วิวัฒนาการ การประกันชีวิต

วิวัฒนาการ การประกันชีวิต

วิวัฒนาการ การประกันชีวิต

http://www.applecreeksda.com/church/Portals/Churches/applecreek/Audio/people_helping_people_kldf.png

ยุคแรก
มนุษย์มีความคิดที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาตั้งแต่ยุคหินตอนต้น เห็นได้จากการดำรงชีวิตโดยรวมกันเป็นกลุ่ม หรือเผ่า มีที่อยู่อาศัยรวมกันมีการเฉลี่ยแบ่งปันอาหารที่ช่วยหามาด้วยกันมีการช่วยเหลือเลี้ยงดูครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว

เมื่อประมาณ300 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวกรีก-โรมัน ได้จัดตั้งสมาคมสงเคราะห์ขึ้น โดยการรวบรวมเงินจากสมาชิกไว้ช่วยเหลือ สมาชิกภายในกลุ่ม
ต่อมาได้มีการวางกฎหมายบัญญัติว่าถ้าสมาชิกไม่จ่ายค่าบำรุงจะถูกตัดจาก สมาชิกภาพ และจะไม่ได้รับความช่วย เหลือหากเสียชีวิตจากการกระทำอัตวินิบาตกรรม

ในปีค.ศ. 100 จักรพรรดิ Hadrain แห่งเมือง Lanuvium ออกกฎหมายระบุว่า "บุคคลใดก็ตามที่เป็นสมาชิกของสังคมจะต้องอ่านข้อความในสัญญาให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อนเพื่อจะได้ไม่ต้องมาฟ้องร้องในภายหลัง หรือเพื่อจะได้ไม่เป็นข้อที่ทายาทจะมาโต้เถียงในอนาคต " และ " บุคคลใดที่ทำลายตัวเองไม่ว่าโดยวิธีใดย่อมหมดสิทธิ์ที่จะได้รับ ชดเชยใช้เงินจากสมาคม "

ยุคกลาง
ประเทศต่างๆ เริ่มมีการติดต่อกันมากขึ้น ธุรกิจการค้าที่ต้องอาศัยการเดินเรือเฟื่องฟู การประกันชีวิตในรูปสมาคมสังคมสงเคราะห์จึงเป็นที่นิยมในต้นคริสตศตวรรษที่ 18 สมาคมชาวเรือแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใน มหานครลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้จัดวางแผนสังคมสงเคราะห์ขึ้น โดยมีระเบียบการในการสงเคราะห์ครอบครัวของบรรดาพ่อค้า และชาวเรือที่เป็นสมาชิกของสมาคม ถ้าปรากฎว่าสมาชิกที่เดินทางไปกับเรือบรรทุกสินค้าถึงแก่ ความตาย โดยเรืออับปางหรือหายสาบสูญ สมาคมจะนำเงินก่อนไปจ่ายแก่ครอบครัวหรือทายาทของสมาชิกนั้นๆ โดย เฉลี่ยให้ตามจำนวนเงินที่เรียกเก็บไว้จากสมาชิกทั้งหมด สมาชิกที่ประสงค์จะได้รับเงินชดเชยจากการสังคมสงเคราะห์ในระบบดัง กล่าวต้องจ่ายเงินให้แก่สมาคมคนละ 1 ปอนด์ โดยสมาคมจะเป็นผู้รักษาเงินไว้และจัดแบ่งเฉลี่ยเงินที่รวบรวมไว้นั้นให้เป็น มรดกแก่ทายาทของสมาชิกผู้ประสบชะตากรรม ในขณะเดียวกันเมื่อเงินดังกล่าวหมดก็เรียกเก็บเงินจากสมาชิกเพื่อรวบรวมไว้ ใหม่ ต่อไป

