได้อย่าเผลอติดไว้เพียงเล่น ๆ หรือว่าโก้เก๋ เพราะการกระทำดังกล่าวนอกจากจะไม่โก้เก๋แล้วยังมีความผิด กล่าวคือ การไม่ส่งคืนเครื่องหมายให้แก่นายทะเบียน หรือไม่ทำลายเครื่องหมายนั้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้ไม่ได้มีความผิดต้องระวาง โทษปรับไม่เกิน 1,000.- บาท และการที่ยังติดเครื่องหมายดังกล่าวไว้ที่รถ ก็มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000.- บาท

7. ปลอมเครื่องหมาย ติด หรือ แสดงเครื่องหมายปลอมไว้ที่รถ

          การปลอมเครื่องหมาย แสดงว่ามีการประกันภัย การติดหรือแสดงเครื่องหมายปลอม หรือทั้งปลอมเครื่องหมายและติดหรือแสดงเครื่องหมายปลอมไว้ที่รถ มีความผิดอาญาต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 100,000.- บาท

8. เครื่องหมายหาย

          เครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยที่เจ้าของรถได้รับพร้อมกรมธรรม์นั้น เจ้าของรถต้องนำไปติดไว้ที่กระจกด้านใน (สำหรับรถยนต์) หรือในที่ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (สำหรับรถจักรยานยนต์) หากผู้เอาประกันภัยท่านใดทำเครื่องหมายนี้สูญหาย ให้แจ้งการสูญหายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และนำใบแจ้งความพร้อมกรมธรรม์ และสำเนาบัตรประชาชนนั้นไปติดต่อขอรับเครื่องหมายแทนได้ที่กรมการประกันภัย สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขตทั้ง 4 เขต หรือสำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด

หลักฐานประกอบการขอรับเครื่องหมายแทนเครื่องหมายเดิมที่ชำรุดหรือสูญหาย

          ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ยื่นขอรับเครื่องหมายแทนให้ใช้หลักฐานดังต่อไปนี้
              1. ใบแจ้งความ (กรณีเครื่องหมายสูญหาย)
              2. เครื่องหมาย (กรณีเครื่องหมายชำรุด)
              3. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องหรือหลักฐานอย่างอื่นที่ ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางแล้วแต่กรณี
              4. ตารางกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตัวจริง พร้อม สำเนาภาพถ่าย จำนวน 1 ฉบับ หรือในกรณีที่ตารางกรมธรรม์ตัวจริงสูญหายให้ใช้สำเนาตารางกรมธรรม์ซึ่ง รับรองสำเนาถูกต้องโดยบริษัทประกันภัยและประทับตราบริษัท พร้อมสำเนาภาพถ่าย จำนวน 1 ฉบับ

หลักฐานประกอบการขอรับเครื่องหมายแทนเครื่องหมายเดิมที่ชำรุดหรือสูญหาย

          ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ยื่นขอเครื่องหมาย ให้ใช้หลักฐานดังต่อไปนี้
              1. หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10.- บาท) จากผู้เอาประกันภัย (กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลให้ใช้ภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน ของบริษัทด้วย) ให้กระทำการแทนในการขอรับเครื่องหมายแทน
              2. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของ ผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจ พร้อม รับรองสำเนาถูกต้อง หรือหลักฐานอย่างอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคน ต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางแล้วแต่กรณี
              3. ใบแจ้งความ (กรณีเครื่องหมายสูญหาย)
              4. เครื่องหมายเดิม (กรณีเครื่องหมายชำรุด)
              5. ตารางกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จริง พร้อม สำเนาภาพถ่าย จำนวน 1 ฉบับ หรือในกรณีที่ตารางกรมธรรม์ตัวจริงสูญหายให้ใช้สำเนาตารางกรมธรรม์ซึ่ง รับรองถูกต้องโดยบริษัทประกันภัย และประทับตราบริษัท พร้อมสำเนาภาพถ่าย จำนวน 1 ฉบับ 

9. ซื้อความคุ้มครองเพิ่มโดยสมัครใจเพิ่มความอุ่นใจ ปลดภาระห่วงกังวล

          ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิต ร่างกาย ของประชาชนอันเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ เป็นความเสียหาย ที่รัฐบาลให้ความห่วงใย และกำหนดเป็นภาคบังคับให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยการให้เจ้าของรถหรือผู้มีสิทธิครอบ ครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยไว้กับ บริษัทด้วยการทำประกันภัย เหตุที่กฏหมายไม่ได้กำหนดความคุ้มครองให้ครอบคลุมถึงความเสียหายที่อาจจะ เกิดขึ้นกับทรัพย์สินด้วย ก็เพราะจะก่อให้เกิดภาระในเรื่องค่าเบี้ยประกันภัย อย่างไรก็ตาม หากท่านมีกำลังความสามารถทางการเงินเพียงพอ ท่านก็สามารถที่จะซื้อ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติม อีก ส่วนหนึ่งก็ได้ โดยกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประกันภัยซึ่งเป็นภาคบังคับตามกฏหมายนี้ จะเป็นฐานเบื้องต้นที่รถทุกคันต้องมีและการประกันภัยรถเพิ่มเติมประเภทอื่นๆ จะเป็นกรมธรรม์คุ้มครองเพิ่มเติม ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย ข้อสำคัญ...เบี้ยประกันภัยจะไม่ซ้ำซ้อน โดยท่านสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้จากหน้าตารางกรมธรรม์ในส่วนที่ระบุถึงความ คุ้มครองและจำนวนเบี้ยประกันภัย


ID=1074,MSG=1217
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
ลูกค้าเราโทรได้ 24hr



โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Saturday เวลา 02:27:33pm... กรุณาติดต่อ ช่องทางข้อความ
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com