การประกันชีวิตรายแรกได้แก่ ผู้รับประกันภัยทางทะเลชื่อ นายริชาร์ด มาร์ติน(Richard Martin) ตกลงทำสัญญากับพ่อค้าเกลือ ชาวอังกฤษ ชื่อ นายวิลเลียม กิบบอนส์ (William Gybbons)ที่โอลด์ ดรูรี่ เฮ้าส์ (Old Drury House) นครลอนดอน ด้วยเบี้ยประกัน 32 ปอนด์ทุนประกัน 400 ปอนด์ มีกำหนด 12 เดือน การประกันชีวิตรายนี้ปรากฎว่าต้องฟ้องร้อง กันถึงโรงถึงศาลในเรื่องของการตีความกำหนดเวลาเอาประกันภัย คือ นายวิลเลียม เอาประกันชีวิต เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1583 (พ.ศ. 2126) และถึงแก่กรรมในวันที่ 28
พฤษภาคม ปีถัดไป ถ้านับแบบจันทรคติซึ่งถือว่าเดือนหนึ่งมี 28 วัน สัญญาประกันชีวิตรายนี้ถือว่าเลยกำหนด แต่ถ้าถือตามปีปฏิทินปกติสัญญายังคงมีผลบังคับใช้อยู่ ในที่สุดศาลได้พิจารณาและเห็นว่า สัญญายังมีผลบังคับ จึงสั่งให้ผู้รับประกันจ่ายเงิน 400 ปอนด์ คำตัดสินของศาลเป็นผลดีที่ทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่ดีในการกำหนดเงื่อนไขกรมธรรมประกันชีวิตในเวลาต่อมา

ยุคปัจจุบัน
การฌาปนกิจสงเคราะห์ได้พัฒนารูปแบบเป็นธุรกิจประกันชีวิตมากขึ้น โดยใช้ระบบการประกันชั่วระยะเวลาหนึ่งปี (Annual Term Insurance) อันเป็นการคุ้มครองชั่วระยะเวลาปีต่อปีและได้กำหนดอัตราเบี้ยประกันแตกต่าง กันตาม อายุของผู้เอาประกัน แต่ไม่ได้คำนวณจากอัตรามรณะในระยะเดียวกันนั้น นายเจมส์ ด็อดซัน (Jame Dodson) นัก คำนวณชาวอังกฤษ ได้เริ่มคิดวางหลักเกณฑ์ธุรกิจประกันชีวิตให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยนำเอาสถิติการตายของชาวลอน ดอนที่ประกาศระหว่างปี ค.ศ.1728-1750 (พ.ศ. 2771 – 2293) มาเป็นมาตรฐานในการ คำนวณหาอัตรามรณะและจัดทำตารางอัตรามรณะขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อนำมาคำนวณอัตราเบี้ยประกันหลายแบบด้วยกัน พร้อมกับวางกฎเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจประกันชีวิตไว้ดังต่อไปนี้
1. การประกันชีวิตต้องดำเนินในแบบสหกรณ์โดยสมาชิกช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อสมาชิกเสียชีวิตลง
2. ไม่จำกัดเพศและวัยของสมาชิก
3. ไม่มีเงินปันผล
4. ผู้มีอาชีพเสี่ยงอันตรายและสตรีต้องเสียเบี้ยประกันเพิ่มพิเศษ
5. สามารถเลือกได้ว่าจะประกันในแบบชั่วระยะเวลาหนึ่งปี(Limited Payment Life Insurance) หรือแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)

ปี ค.ศ. 1762 (พ.ศ. 2305) บริษัท เอควิตาเบิล แอสชัวรันส์ โซไซตี้ ออฟ ลอนดอน (The Equitable Assurance Society of London) ได้จดทะเบียนเป็นสถาบันประกันชีวิตแห่งแรกในโลก และได้นำเอาทฤษฎีและการคำนวณของนายเจมส์ ด็อดซัน มาใช้ระยะแรกได้ออกกรมธรรม์ แบบตลอดชีพเพียงแบบเดียว ใช้อัตราเบี้ยประกันแตกต่างกันตามอายุของผู้เอาประกัน มีการออกกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันถือไว้เป็นหลักฐาน โดยใน กรมธรรม์ระบุชื่อผู้เอาประกันจำนวนเงินเอาประกัน เบี้ยประกัน ชื่อทายาทหรือผู้รับประโยชน์ และมีข้อความยินยอมที่จะจ่ายเงินชดเชย ให้ ตามจำนวนเงินเอาประกันหากผู้เอาประกันถึงแก่มรณะ

นับแต่บริษัท เอควิตาเบิลฯ ถือกำเนิดขึ้น การประกันชีวิตในประเทศอังกฤษก็ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ต่อมา บริษัท พรูเด็นเชียลประกันภัย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนในปี ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391) ได้ปรับปรุงอัตราเบี้ยประกัน มีการจ่ายเงินปันผลและเพิ่มแบบประกันมากแบบขึ้น ซึ่งนับได้ว่า เป็นปีแรกแห่งประวัติศาสตร์ประกันชีวิตที่สมบูรณ์แบบที่สุด เป็นการบุกเบิกความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจประกันชีวิต

ในอนาคต
รูปแบบการประกันชีวิต จะเปลี่ยนแปลงขยายในวงกว้างและลึกมากขึ้น โดยสินค้าในธุรกิจประกันชีวิต จะเข้าไปเพิ่ม พ่วง หรือมีลักษณะเฉพาะของแต่สินค้า เจาะจงมากขึ้น
รุปแบบต่างๆ เช่น การเข้าไปร่วมกับธุรกิจอื่นๆ ซื้อสินค้าและบริการ มีการเพิ่มประกันเข้าไปในส่วนหนึ่งของสินค้า รูปแบบดังกล่าว อาจจะเป็นการประกันอุบัติเหตุ เมื่อต้องเดินทางโดยสาร โดยเครื่องบิน รถทัวร์ อื่นๆ การซื้อสินค้าโดยบวกราคาประกันเข้าไปด้วย ซื้อบ้านพร้อมประกันชีวิต และอัคคีภัย

รูปแบบธุรกิจของการประกันจะเเทรกอยู่ใรทุกๆธุรกิจ ทุกๆการดำเนินชีวิต เพราะสิ่งที่บ่งบอกการพัฒนา ของมนุษยชาติได้ คือ ความพึงพอใจ ที่มนุษย์ต้องการ
ดังนั้นไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ ในขณะมีชีวิตอยู่ จะมีการ รับประกันความพอใจ รับประกันความสำเร็จ รับประกันคุณภาพ

เช่นนี้ ประกันชีวิต และ ประกันวินาศภัย หรือ รวมกันเรียกว่าประกันภัย จึงเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งของ ความเจริญ ของมนุษยชาติ


ID=1020,MSG=1152


⭐️ เราให้คำแนะนำปรึกษา รักษาผลประโยชน์ให้ลูกค้า ของเรา
⭐️ เราอยู่เคียงข้างลูกค้าของเรา ช่วยเหลือ ดูแลบริการ
⭐️ เรารองรับช่องทางติดต่อมากมาย สะดวก เข้าถึงง่าย
⭐️ เราดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า20 ปี คุณจึงมั่นใจได้
⭐️ คุณมีสามารถรับบริการทั้งจากบริษัทประกันเจ้าของสินค้า และ เรา (ตัวกลาง)

ไทย มีราว 80 บริษัทประกันภัย สินค้าที่แตกต่าง ทั้ง เงื่อนไข ราคา เคลม ความมั่นคง นโยบาย ฯลฯ
ขายผ่านตัวกลาง กว่า 500,000 ราย : ตัวแทน นายหน้า ธนาคาร บิ๊กซี โลตัส ค่ายรถยนต์ เฮ้าส์แบรนด์ ของประกันภัย หรือ ซื้อตรงกับบริษัทเจ้าของสินค้า
⭐️ ตัวอย่าง การบริการ กดดูที่ลิงค์นี้

"สิ่งที่ต้องคำนึงอันดับแรกในการซื้อประกัน คือ ตัวกลางประกันภัย ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือ ดูแลเรา ตลอดอายุกรมธรรม์"

โปรดรอ

display:inline-block; position:relative;
โทร.(จ-ศ : 9-16) เว้นวันหยุดฯ , ลูกค้าเรา บริการ 24/7/365 , Tuesday เวลา 08:50:48pm (ลูกค้าเราติดต่อทางไลน์พิเศษที่ให้ไว้ตอนซื้อประกัน😍)
Copyright © 2018 Cymiz.com., All rights reserved.นโยบาย,ข้อตกลงcymiz.com